รบกวนผู้มีความรู้เรื่องภาษีอากรช่วยไขข้อข้องใจหน่อยค่ะ โดยส่วนตัวแทบจะไม่มีความรู้ทางด้านนี้เลยจึงไม่เข้าใจว่าทำไมคนบางกลุ่มถึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อย่างเช่น แม่ค้าที่ขายของตามตลาดนัด แผงลอย รถเข็น รถตู้ส่วนตัวที่รับจ้างทั่วไป รถรับนักเรียน (ที่ยกตัวอย่างมาบางอันก็ไม่รู้นะว่าเสียภาษีหรือเปล่า แต่ที่เคยเห็นว่าไม่เสียก็พวกรถรับนักเรียนกับขายของตามนัด) หรือบุคคลที่ไม่ได้ทำงานตามบริษัทเลยไม่มีชื่อในระบบแต่มีรายได้ ส่วนคนที่มีรายชื่ออยู่ในระบบก็พวกข้าราชการ งานบริษัท ร้านค้าที่มีหน้าร้าน และอื่นๆที่สามารถเช็คได้ บุคคลเหล่านี้ต้องเสียภาษีเงินได้ตามที่กฎหมายกำหนด เลยไม่เข้าใจว่าเอาเกณฑ์อะไรมาวัดในการกำหนดบุคคลที่ต้องเสียภาษีทั้งๆที่สองจำพวกนี้ต่างมีรายได้เกิดขึ้นเหมือนกัน แต่เข้าใจว่าบุคคลใดที่มีรายได้ต่อปีไม่ถึง 150,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี ตรงนี้เข้าใจถูกใช่ไหม
คือในฐานะที่เป็นคนไทยและเป็นคนชนชั้นกลางที่เคยกินเงินเดือนจนกระทั่งลาออกมาเปิดร้านขายของเล็กๆของตัวเองที่ต่างจังหวัด ทำให้เคยสงสัยว่าเราตัดสินใจพลาดไปหรือเปล่าที่คิดเปิดร้านเป็นหลักแหล่งแทนที่จะวิ่งเปิดท้ายขายของหรือออกตามนัด หรือไม่ก็ซื้อรถมารับจ้างทั่วไปหรือไม่ก็วิ่งพวกรถรับส่งนักเรียนดีกว่าจะได้ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ จนกระทั่งได้คุยกับญาติผู้ใหญ่ซึ่งท่านบอกว่าการที่เราคิดแบบนั้นถือว่าผิดและเห็นแก่ตัว ท่านได้ถามว่าที่อาศัยอยู่ปัจจุบันนี้ไม่ใช่ประเทศไทยหรือ และการเสียภาษีเงินได้ของบุคคลที่มีรายได้ทำให้ประเทศชาติพัฒนา ที่มีเงินอุดหนุน มีถนน มีระบบสาธารณูปโภคทุกวันนี้ก็มาจากเงินภาษีทั้งนั้น ถ้าคนในประเทศคิดแบบเราทุกคนไม่ล่มจมกันหมดหรือไร ท่านว่าเรามีแรงมีกำลังที่สามารถทำหน้าที่ตรงนี้ได้ก็ทำไปจะเอาไปเปรียบกับคนที่ขายของหาเช้ากินค่ำได้อย่างไร บางคนแค่หาค่ากับข้าวเขาก็ลำบากแล้ว ซึ่งตรงนี้เราเข้าใจนะว่าไม่ใช่คนที่ขายของตามนัด แผงลอย หรืออะไรพวกนี้จะขายดีกันทุกคน แต่ที่สงสัยคือบุคคลที่สามารถขายได้วันละเป็นหมื่นแต่ไม่มีหน้าร้านอาศัยขายตามแหล่งที่เขานิยมกัน หรือพวกรถรับส่งนักเรียน รถตู้รับจ้างแบบเหมาเที่ยว คืออันนี้เคยเห็นไงว่ารายได้ต่อเดือนได้เกือบแสนหรือเป็นแสนเลยก็มีแต่ไม่มีรายชื่อในฐานภาษีเลยไม่ต้องเสียภาษี มันทำให้เราสงสัยว่าทำไมพวกเขาถึงไม่ต้องเสียภาษีทั้งๆที่รายได้ต่อเดือนสูงกว่าเราที่มีร้านเป็นของตัวเองซะอีก