ตอบกระทู้
http://ppantip.com/topic/33082444 นี้นะครับ
เอาจริงๆ กระทู้นี้นานละนะครับ แต่ขอลงความเห็นดู เพราะผมเองเป็นคนที่ลาออกมาคนนึงเหมือนกัน (และทุกวันนี้ก็กล้าพูดแค่ว่า ก็ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังไม่ได้ประสบความสำเร็จอะไรเลยเช่นกัน) แต่ผมกลับมองต่างจากเจ้าของกระทู้นี้มากเลยนะครับ
1. Jobs & Gates ไม่ได้รวยเพราะเรียนไม่จบ
ประเด็นแรกคือ ความรวย ถูกยกมากล่าวถึงในกระทู้นี้ แสดงให้เห็นบางอย่าง ในตัวเจ้าของกระทู้ ที่มองว่า
"รวย=ประสบความสำเร็จ"
ซึ่งไม่ค่อยถูก ทั้งแง่ธุรกิจ และชีวิต
ในแง่ชีวิต เรามีคำพูดว่า
"เงินไม่ได้ซื้อได้ทุกอย่าง" ซึ่งบางทีเรายังเห็นว่าไม่จริง เช่น ความรัก เงินซื้อไม่ได้ แต่เราซื้อของที่จะทำให้คนรักและผูกพันกับเราได้ เช่น รถ ทริปต่างประเทศ มื้ออาหารสุดพิเศษ ของขวัญวันเกิด เลขา(ที่คอยเตือนว่าวันเกิดแฟนคุณแล้วนะ) ...เพียงแต่เราเชื่อว่า
"บางอย่างในชีวิต ไม่ควรได้มาจากการซื้อ" เท่านั้นเอง
ส่วนในแง่ธุรกิจ มีคำกล่าวว่า
ธุรกิจต้องสร้างคุณค่าเป็นหลัก แล้วเงินจะตามมาเอง เราว่าจริงนะ เพราะ
"คนจะอยู่ได้เพราะหายใจ แต่คนที่อยู่เพื่อหายใจ คงจะโคตรไร้ค่าเลย" ธุรกิจก็เช่นกัน เพราะ "ธุรกิจต้องการเงินหมุนจึงอยู่ได้ แต่ถ้าธุรกิจอยู่แค่เพื่อเงิน ก็คงจะอยู่ได้แบบไร้ค่านั่นเอง" ...หรือคุณว่าไม่จริงครับ
คุณจะชื่นชมบริษัทที่เอาแต่ดูดเงินคุณโดยสร้างคุณค่าเพียงน้อยนิดให้คุณงั้นหรือ?? ผมจึงไม่เข้าใจสักนิดว่า การที่รวยหรือไม่รวย เกี่ยวอะไรกับการออกจากมหาลัยของสองคนนี้
...ประเด็นที่สองคือ เจ้าของกระทู้นี้ พยายามยกว่า ออกจากมหาลัย ไม่ได้ทำให้รวยนะ ซึ่งก็ผิด เพราะถึงเจ้าของกระทู้จะชี้ว่าบิลเกต เก่งอยู่แล้วจึงเลิกเรียน แต่กับสตีฟจ็อบส์ เขาทำเป็นลืมไปเลย เหมือนกับว่าหาจุดที่จะมาสนับสนุนเหตุผลของตัวเอง และลืมเหตุผลที่ค้านไปซะ เพราะสตีฟจ็อบส์ ไม่ได้ทำได้ดีขนาดนั้นเลยในโรงเรียน แต่เขาทำได้ดีด้านอื่น ...จะเห็นว่าการออกจากมหาลัยมีผลมาก ไม่ใช่เพราะเขาเก่งอยู่แล้วจึงไม่ต้องเรียน แต่เพราะว่า
เขาไม่ได้คิดว่าคำตัดสินของมหาลัยว่าเขาเก่งหรือไม่นั้น สำคัญกว่าการออกมาทำ สิ่งที่เขาทำ ซึ่งถ้าเขาไม่ออกมาทำ เขาจะไม่รวยนั่นเอง สตีฟวอสเนียก คงไม่นั่งรอสตีฟจ็อบส์เรียนจบแล้วค่อยขายคอมด้วยกัน เขาคงขายเลย(หรืออาจให้ฟรีๆด้วยซ้ำ) เพราะเขาทำเสร็จแล้ว แล้วมันจะล้มเหลวเหมือนนาฬิกาที่เขาพยายามทำโดยไม่มีจ็อบส์ช่วยนั่นแหละ เพราะวอสเนียกขาดวิสัยทัศน์บางอย่างที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ที่ผู้คนรัก เช่นนั้น มันก็จะไม่มีคอมฯส่วนบุคคลออกมาสู่ตลาด และ IBM ก็จะไม่ผลิตรุ่นของตัวเองออกมาแข่ง และเมื่อไม่มีการผลิตดังกล่าว บิลเกตก็จะไม่ได้ขายซอฟแวร์ของ dos ให้กับ IBM จนตั้งตัวได้ และทั้งสตีฟ และบิล จึงอาจจะเข้าสู่ความสำเร็จช้าลงมาก ถ้าพวกเขาไม่ได้ตัดสินใจออกจากมหาลัย (และนี่เป็นเพียงเคสตัวอย่างเดียวเท่านั่น ยังมีอีกเป็นร้อยๆเคส ลองคิดดูว่าถ้ามาร์คซักเกอร์เบิร์กทำเฟสบุ๊คช้าลงอีกสองสัปดาห์ และทำให้ฝาแฝดวิงเคิลวอสที่คิดจะทำเหมือนกัน มีโอกาสทำเสร็จบ้างในเวลาไล่เลี่ยกัน คงจะชะลอความสำเร็จของเฟสบุ๊กไปเป็นปีๆ เพราะต้องทำอะไรมาแข่งขันคู่แข่งที่ทุนสูง)
