จบลงไปอย่างประทับใจพร้อมดราม่าพอหอมปากหอมคอ
กับแชมป์คนใหม่ของ The Face Thailand Season 2
เก๋ได้ติดตามดูรายการนี้แล้วก็ทำให้เห็นถึง
ศักยภาพของผู้เข้าแข่งขันและพัฒนาการในแต่ละสัปดาห์
ซึ่งความแซ่บทั้งหลายทั้งปวง
จะขาดคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งไม่ได้เลย
นั่นคือเมนเตอร์ของแต่ละทีม (Mentor)
โพสท์นี้จึงขอมาแชร์มุมมองในฐานะที่เป็นทั้งโค้ชและเมนเตอร์
ที่ได้มีโอกาสทำหน้าที่คล้าย ๆ กับเมนเตอร์ทั้งสาม
ในการมีส่วนช่วยพัฒนาบุคลากร
จะต่างกันก็ที่ความสวย
(อันนี้ให้คิดเอาเองค่ะว่า “ห่าง” ขนาดไหน)
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า “
Coaching” กับ “
Mentoring”
มีความต่างกันอยู่นะคะ
ถ้าพูดถึง
Coaching
เป็นการพัฒนาคนที่เน้นเรื่องของ Result, Performance
ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
โฟกัสไปที่เป้าหมายในเรื่องหนึ่งเรื่องใด
ของ Coachee ที่เรา Support อยู่
เป็นการทำงานร่วมกันแบบ Short-term กว่า
ในขณะที่
Mentoring
เป็นการพัฒนาคนที่เน้นเรื่องของ
Relationship กับ Mentor, Development ของคน ๆ นั้น
โฟกัสไปที่ภาพสำเร็จของตัว Mentee ในระยะไกล ๆ
ถ้าจะเปรียบเทียบง่าย ๆ ใน The Face
เมนเตอร์แต่ละคนควรจะ Coaching ลูกทีม
ให้ทำภาระกิจให้สำเร็จในแต่ละสัปดาห์
และควร Mentoring น้อง ๆ เหล่านั้น
ให้มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ เพื่อจะเป็น The Face Thailand
ที่นี้ลองมาดูวิธี Mentoring อย่างไรให้ “ปัง”
#1 ความพร้อมของทักษะ ความรู้ ความชำนาญของ Mentor
ก่อนจะ Mentoring ให้ใคร เราต้องแน่ใจว่า
เรามี “ของ” ในเรื่องนั้น ๆ ที่จะแบ่งปัน
ข้อนี้ทำให้ Mentor Lukkade
ดูจะ “Strong” ในโปรไฟล์ความเป็น “ตัวแม่”
ด้วยจำนวนปีประสบการณ์ที่ผ่านร้อนหนาวมาในวงการ
ถึงแม้ Mentor Cris เองจะประกาศชัดตั้งแต่ช่วงแรก ๆ
ในเทประหว่างช่วงชิงเลือกผู้เข้าแข่งขันเข้าทีมว่า
งานในวงการทั้งหลายแหล่ที่พี่เกดทำมาทั้งหมดกว่า 20 ปี
คริสผ่านมาหมดแล้วในเวลาเพียงแค่ 7-8 ปี
เรียกว่าประสบความสำเร็จในระยะเวลาอันสั้น
แต่พี่บอกน้องคริสได้คำเดียวว่า
“กระดูกคนละเบอร์” ค่ะ
#2 Mentoring Relationship ระหว่าง Mentor และ Mentee
ไม่แปลกถ้าติช่าจะได้เป็น The Face Thailand
Trust ที่เธอมีให้กับ Mentor Bee
ทำให้เธอ “ยอม” และ “กล้า”
ออกจาก Comfort Zone เดิม ๆ ที่มีอยู่อย่างไม่มีข้อสงสัย
ในเทปที่ Mentor Bee ต้องเลือกหนึ่งเดียวจากทีม
เพื่อเป็นตัวแทนในรอบ Final Walk
ติช่าบอกพี่บีว่าเธอไม่เคย Doubt ในสิ่งที่พี่บีให้ทำ
ถ้าพี่บีให้ติช่ากระโดด
ติช่าจะถามว่าพี่บีว่าจะให้กระโดดสูงแค่ไหน
โดยไม่เคยถามคำถามว่า “ทำไมต้องโดด”
Trust เป็นสิ่งที่ Coachee หรือ Mentee หลาย ๆ คน
เตะตัดขาตนเองเพราะมัวแต่สงสัย Coach หรือ Mentor
เวลาที่กำลังถูก Mentor หรือ Coach
