โช ฮยุน-อา หรือ "ฮีทเธอร์ โช" บุตรสาวประธานสายการบินโคเรียนแอร์ ผู้ก่อคดี "ถั่ววีนแตก" จนทำให้สายการบินแห่งชาติเกาหลีใต้ตกเป็นข่าวคึกโครมทั่วโลกเมื่อช่วงต้นปี 2015
เอเอฟพี - รัฐบาลเกาหลีใต้เริ่มบังคับใช้กฎหมายความปลอดภัยการบินซึ่งแก้ไขปรับปรุงใหม่ให้มีความเข้มงวดยิ่งกว่าเดิม หลังเกิดกรณีบุตรสาวประธานสายการบินโคเรียนแอร์ขับไล่พนักงานต้อนรับลงจากเครื่องบินที่กำลังเทกออฟ เพราะเรื่องเสิร์ฟถั่วผิดวิธี จนอื้อฉาวไปทั่วโลกเมื่อปี 2014
กระทรวงคมนาคมเกาหลีใต้แถลงว่า กฎหมายการบินฉบับปรับปรุงใหม่ซึ่งจะมีบทลงโทษหนักยิ่งขึ้นสำหรับผู้โดยสารที่ไม่ปฏิบัติตามกฎ เป็นผลโดยตรงมาจากพฤติกรรมเกินกว่าเหตุของ “ฮีทเธอร์ โช” หรือ โช ฮยุน-อา อดีตรองประธานสายการบินแห่งชาติ เมื่อเดือน ธ.ค. ปี 2014
“กฎหมายฉบับนี้ได้รับการแก้ไข โดยคำนึงถึงเสียงเรียกร้องของประชาชนที่ต้องการให้รัฐเพิ่มมาตรการความปลอดภัยทางการบิน และป้องกันมิให้มีผู้โดยสารก่อความวุ่นวายขณะเดินทาง เหมือนอย่างกรณีความโมโหฉุนเฉียวเพราะเรื่องเสิร์ฟถั่ว”
ภายใต้กฎหมายใหม่ บุคคลที่ก่อกวนการปฏิบัติหน้าที่ของนักบินระหว่างทำการบิน จะมีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี หรือปรับเป็นเงิน 50,000,000 วอน (ราว 1,500,000 บาท) ซึ่งในอดีตความผิดประเภทนี้มีโทษปรับเพียง 5,000,000 วอน (150,000 บาท) และไม่ต้องถูกจำคุก
นอกจากนี้ กฎหมายยังบังคับให้ลูกเรือต้องส่งตัวผู้โดยสารที่ไม่เคารพกฎให้แก่ทางการ หากไม่ทำตามจะมีโทษปรับถึง 10,000,000 วอน (ประมาณ 300,000 บาท)
โช วัย 41 ปี ถูกจำคุกเป็นเวลา 5 เดือนก่อนจะได้รับอิสรภาพเมื่อเดือน พ.ค. ปีที่แล้ว เนื่องจากศาลอุทธรณ์ได้ยกเลิกความผิดฐานละเมิดกฎหมายความปลอดภัยการบิน
โช เคยรั้งตำแหน่งรองประธานฝ่ายงานบริการบนเที่ยวบินของโคเรียนแอร์ โดยคดีความทั้งหมดนี้มีสาเหตุมาจากการที่ซีอีโอหญิงเกิดไม่พอใจที่พนักงานต้อนรับรายหนึ่งนำถั่วแมคคาเดเมียมาเสิร์ฟให้เธอทั้งถุง แทนที่จะเทใส่ถ้วยตามระเบียบที่ถูกต้อง ด้วยอารมณ์ฉุนเฉียว โช จึงใช้อำนาจผู้บริหารขับไล่หัวหน้าสจวร์ตลงจากเครื่องบินซึ่งกำลังจะเทคออฟออกจากสนามบินนานาชาติ จอห์น เอฟ. เคนเนดี เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. ปี 2014 ส่งผลให้กัปตันต้องนำเครื่องวกกลับไปจอดใหม่ และทำให้เที่ยวบินนี้ถึงกรุงโซลล่าช้ากว่ากำหนด
เหตุการณ์ซึ่งทั่วโลกให้ฉายาว่า “ถั่ววีนแตก” (nut rage) ทำให้ชาวแดนกิมจิยิ่งรู้สึกโกรธแค้นพวกเศรษฐีที่เป็นเจ้าของบริษัทผูกขาดขนาดใหญ่ หรือที่เรียกว่า “แชโบล” ซึ่งนอกจากจะมีอิทธิพลครอบงำเศรษฐกิจแล้ว ยังทำให้เกิดช่องว่างรายได้ในสังคมเกาหลีใต้ด้วย