อย่างพวกรถวิ่งนักเรียนส่วนใหญ่เขาก็โคกับทางโรงเรียนคือเสียเปอร์เซ็นต์ให้โรงเรียนแล้วไม่จำเป็นต้องเสียภาษีอย่างนั้นเหรอ? อย่างเพื่อนของพี่เราเห็นเขาทำงานตามร้านค้าจนได้เป็นเงินเดือนประจำแต่ร้านเป็นร้านขายของทั่วไปไม่ได้จดเป็นนิติบุคคลทำให้เพื่อนของพี่ไม่ต้องเสียภาษีแต่ได้เงินเดือน 14000-17000 บาท จนมีเงินซื้อรถวิ่งรับจ้างกับวิ่งรับส่งนักเรียนรายได้ต่อเดือนได้แสนต้นๆเขาก็ไม่เคยต้องเสียภาษีเงินได้เลย เสียแต่ภาษีรถซึ่งคนมีรถก็ต้องเสียอยู่แล้ว
เราเลยข้องใจว่าในเมื่อเป็นคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศเหมือนกันทำไมไม่มีหน่วยงานใดตรวจสอบบุคคลที่มีรายได้ที่สมควรจะเสียภาษีค่ะ เป็นคนไทยก็ควรจะเสียภาษีเหมือนๆกันแต่ก็ลดหลั่นกันไปตามรายได้ที่เกิดขึ้น เพราะยุคนี้บัตรประชาชนก็เป็นสมารท์การ์ดแล้วการจะตรวจสอบใดๆนั้นไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปทำไมถึงไม่ทำ เพราะเท่าที่ทราบบุคคลที่เสียภาษีมีไม่กี่เปอร์เซ็นต์ถ้าเทียบกับจำนวนประชากร ตอนนี้ส่วนใหญ่ที่รับภาระหนักคือคนชั้นกลางที่อยู่ในระบบ ส่วนคนที่มีฐานะดีถึงรวยก็รวยเอาๆ คนที่ยากจนก็แทบจะไม่มีกินเลย เราเลยคิดว่าถ้าจะเสียภาษีคนที่มีรายได้เหมือนๆกันก็ควรจะเสียจะได้เอาเงินไปพัฒนาในด้านอื่นๆอีก หรือว่าบางกลุ่มที่เราได้กล่าวถึงเขาได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาค่ะ? ใครมีความรู้ช่วยบอกหน่อยนะจะได้หาข้องใจ และที่มาตั้งคำถามเรื่องนี้ไม่ได้มีเจตนาไม่ดีกับอาชีพแม่ค้าขายตามนัดหรือพวกรถรับจ้าง รถนักเรียน แต่อยากได้ความรู้เรื่องการจัดการภาษีของประเทศเพราะปีนี้เห็นว่าจะมีการปรับภาษีอีกหลายอย่าง
บุคคลใดบ้างที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
คือในฐานะที่เป็นคนไทยและเป็นคนชนชั้นกลางที่เคยกินเงินเดือนจนกระทั่งลาออกมาเปิดร้านขายของเล็กๆของตัวเองที่ต่างจังหวัด ทำให้เคยสงสัยว่าเราตัดสินใจพลาดไปหรือเปล่าที่คิดเปิดร้านเป็นหลักแหล่งแทนที่จะวิ่งเปิดท้ายขายของหรือออกตามนัด หรือไม่ก็ซื้อรถมารับจ้างทั่วไปหรือไม่ก็วิ่งพวกรถรับส่งนักเรียนดีกว่าจะได้ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ จนกระทั่งได้คุยกับญาติผู้ใหญ่ซึ่งท่านบอกว่าการที่เราคิดแบบนั้นถือว่าผิดและเห็นแก่ตัว ท่านได้ถามว่าที่อาศัยอยู่ปัจจุบันนี้ไม่ใช่ประเทศไทยหรือ และการเสียภาษีเงินได้ของบุคคลที่มีรายได้ทำให้ประเทศชาติพัฒนา ที่มีเงินอุดหนุน มีถนน