คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
ราคายางไม่น่าจะดีขึ้น ไม่ว่า รัฐบาลจะออก หรือไม่ออก มันไม่น่าจะเกี่ยวกัน ราคามันเป็นไปตาม สภาวะตลาดโลก
ที่ทุกประเทศ แห่กันปลูก บางประเทศพัฒนาสายพันธ์ยางจากต้นไม้พื้นเมืองอื่นๆ เพื่อลดการนำเข้า
เช่น ดอกวัชพืชแดนดิไลออน (Dandelion) วัชชพืชคลุมดินที่พบเห็นทั่วไปในประเทศเขตหนาว ทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป เอเชียกลาง เรื่อยไปจนถึงญี่ปุ่น (ญี่ปุ่นเรียกตัมโปโปะ) แต่ในเมืองไทยไม่มี ส่วนที่มีน้ำยางก็คือ ส่วนรากของมัน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พบว่า มีน้ำยางที่มีคุณภาพเทียบเท่ากับน้ำยางจากต้นยางพารา จัดอยู่ในเกรดที่สามารถนำมาผลิตยางรถยนต์ได้ โดยสายพันธุ์ที่พบในประเทศคาซัคสถานเป็นพันธุ์ที่ให้น้ำยางดิบปริมาณสูงมากที่สุด
ส่วนทางญี่ปุ่นก็พัฒนา ต้นหญ้าทนแล้งชนิดหนึ่งชื่อวายูเล่ (Guayule) ที่ให้น้ำยางคุณภาพใกล้เคียงกับยางพาราแทบจะร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม
แต่ใช้ต้นทุนต่ำกว่ายางพารามากๆ
ล่าสุด“บริษัท บริดจ์สโตน” ผู้ผลิตยางรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลกได้ประสบความสำเร็จในการผลิตยางรถยนต์ โดยใช้ Guayule แทนยางพาราได้แล้ว
ภาพนี้คือสวน Guayule ปลูกแบบจิงจัง เชิงพาณิชย์
ส่วนต้นยางเอง ก็ถูกขยายพื้นที่ปลูกอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในบราซิล ไทย ลาว กัมพูชา หรือแม้กระทั่งจีนที่เป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ ซึ่งแน่นอนว่า
พอครบ7ปี น้ำยาง ก็จะทะลักเข้าสู่ตลาดยาง อย่างไม่ลืมหูลืมตา ซึ่งก็น่าจะเป็นช่วงเวลาปัจจุบันนี้นี่เอง
ทำไม ? ราคายางพาราจึงตกต่ำ!!! สะตอฟอร์ยู ได้รวบรวม 10 สาเหตุหลัก (ส่วนนี้เอามาจากเวปอื่นนะครับ)
1.) ไทยซึ่งเป็น 1 ใน 3 ประเทศที่ส่งออกยางมากที่สุดในโลก เคยผลิตยางได้ต่อปีประมาณ 1,500,000 ตันต่อปี กว่าร้อยละ 80-90 ส่งออก ส่วนใหญ่ปลูกในพื้นที่ภาคใต้ แต่เมื่อเศรษฐกิจโลกเติบโต ความต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้น หลายคนหันมาลงทุนปลูกยางกันเกือบทั่วประเทศ จนถึงปี 2556 ไทยผลิตได้ต่อปีประมาณ 4,100,000 ตัน เพิ่มขึ้นเกือบๆ 4 เท่า โดยไม่มีการจัดโซนนิ่งและควบคุมปริมาณให้เหมาะสม
2.) ราคายางมีทิศทางเดียวกับราคาน้ำมัน เนื่องจากว่าในโรงงานอุตสาหกรรมจะใช้ยางสังเคราะห์จากยางพาราหรือจากพอลิเมอร์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ ถ้าเมื่อใดราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นซึ่งพอลิเมอร์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันเองก็จะมีราคาแพงด้วย โรงงานอุตสาหกรรมจึงหันมาซื้อยางพารามาใช้ในการผลิตแทน ทำให้ความต้องการยางพาราสูงขึ้น ราคายางพาราก็ปรับตัวสูงขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าเมื่อใดราคาน้ำมันปรับตัวลดลงซึ่งพอลิเมอร์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันเองก็จะมีราคาลดลงด้วย โรงงานอุตสาหกรรมจึงหันมาซื้อพอลิเมอร์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันมาใช้ในการผลิตแทน ทำให้ความต้องการยางพาราลดลง ราคายางพาราก็ปรับตัวลงเช่นกัน
