จากการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (กรอ.) จังหวัดบุรีรัมย์ ครั้งที่ 6/58 และการประชุมคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) ครั้งที่ 5/58
บุรีรัมย์จะประกาศเป็นเมืองแห่งสันติสุขที่น่าอยู่ที่สุดในโลก (ประดับธงช้างเขียว) ในวันจักรีที่ 6 เมษายน 2559 ครบรอบสถาปนาเมืองแปะ 240 ปี ภายใต้เงื่อนไขการสร้างมาตรฐานระดับสากล..
- เมืองกีฬามาตรฐานโลก
- พนมรุ้ง (ใกล้จะได้และต้องได้) เป็นมรดกโลก
- พืชอาหารชีวภาพ (ปลอดสารพิษ) มาตรฐานโลก
- เมืองแห่งความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
*ในส่วนนี้หอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์จะนำโครงการของหอการค้าไทยมาช่วยพัฒนาจังหวัดเช่นโครงการ 1 หอการค้าจังหวัด 1 สหกรณ์ การยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรด้วยมาตรฐาน ThaiGAP เป็นต้น
เงื่อนไขการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ตำบลละ 5 ล้าน) - นโยบาย ก. มหาดไทย
การกำหนดโครงการอยู่ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการบริหารงานตำบลแบบบูรณาการ (กบต.) และมีผู้ว่าฯ น้อย (คณะกรรมการตัวแทนของผู้ว่าฯ นำโดยรองผู้ว่าฯ ร่วมกับตัวแทนภาคเอกชน) เป็นผู้ตรวจติดตามโครงการ โดยมีเงื่อนไขโครงการ ดังนี้
- กลัวบาป (โครงการดี ไม่ทุจริต)
- คุณภาพสุดยอด (มีแผนการใช้งานด้วย)
- กม. และอบต. ต่อยอด (ถ้างบไม่พอกรรมการหมู่บ้าน (กม.) และอบต. ต้องเขียนโครงการต่อยอด)
- เป็นอานิสงค์จนชั่วลูกหลาน (โครงการสามารถยังประโยชน์ให้ประชาชนได้อย่างยาวนาน)
- ทั้ง 4 หัวข้อมี checklist ให้คะแนนแต่ละโครงการ ถ้าผ่านเกณฑ์จึงจะเบิกงบได้
*นี้เป็นรูปแบบการบริหารแบบประชารัฐ (ซึ่งต่างจากประชานิยมที่ให้เงินหรือสิ่งของแบบให้เปล่าโดยไม่มีเงื่อนไข) ที่กำหนดใช้เฉพาะในจังหวัดบุรีรัมย์เท่านั้น
ขอบคุณข้อมูลโดย...อิสรีย์ วราวงศ์กิตติ (ประธาน YEC BURIRAM)
"สรุปแนวทางในการบริหารจังหวัดบุรีรัมย์"
บุรีรัมย์จะประกาศเป็นเมืองแห่งสันติสุขที่น่าอยู่ที่สุดในโลก (ประดับธงช้างเขียว) ในวันจักรีที่ 6 เมษายน 2559 ครบรอบสถาปนาเมืองแปะ 240 ปี ภายใต้เงื่อนไขการสร้างมาตรฐานระดับสากล..
- เมืองกีฬามาตรฐานโลก
- พนมรุ้ง (ใกล้จะได้และต้องได้) เป็นมรดกโลก
- พืชอาหารชีวภาพ (ปลอดสารพิษ) มาตรฐานโลก
- เมืองแห่งความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
*ในส่วนนี้หอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์จะนำโครงการของหอการค้าไทยมาช่วยพัฒนาจังหวัดเช่นโครงการ 1 หอการค้าจังหวัด 1 สหกรณ์ การยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรด้วยมาตรฐาน ThaiGAP เป็นต้น
เงื่อนไขการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ตำบลละ 5 ล้าน) - นโยบาย ก. มหาดไทย
การกำหนดโครงการอยู่ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการบริหารงานตำบลแบบบูรณาการ (กบต.) และมีผู้ว่าฯ น้อย (คณะกรรมการตัวแทนของผู้ว่าฯ นำโดยรองผู้ว่าฯ ร่วมกับตัวแทนภาคเอกชน) เป็นผู้ตรวจติดตามโครงการ โดยมีเงื่อนไขโครงการ ดังนี้
- กลัวบาป (โครงการดี ไม่ทุจริต)
- คุณภาพสุดยอด (มีแผนการใช้งานด้วย)
- กม. และอบต. ต่อยอด (ถ้างบไม่พอกรรมการหมู่บ้าน (กม.) และอบต. ต้องเขียนโครงการต่อยอด)
- เป็นอานิสงค์จนชั่วลูกหลาน (โครงการสามารถยังประโยชน์ให้ประชาชนได้อย่างยาวนาน)
- ทั้ง 4 หัวข้อมี checklist ให้คะแนนแต่ละโครงการ ถ้าผ่านเกณฑ์จึงจะเบิกงบได้
*นี้เป็นรูปแบบการบริหารแบบประชารัฐ (ซึ่งต่างจากประชานิยมที่ให้เงินหรือสิ่งของแบบให้เปล่าโดยไม่มีเงื่อนไข) ที่กำหนดใช้เฉพาะในจังหวัดบุรีรัมย์เท่านั้น
ขอบคุณข้อมูลโดย...อิสรีย์ วราวงศ์กิตติ (ประธาน YEC BURIRAM)