ภัยก่อการร้าย ประเทศไทยอยู่อันดับ 10 ของโลก และขยับเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มประเทศอาเซียน ???
/ โดย หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน
http://www.lokwannee.com/web2013/?p=198770
แม้รัฐบาลไทยจะยืนยันว่า ประเทศไทยไม่ได้เป็นพื้นที่หลักของเครือข่ายรัฐอิสลาม (ไอเอส) หลังจากมีข่าวการหาสมาชิกในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีคนในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ที่เดินทางไปร่วมกับกลุ่มไอเอส แต่สถานการณ์การก่อการร้ายก็ถือเป็นภัยที่มองไม่เห็น ทั้งยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุนไม่น้อย
การจัดอันดับดัชนีการก่อการร้ายโลก ปี 2558 โดยสถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ (ไออีพี) ประเทศออสเตรเลียที่ระบุว่า ประเทศไทยอยู่อันดับ 10 ของโลก จาก 162 ประเทศ ที่เสี่ยงภัยการก่อการร้าย และขยับเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มประเทศอาเซียน โดย 9 ประเทศที่อยู่เหนือกว่าไทย คือ อิรัก อัฟกานิสถาน ไนจีเรีย ปากีสถาน ซีเรีย อินเดีย เยเมน โซมาเลีย และลิเบีย โดยการจัดอันดับจะพิจารณาจากความรุนแรงต่างๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ที่มีประชาชนเสียชีวิตไปแล้วกว่า 6,000 คน
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในอาเซียน โดยฟิลิปปินส์อยู่อันดับ 11 อินโดนีเซียอันดับ 33 เมียนมาร์อันดับ 41 มาเลเซียอันดับ 49 กัมพูชาอันดับ 113 และลาวอันดับ 121 ภัยจากการก่อการร้ายจึงถือเป็นเรื่องน่าวิตกอย่างมาก ซึ่งตรงข้ามกับที่รัฐบาลและฝ่ายความมั่นคงชี้แจง
โดยเฉพาะเหตุระเบิดแยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2558 ที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 20 ราย ไม่ใช่เตือนภัยก่อการร้ายทั่วไปเท่านั้น แต่ยังตอกย้ำการดำเนินนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงของไทยที่ผิดพลาดอีกด้วย
ภัยก่อการร้าย ! ประเทศไทยอยู่อันดับ 10 ของโลก และขยับเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มประเทศอาเซียน ???
/ โดย หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน
http://www.lokwannee.com/web2013/?p=198770
แม้รัฐบาลไทยจะยืนยันว่า ประเทศไทยไม่ได้เป็นพื้นที่หลักของเครือข่ายรัฐอิสลาม (ไอเอส) หลังจากมีข่าวการหาสมาชิกในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีคนในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ที่เดินทางไปร่วมกับกลุ่มไอเอส แต่สถานการณ์การก่อการร้ายก็ถือเป็นภัยที่มองไม่เห็น ทั้งยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุนไม่น้อย
การจัดอันดับดัชนีการก่อการร้ายโลก ปี 2558 โดยสถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ (ไออีพี) ประเทศออสเตรเลียที่ระบุว่า ประเทศไทยอยู่อันดับ 10 ของโลก จาก 162 ประเทศ ที่เสี่ยงภัยการก่อการร้าย และขยับเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มประเทศอาเซียน โดย 9 ประเทศที่อยู่เหนือกว่าไทย คือ อิรัก อัฟกานิสถาน ไนจีเรีย ปากีสถาน ซีเรีย อินเดีย เยเมน โซมาเลีย และลิเบีย โดยการจัดอันดับจะพิจารณาจากความรุนแรงต่างๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ที่มีประชาชนเสียชีวิตไปแล้วกว่า 6,000 คน
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในอาเซียน โดยฟิลิปปินส์อยู่อันดับ 11 อินโดนีเซียอันดับ 33 เมียนมาร์อันดับ 41 มาเลเซียอันดับ 49 กัมพูชาอันดับ 113 และลาวอันดับ 121 ภัยจากการก่อการร้ายจึงถือเป็นเรื่องน่าวิตกอย่างมาก ซึ่งตรงข้ามกับที่รัฐบาลและฝ่ายความมั่นคงชี้แจง
โดยเฉพาะเหตุระเบิดแยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2558 ที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 20 ราย ไม่ใช่เตือนภัยก่อการร้ายทั่วไปเท่านั้น แต่ยังตอกย้ำการดำเนินนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงของไทยที่ผิดพลาดอีกด้วย