คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
1. มีแต่คนบอกว่า สอบ ก.พ ใช้ วุฒิ ปวส สอบได้ ถึงจบ ป.ตรีแล้ว พอติด แล้วค่อยเอาวุฒิ ป.ตรี ไปปรับ มันดีกว่า จริงหรือครับ
- ไม่จริง งอ งู ล้านตัว ครับ เพราะอะไร ลองมาดูกันนะครับ
ข้าราชการ ถ้าจะให้ดี เจริญก้าวหน้า
ต้องบรรจุด้วยวุฒิตั้งแต่ ป.ตรี ขึ้นไปครับ
เพราะจะได้บรรจุเป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตร
(เทียบเท่า ร้อยตรี, C3, ปฏิบัติการ)
หากบรรจุชั้นประทวน
(เทียบเท่า สิบตรี, C1-C2, ปฏิบัติงาน)
ฐานเงินเดือนก็ต่ำกว่า เพดานเงินเดือนก็ต่ำกว่า
เห็นมีแต่พวก ปวช. ปวส. อยากจะไปเรียน ป.ตรี เพื่อมาสอบระดับ C3, ปฏิบัติการ ได้
เพราะบ่าห่างกันขีดเดียว แต่เงินเดือน ความก้าวหน้าต่างกันเยอะ
ข้อเท็จจริง การบรรจุด้วยวุฒิ ปวส. ก่อนแล้วค่อยเอา ป.ตรี ปรับเงินเดือน นั้น ทำไม่ได้นะครับ
ในกรณี ข้าราชการฝ่ายพลเรือน (ข้าราชการสังกัด กระทรวง กรม หรือ หน่วยงานที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น)
ตำแหน่งที่บรรจุด้วย วุฒิ ปวช. ปวท. ปวส. และ ตำแหน่งที่บรรจุด้วย วุฒิ ตั้งแต่ ป.ตรี ขึ้นไป
เป็นตำแหน่งคนละประเภทกัน จะนำวุฒิที่สูงกว่ามาปรับฐานเงินเดือนข้ามประเภทตำแหน่งไม่ได้
- ตำแหน่งที่บรรจุด้วย วุฒิ ปวช. ปวท. ปวส. คือ ตำแหน่งประเภททั่วไป มี 4 ระดับ คือ ปฏิบัติงาน, ชำนาญงาน, อาวุโส, ทักษะพิเศษ
- ตำแหน่งที่บรรจุด้วย วุฒิ ตั้งแต่ ป.ตรี ขึ้นไป คือ ตำแหน่งประเภทวิชาการ มี 5 ระดับ คือ ปฏิบัติการ ชำนาญการ, ชำนาญการพิเศษ, เชี่ยวชาญ, ทรงคุณวุฒิ
ถ้าจากบรรจุในตำแหน่งประเภทวิชาการด้วยวุฒิ ป.ตรี สามารถนำวุฒิ ป.โท หรือ ป.เอก มาปรับได้ครับ
แต่ถ้าจากบรรจุในตำแหน่งประเภททั่วไปด้วยวุฒิ ปวส. ต่อให้นำวุฒิ ป.เอก มา ก็ปรับไม่ได้ ครับ
ข้อมูลที่อยากให้ทราบอีกอย่างนึง คือ
มีคนจำนวนไม่น้อยที่คิดว่าข้าราชการส่วนมากรับแต่ ปวช. ปวส. ไม่ค่อยเปิดรับ ป.ตรี
ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดมากครับ
จากข้อมูล กำลังคนภาครัฐ ปี 2556 ดูเฉพาะ ข้าราชการพลเรือนสามัญ
สายงานประเภททั่วไป (บรรจุด้วยคุณวุฒิ ปวช. ปวท. ปวส.) มีทั้งสิ้น 108,224 คน
สายงานประเภทวิชาการ (บรรจุด้วยคุณวุฒิ ตั้งแต่ ป.ตรี ขึ้นไป) มีทั้งสิ้น 251,561 คน
จากข้อมูลข้างต้นก็พออนุมานได้ว่าตำแหน่งที่รับวุฒิ ป.ตรี (สายงานวิชาการ) มีโอกาสเปิดสอบได้มากกว่า ตำแหน่งที่รับวุฒิ ปวส. ครับ
เพราะมีอัตรารองรับเยอะกว่าเกินเท่าตัวครับ
สรุป
1. สอบ ก.พ. ป.ตรี ให้ผ่าน แล้วบรรจุด้วยวุฒิ ป.ตรี จะดีกว่า
2. เอาวุฒิ ปวส. ไปสอบ อาจจะง่ายกว่าก็จริง แต่พอติดแล้ว เอาวุฒิ ป.ตรี ไปเทียบขึ้นเงินเดือนไม่ได้ ครับ
- ไม่จริง งอ งู ล้านตัว ครับ เพราะอะไร ลองมาดูกันนะครับ
ข้าราชการ ถ้าจะให้ดี เจริญก้าวหน้า
ต้องบรรจุด้วยวุฒิตั้งแต่ ป.ตรี ขึ้นไปครับ
