'อินทัช' ในมือซีอีโอใหม่รับไม้ต่อ 9 พันธกิจ-รักษาเก้าอี้ผู้นำ
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559
เป็นเรื่องปกติที่เมื่ออายุครบ 60 ก็ถึง เวลาต้องส่งต่อภารกิจให้กับผู้บริหารรุ่นถัดไปรับช่วงต่อ เช่นกันกับกลุ่มอินทัช หากแต่ครั้งนี้ผู้ที่รับไม้ต่อไม่ใช่ ลูกหม้อดั้งเดิม และเป็นผู้บริหารต่างชาติ อีกต่างหาก
จาก "สมประสงค์ บุญยะชัย" มาเป็น "ฟิลิป เชียง ชอง แทน" ในตำแหน่งรักษาการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มอินทัช (Acting Group Chief Executive Officer) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของกลุ่มอินทัช หลังผู้ถือหุ้นเปลี่ยนมือมาเป็น "กองทุนเทมาเส็ก" เข้าสู่ปีที่ 10 พอดิบพอดี
อย่างไรก็ตาม "สมประสงค์" อดีตซีอีโอ "อินทัช" ยังจะนั่งเป็นที่ปรึกษาประธานเจ้าหน้าที่บริหารอีก 1 ปี "ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับทั้งคู่ ดังนี้
ถึงเวลาเกษียณอายุ
ผมอยู่กับอินทัช หรือชินคอร์ปอเรชั่น มา 24 ปี ตั้งแต่บริษัทนี้มีคนแค่ 10 คน ปัจจุบันขยายออกเป็น 10,000 คน เห็นการเปลี่ยนแปลง รวมถึงเจอวิกฤตเศรษฐกิจมาหลายครั้ง และมาถึงจุดที่ต้องหาผู้นำคนใหม่เข้ามาสานต่อ Break Through หรือพันธกิจ 9 ข้อ เพื่อนำอินทัชให้ก้าวขึ้นไปสู่โฮลดิ้งคัมปานีที่มีการเจริญก้าวหน้ามั่นคง
แต่ผมก็ยังไม่ไปไหนไกล จะนั่งเป็น ที่ปรึกษาให้ซีอีโอคนใหม่ไปจนถึง 31 ธ.ค. 2559 และเป็นกรรมการ และประธานคณะกรรมการบริหารของบริษัทนี้ รวมถึงกรรมการในเอไอเอส, ไทยคม และเอดับบลิวเอ็น คุณฟิลิปเป็นผู้มีประสบการณ์ ทั้งคุณสมบัติการศึกษา และประวัติการทำงานเหมาะที่จะอยู่ในโฮลดิ้งคอมปานี บริษัทแบบเราต้องการคนที่สามารถรักษาการเจริญเติบโต และพร้อมสร้างธุรกิจใหม่ๆ ได้ เขาเป็นคนโอเพ่นมาก ทำให้การเข้ามาทำงานกับอินทัช ที่มีพนักงานเยอะง่ายกว่าเดิม ที่สำคัญเขาแทบจะเป็นคนไทย มาต่อปริญญาโทที่ศศินทร์ มีภรรยาเป็นคนไทย อยู่ไทย 9 ปี พูดไทยได้ น่าจะ รู้เรื่องเมืองไทยไม่แพ้เรื่องต่างประเทศ
24 ปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง
เรื่องภูมิใจที่สุดใน 24 ปี ก็ไล่มาตั้งแต่การได้มิตรไมตรีจากสื่อมวลชนที่ดี เรื่องการทำงานที่ทำให้เกิดการจ้างงานจำนวนมาก ผมเห็นพนักงานบางคนตั้งแต่จบปริญญาใหม่ ๆ ตอนนี้มีลูกรับปริญญาแล้ว