ผลักให้ออกจาก Comfort Zone เดิม ๆ
บวกกับตัวติช่าเองที่มี Passion มาไกลจากสวีเดน
และ “Inner” ที่เป็นคำที่พี่บีพร่ำสอนอยู่บ่อย ๆ
ได้พาหนูมาไกลให้เป็น The Face Thailand
และ Inner นี้เองก็พาพี่บีให้ได้เป็น Mentor แห่งปีเช่นกัน
#3 Positive attitude and acts as a positive role model
นางเอกซีซั่นนี้ต้องยกให้กับ Mentor Cris
คุณธรรม จริยธรรม ของพี่คริสสูงมาก
จึงไม่แปลกใจที่คุณสมบัติเหล่านี้
ทำให้ทีมถูกรังแกบ้างในบางคราว
แม้แต่โมเมนท์ที่ Mentor Cris
พยายาม Steal ติช่าจากทีมบี
ให้เข้ามาอยู่ในทีมตนเอง
ก็ยังไม่สามารถต่อสู้ฟาดฟัน
ให้การทำนอกกติกาได้สำเร็จ
แต่พี่คริสเชื่อเถอะค่ะว่าความรับผิดชอบ
ของการเป็น Coach หรือ Mentor ที่ดี
จะทำให้เราผลิตคนดี มีความสามารถเข้ามาในสังคม
เพราะแม่ปูเดินอย่างไหน ลูกปูก็เดินอย่างแม่ปูนั่นแหละ
หากอยากได้ผลิตผลของคนที่มีศักยภาพหรือคุณลักษณะแบบไหน
Mentor ต้อง “เป็น” ให้ดู
ไม่ใช่แค่ “พูด” ให้ทำ
โดยสรุป
Mentor ที่ดีเขาวัดกันที่ความ “ปัง”
หรือความสำเร็จของ Mentee
ซึ่งคุณลักษณะที่ Mentor ควรมีได้แก่
#1 ความรู้ความชำนาญในสิ่งที่จะถ่ายทอด
#2 ความสัมพันธ์ความไว้ใจในการทำงานร่วมกับ Mentee
#3 คุณธรรม ทัศนคติเชิงบวกที่ส่งต่อให้ Mentee
แค่นี้เราก็เป็น Mentor ที่ “แซ่บ” แล้วค่า
*****************************
Credit Fanpage:
https://www.facebook.com/TheArtOfGrowing/
ถอดรหัส The Face Thailand: 3 เคล็ดลับเมนเทอร์อย่างไรให้ “ปัง”
กับแชมป์คนใหม่ของ The Face Thailand Season 2
เก๋ได้ติดตามดูรายการนี้แล้วก็ทำให้เห็นถึง
ศักยภาพของผู้เข้าแข่งขันและพัฒนาการในแต่ละสัปดาห์
ซึ่งความแซ่บทั้งหลายทั้งปวง
จะขาดคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งไม่ได้เลย
นั่นคือเมนเตอร์ของแต่ละทีม (Mentor)
โพสท์นี้จึงขอมาแชร์มุมมองในฐานะที่เป็นทั้งโค้ชและเมนเตอร์
ที่ได้มีโอกาสทำหน้าที่คล้าย ๆ กับเมนเตอร์ทั้งสาม
ในการมีส่วนช่วยพัฒนาบุคลากร
จะต่างกันก็ที่ความสวย
(อันนี้ให้คิดเอาเองค่ะว่า “ห่าง” ขนาดไหน)
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า “Coaching” กับ “Mentoring”
มีความต่างกันอยู่นะคะ
ถ้าพูดถึง Coaching
เป็นการพัฒนาคนที่เน้นเรื่องของ Result, Performance
ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
โฟกัสไปที่เป้าหมายในเรื่องหนึ่งเรื่องใด
ของ Coachee ที่เรา Support อยู่
เป็นการทำงานร่วมกันแบบ Short-term กว่า
ในขณะที่ Mentoring
เป็นการพัฒนาคนที่เน้นเรื่องของ
Relationship กับ Mentor, Development ของคน ๆ นั้น
โฟกัสไปที่ภาพสำเร็จของตัว Mentee ในระยะไกล ๆ
ถ้าจะเปรียบเทียบง่าย ๆ ใน The Face
เมนเตอร์แต่ละคนควรจะ Coaching ลูกทีม
ให้ทำภาระกิจให้สำเร็จในแต่ละสัปดาห์
และควร Mentoring น้อง ๆ เหล่านั้น