เพราะจะได้บรรจุเป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตร
(เทียบเท่า ร้อยตรี, C3, ปฏิบัติการ)
หากบรรจุชั้นประทวน
(เทียบเท่า สิบตรี, C1-C2, ปฏิบัติงาน)
ฐานเงินเดือนก็ต่ำกว่า เพดานเงินเดือนก็ต่ำกว่า
เห็นมีแต่พวก ปวช. ปวส. อยากจะไปเรียน ป.ตรี เพื่อมาสอบระดับ C3, ปฏิบัติการ ได้
เพราะบ่าห่างกันขีดเดียว แต่เงินเดือน ความก้าวหน้าต่างกันเยอะ
ข้อเท็จจริง การบรรจุด้วยวุฒิ ปวส. ก่อนแล้วค่อยเอา ป.ตรี ปรับเงินเดือน นั้น ทำไม่ได้นะครับ
ในกรณี ข้าราชการฝ่ายพลเรือน (ข้าราชการสังกัด กระทรวง กรม หรือ หน่วยงานที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น)
ตำแหน่งที่บรรจุด้วย วุฒิ ปวช. ปวท. ปวส. และ ตำแหน่งที่บรรจุด้วย วุฒิ ตั้งแต่ ป.ตรี ขึ้นไป
เป็นตำแหน่งคนละประเภทกัน จะนำวุฒิที่สูงกว่ามาปรับฐานเงินเดือนข้ามประเภทตำแหน่งไม่ได้
- ตำแหน่งที่บรรจุด้วย วุฒิ ปวช. ปวท. ปวส. คือ ตำแหน่งประเภททั่วไป มี 4 ระดับ คือ ปฏิบัติงาน, ชำนาญงาน, อาวุโส, ทักษะพิเศษ
- ตำแหน่งที่บรรจุด้วย วุฒิ ตั้งแต่ ป.ตรี ขึ้นไป คือ ตำแหน่งประเภทวิชาการ มี 5 ระดับ คือ ปฏิบัติการ ชำนาญการ, ชำนาญการพิเศษ, เชี่ยวชาญ, ทรงคุณวุฒิ
ถ้าจากบรรจุในตำแหน่งประเภทวิชาการด้วยวุฒิ ป.ตรี สามารถนำวุฒิ ป.โท หรือ ป.เอก มาปรับได้ครับ
แต่ถ้าจากบรรจุในตำแหน่งประเภททั่วไปด้วยวุฒิ ปวส. ต่อให้นำวุฒิ ป.เอก มา ก็ปรับไม่ได้ ครับ
ข้อมูลที่อยากให้ทราบอีกอย่างนึง คือ
มีคนจำนวนไม่น้อยที่คิดว่าข้าราชการส่วนมากรับแต่ ปวช. ปวส. ไม่ค่อยเปิดรับ ป.ตรี
ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดมากครับ
จากข้อมูล กำลังคนภาครัฐ ปี 2556 ดูเฉพาะ ข้าราชการพลเรือนสามัญ
สายงานประเภททั่วไป (บรรจุด้วยคุณวุฒิ ปวช. ปวท. ปวส.) มีทั้งสิ้น 108,224 คน
สายงานประเภทวิชาการ (บรรจุด้วยคุณวุฒิ ตั้งแต่ ป.ตรี ขึ้นไป) มีทั้งสิ้น 251,561 คน
จากข้อมูลข้างต้นก็พออนุมานได้ว่าตำแหน่งที่รับวุฒิ ป.ตรี (สายงานวิชาการ) มีโอกาสเปิดสอบได้มากกว่า ตำแหน่งที่รับวุฒิ ปวส. ครับ
เพราะมีอัตรารองรับเยอะกว่าเกินเท่าตัวครับ
สรุป
1. สอบ ก.พ. ป.ตรี ให้ผ่าน แล้วบรรจุด้วยวุฒิ ป.ตรี จะดีกว่า
2. เอาวุฒิ ปวส. ไปสอบ อาจจะง่ายกว่าก็จริง แต่พอติดแล้ว เอาวุฒิ ป.ตรี ไปเทียบขึ้นเงินเดือนไม่ได้ ครับ
แสดงความคิดเห็น
มีแต่คนบอกว่า สอบ ก.พ ใช้ วุฒิ ปวส สอบได้ ถึงจบ ป.ตรีแล้ว พอติด แล้วค่อยเอาวุฒิ ป.ตรี ไปปรับ มันดีกว่า จริงหรือครับ
คราวนี้ญาติฝ่ายแม่ผม ก้อแน่ะนำว่า เอาวุฒิ ปวส ไปสอบสิ ง่ายกว่าพอติดแล้ว ก้อเอาวุฒิป.ตรีไปเทียบขึ้นเงินเดือนได้
ผมก็ไม่ทราบระบบราชการเท่าไร ความจริงมันสามารถทำแบบนั้นได้ไหมครับ แล้วมันดีกว่าไหม ที่จะเอาวุฒิ ปวส ไปสอบ แทน วุฒิ ป.ตรี
แล้วข้อสอบมันง่ายกว่า หรือเหมือนกันครับ ระหว่าง ป.ตรี กับ ปวส
ขอบคุณครับ