ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 2
ขุนรองปลัดชูมีชื่อปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารและตำนานท้องถิ่นครับ แต่รายละเอียดทั้งหลายที่กล่าวถึงยากที่จะบอกว่าจริงหรือไม่เพราะคงไม่มีใครเกิดทันครับ เพราะในพงศาวดารที่ชำระสมัยหลังๆ ก็มีความละเอียดพิสดารมากขึ้น ซึ่งก็น่าเชื่อว่ามีการเสริมแต่งเพื่อตอบสนองบริบททางการเมืองในแต่ละสมัย ดังนั้นถ้าจะกล่าวว่าพระราชพงศาวดารเป็น 'ประวัติศาสตร์นิพนธ์' ก็อาจจะไม่ผิดความจริงมากนัก การจะศึกษาข้อมูลจากพงศาวดารก็ต้องใช้ความระมัดระวังอยู่มากครับ
หลักฐานที่เก่าที่สุดที่กล่าวถึง "ปลัดชู" (ไม่มีคำว่า 'ขุนรอง') คือพระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งชำระในพ.ศ.๒๒๓๘ โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกกับเจ้าพระยาพิพิธพิชัย มีความกล่าวถึงปลัดชูแค่สั้นๆว่า เป็นหนึ่งในนายกองที่รับศึกพระเจ้าอลองพญาเมื่อ พ.ศ.๒๓๐๒ ที่ในหนังบอกว่ามีในพงศาวดารแค่ ๒ บรรทัดนั้นก็คืออิงจากฉบับนี้ครับ
"...ฝ่ายพระเจ้าอยู่หัวได้ตรัสทราบนั้นแล้ว จึงดำรัสให้พระยายมราชเป็นทัพหน้า พลทหาร ๓๐๐๐ ทัพหนึ่ง ให้พระยาธารมาถืออาญาเป็นแม่ทัพ พลทหาร ๒๐๐๐ ยกไปตั้งเมืองกุยบุรี พะม่ายกขึ้นมาตีทัพพระยายมราชณแกงตุมแตก พระยาธารมาจึงเกณฑ์ไพร่ ๕๐๐ เข้าบรรจบกองปลัดชู แล้วให้ยกไปตั้งตำบลอ่าวขาวริมทะเล ฝ่ายทัพหน้าพะม่ายกขึ้นมาตี กองปลัดชูก็แตกพ่าย พระเจ้าอังวะจึงดำเนินทัพเข้ามาณเมืองกุย เมืองปราณ เมืองเพ็ชรบุรี เมืองราชบุรี..."
ในพงศาวดารที่ชำระถัดมาคือพระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม ชำระใน พ.ศ.๒๓๕๐ (ไม่ปรากฏชื่อผู้ชำระ แต่มีข้อความระบุว่าเป็น 'พระราชนิพนธ์') ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีความละเอียดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
"...จึ่งดำหรัสสังให้พญาพิไชยสงครามนามชื่อประลัดชู พระจุลา หลวงศรียศ หลวงราชพิมล ฃุนศรีวรคัน ๕ คนคุมพล ๕๐๐๐ ออกไปต้านทานข้างมฤทก่อร แล้วเกนพญาราชสงคราม พญาไชยา พญามหาเสนา พญาเพชพิชัย พญาสมบัดธิบาล พญาตะนาว พญาพัทลุง หลวงกระ ๘ คนนี้คุมพล คลพัน แล้วให้พญาอะไภยราชาถืออาชญาสิทเปนแม่ทับยกไปรับทางเชยีงไหม่ แล้วเกนทิพเสนาราชามาต ทิพรักษาราชาบาล วิสุตโยธามาต ราชโยธาเทพ หลวงศักดิ์ หลวงสิทธิ หลวงฤทธิ หลวงเดช ๑๐ คน คุมพลคล ๑๐๐๐ ให้พระยาอไภมลตรีเปนแม่ทับไหญ่ยกไปจุกไว้ทางท่ากระด่าน ครั้นทรงทราพว่าทางมฤทพม่ายกมาม่าก ก็ให้พญายมราชเปนแม่ทับหน้าคุมพล ๒๐๐๐๐ ให้พญาธรมาถืออาชญาสิทธเปนแม่ทับพลทหาร ๓๐๐๐ ยกเพิ่มเตีมไป ตั้งณเมืองกุยบูรีย์ พม่ายกขึ้นมาตีทับพญายมราชณแกงตุ่มแตก แล้วยกแยกไปตีกองปะลัดชู ซึ่งตั้งอยู่ตำบลอ่าวฃาวริมฉะเล จึ่งแบงไพร่ ๕๐๐ ไปช่วยกองปลัดชู รบกันอยู่ประมารกึ่งวัน ก้องปลัดชูก็แตกพายมา พระเจ้าอังวะก็ตำเนีรทับเข้ามาณแฃวงเมืองกุยบูรีย ปรานบูรีย..."