3.) จีน ซึ่งถือเป็นผู้ใช้ยางพารามากที่สุดในโลก ข้อมูลปี 2556 จีนใช้ยางราวๆ 4,000,000 ตันต่อปี ส่วนใหญ่นำเข้า แต่ขณะนี้จีนกำลังลดการนำเข้ายางเพราะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว เศรษฐกิจจีนยังไม่ฟื้น อุตสาหกรรมรถยนต์ลดกำลังการผลิต ขณะเดียวกันจีนก็เปลี่ยนบทบาทจากผู้ซื้อมาเป็นผู้ผลิตเองด้วย จีนเริ่มปลูกยางเองและเข้าไปลงทุนในเวียดนาม ลาว กัมพูชา ตอนนี้ครบอายุกรีดยางแล้ว ยางจะถูกส่งกลับไปจีน ขณะนี้จีนมียางอยู่ในสต็อคราวๆ 900,000 ตัน ขณะที่ไทยมีสต๊อคราวๆ 200,000 ตัน หลายปัจจัยจึงกดดันราคายางให้ตกต่ำอยู่ในขณะนี้
4.) เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ในช่วง 2-3 ปี เศรษฐกิจโลกขยายตัวในอัตราชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเศรษฐกิจประเทศกลุ่ม G3 ประกอบกับเศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นผู้บริโภคยางอันดับ 1 ของโลก โดยเป็นฐานการผลิตล้อยางของบริษัทชั้นนำของโลก และเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย ที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนเติบโตในระดับสูงมาตลอด แต่เริ่มชะลอตัวลงอย่างชัดเจนในช่วง 2-3 ปีนี้ ส่งผลให้ความต้องการใช้ยางของโลกอยู่ในระดับต่ำ โดยในช่วงปี 2554-2556 ความต้องการใช้ยางโลกขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.9 ในขณะที่ผลผลิตยางโลกขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.1
5.) สต็อกยางจีน ณ เมืองชิงเต่าและสต็อกยางไทยอยู่ในระดับสูง ชิงเต่าเป็นเมืองที่มีการนำเข้ายางมากที่สุดเพื่อผลิตล้อยาง ที่ผ่านมาพบว่าสต็อกยางชิงเต่าเร่งตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะในช่วงปลายปี 2556 เนื่องจากการเร่งนำเข้าในช่วงงดเก็บเงินสงเคราะห์ (CESS) ซึ่งเป็นเงินที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เรียกเก็บจากผู้ส่งออกยาง และการนำเข้ายางของเทรดเดอร์จีนที่สูงเกินความต้องการใช้จริง เพื่อทำกำไรการค้ายางจากวิธีการซื้อขายระหว่างประเทศและอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน โดยสต็อกยาง ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2557 อยู่ที่ระดับ 249,600 ตัน ขณะเดียวกันสต็อกยางไทยใน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2557อยู่ที่ 374,527 ตัน ซึ่งสูงกว่าระดับปกติที่เคยอยู่ประมาณ 2 แสนตัน
6.) ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่ผลิตและส่งออกในรูปของสินค้าเกษตรโดยไม่มีการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ดังนั้นเมื่ออุตสาหกรรมการแปรรูปสินค้าจากยางพาราในต่างประเทศลดการผลิต และสั่งซื้อยางน้อยลง ในขณะที่การผลิตเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของประเทศไทย และประเทศอื่นก็ทำให้ราคายางพาราตกต่ำหนักขึ้นไปอีก และเชื่อว่าภาวะเช่นนี้จะยังคงเป็นไปอีกหลายปี