2. ผมเคยถูกปฏิเสธงานเพราะไม่มีวุฒิ / ใบปริญญา
เมืองนอกไม่ เค้าทำกันเยอะแยะ ตั้งแต่งานง่อยๆ ไปจนถึงงานบริษัท เขาไม่ได้ปฎิเสธแค่เพราะไม่จบมหาลัยนะครับ
คุณยกบิลเกตใช่มั่ย เค้าได้เซ็นสัญญากับบริษัทผลิตฮาร์ตแวร์ เพราะเขามีความรู้ และประสบการ กลยุทธ์ และที่สำคัญคือ "ผลงาน" ส่วนสตีฟจ็อบส์ ก็เคยไปสมัครงานที่ Atari พร้อมพูดว่า "ผมจะไม่เดินออกไปจนกว่าผมจะได้งานที่นี่" และเขาก็ได้จริงๆ คุณรู้รึเปล่าว่าเพื่อนผมที่ทำทุกอย่างตามระบบอย่างคนธรรมดาคนนึง ยังเคยพูดกับผมเลยว่า บริษัทที่ไปสมัครมา ไม่ใช่บริษัทที่เลิศอะไรขนาดนั่น รู้หรือเปล่าว่ากูเกิล อเมซอน เฟสบุ๊ค ไม่ดูคนที่เกรด แต่ดูความสามารถเป็นหลัก ...ถ้าความสามารถดีจริง แล้วลาออกมา ก็ไม่ต้องกลัว มีที่ทำงานดีๆรออยู่เยอะและ ถ้าความสามารถไม่ถึงแล้วลาออกมา เขาเรียกวางแผนไม่ดี อย่าโทษว่าที่ไปไม่ถึง เพราะ "น้ำมันห่วย" "รถห่วย" ต้องว่า "ไม่วางแผนการเดินทางให้ดี" ต่างหากครับ
ข้อแรก ถ้าคุณคิดจะลาออก แล้วมาสมัครงานเหมือนคนทั่วไป คุณทำได้ แต่อาจจะไม่ใช่ที่ไทย ซึ่งถ้าคุณเป็นคนไทย แล้วคุณดันไม่รู้ข้อนี้อยู่ตั้งแต่ก่อนออกจากมหาลัย ผมคงต้องขอติงสักหน่อยแล้วล่ะ
ข้อสอง ถ้าคุณคิดจะออกจากระบบ แล้วอยากกลับมาพึ่งระบบ จะออกจากระบบทำไม เมื่อธรรมชาติของระบบนี้ในไทย ก็ชัดอยู่แล้วว่า ต้องเรียน ทำเกรด สมัครงาน ไต่เต้า เก็บเงิน เกษียนตอนแก่หน่อย แล้วตาย คุณจะทำผิดไปข้อนึงแล้วมาบ่นว่าลำบาก มันไม่ได้รึเปล่า
3. และผมก็เคยคัดคนมาสัมภาษณ์, แน่นอนว่าผมดูที่ใบปริญญาก่อน
ข้อแรก คุณอยู่ในไทย??? เจ้านายคุณต้องมีค่านิยมอย่างไทย และต้องสั่งให้คุณดูเกรดกับมหาลัยแน่นอน
ถ้าคุณดูเอง เจ้านายไม่ได้สั่ง ผมคิดว่าคุณงงชีวิต เพราะคุณลาออกจากมหาลัย คงต้องเชื่อว่าไม่จำเป็น ที่จะต้องดูสิ่งเหล่านี้ ...หรือคุณจะบอกว่า ตอนออกจากมหาลัยคุณไม่รู้ว่ามหาลัยเขาไม่ได้ให้แต่ความรู้ แต่ยังให้ใบที่รับรองว่าคุณมีความรู้ด้วย ก็เลยออก ??? เพราะถึงคุณคิดว่าคุณมีความรู้พอแล้ว ออกจากมหาลัยได้ แต่ถ้าคุณคิดว่าคุณควรต้องมีใบที่แสดงให้คนอื่นแน่ใจด้วย คุณก็ต้องทนเรียนต่อ ดังนั้นคุณมีความรู้แล้ว หรือพร้อมแล้ว และคนอื่นคงเชื่อคุณทั้งๆที่ไม่มีใบอะไรเลย นั่นผิดพลาดข้อแรก เพราะคุณอยู่ในไทย ข้อสอง การที่คุณคิดว่าคุณไม่ต้องใช้ใบอะไรก็เลยลาออก แต่พอกับคนอื่น คุณกลับติดสินเขาด้วยมาตรฐานคนละอย่างกับตัวเอง แบบนี้เรียกหลงตัวเองครับ หรือไม่ก็งงชีวิต หรือไม่ก็คิดว่า "ตัวเองก็ต้องการใบอะไรนั่นเหมือนกัน แต่ต้องลาออกเพราะความจำเป็นบางอย่าง" ซึ่งถ้าเป็นข้อสุดท้าย มันไม่เกี่ยวกับสตีฟจ็อบส์ หรือบิลเกต แล้วนะครับ เพราะสองคนนั้นเขาเลือกจะออกเอง