อินทัชกับบริษัทในกลุ่มยังมีการจ้างคนเจเนอเรชั่นใหม่ต่อเนื่อง เช่นกันกับการสร้างผลประโยชน์คืนให้ผู้บริโภค, นักลงทุน และคู่ค้าทั้งหมดโตไปพร้อมกับเรา จนบริษัทได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชนทั่วไป และนักลงทุน ก่อให้เกิดภาษีใน รูปแบบต่างๆ เพื่อพัฒนาประเทศไทย
ตอนนี้ราคาหุ้นไม่ดี
เชื่อว่าอีกไม่นานคงกลับมา นักวิเคราะห์ไม่พอใจเรื่องรายได้ต่อพนักงานในกลุ่มต่ำกว่าที่คาดไว้ แต่ผมไม่เห็นด้วย ถ้าให้แก้ปัญหานั้นก็ทำง่ายๆ ด้วยการลดคน ที่เกินออกไป แต่ผมไม่ทำ เช่น ช่วงประมูล คลื่น 2100 MHz ครั้งที่ล่มไป เราจะยุบทีมดูแล 2100 MHz ไปเลยก็ได้แต่ผมไม่ทำ ตอนนี้ทีมนั้นกลายเป็นทีมพัฒนา 3G ของเอไอเอสจนมีประสิทธิภาพสูงที่สุด ผมเชื่อว่าคุณฟิลิป จะมีวิสัยทัศน์ในระยะยาวแบบนี้ และทำให้ผ่านพ้น วิกฤตต่างๆ ได้การประมูลคลื่นที่ผ่านมา
คลื่น 1800 MHz เอไอเอสทำได้ตามแผน แต่ 900 MHz ผมและทีมใช้หลักพิจารณา 3 ข้อ คือ 1.หลักวิศวกรรมศาสตร์ เช่น หากมีคลื่น 3 คลื่น จะประหยัดการลงทุนมากกว่า แต่คลื่นไม่ได้มาฟรี ต้องถัวกันให้ดี 2.หลักเศรษฐศาสตร์ และการเงิน การประมูลถือเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอัตโนมัติ และ 3.หลักธรรมาภิบาล ผมคิดเสมอว่าทุกๆ การเสนอราคาต้องจ่ายจริง ถ้าได้คลื่นมา ต้องมั่นใจว่าทำธุรกิจต่อได้ ทั้งหมดนี้คลื่น 900 MHz เกินกว่าเกณฑ์ทั้งหมด และเราไม่ได้แพ้ แค่เราไม่เอามากกว่า
เงินที่เหลือจะทำอะไร
เรานำเงินส่วนต่างที่ไม่ต้องชำระค่า ใบอนุญาตไปซื้ออุปกรณ์เน็ตเวิร์กเพิ่ม เพื่อรองรับการใช้งานในกรณีที่ไม่ได้คลื่นเพิ่ม รวมถึงทำมาร์เก็ตติ้งเพื่อดูแลผู้บริโภคแบบไดเร็กต์เลย มีการส่งเอสเอ็มเอสให้ผู้บริโภคที่ใช้ 2G กว่า 11 ล้านเลขหมาย ให้มารับเครื่องใหม่ที่เป็น 3G ฟรี การลงทุนไม่ได้วางงบฯลงทุนชัดเจน เพราะหน้าที่หลักคือสร้างธุรกิจใหม่ และรักษาธุรกิจเก่าให้เติบโต ตอนนี้เครดิตเราดีมาก ใคร ๆ ก็อยากให้เรากู้
ธุรกิจโทรคมนาคมปีนี้
กลายเป็นมีผู้เล่น 4 ราย เลขหมายตอนนี้ เกิน 100% ของประชากรไปไกลแล้ว ที่สำคัญการใช้ดาต้าแอดวานซ์มากกว่าเดิมเยอะ ดังนั้นการจะดำเนินธุรกิจได้ จำเป็นต้องมีเน็ตเวิร์กที่เพียงพอ พร้อมเซอร์วิสเสริมต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานแต่ละด้าน การอิมพลีเมนต์ต้องใช้เวลา และถ้าจะดึงให้เกิดการใช้งานได้เร็วที่สุด คงไม่พ้นสงครามราคา ส่วนเรื่องเงินเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ผู้ชนะประมูลคลื่น 900 MHz ทำธุรกิจได้ยาก เพราะในปีที่ 4 ต้องชำระเงินกว่า 60,000 ล้านบาท ดังนั้นเวลา 48 เดือน ต้องสร้างรายได้ให้ถึงจุดนั้น ถ้าไม่ถึงจะจ่ายไม่ได้ ไม่พ้นโดน กสทช.