7.) ต้นทุนการผลิตยางมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนในด้านปุ๋ยเคมีและเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร โดยต้นทุนเฉลี่ยในการผลิตยางในไทยอยู่ที่กิโลกรัมละ 52 บาท ซึ่งนับว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ซึ่งมีต้นทุนการผลิตยางโดยเฉลี่ยต่ำกว่าไทยกิโลกรัมละ 15-20 บาท ดังนั้น ราคาส่งออกยางของไทยจึงสูงกว่าอินโดนีเซีย โดยเฉพาะยางแท่ง ทำให้ประเทศคู่ค้าของไทยหันไปซื้อยางแท่งจากอินโดนีเซีย จะเห็นได้ว่าการส่งออกยางแท่งของไทยมีแนวโน้มลดลงตามลำดับ กล่าวคือ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2551 มูลค่าการส่งออกยางแท่งลดลงเหลือ 731 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วลดลงร้อยละ 43.3
8.) วิกฤติภาคการเงินสหรัฐฯที่ส่งให้เศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอย สหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกยางของไทยที่มีความสำคัญอันดับสี่ รองจากจีน มาเลเซีย และญี่ปุ่น โดยมีสัดส่วนการส่งออกไปสหรัฐฯร้อยละ 9.0 ของมูลค่าการส่งออกยางทั้งหมด ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง โดยเฉพาะยางสำหรับยานพาหนะนั้น สหรัฐฯ เป็นตลาดที่มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง โดยมีสัดส่วนการส่งออกถึงร้อยละ 28.2 ของมูลค่าการส่งออกยางยานพาหนะทั้งหมด วิกฤตสินเชื่อในสหรัฐฯ สร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ในสหรัฐฯค่อนข้างสูง โดยในเดือนกันยายน 2551 ยอดขายรถยนต์ลดลงเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน และยอดขายรถยนต์แบรนด์ของภูมิภาคเอเชียในสหรัฐฯ ในเดือนกันยายน 2551 ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา เพราะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคถดถอยลง อีกทั้งยังเป็นการยากมากขึ้นที่ผู้ต้องการซื้อรถจะสามารถกู้เงินมาซื้อรถได้ เนื่องจากสถาบันการเงินเข้มงวดมาตรฐานการปล่อยกู้มากกว่าเดิม ในขณะเดียวกันผู้บริโภคก็ต้องการลดค่าใช้จ่ายลงด้วย
9.) ราคาชี้นำในตลาดล่วงหน้าของโลกลดลง ราคายางในตลาดล่วงหน้าโตเกียว (TOCOM) และตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์ (SICOM) อยู่ในช่วงขาลง เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลกับปัญหาผลผลิตส่วนเกิน (Oversupply) และสต็อกยางที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่ความต้องการใช้ยางอยู่ในช่วงชะลอตัว และยังไม่มีปัจจัยบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมากนัก ทำให้คาดการณ์ราคายางอนาคตปรับตัวลดลง
10.) นักเก็งกำไรสินค้าโภคภัณฑ์เทขายยาง ในช่วงที่ผ่านมา การที่ราคายางปรับตัวสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากการซื้อขายเก็งกำไรยางผ่านทางตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า แต่ในช่วงราคายางขาลง ตามภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา การเข้ามาเก็งกำไรมีแนวโน้มที่จะลดลง บรรดานักลงทุนหันไปสนใจตลาดหุ้น และโลหะมีค่า โดยเฉพาะทองคำแทน ทำให้ราคายางตกลงเร็วผิดปกติ
ที่ทุกประเทศ แห่กันปลูก บางประเทศพัฒนาสายพันธ์ยางจากต้นไม้พื้นเมืองอื่นๆ เพื่อลดการนำเข้า
เช่น ดอกวัชพืชแดนดิไลออน (Dandelion) วัชชพืชคลุมดินที่พบเห็นทั่วไปในประเทศเขตหนาว ทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป เอเชียกลาง เรื่อยไปจนถึงญี่ปุ่น (ญี่ปุ่นเรียกตัมโปโปะ) แต่ในเมืองไทยไม่มี ส่วนที่มีน้ำยางก็คือ ส่วนรากของมัน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พบว่า มีน้ำยางที่มีคุณภาพเทียบเท่ากับน้ำยางจากต้นยางพารา จัดอยู่ในเกรดที่สามารถนำมาผลิตยางรถยนต์ได้ โดยสายพันธุ์ที่พบในประเทศคาซัคสถานเป็นพันธุ์ที่ให้น้ำยางดิบปริมาณสูงมากที่สุด