พงศาวดารฉบับนี้ในเรื่องรายละเอียดการรบก็ยังคงเหมือนในฉบับเก่าคือแค่รบแล้วแพ้ ไม่มีรายละเอียดมากกว่านั้น แต่ที่น่าสนใจคือพงศาวดารฉบับนี้ระบุว่าปลัดชูเป็น "พญาพิไชยสงคราม" ซึ่งเมื่อตรวจสอบกับพระไอยการตำแหน่งนาหัวเมือง ฉบับอยุธยา พบว่าตรงกับตำแหน่ง "หลวงพิไชยสงคราม" ปลัดเมืองอ่างทอง (เวลานั้นตำแหน่งเจ้าเมืองอ่างทองคือ ออกพระวิเสศไชยชาญ) มีศักดินา ๖๐๐ ไร่ จึงเข้าใจได้ว่า พระยาพิไชยสงครามซึ่งเป็นปลัดเมืองในเวลานั้นมีชื่อจริงว่า "ชู" เลยเรียกขานกันว่า "ปลัดชู" แต่ติดใจอยู่เล็กน้อยกว่าด้วยตำแหน่งเป็นเพียงปลัดเมืองชั้นจัตวาแต่มีบรรดาศักดิ์สูงถึงพระยานั้นดูมากเกินไปหน่อย
ความละเอียดพิสดารเกี่ยวกับขุนรองปลัดชูที่คนในปัจจุบันยึดถือเป็นประวัติ (เช่นเดียวกับความละเอียดอีกหลายตอนทั้งเรื่องบางระจัน พระยาพิชัยดาบหัก นายขนมต้ม) ถูกเพิ่มมาในพระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ชำระโดยสมเด็จพระวันรัตน์แห่งวัดพระเชตุพน กับสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส สันนิษฐานว่าชำระต่อกันมาจนเสร็จในรัชกาลที่ ๓ ซึ่งพงศาวดารฉบับนี้เป็นต้นแบบในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ ๔ และเป็นฉบับที่ตีพิมพ์กันแพร่หลายและมักใช้อ้างอิงกันมาก
พงศาวดารทั้งสองฉบับนี้มีรายละเอียดและความพิสดารเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ชำระโดยใช้พงศาวดารเก่าๆเป็นแม่แบบ มีข้อความหลายตอนที่มีเนื้อหายอพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดินและมีความยกย่องคนไทยหลายตอน (เช่นตอนอะแซหวุ่นกี้ขอดูตัวเจ้าพระยาจักรี ในขณะที่พงศาวดารเก่าไม่มีเรื่องนี้) มีชื่อบุคคลจำนวนมากซึ่งไม่ปรากฏว่าได้อ้างอิงมาจากไหน น่าจะอ้างอิงจากหลักฐานประเภท 'มุขปาฐะ' สูง และด้วยเวลาที่ชำระน่าจะห่างจากเหตุการณ์มากกว่าฉบับเก่า ความน่าเชื่อถือของพงศาวดารสองฉบับนี้จึงน้อยกว่าพงศาวดารเก่าๆ แต่อย่างหนึ่งที่เด่นในพงศาวดารฉบับนี้คือการให้รายละเอียดเกี่ยวกับวีรชนท้องถิ่นและคนระดับล่างมากขึ้นเช่นขุนรองปลัดชู บางระจัน (ที่กล่าวว่ารับศึกพม่า ๘ ครั้งก็เพิ่งมีในตอนนี้) พระยาพิชัยดาบหัก บางครั้งบรรยายรายละเอียดการรบมากเหมือนกับเห็นด้วยตา (เช่นในเรื่องขุนรองปลัดชู) ให้รายละเอียดเกี่ยวกับต่างประเทศเช่นมีเรื่องราวจากพงศาวดารพม่ามอญมาแทรก ต่างจากขนบการเขียนพงศาวดารเดิมที่เน้นแต่กษัตริย์และเน้นบรรยายเหตุการณ์สำคัญเป็นหลัก น่าจะสะท้อนให้เห็นถึงโลกทรรศน์ของชนชั้นนำไทยยุคนั้นที่ให้ความสนใจท้องถิ่นและประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นครับ