ยึดใบอนุญาต แต่ผมเคารพการตัดสินใจของ ผู้ชนะประมูล เพราะทั้งคู่เป็น Entrepreneur ทำให้ตัดสินใจด้วยฟีลลิ่งได้ แต่เราเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ และบริหารแบบมืออาชีพ จึงต้องใช้หลักการต่างๆ มาตัดสินใจในการประมูล
ความท้าทายในตำแหน่งนี้
ก่อนผมจะย่างเข้าอายุ 50 ปี ในปี 2559 ผมตัดสินใจว่า ถ้าเข้าอายุ 50 ปี ต้องทำอะไรที่ท้าทายกว่านี้ ซึ่งก็เป็นช่วงเดียวกับที่เฮดฮันเตอร์ติดต่อมา เมื่อ มิ.ย. 2558 ว่าสนใจตำแหน่งนี้ไหม ผมก็ตัดสินใจเข้าไปคุย และเข้ามาเริ่มต้นกับอินทัชในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการ เมื่อ 1 พ.ย. 2558 และ 1 ม.ค. 2559 ก็ได้รับการเลือกให้เป็นรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทให้เวลาผมในการแสดงผลงาน และวันที่ 20 ม.ค.นี้ จะแสดงวิสัยทัศน์ 100 วันจากนี้ ให้กับคณะกรรมการบริษัท
ย้ายจากธุรกิจการเงินมาโทรคมนาคม
เฉพาะจีอี แคปปิตอล ทำมามากกว่า 20 ปี ทั้งในต่างประเทศ และในไทย ตำแหน่งสุดท้ายเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีอี มันนี่ (ประเทศไทย) จำกัด และมีส่วนช่วยให้ธนาคารกรุงศรีอยุธยาขยายบัตรเครดิต และสินเชื่อรายย่อย การที่มี ผู้ช่วยเป็นคุณสมประสงค์ และทีมงานเก่งๆ คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะบริหารอินทัชให้เติบโต จะนำเรื่องสินเชื่อรายย่อย และ อีมันนี่ เข้ามาผนวกอยู่ในธุรกิจต่าง ๆ ที่อินทัชถืออยู่ด้วย
มีเอ็มเพย์ และอื่นๆ อยู่แล้ว
การนำอีเพย์เมนต์ และอีมันนี่ รวมถึงสินเชื่อรายย่อยเข้ามาจะชัดเจน ก.พ.-มี.ค.นี้ว่าจะเดินไปในทิศทางไหน การต่อยอดจากเอ็มเพย์ที่มีอยู่แล้วเป็นอีกวิธี เพราะการใช้เงินบนโลกดิจิทัลของผู้บริโภคเติบโตขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มอินทัชเข้าไปลงทุนธุรกิจโฮมช็อปปิ้ง ในอนาคตแพลตฟอร์มนั้นอาจชำระได้ด้วยอีมันนี่ ดังนั้นการวางแผนเพื่อรองรับอนาคตในระยะยาวเป็นเรื่องที่ผมมองไว้ตั้งแต่แรก นี่คงเป็นอีกเหตุผลที่อินทัชเลือกผมเข้ามาทำงานนี้
กดดันไหมที่เป็นต่างชาติ และคนนอก