คุณถามว่ามีกี่คนที่ทำได้อย่างสองคนนี้ มีเยอะแยะเลยครับ หลักพันหลักหมื่นคน และแต่ละคน เขาได้รับการยกย่อง เพราะเขาเป็นน้อยคนที่ทำได้ครับ คุณต้องเข้าใจด้วย ว่าเป็นธรรมดาอยู่แล้วที่คนฉลาดจะมีน้อยกว่าคนโง่ คนรวยจะมีน้อยกว่าคนจน แต่การที่คนฉลาดมีน้อย ไม่ได้แปลว่าเราห้ามพยายามฉลาด การที่คนรวยมีน้อย ไม่ได้แปลว่าเราห้ามพยายามรวย การที่คนที่ทำสิ่งยอดเยี่ยมอย่างบิลเกตและสตีฟ มีน้อย ไม่ได้หมายความว่าเราต้องหยุดทำสิ่งยอดเยี่ยม แม้ว่ามันจะยากก็ตาม ความจริงแล้วมันควรจะทำ เพราะมันยากด้วยซ้ำ เพราะถ้าใครๆก็ทำได้ คนที่ทำได้คงไม่ได้รับการยกย่องหรอก
ถ้าคุณจะไปเชียงใหม่ แต่ไปยาก น้อยคนจะไปถึง คุณจะเลิกไปไหม ควรไปที่ๆมันมีโอกาสถึงแน่ๆมากกว่าไหม ....อาจจะใช่ ถ้าชีวิตคุณคือการ "ไปให้ถึงที่ไหนก็ได้ซักที่ ที่มันไม่ได้แย่มากนัก" แต่สำหรับผม ผมว่า ไม่ใช่ คนเราเกิดมาครั้งเดียว อยากไปไหน ต้องไปให้ถึงให้ได้ แม้จะยากแค่ไหนก็ตาม
อีลอนมักส์ กล่าวไว้ว่า "บางอย่างในชีวิต สำคัญมากเสียจนกระทั้ง
แม้ความน่าจะเป็นเมื่อทำลงไปแล้ว จะคือล้มเหลวก็ตาม ก็ยัง
ต้องพยายามทำต่อไปอยู่ดี" ผมว่าจริงที่สุด เพราะถึงแม้ว่า น้อยคนจะทำได้=เสี่ยงมาก ก็ตาม
แต่ เสี่ยงมากก็ยัง = มีโอกาสำเร็จ(น้อย) และ มีโอกาสล้มเหลว(สูง)
แต่ถ้าไม่ทำเลย = ไม่เสี่ยง = มีโอกาสล้มเหลว(100%) และมีโอกาสสำเร็จ 0% (ก็คือไม่สำเร็จ เพราะไม่ได้ทำเลย)
บางคนอาจบอกว่า ก็สำเร็จ แต่ไม่ร้อยแหละ เพราะทำใกล้เคียง แต่ปลอดภัยไง เช่นไปแค่ลำปาง แต่ผมบอกเลยครับ มันก็ไม่ใช่เชียงใหม่ ลึกๆแล้วคุณก็จะรู้ไปตลอดชีวิต ว่าคุณอยากไปไหน แต่ไปไม่เคยได้เลย หลอกตัวเองก็ได้ว่าลำปางก็หนาวเหมือนกันแหละ แต่คุณไม่รู้หรอกครับว่าเหมือนรึเปล่า เพราะอีกที่ คุณไม่เคยไป คุณอยากไป แต่ไปไม่สำเร็จครับ
ผลวิจัยชี้ว่า ตอนแก่ คนเราเสียใจกับ "สิ่งที่ไม่เคยได้ทำ" มากกว่าเสียใจกับสิ่งที่ได้ทำลงไป นะครับ คนเราเกิดมาทั้งที ยังไงก็ตายซักวัน ต้องใช้ชีวิตให้เต็มที่สิครับ ผมเชื่อว่าถ้า
วันพรุ่งนี้ เป็นวัน หรือเดือน หรือปีสุดท้าย ในชีวิตของนักเรียนทุกคน "เกือบทั้งหมด เลือกที่จะไม่ไปเรียนอีกแล้ว"
อีกอย่างนะครับ บิลเกต กับสตีฟจ็อบส์ เขาไม่เสียเวลาเอาโปรไฟล์ระดับนั้น มาสมัครงานแล้วครับ เขาออกจากมหาลัยเพื่อวิสัยทัศ และสร้างงานครับ ไม่ใช่ "หางาน"
4. ความขี้เกียจเป็นอภิสิทธิ์ของ Genius
สองคนนี้
ไม่มีใครขี้เกียจเลยสักคนนะครับ คนขยันไม่ใช่แค่คนในโรงเรียนนะครับ จากประวัติการทำงาน จ็อบส์และเกตุ ขยันมากทีเดียว
คนที่ขี้เกียจ คือพวกที่คิดเข้าข้างตัวเอง ว่าเดี๋ยวทำอย่างสตีฟจ็อบส์ กับบิลเกตก็ได้ โดยที่ไม่ได้เข้าใจจริงๆว่าสองคนนี้เขาคิดยังไง ทำอะไร และทำได้ยังไง พวกนี้แค่ขี้เกียจเรียน และพยายามหาข้ออ้างที่จะเลิกเรียน และเมื่อล้มเหลวก็อายหน้าผู้คนจนไม่กล้าบอกใคร
สำหรับผมล้มเหลวจะไม่มีถ้าหากยังไม่หยุดพยายาม