พงศาวดารฉบับนี้เป็นฉบับแรกที่เรียกปลัดชูว่า "ขุนรองปลัดชู" จากเดิมที่เรียกว่า "ปลัดชู" เฉยๆ
เนื้อหาเรื่องขุนรองปลัดชูจากพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ ซึ่งในหนังยึดเอาตามนี้ (แต่พยายามโปรโมทว่ามีแค่ ๒ บรรทัดตามฉบับพันจันทนุมาศ) ก็มีความว่า
"ขณะนั้นขุนรองปะหลัดชู เปนกรมการเมืองวิเสศไชยชาญ เข้ามารับอาษากับไพร่ ๔๐๐ เสศ ฃอไปรบพม่าด้วย จึ่งโปรดตั้งให้เปนกองอาจ์สามารถกองหนึ่ง ให้ไปในกองทับพญารัตนธิเบศ แลท้าวพญานายทับนายกองทั้งสองทับ ก็กราบถวายบังคมลายกกองทับจากพระนครเนื่องๆ กันไป แลทับพระยมราชไปตั้งค่ายรับอยู่ตำบลแก่งตุ่ม ทับพญารัตนาธิเบศไปตั้งค่ายหมั้นอยู่ ณะ เมืองกุยบูรีย จึ่งทรงพระกรุณาโปรดให้เจ้าเมืองกรมการหัวเมืองทั้งปวงไล่ต้อนเลกสำหรับเมือง เข้ามาช่วยรักษาพระนคร แลครอบครัววหัวเมืองทั้งปวงนั้นให้ยักย้ายหลบหนีเข้าซุ่มซ่อนอยู่ในป่า อย่าให้ข้าศึกจับเอาตัวไปได้
ฝ่ายทับหน้าพม่าข้าศึกก็ยกมาตีเมืองมฤท เมืองตะนาวศรี เจ้าเมืองกรมการสู้รบต้านทานมิได้ ก็แตกฉานพ่านหนีภาครอบครัวเข้าไป พม่าก็เข้าเมืองมฤท เมืองตะนาวศรี ทั้งสองเมืองโดยสดวก แล็วบอกไปถึงทับหลวง ณะ เมืองทวาย พระเจ้าอะลองพะราญีก็ยกทับใหญ่มาตั้งอยู่ ณะ เมืองตะนาวศรี จึ่งให้มังระราชบุตรกับแมงละราชา แมงละแมงข่อง ถือพล ๒๐๐๐๐ เปนกองหน้ายกล่วงมาก่อน ทับหลวงพล ๑๕๐๐๐ จึ่งยกตามมาพายหลัง แลกองทับหน้าพม่ามาถึงทัพพระยมราช ซึ่งตั้งค่ายรับอยู่ ณะ แก่งตุ่มก็ยกเข้าตี ทับไทน้อยตัวต้านทานมิได้ก็แตกฉานในเพลาเดียว แลพญารัตนาธิเบศได้แจ้งว่า ทับพระยมราชแตกพ่ายมา จึ่งเกนพล ๕๐๐ เข้าบันจบกองขุนรองปลัดชู แล้วให้ยกไปรบทับพม่า ไปตั้งอยู่ตำบลหว้าขาวริมชายชะเล
ฝ่ายทับหน้าพม่ายกมาถึงที่นั้น ภอเพลาเช้าตรู่ขุนรองปลัดชูก็แต่งตัว กับทั้งพลทหารทั้งนั้นกรูกันออกโจมตีทับพม่า รบกันด้วยอาวุทธ์สั้นถึงตลุมบอน ฟันแทงพม่าล้มตายเปนอันมาก แลตัวขุนรองปลัดชูนั้นถือดาบสองมือวิ่งเข้าในท่ามกลางข้าศึก ฟันพม่าตายล้มลงก่ายกันไปดั่งขอนไม้ แต่รบกันอยู่แต่เช้าจนเพลาเที่ยง พลพม่ามากกว่าเปนหลายเท่า ไม่ท้อถอยเยียดยัดหนูนเนื่องกันเข้ามาต่อรบ จนขุนรองปลัดชูเหนื่อยอ่อนสิ้นกำลังล้มลงพม่าจับเปนไปได้ แล้วให้พลทับช้างขับช้างเข้าย่ำเหยียบ พลทหารไทล้มตายเปนอันมากไล่กันลงไปในชะเล จมน้ำตายบ้างปลากินเสียบ้าง ที่รอดหนีกลับมาได้นั้นน้อย มาแจ้งความแก่พญารัตนาธิเบศๆ ก็ตกใจกลัว ไม่อยู่สู้รบเร่งเลิกทับหนีมา กับทั้งทับพระยมราชภากันพ่ายหนีพม่าฆ่าศึกกลับมายังพระนคร ขึ้นเฝ้ากราบทูลพระกรุณาว่า ศึกหนักเหลือกำลังจึ่งพ่าย"