มีระบบสาธารณูปโภคทุกวันนี้ก็มาจากเงินภาษีทั้งนั้น ถ้าคนในประเทศคิดแบบเราทุกคนไม่ล่มจมกันหมดหรือไร ท่านว่าเรามีแรงมีกำลังที่สามารถทำหน้าที่ตรงนี้ได้ก็ทำไปจะเอาไปเปรียบกับคนที่ขายของหาเช้ากินค่ำได้อย่างไร บางคนแค่หาค่ากับข้าวเขาก็ลำบากแล้ว ซึ่งตรงนี้เราเข้าใจนะว่าไม่ใช่คนที่ขายของตามนัด แผงลอย หรืออะไรพวกนี้จะขายดีกันทุกคน แต่ที่สงสัยคือบุคคลที่สามารถขายได้วันละเป็นหมื่นแต่ไม่มีหน้าร้านอาศัยขายตามแหล่งที่เขานิยมกัน หรือพวกรถรับส่งนักเรียน รถตู้รับจ้างแบบเหมาเที่ยว คืออันนี้เคยเห็นไงว่ารายได้ต่อเดือนได้เกือบแสนหรือเป็นแสนเลยก็มีแต่ไม่มีรายชื่อในฐานภาษีเลยไม่ต้องเสียภาษี มันทำให้เราสงสัยว่าทำไมพวกเขาถึงไม่ต้องเสียภาษีทั้งๆที่รายได้ต่อเดือนสูงกว่าเราที่มีร้านเป็นของตัวเองซะอีก อย่างพวกรถวิ่งนักเรียนส่วนใหญ่เขาก็โคกับทางโรงเรียนคือเสียเปอร์เซ็นต์ให้โรงเรียนแล้วไม่จำเป็นต้องเสียภาษีอย่างนั้นเหรอ? อย่างเพื่อนของพี่เราเห็นเขาทำงานตามร้านค้าจนได้เป็นเงินเดือนประจำแต่ร้านเป็นร้านขายของทั่วไปไม่ได้จดเป็นนิติบุคคลทำให้เพื่อนของพี่ไม่ต้องเสียภาษีแต่ได้เงินเดือน 14000-17000 บาท จนมีเงินซื้อรถวิ่งรับจ้างกับวิ่งรับส่งนักเรียนรายได้ต่อเดือนได้แสนต้นๆเขาก็ไม่เคยต้องเสียภาษีเงินได้เลย เสียแต่ภาษีรถซึ่งคนมีรถก็ต้องเสียอยู่แล้ว
เราเลยข้องใจว่าในเมื่อเป็นคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศเหมือนกันทำไมไม่มีหน่วยงานใดตรวจสอบบุคคลที่มีรายได้ที่สมควรจะเสียภาษีค่ะ เป็นคนไทยก็ควรจะเสียภาษีเหมือนๆกันแต่ก็ลดหลั่นกันไปตามรายได้ที่เกิดขึ้น เพราะยุคนี้บัตรประชาชนก็เป็นสมารท์การ์ดแล้วการจะตรวจสอบใดๆนั้นไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปทำไมถึงไม่ทำ เพราะเท่าที่ทราบบุคคลที่เสียภาษีมีไม่กี่เปอร์เซ็นต์ถ้าเทียบกับจำนวนประชากร ตอนนี้ส่วนใหญ่ที่รับภาระหนักคือคนชั้นกลางที่อยู่ในระบบ ส่วนคนที่มีฐานะดีถึงรวยก็รวยเอาๆ คนที่ยากจนก็แทบจะไม่มีกินเลย เราเลยคิดว่าถ้าจะเสียภาษีคนที่มีรายได้เหมือนๆกันก็ควรจะเสียจะได้เอาเงินไปพัฒนาในด้านอื่นๆอีก หรือว่าบางกลุ่มที่เราได้กล่าวถึงเขาได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาค่ะ? ใครมีความรู้ช่วยบอกหน่อยนะจะได้หาข้องใจ และที่มาตั้งคำถามเรื่องนี้ไม่ได้มีเจตนาไม่ดีกับอาชีพแม่ค้าขายตามนัดหรือพวกรถรับจ้าง รถนักเรียน แต่อยากได้ความรู้เรื่องการจัดการภาษีของประเทศเพราะปีนี้เห็นว่าจะมีการปรับภาษีอีกหลายอย่าง