ถ้าคนเราหยุดเมื่อสำเร็จเท่านั่น ก็จะมีแต่สำเร็จ กับตาย ไม่มีล้มเหลว
และสตีฟ กับบิล คนระดับนี้จะไม่มีวันยอมแพ้แน่นอน เพราะพวกเขาไม่ใช่คนขี้เกียจอย่างที่คุณเข้าใจ ไม่อย่างนั้นคงไม่สามารถทำสิ่งที่พวกเขาทำได้หรอกครับ
และต่อให้จะมีคนอีกหลายล้านคนมาเล่าว่าพวกเขาออกจากมหาวิทยาลัยแล้วล้มเหลวยังไง สำหรับผม ก็เหมือนแค่ได้ฟังเอดิสัน เล่าให้ฟังว่าเขาทำหลอดไฟให้ "ไม่ติดไฟ" ยังไงบ้าง
ประโยชน์ก็คือ 1.ผมจะได้ไม่ทำวิธีพวกนั่น 2.เรียนรู้ว่า ความสำเร็จต้องอาศัยความพยายามครับ
ไม่ใช่ดันไปเรียนรู้ว่า "ต้องหยุดทำอย่างคนที่ประสบความสำเร็จทำ"
ก่อนจบ
ผมขอเล่านิทาน ที่วอเรนบัฟเฟตต์ คนที่เคยสลับกับบิลเกต รวยที่สุดในโลกมาแล้ว(และทุกวันนี้ก็ยังเล่นไพ่กับบิลเกต) ได้เล่าไว้ในท้ายหนังสือ "The Intelligent Investor" เพื่อเป็นข้อคิดครับ
เรื่องมีอยู่ว่า การเล่น "ปั่นแปะ" เนี่ยครับ คือการเอาเหรียญ มาหมุน แล้วก็เอามือ แปะ
จากนั้นก็ทายกับครับว่า เมื่อยกมือขึ้นมา เหรียญมันจะออก หัว หรืออก ก้อย คนที่ทายถูก ก็จะได้เงินเหรียญนั้นไปเลย
เขาเล่าว่า ถ้าคนอเมริกันทั้งหมด มาจับคู่เล่นกัน
คนละตา วันละตาเท่านั้น โดยรางวัลของการชนะแต่ละตา ไม่ใช่แค่เงินเหรียญเดียว แต่เป็นเงินทั้งหมดที่ผู้เล่นมีจากการเล่นครั้งก่อนๆ
ถ้าเป็นงั่น ...ผ่านไปแค่ไม่กี่วัน จะมีคนเหลือเพียง "ไม่กี่พันคน ที่เป็นมหาเศรษฐี"
มหาเศรษฐี จากการทายเศษเหรียญถูกติดกันแค่ไม่กี่ครั้ง
ยิ่งเวลาผ่านไปอีก ก็จะยิ่งเหลือคนรวยน้อยลง ที่รวยมากขึ่นสองเท่าทุกวัน ...เมื่อเหลือคนแค่ 20 คนที่รวยมาก (ในขณะที่คนอื่นก็แค่จนลง 1 เหรียญ) คน 20 คนนั้น อาจมานั่งเขียนหนังสือ โม้เรื่องของตัวเอง ว่าทำยังไงถึงจะประสบความสำเร็จ ทั้งๆที่ความจริงแล้ว
ถ้าเปลี่ยนจากคน เป็นลิง แล้วให้ทำอย่างเดียวกันเป๊ะๆ ผลก็จะออกมาเหมือนกันจริงไหมครับ ก็คือจะมีลิง 20 ตัว ที่รวยกว่าเพื่อนๆ ก็แค่นั้นเอง
เพราะแนวคิดอย่างนี้ จึงทำให้คนไม่เชื่อในการพยายามทำให้สำเร็จ แต่กลับเชื่อเรื่องโอกาสมากกว่า ว่าคงสำเร็จยาก กลับเชื่อว่าตัวเองเป็นหนึ่งในลิงโง่ๆ ที่ก็แค่ตัดสินใจทายเหรียญไป
ไม่ต้องอ่านหนังสือที่ลิง 20 ตัวสุดท้ายจากรอบก่อนเขียนก็ได้ เพราะสุดท้าย มันก็ยากจะสำเร็จอยู่ดี จะพยายามไปทำไม จะทำตามคนสำเร็จไปทำไม รีบๆเล่นให้แพ้แล้วไปทำอย่างอื่นเถอะ
ความจริงก็คือ ในลิง 20 ตัว 2 ตัวเป็นบาบูน 3 ตัวเป็นชิมแพนซี และ 11 ตัวเป็นอุรังอุตัง ...เช่นนี้คนฉลาด ก็จะรู้แล้วว่า ถ้าอยากชนะ ควรศึกษาพฤติกรรมการเล่นของลิงอุรังอุตังนะ
ในโลกของเรา คนที่ประสบความสำเร็จ มีหลักการอะไร ที่พวกเขามักทำเหมือนๆกันบ้างครับ ..."ใจกว้าง" "คิดการใหญ่" "คิดต่าง" "กล้าริเริ่ม" "ไม่ยอมเสียเวลาทำสิ่งไร้ประโยชน์" "ทำมากกว่าพูด" "ศึกษาลึกซึ้ง" "ไม่ยึดติดสถาบัน" "สร้างงานไม่ใช่หางาน" "สร้างคุณค่า" "กล้าออกจากมหาลัยเมื่อเห็นโอกาสทำสิ่งที่มีคุณค่ากว่า"
ถ้าเช่นนั้น เราก็ควรจะทำตามหลักเหล่านั้นครับ