อ้างอิงตามพงศาวดารฉบับนี้ขุนรองปลัดชูเป็น "กองอาจ์สามารถ" หรือคือ "กองอาทมาต" ซึ่งเป็นกองสอดแนมหาข่าวอย่าง คห.๑ กล่าว (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชาธิบายว่าอาทมาตเป็นกองมอญ ไม่ใช่หน่วยทะลวงฟันหรือวิชาดาบอย่างที่มีการตีความในปัจจุบัน) โดยมากมักเป็นชาวมอญเพื่อจะได้สืบราชการในแถบชายแดนพม่า (แต่ก็มีปรากฏชาติอื่นด้วยเช่น จีน เขมร) แต่ในพงศาวดารฉบับนี้ขุนรองปลัดชูไม่ได้ตายอย่างตามความเชื่อท้องถิ่นแต่ถูกจับเป็น
บางคนสันนิษฐานว่าขุนรองปลัดชูหนีมาได้ภายหลัง เพราะในพงศาวดารกรุงธนบุรีมีชื่อ 'หลวงพลฃุนรองปลัดนายชู' เป็นผู้สืบข่าวราชการพม่าที่เมืองกำแพงเพชรใน พ.ศ.๒๓๑๘ สมัยธนบุรี แต่จริงๆ แล้วอาจจะเป็นชื่อคนสามคนที่เขียนติดกันคือ หลวงพล ขุนรองปลัด นายชู ก็ได้เช่นกัน และชื่อชูก็เป็นชื่อสามัญที่พบได้บ่อย ส่วนตัวผมเห็นว่าข้อสันนิษฐานนี้ยังไม่ค่อยมีน้ำหนักนัก
อ่านแล้วจะเห็นได้ชัดว่าความตอนนี้ละเอียดพิสดารมากผิดกับพงศาวดารเก่าๆ ผู้เขียนใช้โวหารแสดงให้เห็นราวกับว่าอยู่ในเหตุการณ์จริง มีการยกย่องความสามารถขุนรองปลัดชูมาก ทั้งๆที่น่าจะชำระหลังจากเหตุการณ์มากกว่าทำให้ความที่ถูกเพิ่มมาดูน่ากังขาอยู่มาก แต่จะว่าเนื้อหาที่ถูกเพิ่มมาในพงศาวดารชำระสมัยหลังเป็นการเขียนเพิ่มเติมบิดเบือนโดยไม่มีเค้าความจริงเลยก็ไม่น่าจะใช่ แต่น่าจะอ้างอิงจากหลักฐานประเภท 'มุขปาฐะ' หรือ 'ตำนานท้องถิ่น' มากกว่าครับ ซึ่งอาจจะมีเค้าความจริงอยู่บ้างแต่ก็ยังมีความน่าเชื่อถือค่อนข้างน้อยครับ
เรื่องความเชื่อในท้องถิ่น โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับวีรชนเป็นอะไรที่พูดยากเพราะท้องถิ่นจะมีความภูมิใจในความสำคัญของตน ความเชื่อนั้นอาจจะมีอยู่ในท้องถิ่นอยู่ก่อนแล้วบางทีส่วนกลางหรือราชสำนักอาจได้ตำนานมาจากท้องถิ่น หรือไม่แน่ก็เป็นท้องถิ่นเองที่ได้รับความเชื่อจากส่วนกลางนั้นอีกทีโดยอาจจะผ่านทางเอกสารต่างๆอย่างเช่นในพระราชพงศาวดารที่เป็นของหลวง บางทีเป็นตัวท้องถิ่นเองที่อาจจะพยายามหาหลักฐานมาโยงกับข้อมูลที่ได้รับมาจากส่วนกลางก็เป็นได้ครับ
ถ้าดูหนังเรื่องนี้จบแล้ว ควรจะดูบทวิเคราะห์ของนักวิชาการกับผู้สร้างหนังเกี่ยวกับเหตุการณ์ในหนังด้วยครับ มีการวิเคราะห์ประกอบไว้เป็นตอนๆ ไล่ลำดับตอนใน playlist จากล่างมาบนครับ
https://www.youtube.com/watch?v=MqOhvktudRU&list=PLC551E611BE48AE0E