เข้าใจว่าตัวเลือกของบริษัทในตำแหน่ง นี้มีการดูคนในด้วย แต่การที่ผมได้รับตำแหน่ง คณะกรรมการคงพิจารณาเป็นอย่างดีแล้ว และเชื่อมั่นได้ว่า โปร่งใส และใช้หลักเกณฑ์ในการตัดสินใจทั้งหมด เรื่องเป็นต่างชาติ ผมมองว่าตอนนี้ ผมแทบจะเป็นคนไทย เหลือแค่ยังอ่านภาษาไทยไม่ได้ การสื่อสาร การเข้าใจวัฒนธรรมไทยน่าจะเป็นบทพิสูจน์ในการที่ผมเข้ามารับตำแหน่งนี้ แต่ขอเวลาศึกษาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เพิ่งเข้ามามีอะไรใหม่ ๆ ให้ศึกษาอีกมาก
จะสานต่อพันธกิจ 9 Break Through
ยังยึด 9 Break Through เพราะเป็นแกนหลักของธุรกิจอินทัช ทั้งหมดนี้ต้องเดินในระยะยาวเหมือนเดิม แค่อาจจะเสริมเรื่องบริการการเงินเพื่อทำให้ครบวงจรมากขึ้นอีก 3 ปีจะเห็นผลจากนั้นค่อยมาพูดถึงเรื่องการเติบโต และอัตรากำไร ของบริษัท ทุกบริษัทที่อินทัช เข้าไปถือหุ้น ผมพร้อมสนับสนุนเต็มที่ ทั้งการเงิน การตลาด เพื่อให้เราและบริษัทที่เข้าไปลงทุนโตไปด้วยกัน
เอไอเอสไม่ได้ คลื่น 900 MHz
เอไอเอส คือ บริษัทหลักที่อินทัชเข้าไปลงทุน และมีมูฟเมนต์ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมอย่างมาก ดังนั้นในระยะสั้น เราต้องทำให้แน่ใจว่าการขยายโครงข่ายทำได้เร็ว มาตรการรักษาลูกค้าต้องทำได้ดี ส่วนเรื่องที่ไม่ได้ 900 MHz ผมเคารพการตัดสินใจของทีมประมูล และเชื่อว่าการสร้างเน็ตเวิร์กที่ดี เพื่อรองรับลูกค้าจำนวนมากได้ ทำให้ เอไอเอสรักษาตำแหน่งผู้นำเอาไว้ได้ การเลือกแบบนี้น่าจะเป็นทิศทางที่ยั่งยืน และคืนผลประโยชน์ให้กับการลงทุนมากกว่ามีความยืดหยุ่นเรื่องการเงินเหนือคู่แข่ง
ความเชื่อมั่นตกแค่ระยะสั้น
คิดว่าอย่างนั้น เอไอเอสค่อนข้าง แข็งแรงมาก ทำให้ระยะยาวยังเดินหน้าตามแผนไปได้อีกไกล รวมถึงไทยคม และธุรกิจใหม่อื่น ๆ การที่เราไม่ได้คลื่น 900 MHz เป็นประโยชน์มากกว่าไม่ใช่วิกฤตเหมือนที่หลายฝ่ายคาดไว้
ภาพรวมเศรษฐกิจปีนี้อย่างไร
ทุกๆ มุมน่าจะฟื้นกลับมา ไล่ตั้งแต่ จีดีพี, กำลังซื้อผู้บริโภค และการที่เอไอเอส มี 4G ทำให้การจับจ่ายของผู้บริโภคดีขึ้นด้วย ปีนี้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมคงแข่งขันกันหนัก จากการที่มีผู้เล่นที่มีคลื่นความถี่มากขึ้น ซึ่งการประมูลที่ผ่านมาราคาค่า ใบอนุญาตสูง ดังนั้น ผู้ที่ได้ทุกรายต่างต้องแข่งกัน สร้างรายได้ ให้สามารถนำเงินมาชำระค่าใบอนุญาตได้ในเวลาที่กำหนด
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559 (หน้า 28)