ส่วนทางญี่ปุ่นก็พัฒนา ต้นหญ้าทนแล้งชนิดหนึ่งชื่อวายูเล่ (Guayule) ที่ให้น้ำยางคุณภาพใกล้เคียงกับยางพาราแทบจะร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม
แต่ใช้ต้นทุนต่ำกว่ายางพารามากๆ
ล่าสุด“บริษัท บริดจ์สโตน” ผู้ผลิตยางรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลกได้ประสบความสำเร็จในการผลิตยางรถยนต์ โดยใช้ Guayule แทนยางพาราได้แล้ว
ภาพนี้คือสวน Guayule ปลูกแบบจิงจัง เชิงพาณิชย์
ส่วนต้นยางเอง ก็ถูกขยายพื้นที่ปลูกอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในบราซิล ไทย ลาว กัมพูชา หรือแม้กระทั่งจีนที่เป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ ซึ่งแน่นอนว่า
พอครบ7ปี น้ำยาง ก็จะทะลักเข้าสู่ตลาดยาง อย่างไม่ลืมหูลืมตา ซึ่งก็น่าจะเป็นช่วงเวลาปัจจุบันนี้นี่เอง
ทำไม ? ราคายางพาราจึงตกต่ำ!!! สะตอฟอร์ยู ได้รวบรวม 10 สาเหตุหลัก (ส่วนนี้เอามาจากเวปอื่นนะครับ)
1.) ไทยซึ่งเป็น 1 ใน 3 ประเทศที่ส่งออกยางมากที่สุดในโลก เคยผลิตยางได้ต่อปีประมาณ 1,500,000 ตันต่อปี กว่าร้อยละ 80-90 ส่งออก ส่วนใหญ่ปลูกในพื้นที่ภาคใต้ แต่เมื่อเศรษฐกิจโลกเติบโต ความต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้น หลายคนหันมาลงทุนปลูกยางกันเกือบทั่วประเทศ จนถึงปี 2556 ไทยผลิตได้ต่อปีประมาณ 4,100,000 ตัน เพิ่มขึ้นเกือบๆ 4 เท่า โดยไม่มีการจัดโซนนิ่งและควบคุมปริมาณให้เหมาะสม
2.) ราคายางมีทิศทางเดียวกับราคาน้ำมัน เนื่องจากว่าในโรงงานอุตสาหกรรมจะใช้ยางสังเคราะห์จากยางพาราหรือจากพอลิเมอร์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ ถ้าเมื่อใดราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นซึ่งพอลิเมอร์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันเองก็จะมีราคาแพงด้วย โรงงานอุตสาหกรรมจึงหันมาซื้อยางพารามาใช้ในการผลิตแทน ทำให้ความต้องการยางพาราสูงขึ้น ราคายางพาราก็ปรับตัวสูงขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าเมื่อใดราคาน้ำมันปรับตัวลดลงซึ่งพอลิเมอร์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันเองก็จะมีราคาลดลงด้วย โรงงานอุตสาหกรรมจึงหันมาซื้อพอลิเมอร์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันมาใช้ในการผลิตแทน ทำให้ความต้องการยางพาราลดลง ราคายางพาราก็ปรับตัวลงเช่นกัน
3.) จีน ซึ่งถือเป็นผู้ใช้ยางพารามากที่สุดในโลก ข้อมูลปี 2556 จีนใช้ยางราวๆ 4,000,000 ตันต่อปี ส่วนใหญ่นำเข้า แต่ขณะนี้จีนกำลังลดการนำเข้ายางเพราะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว เศรษฐกิจจีนยังไม่ฟื้น อุตสาหกรรมรถยนต์ลดกำลังการผลิต ขณะเดียวกันจีนก็เปลี่ยนบทบาทจากผู้ซื้อมาเป็นผู้ผลิตเองด้วย จีนเริ่มปลูกยางเองและเข้าไปลงทุนในเวียดนาม ลาว กัมพูชา ตอนนี้ครบอายุกรีดยางแล้ว ยางจะถูกส่งกลับไปจีน ขณะนี้จีนมียางอยู่ในสต็อคราวๆ 900,000 ตัน ขณะที่ไทยมีสต๊อคราวๆ 200,000 ตัน หลายปัจจัยจึงกดดันราคายางให้ตกต่ำอยู่ในขณะนี้