ขุนรองปลัดชูมีชื่อปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารและตำนานท้องถิ่นครับ แต่รายละเอียดทั้งหลายที่กล่าวถึงยากที่จะบอกว่าจริงหรือไม่เพราะคงไม่มีใครเกิดทันครับ เพราะในพงศาวดารที่ชำระสมัยหลังๆ ก็มีความละเอียดพิสดารมากขึ้น ซึ่งก็น่าเชื่อว่ามีการเสริมแต่งเพื่อตอบสนองบริบททางการเมืองในแต่ละสมัย ดังนั้นถ้าจะกล่าวว่าพระราชพงศาวดารเป็น 'ประวัติศาสตร์นิพนธ์' ก็อาจจะไม่ผิดความจริงมากนัก การจะศึกษาข้อมูลจากพงศาวดารก็ต้องใช้ความระมัดระวังอยู่มากครับ
หลักฐานที่เก่าที่สุดที่กล่าวถึง "ปลัดชู" (ไม่มีคำว่า 'ขุนรอง') คือพระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งชำระในพ.ศ.๒๒๓๘ โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกกับเจ้าพระยาพิพิธพิชัย มีความกล่าวถึงปลัดชูแค่สั้นๆว่า เป็นหนึ่งในนายกองที่รับศึกพระเจ้าอลองพญาเมื่อ พ.ศ.๒๓๐๒ ที่ในหนังบอกว่ามีในพงศาวดารแค่ ๒ บรรทัดนั้นก็คืออิงจากฉบับนี้ครับ
"...ฝ่ายพระเจ้าอยู่หัวได้ตรัสทราบนั้นแล้ว จึงดำรัสให้พระยายมราชเป็นทัพหน้า พลทหาร ๓๐๐๐ ทัพหนึ่ง ให้พระยาธารมาถืออาญาเป็นแม่ทัพ พลทหาร ๒๐๐๐ ยกไปตั้งเมืองกุยบุรี พะม่ายกขึ้นมาตีทัพพระยายมราชณแกงตุมแตก พระยาธารมาจึงเกณฑ์ไพร่ ๕๐๐ เข้าบรรจบกองปลัดชู แล้วให้ยกไปตั้งตำบลอ่าวขาวริมทะเล ฝ่ายทัพหน้าพะม่ายกขึ้นมาตี กองปลัดชูก็แตกพ่าย พระเจ้าอังวะจึงดำเนินทัพเข้ามาณเมืองกุย เมืองปราณ เมืองเพ็ชรบุรี เมืองราชบุรี..."
ในพงศาวดารที่ชำระถัดมาคือพระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม ชำระใน พ.ศ.๒๓๕๐ (ไม่ปรากฏชื่อผู้ชำระ แต่มีข้อความระบุว่าเป็น 'พระราชนิพนธ์') ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีความละเอียดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
"...จึ่งดำหรัสสังให้พญาพิไชยสงครามนามชื่อประลัดชู พระจุลา หลวงศรียศ หลวงราชพิมล ฃุนศรีวรคัน ๕ คนคุมพล ๕๐๐๐ ออกไปต้านทานข้างมฤทก่อร แล้วเกนพญาราชสงคราม พญาไชยา พญามหาเสนา พญาเพชพิชัย พญาสมบัดธิบาล พญาตะนาว พญาพัทลุง หลวงกระ ๘ คนนี้คุมพล คลพัน แล้วให้พญาอะไภยราชาถืออาชญาสิทเปนแม่ทับยกไปรับทางเชยีงไหม่ แล้วเกนทิพเสนาราชามาต ทิพรักษาราชาบาล วิสุตโยธามาต ราชโยธาเทพ หลวงศักดิ์ หลวงสิทธิ หลวงฤทธิ หลวงเดช ๑๐ คน คุมพลคล ๑๐๐๐ ให้พระยาอไภมลตรีเปนแม่ทับไหญ่ยกไปจุกไว้ทางท่ากระด่าน ครั้นทรงทราพว่าทางมฤทพม่ายกมาม่าก ก็ให้พญายมราชเปนแม่ทับหน้าคุมพล ๒๐๐๐๐ ให้พญาธรมาถืออาชญาสิทธเปนแม่ทับพลทหาร ๓๐๐๐ ยกเพิ่มเตีมไป ตั้งณเมืองกุยบูรีย์ พม่ายกขึ้นมาตีทับพญายมราชณแกงตุ่มแตก แล้วยกแยกไปตีกองปะลัดชู ซึ่งตั้งอยู่ตำบลอ่าวฃาวริมฉะเล จึ่งแบงไพร่ ๕๐๐ ไปช่วยกองปลัดชู รบกันอยู่ประมารกึ่งวัน ก้องปลัดชูก็แตกพายมา พระเจ้าอังวะก็ตำเนีรทับเข้ามาณแฃวงเมืองกุยบูรีย ปรานบูรีย..."
