เดินทางมาถึงภาคสุดท้ายกันแล้วครับกับหนังที่ได้แรงบันดาลใจจากปรมาจารย์กังฟูชื่อดังอย่าง
“ยิปมัน” ( Ip Man ) ใครจะไปรู้ว่าจากหนังฟอร์มเล็กในปี 2008 จะมาได้ถึงขนาดนี้ แถมทำให้
“เจิ้นจื้อตัน” ( ดอนนี่ เยน-Donnie Yen ) แจ้งเกิดจริงๆ เสียที หลังจากก่อนหน้านี้ พี่แกเหมือนอยู่ใต้เงาของตำนานกังฟูแอ็คชั่นอย่าง
“เฉินหลง” และ
“หลี่เหลียนเจี๋ย” ( เจ็ต ลี-Jet Li ) มาตลอด ( เข้าวงการมานานตั้งแต่
“หวงเฟยหง ภาค 2” แต่บทที่ได้ถ้าไม่เป็นตัวรองก็เป็นตัวร้าย ในหนังของทั้ง 2 คนนี้ ) จนทุกวันนี้งานชุกไปแล้ว แถมคนยังชอบเรียกพี่แกว่ายิปมัน มากกว่าชื่อจริงของแกเสียอีก ( ข้อหลังนี่จะน่าดีใจดีไหมนิ? )
.
Ip Man 3 วิจารณ์แบบสรุปคร่าวๆ นะครับ ( ไม่สปอยใดๆ )
.
-
"ไมค์ ไทสัน" ( Mike Tyson ) ถึงจะออกมาแค่สั้นๆ แต่พี่แกทำให้
"มวยสากล" ( Western Boxing ) ดูเท่และน่าเกรงขามขึ้นไม่ต่างจากศิลปะการต่อสู้ของชาวเอเชีย : แต่ก่อนภาพลักษณ์ของมวยแบบตะวันตกในความคิดของคนทำสื่อบันเทิงชาวเอเชีย จะดูเหมือนพวก
“ดีแต่ใช้แรง” เอาถึกเอาตัวใหญ่ตัวหนาเข้าว่า ดูป่าเถื่อนไม่สง่างามเท่าวิชาของโลกตะวันออก ( ไม่ว่าจะหนังจีน หนังไทย หรือการ์ตูนญี่ปุ่น ก็จะสร้างให้วิชามวยของโลกตะวันตกมีภาพแบบนี้เสมอ ) แม้แต่ Ip Man 2 ก็เช่นกัน แต่ภาคนี้ตรงกันข้ามครับ ตอนพี่ไมค์แกตั้งการ์ดแล้วโยกหลบไปมานี่อย่างเท่เลย คือไม่ต้องเตะสูงๆ กระโดดตีลังกาไปมา ใช้แค่กำปั้นเพียวๆ นี่แหละก็หล่อได้เหมือนกัน
.
-
“จางจิน” ( Max Zhang ) ถ้าจะถามว่าหลังยุคเฉินหลง เจ็ตลี ดอนนี่ เยน แล้วใครจะมาเป็นดาราแอ็คชั่นระดับแถวหน้าของฝั่งจีนได้ คงเป็นคนนี้แหละ : ในเรื่องนี้พี่แกใช้มวยหย่งชุนแบบเดียวกับยิปมัน (ดอนนี่ เยน ) แต่ต่างกันตรงที่ท่วงท่าจะดู
“โหดกว่า-ดิบกว่า” ซึ่งผมเดาว่าที่ออกแบบคาแรคเตอร์แบบนี้ คงเพราะสะท้อนภูมิหลังที่แตกต่างกัน คนนึงมาจากครอบครัวผู้ดี ฝึกกังฟูเพราะความหลงใหลส่วนตัว ส่วนอีกคนมาจากบ้านที่ฐานะยากจน ทำงานเป็นคนลากรถและหารายได้พิเศษจากการประลองในเวทีมวยใต้ดิน ชีวิตปากกัดเท้าถีบแบบนี้จะอารมณ์รุนแรงก็ไม่แปลก
.