4.) เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ในช่วง 2-3 ปี เศรษฐกิจโลกขยายตัวในอัตราชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเศรษฐกิจประเทศกลุ่ม G3 ประกอบกับเศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นผู้บริโภคยางอันดับ 1 ของโลก โดยเป็นฐานการผลิตล้อยางของบริษัทชั้นนำของโลก และเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย ที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนเติบโตในระดับสูงมาตลอด แต่เริ่มชะลอตัวลงอย่างชัดเจนในช่วง 2-3 ปีนี้ ส่งผลให้ความต้องการใช้ยางของโลกอยู่ในระดับต่ำ โดยในช่วงปี 2554-2556 ความต้องการใช้ยางโลกขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.9 ในขณะที่ผลผลิตยางโลกขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.1
5.) สต็อกยางจีน ณ เมืองชิงเต่าและสต็อกยางไทยอยู่ในระดับสูง ชิงเต่าเป็นเมืองที่มีการนำเข้ายางมากที่สุดเพื่อผลิตล้อยาง ที่ผ่านมาพบว่าสต็อกยางชิงเต่าเร่งตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะในช่วงปลายปี 2556 เนื่องจากการเร่งนำเข้าในช่วงงดเก็บเงินสงเคราะห์ (CESS) ซึ่งเป็นเงินที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เรียกเก็บจากผู้ส่งออกยาง และการนำเข้ายางของเทรดเดอร์จีนที่สูงเกินความต้องการใช้จริง เพื่อทำกำไรการค้ายางจากวิธีการซื้อขายระหว่างประเทศและอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน โดยสต็อกยาง ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2557 อยู่ที่ระดับ 249,600 ตัน ขณะเดียวกันสต็อกยางไทยใน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2557อยู่ที่ 374,527 ตัน ซึ่งสูงกว่าระดับปกติที่เคยอยู่ประมาณ 2 แสนตัน
6.) ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่ผลิตและส่งออกในรูปของสินค้าเกษตรโดยไม่มีการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ดังนั้นเมื่ออุตสาหกรรมการแปรรูปสินค้าจากยางพาราในต่างประเทศลดการผลิต และสั่งซื้อยางน้อยลง ในขณะที่การผลิตเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของประเทศไทย และประเทศอื่นก็ทำให้ราคายางพาราตกต่ำหนักขึ้นไปอีก และเชื่อว่าภาวะเช่นนี้จะยังคงเป็นไปอีกหลายปี
7.) ต้นทุนการผลิตยางมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนในด้านปุ๋ยเคมีและเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร โดยต้นทุนเฉลี่ยในการผลิตยางในไทยอยู่ที่กิโลกรัมละ 52 บาท ซึ่งนับว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ซึ่งมีต้นทุนการผลิตยางโดยเฉลี่ยต่ำกว่าไทยกิโลกรัมละ 15-20 บาท ดังนั้น ราคาส่งออกยางของไทยจึงสูงกว่าอินโดนีเซีย โดยเฉพาะยางแท่ง ทำให้ประเทศคู่ค้าของไทยหันไปซื้อยางแท่งจากอินโดนีเซีย จะเห็นได้ว่าการส่งออกยางแท่งของไทยมีแนวโน้มลดลงตามลำดับ กล่าวคือ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2551 มูลค่าการส่งออกยางแท่งลดลงเหลือ 731 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วลดลงร้อยละ 43.3