พงศาวดารฉบับนี้ในเรื่องรายละเอียดการรบก็ยังคงเหมือนในฉบับเก่าคือแค่รบแล้วแพ้ ไม่มีรายละเอียดมากกว่านั้น แต่ที่น่าสนใจคือพงศาวดารฉบับนี้ระบุว่าปลัดชูเป็น "พญาพิไชยสงคราม" ซึ่งเมื่อตรวจสอบกับพระไอยการตำแหน่งนาหัวเมือง ฉบับอยุธยา พบว่าตรงกับตำแหน่ง "หลวงพิไชยสงคราม" ปลัดเมืองอ่างทอง (เวลานั้นตำแหน่งเจ้าเมืองอ่างทองคือ ออกพระวิเสศไชยชาญ) มีศักดินา ๖๐๐ ไร่ จึงเข้าใจได้ว่า พระยาพิไชยสงครามซึ่งเป็นปลัดเมืองในเวลานั้นมีชื่อจริงว่า "ชู" เลยเรียกขานกันว่า "ปลัดชู" แต่ติดใจอยู่เล็กน้อยกว่าด้วยตำแหน่งเป็นเพียงปลัดเมืองชั้นจัตวาแต่มีบรรดาศักดิ์สูงถึงพระยานั้นดูมากเกินไปหน่อย
ความละเอียดพิสดารเกี่ยวกับขุนรองปลัดชูที่คนในปัจจุบันยึดถือเป็นประวัติ (เช่นเดียวกับความละเอียดอีกหลายตอนทั้งเรื่องบางระจัน พระยาพิชัยดาบหัก นายขนมต้ม) ถูกเพิ่มมาในพระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ชำระโดยสมเด็จพระวันรัตน์แห่งวัดพระเชตุพน กับสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส สันนิษฐานว่าชำระต่อกันมาจนเสร็จในรัชกาลที่ ๓ ซึ่งพงศาวดารฉบับนี้เป็นต้นแบบในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ ๔ และเป็นฉบับที่ตีพิมพ์กันแพร่หลายและมักใช้อ้างอิงกันมาก
พงศาวดารทั้งสองฉบับนี้มีรายละเอียดและความพิสดารเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ชำระโดยใช้พงศาวดารเก่าๆเป็นแม่แบบ มีข้อความหลายตอนที่มีเนื้อหายอพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดินและมีความยกย่องคนไทยหลายตอน (เช่นตอนอะแซหวุ่นกี้ขอดูตัวเจ้าพระยาจักรี ในขณะที่พงศาวดารเก่าไม่มีเรื่องนี้) มีชื่อบุคคลจำนวนมากซึ่งไม่ปรากฏว่าได้อ้างอิงมาจากไหน น่าจะอ้างอิงจากหลักฐานประเภท 'มุขปาฐะ' สูง และด้วยเวลาที่ชำระน่าจะห่างจากเหตุการณ์มากกว่าฉบับเก่า ความน่าเชื่อถือของพงศาวดารสองฉบับนี้จึงน้อยกว่าพงศาวดารเก่าๆ แต่อย่างหนึ่งที่เด่นในพงศาวดารฉบับนี้คือการให้รายละเอียดเกี่ยวกับวีรชนท้องถิ่นและคนระดับล่างมากขึ้นเช่นขุนรองปลัดชู บางระจัน (ที่กล่าวว่ารับศึกพม่า ๘ ครั้งก็เพิ่งมีในตอนนี้) พระยาพิชัยดาบหัก บางครั้งบรรยายรายละเอียดการรบมากเหมือนกับเห็นด้วยตา (เช่นในเรื่องขุนรองปลัดชู) ให้รายละเอียดเกี่ยวกับต่างประเทศเช่นมีเรื่องราวจากพงศาวดารพม่ามอญมาแทรก ต่างจากขนบการเขียนพงศาวดารเดิมที่เน้นแต่กษัตริย์และเน้นบรรยายเหตุการณ์สำคัญเป็นหลัก น่าจะสะท้อนให้เห็นถึงโลกทรรศน์ของชนชั้นนำไทยยุคนั้นที่ให้ความสนใจท้องถิ่นและประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นครับ