โต้กระทู้ "4 ความจริงที่คนเรียนไม่จบมหา’ลัย ไม่กลับมาเล่าให้คุณฟัง"
เอาจริงๆ กระทู้นี้นานละนะครับ แต่ขอลงความเห็นดู เพราะผมเองเป็นคนที่ลาออกมาคนนึงเหมือนกัน (และทุกวันนี้ก็กล้าพูดแค่ว่า ก็ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังไม่ได้ประสบความสำเร็จอะไรเลยเช่นกัน) แต่ผมกลับมองต่างจากเจ้าของกระทู้นี้มากเลยนะครับ
1. Jobs & Gates ไม่ได้รวยเพราะเรียนไม่จบ
ประเด็นแรกคือ ความรวย ถูกยกมากล่าวถึงในกระทู้นี้ แสดงให้เห็นบางอย่าง ในตัวเจ้าของกระทู้ ที่มองว่า "รวย=ประสบความสำเร็จ"
ซึ่งไม่ค่อยถูก ทั้งแง่ธุรกิจ และชีวิต
ในแง่ชีวิต เรามีคำพูดว่า "เงินไม่ได้ซื้อได้ทุกอย่าง" ซึ่งบางทีเรายังเห็นว่าไม่จริง เช่น ความรัก เงินซื้อไม่ได้ แต่เราซื้อของที่จะทำให้คนรักและผูกพันกับเราได้ เช่น รถ ทริปต่างประเทศ มื้ออาหารสุดพิเศษ ของขวัญวันเกิด เลขา(ที่คอยเตือนว่าวันเกิดแฟนคุณแล้วนะ) ...เพียงแต่เราเชื่อว่า "บางอย่างในชีวิต ไม่ควรได้มาจากการซื้อ" เท่านั้นเอง
ส่วนในแง่ธุรกิจ มีคำกล่าวว่า ธุรกิจต้องสร้างคุณค่าเป็นหลัก แล้วเงินจะตามมาเอง เราว่าจริงนะ เพราะ "คนจะอยู่ได้เพราะหายใจ แต่คนที่อยู่เพื่อหายใจ คงจะโคตรไร้ค่าเลย" ธุรกิจก็เช่นกัน เพราะ "ธุรกิจต้องการเงินหมุนจึงอยู่ได้ แต่ถ้าธุรกิจอยู่แค่เพื่อเงิน ก็คงจะอยู่ได้แบบไร้ค่านั่นเอง" ...หรือคุณว่าไม่จริงครับ คุณจะชื่นชมบริษัทที่เอาแต่ดูดเงินคุณโดยสร้างคุณค่าเพียงน้อยนิดให้คุณงั้นหรือ?? ผมจึงไม่เข้าใจสักนิดว่า การที่รวยหรือไม่รวย เกี่ยวอะไรกับการออกจากมหาลัยของสองคนนี้
...ประเด็นที่สองคือ เจ้าของกระทู้นี้ พยายามยกว่า ออกจากมหาลัย ไม่ได้ทำให้รวยนะ ซึ่งก็ผิด เพราะถึงเจ้าของกระทู้จะชี้ว่าบิลเกต เก่งอยู่แล้วจึงเลิกเรียน แต่กับสตีฟจ็อบส์ เขาทำเป็นลืมไปเลย เหมือนกับว่าหาจุดที่จะมาสนับสนุนเหตุผลของตัวเอง และลืมเหตุผลที่ค้านไปซะ เพราะสตีฟจ็อบส์ ไม่ได้ทำได้ดีขนาดนั้นเลยในโรงเรียน แต่เขาทำได้ดีด้านอื่น ...จะเห็นว่าการออกจากมหาลัยมีผลมาก ไม่ใช่เพราะเขาเก่งอยู่แล้วจึงไม่ต้องเรียน แต่เพราะว่า เขาไม่ได้คิดว่าคำตัดสินของมหาลัยว่าเขาเก่งหรือไม่นั้น สำคัญกว่าการออกมาทำ สิ่งที่เขาทำ ซึ่งถ้าเขาไม่ออกมาทำ เขาจะไม่รวยนั่นเอง สตีฟวอสเนียก คงไม่นั่งรอสตีฟจ็อบส์เรียนจบแล้วค่อยขายคอมด้วยกัน เขาคงขายเลย(หรืออาจให้ฟรีๆด้วยซ้ำ) เพราะเขาทำเสร็จแล้ว แล้วมันจะล้มเหลวเหมือนนาฬิกาที่เขาพยายามทำโดยไม่มีจ็อบส์ช่วยนั่นแหละ เพราะวอสเนียกขาดวิสัยทัศน์บางอย่างที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ที่ผู้คนรัก เช่นนั้น มันก็จะไม่มีคอมฯส่วนบุคคลออกมาสู่ตลาด และ IBM ก็จะไม่ผลิตรุ่นของตัวเองออกมาแข่ง และเมื่อไม่มีการผลิตดังกล่าว บิลเกตก็จะไม่ได้ขายซอฟแวร์ของ dos ให้กับ IBM จนตั้งตัวได้ และทั้งสตีฟ และบิล จึงอาจจะเข้าสู่ความสำเร็จช้าลงมาก ถ้าพวกเขาไม่ได้ตัดสินใจออกจากมหาลัย (และนี่เป็นเพียงเคสตัวอย่างเดียวเท่านั่น ยังมีอีกเป็นร้อยๆเคส ลองคิดดูว่าถ้ามาร์คซักเกอร์เบิร์กทำเฟสบุ๊คช้าลงอีกสองสัปดาห์ และทำให้ฝาแฝดวิงเคิลวอสที่คิดจะทำเหมือนกัน มีโอกาสทำเสร็จบ้างในเวลาไล่เลี่ยกัน คงจะชะลอความสำเร็จของเฟสบุ๊กไปเป็นปีๆ เพราะต้องทำอะไรมาแข่งขันคู่แข่งที่ทุนสูง)