'อินทัช' ในมือซีอีโอใหม่รับไม้ต่อ 9 พันธกิจ-รักษาเก้าอี้ผู้นำ
'อินทัช' ในมือซีอีโอใหม่รับไม้ต่อ 9 พันธกิจ-รักษาเก้าอี้ผู้นำ
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559
เป็นเรื่องปกติที่เมื่ออายุครบ 60 ก็ถึง เวลาต้องส่งต่อภารกิจให้กับผู้บริหารรุ่นถัดไปรับช่วงต่อ เช่นกันกับกลุ่มอินทัช หากแต่ครั้งนี้ผู้ที่รับไม้ต่อไม่ใช่ ลูกหม้อดั้งเดิม และเป็นผู้บริหารต่างชาติ อีกต่างหาก
จาก "สมประสงค์ บุญยะชัย" มาเป็น "ฟิลิป เชียง ชอง แทน" ในตำแหน่งรักษาการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มอินทัช (Acting Group Chief Executive Officer) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของกลุ่มอินทัช หลังผู้ถือหุ้นเปลี่ยนมือมาเป็น "กองทุนเทมาเส็ก" เข้าสู่ปีที่ 10 พอดิบพอดี
อย่างไรก็ตาม "สมประสงค์" อดีตซีอีโอ "อินทัช" ยังจะนั่งเป็นที่ปรึกษาประธานเจ้าหน้าที่บริหารอีก 1 ปี "ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับทั้งคู่ ดังนี้
ถึงเวลาเกษียณอายุ
ผมอยู่กับอินทัช หรือชินคอร์ปอเรชั่น มา 24 ปี ตั้งแต่บริษัทนี้มีคนแค่ 10 คน ปัจจุบันขยายออกเป็น 10,000 คน เห็นการเปลี่ยนแปลง รวมถึงเจอวิกฤตเศรษฐกิจมาหลายครั้ง และมาถึงจุดที่ต้องหาผู้นำคนใหม่เข้ามาสานต่อ Break Through หรือพันธกิจ 9 ข้อ เพื่อนำอินทัชให้ก้าวขึ้นไปสู่โฮลดิ้งคัมปานีที่มีการเจริญก้าวหน้ามั่นคง
แต่ผมก็ยังไม่ไปไหนไกล จะนั่งเป็น ที่ปรึกษาให้ซีอีโอคนใหม่ไปจนถึง 31 ธ.ค. 2559 และเป็นกรรมการ และประธานคณะกรรมการบริหารของบริษัทนี้ รวมถึงกรรมการในเอไอเอส, ไทยคม และเอดับบลิวเอ็น คุณฟิลิปเป็นผู้มีประสบการณ์ ทั้งคุณสมบัติการศึกษา และประวัติการทำงานเหมาะที่จะอยู่ในโฮลดิ้งคอมปานี บริษัทแบบเราต้องการคนที่สามารถรักษาการเจริญเติบโต และพร้อมสร้างธุรกิจใหม่ๆ ได้ เขาเป็นคนโอเพ่นมาก ทำให้การเข้ามาทำงานกับอินทัช ที่มีพนักงานเยอะง่ายกว่าเดิม ที่สำคัญเขาแทบจะเป็นคนไทย มาต่อปริญญาโทที่ศศินทร์ มีภรรยาเป็นคนไทย อยู่ไทย 9 ปี พูดไทยได้ น่าจะ รู้เรื่องเมืองไทยไม่แพ้เรื่องต่างประเทศ
24 ปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง
เรื่องภูมิใจที่สุดใน 24 ปี ก็ไล่มาตั้งแต่การได้มิตรไมตรีจากสื่อมวลชนที่ดี เรื่องการทำงานที่ทำให้เกิดการจ้างงานจำนวนมาก ผมเห็นพนักงานบางคนตั้งแต่จบปริญญาใหม่ ๆ ตอนนี้มีลูกรับปริญญาแล้ว