พงศาวดารฉบับนี้เป็นฉบับแรกที่เรียกปลัดชูว่า "ขุนรองปลัดชู" จากเดิมที่เรียกว่า "ปลัดชู" เฉยๆ
เนื้อหาเรื่องขุนรองปลัดชูจากพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ ซึ่งในหนังยึดเอาตามนี้ (แต่พยายามโปรโมทว่ามีแค่ ๒ บรรทัดตามฉบับพันจันทนุมาศ) ก็มีความว่า
"ขณะนั้นขุนรองปะหลัดชู เปนกรมการเมืองวิเสศไชยชาญ เข้ามารับอาษากับไพร่ ๔๐๐ เสศ ฃอไปรบพม่าด้วย จึ่งโปรดตั้งให้เปนกองอาจ์สามารถกองหนึ่ง ให้ไปในกองทับพญารัตนธิเบศ แลท้าวพญานายทับนายกองทั้งสองทับ ก็กราบถวายบังคมลายกกองทับจากพระนครเนื่องๆ กันไป แลทับพระยมราชไปตั้งค่ายรับอยู่ตำบลแก่งตุ่ม ทับพญารัตนาธิเบศไปตั้งค่ายหมั้นอยู่ ณะ เมืองกุยบูรีย จึ่งทรงพระกรุณาโปรดให้เจ้าเมืองกรมการหัวเมืองทั้งปวงไล่ต้อนเลกสำหรับเมือง เข้ามาช่วยรักษาพระนคร แลครอบครัววหัวเมืองทั้งปวงนั้นให้ยักย้ายหลบหนีเข้าซุ่มซ่อนอยู่ในป่า อย่าให้ข้าศึกจับเอาตัวไปได้
ฝ่ายทับหน้าพม่าข้าศึกก็ยกมาตีเมืองมฤท เมืองตะนาวศรี เจ้าเมืองกรมการสู้รบต้านทานมิได้ ก็แตกฉานพ่านหนีภาครอบครัวเข้าไป พม่าก็เข้าเมืองมฤท เมืองตะนาวศรี ทั้งสองเมืองโดยสดวก แล็วบอกไปถึงทับหลวง ณะ เมืองทวาย พระเจ้าอะลองพะราญีก็ยกทับใหญ่มาตั้งอยู่ ณะ เมืองตะนาวศรี จึ่งให้มังระราชบุตรกับแมงละราชา แมงละแมงข่อง ถือพล ๒๐๐๐๐ เปนกองหน้ายกล่วงมาก่อน ทับหลวงพล ๑๕๐๐๐ จึ่งยกตามมาพายหลัง แลกองทับหน้าพม่ามาถึงทัพพระยมราช ซึ่งตั้งค่ายรับอยู่ ณะ แก่งตุ่มก็ยกเข้าตี ทับไทน้อยตัวต้านทานมิได้ก็แตกฉานในเพลาเดียว แลพญารัตนาธิเบศได้แจ้งว่า ทับพระยมราชแตกพ่ายมา จึ่งเกนพล ๕๐๐ เข้าบันจบกองขุนรองปลัดชู แล้วให้ยกไปรบทับพม่า ไปตั้งอยู่ตำบลหว้าขาวริมชายชะเล
ฝ่ายทับหน้าพม่ายกมาถึงที่นั้น ภอเพลาเช้าตรู่ขุนรองปลัดชูก็แต่งตัว กับทั้งพลทหารทั้งนั้นกรูกันออกโจมตีทับพม่า รบกันด้วยอาวุทธ์สั้นถึงตลุมบอน ฟันแทงพม่าล้มตายเปนอันมาก แลตัวขุนรองปลัดชูนั้นถือดาบสองมือวิ่งเข้าในท่ามกลางข้าศึก ฟันพม่าตายล้มลงก่ายกันไปดั่งขอนไม้ แต่รบกันอยู่แต่เช้าจนเพลาเที่ยง พลพม่ามากกว่าเปนหลายเท่า ไม่ท้อถอยเยียดยัดหนูนเนื่องกันเข้ามาต่อรบ จนขุนรองปลัดชูเหนื่อยอ่อนสิ้นกำลังล้มลงพม่าจับเปนไปได้ แล้วให้พลทับช้างขับช้างเข้าย่ำเหยียบ พลทหารไทล้มตายเปนอันมากไล่กันลงไปในชะเล จมน้ำตายบ้างปลากินเสียบ้าง ที่รอดหนีกลับมาได้นั้นน้อย มาแจ้งความแก่พญารัตนาธิเบศๆ ก็ตกใจกลัว ไม่อยู่สู้รบเร่งเลิกทับหนีมา กับทั้งทับพระยมราชภากันพ่ายหนีพม่าฆ่าศึกกลับมายังพระนคร ขึ้นเฝ้ากราบทูลพระกรุณาว่า ศึกหนักเหลือกำลังจึ่งพ่าย"