2. ผมเคยถูกปฏิเสธงานเพราะไม่มีวุฒิ / ใบปริญญา
เมืองนอกไม่ เค้าทำกันเยอะแยะ ตั้งแต่งานง่อยๆ ไปจนถึงงานบริษัท เขาไม่ได้ปฎิเสธแค่เพราะไม่จบมหาลัยนะครับ
คุณยกบิลเกตใช่มั่ย เค้าได้เซ็นสัญญากับบริษัทผลิตฮาร์ตแวร์ เพราะเขามีความรู้ และประสบการ กลยุทธ์ และที่สำคัญคือ "ผลงาน" ส่วนสตีฟจ็อบส์ ก็เคยไปสมัครงานที่ Atari พร้อมพูดว่า "ผมจะไม่เดินออกไปจนกว่าผมจะได้งานที่นี่" และเขาก็ได้จริงๆ คุณรู้รึเปล่าว่าเพื่อนผมที่ทำทุกอย่างตามระบบอย่างคนธรรมดาคนนึง ยังเคยพูดกับผมเลยว่า บริษัทที่ไปสมัครมา ไม่ใช่บริษัทที่เลิศอะไรขนาดนั่น รู้หรือเปล่าว่ากูเกิล อเมซอน เฟสบุ๊ค ไม่ดูคนที่เกรด แต่ดูความสามารถเป็นหลัก ...ถ้าความสามารถดีจริง แล้วลาออกมา ก็ไม่ต้องกลัว มีที่ทำงานดีๆรออยู่เยอะและ ถ้าความสามารถไม่ถึงแล้วลาออกมา เขาเรียกวางแผนไม่ดี อย่าโทษว่าที่ไปไม่ถึง เพราะ "น้ำมันห่วย" "รถห่วย" ต้องว่า "ไม่วางแผนการเดินทางให้ดี" ต่างหากครับ
ข้อแรก ถ้าคุณคิดจะลาออก แล้วมาสมัครงานเหมือนคนทั่วไป คุณทำได้ แต่อาจจะไม่ใช่ที่ไทย ซึ่งถ้าคุณเป็นคนไทย แล้วคุณดันไม่รู้ข้อนี้อยู่ตั้งแต่ก่อนออกจากมหาลัย ผมคงต้องขอติงสักหน่อยแล้วล่ะ
ข้อสอง ถ้าคุณคิดจะออกจากระบบ แล้วอยากกลับมาพึ่งระบบ จะออกจากระบบทำไม เมื่อธรรมชาติของระบบนี้ในไทย ก็ชัดอยู่แล้วว่า ต้องเรียน ทำเกรด สมัครงาน ไต่เต้า เก็บเงิน เกษียนตอนแก่หน่อย แล้วตาย คุณจะทำผิดไปข้อนึงแล้วมาบ่นว่าลำบาก มันไม่ได้รึเปล่า
3. และผมก็เคยคัดคนมาสัมภาษณ์, แน่นอนว่าผมดูที่ใบปริญญาก่อน
ข้อแรก คุณอยู่ในไทย??? เจ้านายคุณต้องมีค่านิยมอย่างไทย และต้องสั่งให้คุณดูเกรดกับมหาลัยแน่นอน
ถ้าคุณดูเอง เจ้านายไม่ได้สั่ง ผมคิดว่าคุณงงชีวิต เพราะคุณลาออกจากมหาลัย คงต้องเชื่อว่าไม่จำเป็น ที่จะต้องดูสิ่งเหล่านี้ ...หรือคุณจะบอกว่า ตอนออกจากมหาลัยคุณไม่รู้ว่ามหาลัยเขาไม่ได้ให้แต่ความรู้ แต่ยังให้ใบที่รับรองว่าคุณมีความรู้ด้วย ก็เลยออก ??? เพราะถึงคุณคิดว่าคุณมีความรู้พอแล้ว ออกจากมหาลัยได้ แต่ถ้าคุณคิดว่าคุณควรต้องมีใบที่แสดงให้คนอื่นแน่ใจด้วย คุณก็ต้องทนเรียนต่อ ดังนั้นคุณมีความรู้แล้ว หรือพร้อมแล้ว และคนอื่นคงเชื่อคุณทั้งๆที่ไม่มีใบอะไรเลย นั่นผิดพลาดข้อแรก เพราะคุณอยู่ในไทย ข้อสอง การที่คุณคิดว่าคุณไม่ต้องใช้ใบอะไรก็เลยลาออก แต่พอกับคนอื่น คุณกลับติดสินเขาด้วยมาตรฐานคนละอย่างกับตัวเอง แบบนี้เรียกหลงตัวเองครับ หรือไม่ก็งงชีวิต หรือไม่ก็คิดว่า "ตัวเองก็ต้องการใบอะไรนั่นเหมือนกัน แต่ต้องลาออกเพราะความจำเป็นบางอย่าง" ซึ่งถ้าเป็นข้อสุดท้าย มันไม่เกี่ยวกับสตีฟจ็อบส์ หรือบิลเกต แล้วนะครับ เพราะสองคนนั้นเขาเลือกจะออกเอง