อินทัชกับบริษัทในกลุ่มยังมีการจ้างคนเจเนอเรชั่นใหม่ต่อเนื่อง เช่นกันกับการสร้างผลประโยชน์คืนให้ผู้บริโภค, นักลงทุน และคู่ค้าทั้งหมดโตไปพร้อมกับเรา จนบริษัทได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชนทั่วไป และนักลงทุน ก่อให้เกิดภาษีใน รูปแบบต่างๆ เพื่อพัฒนาประเทศไทย
ตอนนี้ราคาหุ้นไม่ดี
เชื่อว่าอีกไม่นานคงกลับมา นักวิเคราะห์ไม่พอใจเรื่องรายได้ต่อพนักงานในกลุ่มต่ำกว่าที่คาดไว้ แต่ผมไม่เห็นด้วย ถ้าให้แก้ปัญหานั้นก็ทำง่ายๆ ด้วยการลดคน ที่เกินออกไป แต่ผมไม่ทำ เช่น ช่วงประมูล คลื่น 2100 MHz ครั้งที่ล่มไป เราจะยุบทีมดูแล 2100 MHz ไปเลยก็ได้แต่ผมไม่ทำ ตอนนี้ทีมนั้นกลายเป็นทีมพัฒนา 3G ของเอไอเอสจนมีประสิทธิภาพสูงที่สุด ผมเชื่อว่าคุณฟิลิป จะมีวิสัยทัศน์ในระยะยาวแบบนี้ และทำให้ผ่านพ้น วิกฤตต่างๆ ได้การประมูลคลื่นที่ผ่านมา
คลื่น 1800 MHz เอไอเอสทำได้ตามแผน แต่ 900 MHz ผมและทีมใช้หลักพิจารณา 3 ข้อ คือ 1.หลักวิศวกรรมศาสตร์ เช่น หากมีคลื่น 3 คลื่น จะประหยัดการลงทุนมากกว่า แต่คลื่นไม่ได้มาฟรี ต้องถัวกันให้ดี 2.หลักเศรษฐศาสตร์ และการเงิน การประมูลถือเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอัตโนมัติ และ 3.หลักธรรมาภิบาล ผมคิดเสมอว่าทุกๆ การเสนอราคาต้องจ่ายจริง ถ้าได้คลื่นมา ต้องมั่นใจว่าทำธุรกิจต่อได้ ทั้งหมดนี้คลื่น 900 MHz เกินกว่าเกณฑ์ทั้งหมด และเราไม่ได้แพ้ แค่เราไม่เอามากกว่า
เงินที่เหลือจะทำอะไร
เรานำเงินส่วนต่างที่ไม่ต้องชำระค่า ใบอนุญาตไปซื้ออุปกรณ์เน็ตเวิร์กเพิ่ม เพื่อรองรับการใช้งานในกรณีที่ไม่ได้คลื่นเพิ่ม รวมถึงทำมาร์เก็ตติ้งเพื่อดูแลผู้บริโภคแบบไดเร็กต์เลย มีการส่งเอสเอ็มเอสให้ผู้บริโภคที่ใช้ 2G กว่า 11 ล้านเลขหมาย ให้มารับเครื่องใหม่ที่เป็น 3G ฟรี การลงทุนไม่ได้วางงบฯลงทุนชัดเจน เพราะหน้าที่หลักคือสร้างธุรกิจใหม่ และรักษาธุรกิจเก่าให้เติบโต ตอนนี้เครดิตเราดีมาก ใคร ๆ ก็อยากให้เรากู้
ธุรกิจโทรคมนาคมปีนี้
กลายเป็นมีผู้เล่น 4 ราย เลขหมายตอนนี้ เกิน 100% ของประชากรไปไกลแล้ว ที่สำคัญการใช้ดาต้าแอดวานซ์มากกว่าเดิมเยอะ ดังนั้นการจะดำเนินธุรกิจได้ จำเป็นต้องมีเน็ตเวิร์กที่เพียงพอ พร้อมเซอร์วิสเสริมต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานแต่ละด้าน การอิมพลีเมนต์ต้องใช้เวลา และถ้าจะดึงให้เกิดการใช้งานได้เร็วที่สุด คงไม่พ้นสงครามราคา ส่วนเรื่องเงินเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ผู้ชนะประมูลคลื่น 900 MHz ทำธุรกิจได้ยาก เพราะในปีที่ 4 ต้องชำระเงินกว่า 60,000 ล้านบาท ดังนั้นเวลา 48 เดือน ต้องสร้างรายได้ให้ถึงจุดนั้น ถ้าไม่ถึงจะจ่ายไม่ได้ ไม่พ้นโดน กสทช.