อ้างอิงตามพงศาวดารฉบับนี้ขุนรองปลัดชูเป็น "กองอาจ์สามารถ" หรือคือ "กองอาทมาต" ซึ่งเป็นกองสอดแนมหาข่าวอย่าง คห.๑ กล่าว (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชาธิบายว่าอาทมาตเป็นกองมอญ ไม่ใช่หน่วยทะลวงฟันหรือวิชาดาบอย่างที่มีการตีความในปัจจุบัน) โดยมากมักเป็นชาวมอญเพื่อจะได้สืบราชการในแถบชายแดนพม่า (แต่ก็มีปรากฏชาติอื่นด้วยเช่น จีน เขมร) แต่ในพงศาวดารฉบับนี้ขุนรองปลัดชูไม่ได้ตายอย่างตามความเชื่อท้องถิ่นแต่ถูกจับเป็น
บางคนสันนิษฐานว่าขุนรองปลัดชูหนีมาได้ภายหลัง เพราะในพงศาวดารกรุงธนบุรีมีชื่อ 'หลวงพลฃุนรองปลัดนายชู' เป็นผู้สืบข่าวราชการพม่าที่เมืองกำแพงเพชรใน พ.ศ.๒๓๑๘ สมัยธนบุรี แต่จริงๆ แล้วอาจจะเป็นชื่อคนสามคนที่เขียนติดกันคือ หลวงพล ขุนรองปลัด นายชู ก็ได้เช่นกัน และชื่อชูก็เป็นชื่อสามัญที่พบได้บ่อย ส่วนตัวผมเห็นว่าข้อสันนิษฐานนี้ยังไม่ค่อยมีน้ำหนักนัก
อ่านแล้วจะเห็นได้ชัดว่าความตอนนี้ละเอียดพิสดารมากผิดกับพงศาวดารเก่าๆ ผู้เขียนใช้โวหารแสดงให้เห็นราวกับว่าอยู่ในเหตุการณ์จริง มีการยกย่องความสามารถขุนรองปลัดชูมาก ทั้งๆที่น่าจะชำระหลังจากเหตุการณ์มากกว่าทำให้ความที่ถูกเพิ่มมาดูน่ากังขาอยู่มาก แต่จะว่าเนื้อหาที่ถูกเพิ่มมาในพงศาวดารชำระสมัยหลังเป็นการเขียนเพิ่มเติมบิดเบือนโดยไม่มีเค้าความจริงเลยก็ไม่น่าจะใช่ แต่น่าจะอ้างอิงจากหลักฐานประเภท 'มุขปาฐะ' หรือ 'ตำนานท้องถิ่น' มากกว่าครับ ซึ่งอาจจะมีเค้าความจริงอยู่บ้างแต่ก็ยังมีความน่าเชื่อถือค่อนข้างน้อยครับ
เรื่องความเชื่อในท้องถิ่น โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับวีรชนเป็นอะไรที่พูดยากเพราะท้องถิ่นจะมีความภูมิใจในความสำคัญของตน ความเชื่อนั้นอาจจะมีอยู่ในท้องถิ่นอยู่ก่อนแล้วบางทีส่วนกลางหรือราชสำนักอาจได้ตำนานมาจากท้องถิ่น หรือไม่แน่ก็เป็นท้องถิ่นเองที่ได้รับความเชื่อจากส่วนกลางนั้นอีกทีโดยอาจจะผ่านทางเอกสารต่างๆอย่างเช่นในพระราชพงศาวดารที่เป็นของหลวง บางทีเป็นตัวท้องถิ่นเองที่อาจจะพยายามหาหลักฐานมาโยงกับข้อมูลที่ได้รับมาจากส่วนกลางก็เป็นได้ครับ
ถ้าดูหนังเรื่องนี้จบแล้ว ควรจะดูบทวิเคราะห์ของนักวิชาการกับผู้สร้างหนังเกี่ยวกับเหตุการณ์ในหนังด้วยครับ มีการวิเคราะห์ประกอบไว้เป็นตอนๆ ไล่ลำดับตอนใน playlist จากล่างมาบนครับ
https://www.youtube.com/watch?v=MqOhvktudRU&list=PLC551E611BE48AE0E
แสดงความคิดเห็น
ขุนรองปลัดชูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์หรือเป็นประวัติศาสตร์นิพนธ์????
ปล. กระทู้เเรกนะคะถ้าผิดพลาดต้องขออภัย