คุณถามว่ามีกี่คนที่ทำได้อย่างสองคนนี้ มีเยอะแยะเลยครับ หลักพันหลักหมื่นคน และแต่ละคน เขาได้รับการยกย่อง เพราะเขาเป็นน้อยคนที่ทำได้ครับ คุณต้องเข้าใจด้วย ว่าเป็นธรรมดาอยู่แล้วที่คนฉลาดจะมีน้อยกว่าคนโง่ คนรวยจะมีน้อยกว่าคนจน แต่การที่คนฉลาดมีน้อย ไม่ได้แปลว่าเราห้ามพยายามฉลาด การที่คนรวยมีน้อย ไม่ได้แปลว่าเราห้ามพยายามรวย การที่คนที่ทำสิ่งยอดเยี่ยมอย่างบิลเกตและสตีฟ มีน้อย ไม่ได้หมายความว่าเราต้องหยุดทำสิ่งยอดเยี่ยม แม้ว่ามันจะยากก็ตาม ความจริงแล้วมันควรจะทำ เพราะมันยากด้วยซ้ำ เพราะถ้าใครๆก็ทำได้ คนที่ทำได้คงไม่ได้รับการยกย่องหรอก
ถ้าคุณจะไปเชียงใหม่ แต่ไปยาก น้อยคนจะไปถึง คุณจะเลิกไปไหม ควรไปที่ๆมันมีโอกาสถึงแน่ๆมากกว่าไหม ....อาจจะใช่ ถ้าชีวิตคุณคือการ "ไปให้ถึงที่ไหนก็ได้ซักที่ ที่มันไม่ได้แย่มากนัก" แต่สำหรับผม ผมว่า ไม่ใช่ คนเราเกิดมาครั้งเดียว อยากไปไหน ต้องไปให้ถึงให้ได้ แม้จะยากแค่ไหนก็ตาม
อีลอนมักส์ กล่าวไว้ว่า "บางอย่างในชีวิต สำคัญมากเสียจนกระทั้ง แม้ความน่าจะเป็นเมื่อทำลงไปแล้ว จะคือล้มเหลวก็ตาม ก็ยังต้องพยายามทำต่อไปอยู่ดี" ผมว่าจริงที่สุด เพราะถึงแม้ว่า น้อยคนจะทำได้=เสี่ยงมาก ก็ตาม
แต่ เสี่ยงมากก็ยัง = มีโอกาสำเร็จ(น้อย) และ มีโอกาสล้มเหลว(สูง)
แต่ถ้าไม่ทำเลย = ไม่เสี่ยง = มีโอกาสล้มเหลว(100%) และมีโอกาสสำเร็จ 0% (ก็คือไม่สำเร็จ เพราะไม่ได้ทำเลย)
บางคนอาจบอกว่า ก็สำเร็จ แต่ไม่ร้อยแหละ เพราะทำใกล้เคียง แต่ปลอดภัยไง เช่นไปแค่ลำปาง แต่ผมบอกเลยครับ มันก็ไม่ใช่เชียงใหม่ ลึกๆแล้วคุณก็จะรู้ไปตลอดชีวิต ว่าคุณอยากไปไหน แต่ไปไม่เคยได้เลย หลอกตัวเองก็ได้ว่าลำปางก็หนาวเหมือนกันแหละ แต่คุณไม่รู้หรอกครับว่าเหมือนรึเปล่า เพราะอีกที่ คุณไม่เคยไป คุณอยากไป แต่ไปไม่สำเร็จครับ
ผลวิจัยชี้ว่า ตอนแก่ คนเราเสียใจกับ "สิ่งที่ไม่เคยได้ทำ" มากกว่าเสียใจกับสิ่งที่ได้ทำลงไป นะครับ คนเราเกิดมาทั้งที ยังไงก็ตายซักวัน ต้องใช้ชีวิตให้เต็มที่สิครับ ผมเชื่อว่าถ้าวันพรุ่งนี้ เป็นวัน หรือเดือน หรือปีสุดท้าย ในชีวิตของนักเรียนทุกคน "เกือบทั้งหมด เลือกที่จะไม่ไปเรียนอีกแล้ว"
อีกอย่างนะครับ บิลเกต กับสตีฟจ็อบส์ เขาไม่เสียเวลาเอาโปรไฟล์ระดับนั้น มาสมัครงานแล้วครับ เขาออกจากมหาลัยเพื่อวิสัยทัศ และสร้างงานครับ ไม่ใช่ "หางาน"
4. ความขี้เกียจเป็นอภิสิทธิ์ของ Genius
สองคนนี้ ไม่มีใครขี้เกียจเลยสักคนนะครับ คนขยันไม่ใช่แค่คนในโรงเรียนนะครับ จากประวัติการทำงาน จ็อบส์และเกตุ ขยันมากทีเดียว
คนที่ขี้เกียจ คือพวกที่คิดเข้าข้างตัวเอง ว่าเดี๋ยวทำอย่างสตีฟจ็อบส์ กับบิลเกตก็ได้ โดยที่ไม่ได้เข้าใจจริงๆว่าสองคนนี้เขาคิดยังไง ทำอะไร และทำได้ยังไง พวกนี้แค่ขี้เกียจเรียน และพยายามหาข้ออ้างที่จะเลิกเรียน และเมื่อล้มเหลวก็อายหน้าผู้คนจนไม่กล้าบอกใคร
สำหรับผมล้มเหลวจะไม่มีถ้าหากยังไม่หยุดพยายาม