ให้มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ เพื่อจะเป็น The Face Thailand
ที่นี้ลองมาดูวิธี Mentoring อย่างไรให้ “ปัง”
#1 ความพร้อมของทักษะ ความรู้ ความชำนาญของ Mentor
ก่อนจะ Mentoring ให้ใคร เราต้องแน่ใจว่า
เรามี “ของ” ในเรื่องนั้น ๆ ที่จะแบ่งปัน
ข้อนี้ทำให้ Mentor Lukkade
ดูจะ “Strong” ในโปรไฟล์ความเป็น “ตัวแม่”
ด้วยจำนวนปีประสบการณ์ที่ผ่านร้อนหนาวมาในวงการ
ถึงแม้ Mentor Cris เองจะประกาศชัดตั้งแต่ช่วงแรก ๆ
ในเทประหว่างช่วงชิงเลือกผู้เข้าแข่งขันเข้าทีมว่า
งานในวงการทั้งหลายแหล่ที่พี่เกดทำมาทั้งหมดกว่า 20 ปี
คริสผ่านมาหมดแล้วในเวลาเพียงแค่ 7-8 ปี
เรียกว่าประสบความสำเร็จในระยะเวลาอันสั้น
แต่พี่บอกน้องคริสได้คำเดียวว่า
“กระดูกคนละเบอร์” ค่ะ
#2 Mentoring Relationship ระหว่าง Mentor และ Mentee
ไม่แปลกถ้าติช่าจะได้เป็น The Face Thailand
Trust ที่เธอมีให้กับ Mentor Bee
ทำให้เธอ “ยอม” และ “กล้า”
ออกจาก Comfort Zone เดิม ๆ ที่มีอยู่อย่างไม่มีข้อสงสัย
ในเทปที่ Mentor Bee ต้องเลือกหนึ่งเดียวจากทีม
เพื่อเป็นตัวแทนในรอบ Final Walk
ติช่าบอกพี่บีว่าเธอไม่เคย Doubt ในสิ่งที่พี่บีให้ทำ
ถ้าพี่บีให้ติช่ากระโดด
ติช่าจะถามว่าพี่บีว่าจะให้กระโดดสูงแค่ไหน
โดยไม่เคยถามคำถามว่า “ทำไมต้องโดด”
Trust เป็นสิ่งที่ Coachee หรือ Mentee หลาย ๆ คน
เตะตัดขาตนเองเพราะมัวแต่สงสัย Coach หรือ Mentor
เวลาที่กำลังถูก Mentor หรือ Coach
ผลักให้ออกจาก Comfort Zone เดิม ๆ
บวกกับตัวติช่าเองที่มี Passion มาไกลจากสวีเดน
และ “Inner” ที่เป็นคำที่พี่บีพร่ำสอนอยู่บ่อย ๆ
ได้พาหนูมาไกลให้เป็น The Face Thailand
และ Inner นี้เองก็พาพี่บีให้ได้เป็น Mentor แห่งปีเช่นกัน
#3 Positive attitude and acts as a positive role model
นางเอกซีซั่นนี้ต้องยกให้กับ Mentor Cris
คุณธรรม จริยธรรม ของพี่คริสสูงมาก
จึงไม่แปลกใจที่คุณสมบัติเหล่านี้
ทำให้ทีมถูกรังแกบ้างในบางคราว
แม้แต่โมเมนท์ที่ Mentor Cris
พยายาม Steal ติช่าจากทีมบี
ให้เข้ามาอยู่ในทีมตนเอง
ก็ยังไม่สามารถต่อสู้ฟาดฟัน
ให้การทำนอกกติกาได้สำเร็จ
แต่พี่คริสเชื่อเถอะค่ะว่าความรับผิดชอบ
ของการเป็น Coach หรือ Mentor ที่ดี
จะทำให้เราผลิตคนดี มีความสามารถเข้ามาในสังคม
เพราะแม่ปูเดินอย่างไหน ลูกปูก็เดินอย่างแม่ปูนั่นแหละ
หากอยากได้ผลิตผลของคนที่มีศักยภาพหรือคุณลักษณะแบบไหน
Mentor ต้อง “เป็น” ให้ดู
ไม่ใช่แค่ “พูด” ให้ทำ
โดยสรุป
Mentor ที่ดีเขาวัดกันที่ความ “ปัง”
หรือความสำเร็จของ Mentee
ซึ่งคุณลักษณะที่ Mentor ควรมีได้แก่
#1 ความรู้ความชำนาญในสิ่งที่จะถ่ายทอด
#2 ความสัมพันธ์ความไว้ใจในการทำงานร่วมกับ Mentee
#3 คุณธรรม ทัศนคติเชิงบวกที่ส่งต่อให้ Mentee
แค่นี้เราก็เป็น Mentor ที่ “แซ่บ” แล้วค่า
*****************************
Credit Fanpage:
https://www.facebook.com/TheArtOfGrowing/