8.) วิกฤติภาคการเงินสหรัฐฯที่ส่งให้เศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอย สหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกยางของไทยที่มีความสำคัญอันดับสี่ รองจากจีน มาเลเซีย และญี่ปุ่น โดยมีสัดส่วนการส่งออกไปสหรัฐฯร้อยละ 9.0 ของมูลค่าการส่งออกยางทั้งหมด ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง โดยเฉพาะยางสำหรับยานพาหนะนั้น สหรัฐฯ เป็นตลาดที่มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง โดยมีสัดส่วนการส่งออกถึงร้อยละ 28.2 ของมูลค่าการส่งออกยางยานพาหนะทั้งหมด วิกฤตสินเชื่อในสหรัฐฯ สร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ในสหรัฐฯค่อนข้างสูง โดยในเดือนกันยายน 2551 ยอดขายรถยนต์ลดลงเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน และยอดขายรถยนต์แบรนด์ของภูมิภาคเอเชียในสหรัฐฯ ในเดือนกันยายน 2551 ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา เพราะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคถดถอยลง อีกทั้งยังเป็นการยากมากขึ้นที่ผู้ต้องการซื้อรถจะสามารถกู้เงินมาซื้อรถได้ เนื่องจากสถาบันการเงินเข้มงวดมาตรฐานการปล่อยกู้มากกว่าเดิม ในขณะเดียวกันผู้บริโภคก็ต้องการลดค่าใช้จ่ายลงด้วย
9.) ราคาชี้นำในตลาดล่วงหน้าของโลกลดลง ราคายางในตลาดล่วงหน้าโตเกียว (TOCOM) และตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์ (SICOM) อยู่ในช่วงขาลง เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลกับปัญหาผลผลิตส่วนเกิน (Oversupply) และสต็อกยางที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่ความต้องการใช้ยางอยู่ในช่วงชะลอตัว และยังไม่มีปัจจัยบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมากนัก ทำให้คาดการณ์ราคายางอนาคตปรับตัวลดลง
10.) นักเก็งกำไรสินค้าโภคภัณฑ์เทขายยาง ในช่วงที่ผ่านมา การที่ราคายางปรับตัวสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากการซื้อขายเก็งกำไรยางผ่านทางตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า แต่ในช่วงราคายางขาลง ตามภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา การเข้ามาเก็งกำไรมีแนวโน้มที่จะลดลง บรรดานักลงทุนหันไปสนใจตลาดหุ้น และโลหะมีค่า โดยเฉพาะทองคำแทน ทำให้ราคายางตกลงเร็วผิดปกติ
แสดงความคิดเห็น
น้ำยางราคาตกต่ำ ทำไมต้องตัดต้นยางทิ้งครับ(ไม่รวมที่ต้นหมดอายุ กรีดไม่ได้แล้ว)???
เมื่อก่อนราคาน้ำยางขึ้นไปถึงกิโลละร้อยกว่าบาท ก็เห็นแห่กันปลูกทั่วบ้านทั่วเมือง
หลายๆคนไม่เคยทำยางมาก่อน ก็ยังตามกระแสปลูกกับเขาด้วย วาดฝันว่าไม่รวยคราวนี้แล้วจะรวยคราวไหน
พวกหลังๆนี่ ปลูกได้ไม่กี่ปี ยังไม่ทันได้กรีดยาง น้ำยางราคาลงเรื่อยๆ ก็เริ่มตกใจ เฮ๊ย...เริ่มไม่ใช่ละ
ก็แน่ล่ะสิ ราคามันมีขึ้นได้ มันก็มีลงได้ตามเหตุตามปัจจัย หุหุ
เห็นตามข่าวว่าบางส่วนเริ่มตัดต้นยางทิ้ง แล้วเอาไม้ยางไปขาย(เห็นว่าไม้ยาง ตอนนี้ก็ถูกแสนถูกเพราะแห่กันตัดขายจนต้องเข้าคิว)
แล้วจะไปปลูกพืชอย่างอื่นแทน ผมสงสัยว่าแล้วทำไมไม่ปล่อยให้ต้นยางมันอยู่ของมันในสวนอย่างนั้นไปเรื่อยๆก่อนล่ะครับ
น้ำยางราคาถูกก็ไม่ต้องไปกรีดมัน ไม่ต้องไปเสียค่าดูแลบำรุงรักษามัน เพราะวันข้างหน้าราคาน้ำยางอาจจะพุ่งสูงขึ้นไปอีกก็ได้
ผมสงสัยว่าที่ตัดต้นยางทิ้ง แล้วออกข่าวกันโครมๆนั่น ต้นยางหมดอายุหรือเปล่า
แล้วถ้าไม่ใช่ต้นยางหมดอายุ จะตัดทิ้งกันทำไมครับ ทำไมไม่รออีกหน่อยเผื่อวันข้างหน้าน้ำยางราคาขึ้น
จะได้ไม่ต้องเสียใจที่ตัดมันทิ้ง ใครก็ได้ใขข้อสงสัยที
ขอบคุณครับ