- ชีวิตของยิปมันในมุม
“ครอบครัว” ถูกเน้นมากขึ้นกว่าเดิม : ใน 2 ภาคแรก แม้จะกล่าวถึงครอบครัวของตัวเอกบ้าง แต่ก็ไม่ค่อยมีบทมากนักเมื่อเทียบกับเรื่องของการประลองยุทธ์ ถ้าจะมีบ้างก็เน้นไปที่ลูกมากกว่า แต่ภาค 3 นี้บทภรรยาของยิปมัน แทบจะเด่นพอๆ กับตัวยิปมันเลย คือจะเข้าใจมากขึ้นกับที่หนังภาค 2 พยายามจะสื่อว่า “ความอบอุ่นในครอบครัว สำคัญกว่าชื่อเสียงใดๆ” จะว่าไปถ้าลองนับกันดีๆ จำนวนฉากที่ว่าด้วยครอบครัวตัวเอก น่าจะพอๆ กับจำนวนฉากแอ็คชั่นด้วยมั้ง ( อันนี้ต้องไปชมเองครับ บอกอะไรไม่ได้มากเดี๋ยวกลายเป็นสปอย )
.
- หนังเอาช็อตสำคัญๆ ของภาคแรก กลับมาเล่นใหม่ในภาคนี้ด้วย : เช่น พูดถึงยิปมันฉบับดอนนี่ เยน เชื่อว่าหลายคนต้องนึกถึงวลี
“ขอ 10 คน” ในภาคแรกตอนที่ยิปมันไปสู้กับสำนักคาราเต้ของกองทัพญี่ปุ่น , ภาคแรกเช่นกัน ฉากที่มีคนมาท้าสู้กับยิปมันที่บ้าน แต่พอสู้กันไปสักพักก็ต้องหยุด เพราะลูกชายตัวเล็กๆ ของตัวเอกถีบจักรยานสามล้อออกมา ในภาคนี้ก็มีอะไรที่คล้ายๆ กัน ( อันนี้ก็อยากให้ไปชมกันเองครับ โดยเฉพาะอันหลังนี่น่ารักดีเหมือนกัน ) รวมถึง Theme Song คุ้นหูอย่าง Maestro ก็ถูกนำมาใส่ในภาคนี้เหมือนกัน
.
- ถึงจะเป็นหนังเรื่องยิปมัน แต่ภาคนี้สเกลใหญ่กว่า เพราะว่าด้วยความสามัคคีของผู้คน : เรารู้กันดีว่าหนังยิปมัน สร้างขึ้นมาด้วยนัยยะของ
“ความรักชาติ” ( ตัวร้ายเป็นต่างชาตินี่นะ ญี่ปุ่นบ้างฝรั่งบ้าง ) แต่ 2 ภาคแรกยกบทให้ตัวเอกแบกรับหน้าที่อันยิ่งใหญ่นี้คนเดียว ส่วนภาค 3 เราได้เห็นทั้งความช่วยเหลือของชุมชนต่อยิปมันและลูกศิษย์ รวมถึงการทำหน้าที่ของตำรวจในการงัดข้อกับอำนาจมืดที่ใหญ่กว่า ก็ต้องอาศัยความร่วมมือของคนในสังคมด้วย ( สื่อมวลชน , ประชาชน )
.
โดยรวมถือว่าเป็นภาคจบที่ค่อนข้างทำได้ดีเลยครับ มีอะไรมากกว่าแค่ฉากแอ็คชั่น โดยเฉพาะในมิติครอบครัวนี่แหละ อย่างฉากที่ยิปมันสู้กับมือสังหาร ( แสดงโดยคุณสุชาติ ที่เคยเป็น Stunt ให้กับจา พนม ) ภาพฉายให้คนดูเห็นจากมุมของภรรยายิปมัน มองเห็นสามีตัวเองกำลังสู้อยู่ข้างนอกลิฟต์ แล้วประตูลิฟต์ค่อยๆ ปิด เป็นฉากหนึ่งที่ผมชอบมากๆ คือเชื่อละว่าสามีภรรยาคู่นี้เขารักกันจริงๆ
.