ถ้าคนเราหยุดเมื่อสำเร็จเท่านั่น ก็จะมีแต่สำเร็จ กับตาย ไม่มีล้มเหลว
และสตีฟ กับบิล คนระดับนี้จะไม่มีวันยอมแพ้แน่นอน เพราะพวกเขาไม่ใช่คนขี้เกียจอย่างที่คุณเข้าใจ ไม่อย่างนั้นคงไม่สามารถทำสิ่งที่พวกเขาทำได้หรอกครับ
และต่อให้จะมีคนอีกหลายล้านคนมาเล่าว่าพวกเขาออกจากมหาวิทยาลัยแล้วล้มเหลวยังไง สำหรับผม ก็เหมือนแค่ได้ฟังเอดิสัน เล่าให้ฟังว่าเขาทำหลอดไฟให้ "ไม่ติดไฟ" ยังไงบ้าง
ประโยชน์ก็คือ 1.ผมจะได้ไม่ทำวิธีพวกนั่น 2.เรียนรู้ว่า ความสำเร็จต้องอาศัยความพยายามครับ
ไม่ใช่ดันไปเรียนรู้ว่า "ต้องหยุดทำอย่างคนที่ประสบความสำเร็จทำ"
ก่อนจบ
ผมขอเล่านิทาน ที่วอเรนบัฟเฟตต์ คนที่เคยสลับกับบิลเกต รวยที่สุดในโลกมาแล้ว(และทุกวันนี้ก็ยังเล่นไพ่กับบิลเกต) ได้เล่าไว้ในท้ายหนังสือ "The Intelligent Investor" เพื่อเป็นข้อคิดครับ
เรื่องมีอยู่ว่า การเล่น "ปั่นแปะ" เนี่ยครับ คือการเอาเหรียญ มาหมุน แล้วก็เอามือ แปะ
จากนั้นก็ทายกับครับว่า เมื่อยกมือขึ้นมา เหรียญมันจะออก หัว หรืออก ก้อย คนที่ทายถูก ก็จะได้เงินเหรียญนั้นไปเลย
เขาเล่าว่า ถ้าคนอเมริกันทั้งหมด มาจับคู่เล่นกัน คนละตา วันละตาเท่านั้น โดยรางวัลของการชนะแต่ละตา ไม่ใช่แค่เงินเหรียญเดียว แต่เป็นเงินทั้งหมดที่ผู้เล่นมีจากการเล่นครั้งก่อนๆ
ถ้าเป็นงั่น ...ผ่านไปแค่ไม่กี่วัน จะมีคนเหลือเพียง "ไม่กี่พันคน ที่เป็นมหาเศรษฐี"
มหาเศรษฐี จากการทายเศษเหรียญถูกติดกันแค่ไม่กี่ครั้ง
ยิ่งเวลาผ่านไปอีก ก็จะยิ่งเหลือคนรวยน้อยลง ที่รวยมากขึ่นสองเท่าทุกวัน ...เมื่อเหลือคนแค่ 20 คนที่รวยมาก (ในขณะที่คนอื่นก็แค่จนลง 1 เหรียญ) คน 20 คนนั้น อาจมานั่งเขียนหนังสือ โม้เรื่องของตัวเอง ว่าทำยังไงถึงจะประสบความสำเร็จ ทั้งๆที่ความจริงแล้ว ถ้าเปลี่ยนจากคน เป็นลิง แล้วให้ทำอย่างเดียวกันเป๊ะๆ ผลก็จะออกมาเหมือนกันจริงไหมครับ ก็คือจะมีลิง 20 ตัว ที่รวยกว่าเพื่อนๆ ก็แค่นั้นเอง
เพราะแนวคิดอย่างนี้ จึงทำให้คนไม่เชื่อในการพยายามทำให้สำเร็จ แต่กลับเชื่อเรื่องโอกาสมากกว่า ว่าคงสำเร็จยาก กลับเชื่อว่าตัวเองเป็นหนึ่งในลิงโง่ๆ ที่ก็แค่ตัดสินใจทายเหรียญไป ไม่ต้องอ่านหนังสือที่ลิง 20 ตัวสุดท้ายจากรอบก่อนเขียนก็ได้ เพราะสุดท้าย มันก็ยากจะสำเร็จอยู่ดี จะพยายามไปทำไม จะทำตามคนสำเร็จไปทำไม รีบๆเล่นให้แพ้แล้วไปทำอย่างอื่นเถอะ
ความจริงก็คือ ในลิง 20 ตัว 2 ตัวเป็นบาบูน 3 ตัวเป็นชิมแพนซี และ 11 ตัวเป็นอุรังอุตัง ...เช่นนี้คนฉลาด ก็จะรู้แล้วว่า ถ้าอยากชนะ ควรศึกษาพฤติกรรมการเล่นของลิงอุรังอุตังนะ
ในโลกของเรา คนที่ประสบความสำเร็จ มีหลักการอะไร ที่พวกเขามักทำเหมือนๆกันบ้างครับ ..."ใจกว้าง" "คิดการใหญ่" "คิดต่าง" "กล้าริเริ่ม" "ไม่ยอมเสียเวลาทำสิ่งไร้ประโยชน์" "ทำมากกว่าพูด" "ศึกษาลึกซึ้ง" "ไม่ยึดติดสถาบัน" "สร้างงานไม่ใช่หางาน" "สร้างคุณค่า" "กล้าออกจากมหาลัยเมื่อเห็นโอกาสทำสิ่งที่มีคุณค่ากว่า"
ถ้าเช่นนั้น เราก็ควรจะทำตามหลักเหล่านั้นครับ