การต่อสายดินเครื่องทำน้ำอุ่นที่ถูกต้อง?

สวัสดีครับ ต่อจากกระทู้ที่แล้ว http://ppantip.com/topic/34624613 นอกจากปัญหาอาร์คแล้ว ทางบ้านเห็นว่าสายไฟมันเก่าเกินจะรับไหว (เป็นสายไฟปีเดียวกับมาตรฐานสายไฟ ปี 2518) ก็เลยต้องควักเงินออกมาเพื่อเดินสายไฟใหม่ยกหลัง โดยใช้สาย THW, VAF-G ให้ตรงกับข้อบังคับของกฟภ.

ปัญหา
ปัญหามันเกิดขึ้นตรงที่เครื่องทำน้ำอุ่น แต่เดิมต่อสายไฟที่ด้านหลังห้องน้ำแค่ 2 เมตรก็ไม่มีปัญหาแล้ว แต่การต่อระบบใหม่ที่เอาสายดินทุกเส้นต้องออกไปที่ MDB แล้วจะถึงกราวด์ทำให้ระยะสายไฟมันไกลจากเดิมมากถึง 20เมตร ก็ทำให้เกิดไฟดูดเล็กน้อยขึ้น (ไขควงวัดไฟไม่มีไฟขึ้น แต่รู้สึกได้)

การแก้ไขปัญหา
- ผมได้ถอดกราวด์ของ VAF-G ออก แล้วเดินสายดินไปหาหลักดินโดยตรง 1 x 4sqmm ไม่มีการต่อฝาก
- ตอกหลักดิน 2.4 เมตรเพิ่มอีก 1 แท่ง ระยะห่าง 3 เมตร, พื้นดินเปียกชื้น
- ติดตั้ง RCBO แทนเบรกเกอร์เดิม

คำถาม
1. การต่อสายดินไปหาหลักดิน(ตามรูป) ทำให้เกิด Ground Loop หรือไม่?
2. มีผลกระทบอะไรอื่นบ้าง เช่น กรณีที่เกิดฟ้าผ่า ฯลฯ
3. นอกจากการต่อสายดินเข้ากับ Chassis เพื่อความมั่นใจ ผมควรต่อสายดินลากไปยัง Outlet (ทางน้ำออก)
3.1 จะเป็นการดีหรือไม่?
3.2 จะเกิด Ground Loop หรือไม่?
4. คำแนะนำอื่นๆ (ต่อไม่ถูกต้อง, ควรทำ Welding, ซื้อใหม่เถอะ ฯลฯ)

ขอบคุณครับ

คำอธิบาย
- สีเขียวอ่อนสุด และสีน้ำตาลอ่อน คือระบบสายดินเดิม (2 เมตร, ถอดออกไปแล้ว)
- สีเขียวอ่อน คือสายดินที่ต่อมาจาก VAF-G เข้ากับตู้ MDB (ไม่ต่ำกว่า 18 เมตร, ถอดออกไปแล้ว)
- สีเขียวเข้ม คือสายดินปัจจุบันที่ต่อจาก Chassis ตรงดิ่งไปยังแท่งกราวด์โดยไม่มีการต่อฝาก (6 เมตร)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่