ให้ 8/10 ครับ อีก 2 คะแนน ไม่ให้เพราะบทของไมค์ ไทสัน เบามากไปนี่แหละ ถ้ามีบทให้พี่แกมีที่มาที่ไปบ้างก่อนจะมาเป็นหัวหน้าแก๊งมาเฟียในฮ่องกง น่าจะดีกว่านี้ครับ
Maestro ดนตรีประกอบหนัง Ip Man ที่คุ้นหูตั้งแต่ภาคแรก
Ip Man 3 : ปิดฉากไตรภาคได้อย่างน่าประทับใจ (ไม่สปอย)
.
Ip Man 3 วิจารณ์แบบสรุปคร่าวๆ นะครับ ( ไม่สปอยใดๆ )
.
- "ไมค์ ไทสัน" ( Mike Tyson ) ถึงจะออกมาแค่สั้นๆ แต่พี่แกทำให้ "มวยสากล" ( Western Boxing ) ดูเท่และน่าเกรงขามขึ้นไม่ต่างจากศิลปะการต่อสู้ของชาวเอเชีย : แต่ก่อนภาพลักษณ์ของมวยแบบตะวันตกในความคิดของคนทำสื่อบันเทิงชาวเอเชีย จะดูเหมือนพวก “ดีแต่ใช้แรง” เอาถึกเอาตัวใหญ่ตัวหนาเข้าว่า ดูป่าเถื่อนไม่สง่างามเท่าวิชาของโลกตะวันออก ( ไม่ว่าจะหนังจีน หนังไทย หรือการ์ตูนญี่ปุ่น ก็จะสร้างให้วิชามวยของโลกตะวันตกมีภาพแบบนี้เสมอ ) แม้แต่ Ip Man 2 ก็เช่นกัน แต่ภาคนี้ตรงกันข้ามครับ ตอนพี่ไมค์แกตั้งการ์ดแล้วโยกหลบไปมานี่อย่างเท่เลย คือไม่ต้องเตะสูงๆ กระโดดตีลังกาไปมา ใช้แค่กำปั้นเพียวๆ นี่แหละก็หล่อได้เหมือนกัน
.
- “จางจิน” ( Max Zhang ) ถ้าจะถามว่าหลังยุคเฉินหลง เจ็ตลี ดอนนี่ เยน แล้วใครจะมาเป็นดาราแอ็คชั่นระดับแถวหน้าของฝั่งจีนได้ คงเป็นคนนี้แหละ : ในเรื่องนี้พี่แกใช้มวยหย่งชุนแบบเดียวกับยิปมัน (ดอนนี่ เยน ) แต่ต่างกันตรงที่ท่วงท่าจะดู “โหดกว่า-ดิบกว่า” ซึ่งผมเดาว่าที่ออกแบบคาแรคเตอร์แบบนี้ คงเพราะสะท้อนภูมิหลังที่แตกต่างกัน คนนึงมาจากครอบครัวผู้ดี ฝึกกังฟูเพราะความหลงใหลส่วนตัว ส่วนอีกคนมาจากบ้านที่ฐานะยากจน ทำงานเป็นคนลากรถและหารายได้พิเศษจากการประลองในเวทีมวยใต้ดิน ชีวิตปากกัดเท้าถีบแบบนี้จะอารมณ์รุนแรงก็ไม่แปลก
.