ยึดใบอนุญาต แต่ผมเคารพการตัดสินใจของ ผู้ชนะประมูล เพราะทั้งคู่เป็น Entrepreneur ทำให้ตัดสินใจด้วยฟีลลิ่งได้ แต่เราเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ และบริหารแบบมืออาชีพ จึงต้องใช้หลักการต่างๆ มาตัดสินใจในการประมูล
ความท้าทายในตำแหน่งนี้
ก่อนผมจะย่างเข้าอายุ 50 ปี ในปี 2559 ผมตัดสินใจว่า ถ้าเข้าอายุ 50 ปี ต้องทำอะไรที่ท้าทายกว่านี้ ซึ่งก็เป็นช่วงเดียวกับที่เฮดฮันเตอร์ติดต่อมา เมื่อ มิ.ย. 2558 ว่าสนใจตำแหน่งนี้ไหม ผมก็ตัดสินใจเข้าไปคุย และเข้ามาเริ่มต้นกับอินทัชในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการ เมื่อ 1 พ.ย. 2558 และ 1 ม.ค. 2559 ก็ได้รับการเลือกให้เป็นรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทให้เวลาผมในการแสดงผลงาน และวันที่ 20 ม.ค.นี้ จะแสดงวิสัยทัศน์ 100 วันจากนี้ ให้กับคณะกรรมการบริษัท
ย้ายจากธุรกิจการเงินมาโทรคมนาคม
เฉพาะจีอี แคปปิตอล ทำมามากกว่า 20 ปี ทั้งในต่างประเทศ และในไทย ตำแหน่งสุดท้ายเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีอี มันนี่ (ประเทศไทย) จำกัด และมีส่วนช่วยให้ธนาคารกรุงศรีอยุธยาขยายบัตรเครดิต และสินเชื่อรายย่อย การที่มี ผู้ช่วยเป็นคุณสมประสงค์ และทีมงานเก่งๆ คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะบริหารอินทัชให้เติบโต จะนำเรื่องสินเชื่อรายย่อย และ อีมันนี่ เข้ามาผนวกอยู่ในธุรกิจต่าง ๆ ที่อินทัชถืออยู่ด้วย
มีเอ็มเพย์ และอื่นๆ อยู่แล้ว
การนำอีเพย์เมนต์ และอีมันนี่ รวมถึงสินเชื่อรายย่อยเข้ามาจะชัดเจน ก.พ.-มี.ค.นี้ว่าจะเดินไปในทิศทางไหน การต่อยอดจากเอ็มเพย์ที่มีอยู่แล้วเป็นอีกวิธี เพราะการใช้เงินบนโลกดิจิทัลของผู้บริโภคเติบโตขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มอินทัชเข้าไปลงทุนธุรกิจโฮมช็อปปิ้ง ในอนาคตแพลตฟอร์มนั้นอาจชำระได้ด้วยอีมันนี่ ดังนั้นการวางแผนเพื่อรองรับอนาคตในระยะยาวเป็นเรื่องที่ผมมองไว้ตั้งแต่แรก นี่คงเป็นอีกเหตุผลที่อินทัชเลือกผมเข้ามาทำงานนี้
กดดันไหมที่เป็นต่างชาติ และคนนอก
