จดหมายจากคณะสงฆ์ศิษยานุศิษย์องค์หลวงตามหาบัว ถึงนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา









ตามไปอ่านที่นี่เด้อครับเด้อ

http://www.luangta.com/info/news_text.php?cginews_id=652&type
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
ดั้งเดิม พรบ. สงฆ์   กษัตริย์เป็นผู้เลือก พระสังฆราช ด้วยองค์เอง
สมเด็จพระญาณสังวร ฯ พระมหากษัตริย์ก็ได้เลือกด้วยองค์เอง
เป็นที่น่าปลาบปลื้มใจ ต่อ พสกนิกรในประเทศ


น่าสะกิดใจ ว่า พรบ.สงฆ์นั้น
ถูกแก้ไข เนื้อหาการเลือกพระสังฆราชใหม่
ในสมัยรัฐบาลใด?
แก้ไขเพื้อประโยชน์อะไร?  แก้ไขทำไม?
(ใบ้ว่า พรบ.สงฆ์ ปี 254...ต้นๆ)
ความคิดเห็นที่ 6
ความตอนหนึ่งจากจดหมาย
!
!
... และแม้อายุพรรษาเอง ก็ต้องไม่สำคัญเหนือไปกว่า คุณธรรม

!
!
------------

นี่เรามาถึงจุดที่ต้องถามหา "คุณธรรม" จากพระแล้วเหรอ !
ความคิดเห็นที่ 11
***เฉยมิใช่ไร้กิเลส แต่เป็นเหตุให้พระศาสนาสิ้น***

๓. อีกอย่างหนึ่งที่ควรระวัง คือ
พอมีภัย หรือ เรื่องกระทบกระเทือนส่วนรวม ชาวพุทธไม่น้อยมีลักษณะที่วางเฉย ไม่เอาเรื่อง แล้วเห็นลักษณะนี้เป็นดีไป
เห็นว่าใครไม่เอาเรื่องเอาราว มีอะไรเกิดขึ้นก็เฉย ๆ ไม่เอาเรื่อง กลายเป็นดี ไม่มีกิเลส เห็นอย่างนี้ไปก็มี

ในทางตรงข้าม ถ้าไปยุ่งก็แสดงว่ามีกิเลส อันนี้ อาจจะพลาดจากคติพุทธศาสนาไปเสียแล้ว และจะกลายเป็นเหยื่อเขา

ในทางพุทธศาสนานั้น ผู้ไม่มีกิเลสท่านยุ่งกับเรื่องที่กระทบกระเทือนกิจการส่วนรวม
แต่ การยุ่งของท่านมีลักษณะที่ไม่เป็นไปด้วยกิเลส คือ ทำด้วยใจที่บริสุทธิ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ได้ทำเป็นคติไว้แล้ว
ตั้งแต่สมัยพุทธกาล..

กิจการส่วนรวมเป็นเรื่องที่จะต้องร่วมกันพิจารณาเอาใจใส่
นี้ เป็นคติทางพุทธศาสนา

แต่ในบางยุค บางสมัยเราไปถือว่าไม่เอาธุระ จะมีเรื่องราวกระทบกระเทือน
มีภัยเกิดกับส่วนรวมก็ไม่ยุ่งไม่เกี่ยวอะไรต่างๆ แล้วเห็นเป็นว่าไม่มีกิเลสไปก็มี อย่างนี้เป็นทางหนึ่งของความเสื่อมในพระพุทธศาสนา

คติที่ถูกต้องนั้น สอดคล้องกับหลักความจริงที่ว่า
พระอรหันต์ หรือ ท่านผู้หมดกิเลสนั้น เป็นผู้บรรลุประโยชน์ตนสมบูรณ์แล้ว หมดกิจที่จะต้องทำเพื่อตนเองแล้ว
จึงมุ่งแต่จะบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น ขวนขวายในกิจของส่วนรวมอย่างเต็มที่

_________________________

๔. อีกอย่างหนึ่ง คือ การฝากศาสนาไว้กับพระ
ชาวพุทธจำนวนมากทีเดียว ชอบฝากศาสนาไว้กับ พระ อย่างเดียว แทนที่จะถือตามคติของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าตรัสว่า

" พระศาสนานั้นอยู่ด้วยบริษัททั้ง ๔ คือ
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ไม่ใช่บริษัทใดบริษัทหนึ่ง แต่จะต้องช่วยกัน"


โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)




-----------------------------


"กรณีธรรมกาย" โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต)
ดาวน์โหลดฟรี http://www.watnyanaves.net/th/book_detail/10

รายงาน กรณีวัดพระธรรมกาย ของ คณะกรรมาธิการ การศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๒
ดาวน์โหลดฟรี http://www.analaya.com/dhamma-ebook/72-code-of-monastic-disciplines/549-dhammachayo-2.html

วิทยานิพนธ์ "บทบาทในการรักษาพระธรรมวินัยของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) : ศึกษาเฉพาะกรณีธรรมกาย (๒๕๔๖)" โดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
ดาวน์โหลดฟรี http://www.mcu.ac.th/site/thesiscontent_desc.php?ct=1&t_id=115
ความคิดเห็นที่ 4
ทุกคนต้องปฏิบัติตามกฏหมายสังคมจึงจะอยู่ได้   ชอบหรือไม่ชอบก็ต้องยอมรับถ้ามันเป็นไปตามกฏหมาย

กฏหมายที่ใช้อยู่ตอนนี้  ถ้าท่านประยุทธกล้าๆหน่อย  ประกาศยุบยกเลิกมันไปเลยเจ้าเถรสมาคมตัวต้นปัญหานี่

เรื่องมันก็จะยุติ  ถ้าใครไม่ยอมรับก็แสดงว่าไม่เคารพกฏหมาย    นี่แหละทางออกที่ดีที่สุด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่