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000006393
เกาหลีใต้บังคับใช้กกฏหมายการบิน “เพิ่มโทษปรับ-จำคุก” ผู้โดยสารก่อกวนหลังคดี “ถั่ววีนแตก” ทำฉาวทั้งโลก
เอเอฟพี - รัฐบาลเกาหลีใต้เริ่มบังคับใช้กฎหมายความปลอดภัยการบินซึ่งแก้ไขปรับปรุงใหม่ให้มีความเข้มงวดยิ่งกว่าเดิม หลังเกิดกรณีบุตรสาวประธานสายการบินโคเรียนแอร์ขับไล่พนักงานต้อนรับลงจากเครื่องบินที่กำลังเทกออฟ เพราะเรื่องเสิร์ฟถั่วผิดวิธี จนอื้อฉาวไปทั่วโลกเมื่อปี 2014
กระทรวงคมนาคมเกาหลีใต้แถลงว่า กฎหมายการบินฉบับปรับปรุงใหม่ซึ่งจะมีบทลงโทษหนักยิ่งขึ้นสำหรับผู้โดยสารที่ไม่ปฏิบัติตามกฎ เป็นผลโดยตรงมาจากพฤติกรรมเกินกว่าเหตุของ “ฮีทเธอร์ โช” หรือ โช ฮยุน-อา อดีตรองประธานสายการบินแห่งชาติ เมื่อเดือน ธ.ค. ปี 2014
“กฎหมายฉบับนี้ได้รับการแก้ไข โดยคำนึงถึงเสียงเรียกร้องของประชาชนที่ต้องการให้รัฐเพิ่มมาตรการความปลอดภัยทางการบิน และป้องกันมิให้มีผู้โดยสารก่อความวุ่นวายขณะเดินทาง เหมือนอย่างกรณีความโมโหฉุนเฉียวเพราะเรื่องเสิร์ฟถั่ว”
ภายใต้กฎหมายใหม่ บุคคลที่ก่อกวนการปฏิบัติหน้าที่ของนักบินระหว่างทำการบิน จะมีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี หรือปรับเป็นเงิน 50,000,000 วอน (ราว 1,500,000 บาท) ซึ่งในอดีตความผิดประเภทนี้มีโทษปรับเพียง 5,000,000 วอน (150,000 บาท) และไม่ต้องถูกจำคุก
นอกจากนี้ กฎหมายยังบังคับให้ลูกเรือต้องส่งตัวผู้โดยสารที่ไม่เคารพกฎให้แก่ทางการ หากไม่ทำตามจะมีโทษปรับถึง 10,000,000 วอน (ประมาณ 300,000 บาท)
โช วัย 41 ปี ถูกจำคุกเป็นเวลา 5 เดือนก่อนจะได้รับอิสรภาพเมื่อเดือน พ.ค. ปีที่แล้ว เนื่องจากศาลอุทธรณ์ได้ยกเลิกความผิดฐานละเมิดกฎหมายความปลอดภัยการบิน
โช เคยรั้งตำแหน่งรองประธานฝ่ายงานบริการบนเที่ยวบินของโคเรียนแอร์ โดยคดีความทั้งหมดนี้มีสาเหตุมาจากการที่ซีอีโอหญิงเกิดไม่พอใจที่พนักงานต้อนรับรายหนึ่งนำถั่วแมคคาเดเมียมาเสิร์ฟให้เธอทั้งถุง แทนที่จะเทใส่ถ้วยตามระเบียบที่ถูกต้อง ด้วยอารมณ์ฉุนเฉียว โช จึงใช้อำนาจผู้บริหารขับไล่หัวหน้าสจวร์ตลงจากเครื่องบินซึ่งกำลังจะเทคออฟออกจากสนามบินนานาชาติ จอห์น เอฟ. เคนเนดี เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. ปี 2014 ส่งผลให้กัปตันต้องนำเครื่องวกกลับไปจอดใหม่ และทำให้เที่ยวบินนี้ถึงกรุงโซลล่าช้ากว่ากำหนด
เหตุการณ์ซึ่งทั่วโลกให้ฉายาว่า “ถั่ววีนแตก” (nut rage) ทำให้ชาวแดนกิมจิยิ่งรู้สึกโกรธแค้นพวกเศรษฐีที่เป็นเจ้าของบริษัทผูกขาดขนาดใหญ่ หรือที่เรียกว่า “แชโบล” ซึ่งนอกจากจะมีอิทธิพลครอบงำเศรษฐกิจแล้ว ยังทำให้เกิดช่องว่างรายได้ในสังคมเกาหลีใต้ด้วย
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000006393