เข้าใจว่าตัวเลือกของบริษัทในตำแหน่ง นี้มีการดูคนในด้วย แต่การที่ผมได้รับตำแหน่ง คณะกรรมการคงพิจารณาเป็นอย่างดีแล้ว และเชื่อมั่นได้ว่า โปร่งใส และใช้หลักเกณฑ์ในการตัดสินใจทั้งหมด เรื่องเป็นต่างชาติ ผมมองว่าตอนนี้ ผมแทบจะเป็นคนไทย เหลือแค่ยังอ่านภาษาไทยไม่ได้ การสื่อสาร การเข้าใจวัฒนธรรมไทยน่าจะเป็นบทพิสูจน์ในการที่ผมเข้ามารับตำแหน่งนี้ แต่ขอเวลาศึกษาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เพิ่งเข้ามามีอะไรใหม่ ๆ ให้ศึกษาอีกมาก
จะสานต่อพันธกิจ 9 Break Through
ยังยึด 9 Break Through เพราะเป็นแกนหลักของธุรกิจอินทัช ทั้งหมดนี้ต้องเดินในระยะยาวเหมือนเดิม แค่อาจจะเสริมเรื่องบริการการเงินเพื่อทำให้ครบวงจรมากขึ้นอีก 3 ปีจะเห็นผลจากนั้นค่อยมาพูดถึงเรื่องการเติบโต และอัตรากำไร ของบริษัท ทุกบริษัทที่อินทัช เข้าไปถือหุ้น ผมพร้อมสนับสนุนเต็มที่ ทั้งการเงิน การตลาด เพื่อให้เราและบริษัทที่เข้าไปลงทุนโตไปด้วยกัน
เอไอเอสไม่ได้ คลื่น 900 MHz
เอไอเอส คือ บริษัทหลักที่อินทัชเข้าไปลงทุน และมีมูฟเมนต์ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมอย่างมาก ดังนั้นในระยะสั้น เราต้องทำให้แน่ใจว่าการขยายโครงข่ายทำได้เร็ว มาตรการรักษาลูกค้าต้องทำได้ดี ส่วนเรื่องที่ไม่ได้ 900 MHz ผมเคารพการตัดสินใจของทีมประมูล และเชื่อว่าการสร้างเน็ตเวิร์กที่ดี เพื่อรองรับลูกค้าจำนวนมากได้ ทำให้ เอไอเอสรักษาตำแหน่งผู้นำเอาไว้ได้ การเลือกแบบนี้น่าจะเป็นทิศทางที่ยั่งยืน และคืนผลประโยชน์ให้กับการลงทุนมากกว่ามีความยืดหยุ่นเรื่องการเงินเหนือคู่แข่ง
ความเชื่อมั่นตกแค่ระยะสั้น
คิดว่าอย่างนั้น เอไอเอสค่อนข้าง แข็งแรงมาก ทำให้ระยะยาวยังเดินหน้าตามแผนไปได้อีกไกล รวมถึงไทยคม และธุรกิจใหม่อื่น ๆ การที่เราไม่ได้คลื่น 900 MHz เป็นประโยชน์มากกว่าไม่ใช่วิกฤตเหมือนที่หลายฝ่ายคาดไว้
ภาพรวมเศรษฐกิจปีนี้อย่างไร
ทุกๆ มุมน่าจะฟื้นกลับมา ไล่ตั้งแต่ จีดีพี, กำลังซื้อผู้บริโภค และการที่เอไอเอส มี 4G ทำให้การจับจ่ายของผู้บริโภคดีขึ้นด้วย ปีนี้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมคงแข่งขันกันหนัก จากการที่มีผู้เล่นที่มีคลื่นความถี่มากขึ้น ซึ่งการประมูลที่ผ่านมาราคาค่า ใบอนุญาตสูง ดังนั้น ผู้ที่ได้ทุกรายต่างต้องแข่งกัน สร้างรายได้ ให้สามารถนำเงินมาชำระค่าใบอนุญาตได้ในเวลาที่กำหนด
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559 (หน้า 28)