- ชีวิตของยิปมันในมุม “ครอบครัว” ถูกเน้นมากขึ้นกว่าเดิม : ใน 2 ภาคแรก แม้จะกล่าวถึงครอบครัวของตัวเอกบ้าง แต่ก็ไม่ค่อยมีบทมากนักเมื่อเทียบกับเรื่องของการประลองยุทธ์ ถ้าจะมีบ้างก็เน้นไปที่ลูกมากกว่า แต่ภาค 3 นี้บทภรรยาของยิปมัน แทบจะเด่นพอๆ กับตัวยิปมันเลย คือจะเข้าใจมากขึ้นกับที่หนังภาค 2 พยายามจะสื่อว่า “ความอบอุ่นในครอบครัว สำคัญกว่าชื่อเสียงใดๆ” จะว่าไปถ้าลองนับกันดีๆ จำนวนฉากที่ว่าด้วยครอบครัวตัวเอก น่าจะพอๆ กับจำนวนฉากแอ็คชั่นด้วยมั้ง ( อันนี้ต้องไปชมเองครับ บอกอะไรไม่ได้มากเดี๋ยวกลายเป็นสปอย )
.
- หนังเอาช็อตสำคัญๆ ของภาคแรก กลับมาเล่นใหม่ในภาคนี้ด้วย : เช่น พูดถึงยิปมันฉบับดอนนี่ เยน เชื่อว่าหลายคนต้องนึกถึงวลี “ขอ 10 คน” ในภาคแรกตอนที่ยิปมันไปสู้กับสำนักคาราเต้ของกองทัพญี่ปุ่น , ภาคแรกเช่นกัน ฉากที่มีคนมาท้าสู้กับยิปมันที่บ้าน แต่พอสู้กันไปสักพักก็ต้องหยุด เพราะลูกชายตัวเล็กๆ ของตัวเอกถีบจักรยานสามล้อออกมา ในภาคนี้ก็มีอะไรที่คล้ายๆ กัน ( อันนี้ก็อยากให้ไปชมกันเองครับ โดยเฉพาะอันหลังนี่น่ารักดีเหมือนกัน ) รวมถึง Theme Song คุ้นหูอย่าง Maestro ก็ถูกนำมาใส่ในภาคนี้เหมือนกัน
.
- ถึงจะเป็นหนังเรื่องยิปมัน แต่ภาคนี้สเกลใหญ่กว่า เพราะว่าด้วยความสามัคคีของผู้คน : เรารู้กันดีว่าหนังยิปมัน สร้างขึ้นมาด้วยนัยยะของ “ความรักชาติ” ( ตัวร้ายเป็นต่างชาตินี่นะ ญี่ปุ่นบ้างฝรั่งบ้าง ) แต่ 2 ภาคแรกยกบทให้ตัวเอกแบกรับหน้าที่อันยิ่งใหญ่นี้คนเดียว ส่วนภาค 3 เราได้เห็นทั้งความช่วยเหลือของชุมชนต่อยิปมันและลูกศิษย์ รวมถึงการทำหน้าที่ของตำรวจในการงัดข้อกับอำนาจมืดที่ใหญ่กว่า ก็ต้องอาศัยความร่วมมือของคนในสังคมด้วย ( สื่อมวลชน , ประชาชน )
.
โดยรวมถือว่าเป็นภาคจบที่ค่อนข้างทำได้ดีเลยครับ มีอะไรมากกว่าแค่ฉากแอ็คชั่น โดยเฉพาะในมิติครอบครัวนี่แหละ อย่างฉากที่ยิปมันสู้กับมือสังหาร ( แสดงโดยคุณสุชาติ ที่เคยเป็น Stunt ให้กับจา พนม ) ภาพฉายให้คนดูเห็นจากมุมของภรรยายิปมัน มองเห็นสามีตัวเองกำลังสู้อยู่ข้างนอกลิฟต์ แล้วประตูลิฟต์ค่อยๆ ปิด เป็นฉากหนึ่งที่ผมชอบมากๆ คือเชื่อละว่าสามีภรรยาคู่นี้เขารักกันจริงๆ
.
ให้ 8/10 ครับ อีก 2 คะแนน ไม่ให้เพราะบทของไมค์ ไทสัน เบามากไปนี่แหละ ถ้ามีบทให้พี่แกมีที่มาที่ไปบ้างก่อนจะมาเป็นหัวหน้าแก๊งมาเฟียในฮ่องกง น่าจะดีกว่านี้ครับ
Maestro ดนตรีประกอบหนัง Ip Man ที่คุ้นหูตั้งแต่ภาคแรก