หลังจากกระทู้แรกที่กาญจนบุรี >>
http://ppantip.com/topic/34181182
"เราก็ขอฝากกระทู้ที่สองกันด้วยนะคะ"
เมื่อได้พักผ่อนหลังกลับจากปางอุ๋งแม่ฮ่องสอนได้เพียงหนึ่งวัน ร่างกายก็เรียกร้องให้ต้องออกเดินทางอีกครั้ง เพราะสายตาอันเฉียบแหลมดันไปเห็นโพสที่เพื่อนได้แชร์ในเฟสบุคเกี่ยวกับอ่างเก็บน้ำแห่งหนึ่ง นั่นคือ "ปางอุ๋งสุพรรณ" ซึ่งดูจากรูปแล้วก็ตัดสินใจเก็บกระเป๋าทันที (เผอิญเป็นคนใจร้อนซะด้วยสิ 555) เพื่อให้เห็นกับตาว่าจะเป็นเหมือน ปางอุ๋งแม่ฮ่องสอนจริงหรือไม่
และเห็นว่าเพิ่งจะมีการแชร์สถานที่นี้เป็นวันแรก ประกอบกับวันที่เดินทางเป็นวันธรรมดา จึงคิดว่ายังงัยก็มีที่นอนแน่ๆ >> ลุยโลดด
- ต้องขออภัยหากข้อมูลไม่ละเอียดและรูปไม่สวย (ลงรูปรัวๆ เพราะการเดินทางไม่มีอะไรซับซ้อน)
บ่าย 3 โมงขับรถออกจากกรุงเทพ ดูจาก GPS แล้วเราจะต้องขับไปเส้นบางบัวทอง - สุพรรณบุรี - ด่านช้าง โดยตั้งพิกัดไว้ที่ หมู่บ้านพุน้ำร้อน ระยะเวลาประมาณ 2.30ชม. ตลอดระยะทางจาก กทม ไป บ้านพุน้ำร้อน ถนนลาดยาง วิ่งได้สบายมาก คาดว่าจะไปให้ทันเห็นพระอาทิตย์ตก
ขับตาม GPS ไปเรื่อยๆ จนถึงหมู่บ้าน ก็ได้ ลองโทรติดต่อผู้ใหญ่ชุม (ผู้ดูแลเรื่องการเข้าพัก) ก่อนหน้านี้พยายามติดต่อแต่ไม่ได้ เนื่องจากว่าที่อ่างเก็บน้ำไม่ค่อยมีสัญญานโทรศัพท์ และ ภายหลังผู้ใหญ่แจ้งว่ามีผู้สนใจและติดต่อเป็นร้อยๆสาย ไม่คิดว่าคนจะให้ความสนใจขนาดนี้
เมื่อติดต่อผู้ใหญ่ได้ ก็ได้สอบเรื่องที่พักว่ายังว่างมั๊ย และก็ให้เตรียมอาหารเย็นไว้ให้ ถึงจะฉุกละหุก แต่ผู้ใหญ่ก็ได้ให้ พี่ๆที่อ่างเก็บน้ำเตรียมไว้ให้อย่างเรียบร้อย พร้อมทั้งถามทางเข้า โดยเลี้ยวเข้าทางประตู โรงเรียนหมู่บ้านพุน้ำร้อน พอพ้นเขตโรงเรียนไป ก็จะเป็นทางลูกรัง ประมาณ 9 กม รถทุกชนิดสามารถเข้าไปได้ โดยที่ 2 ข้างทางเป็น ไร่อ้อยและทุ่งนา
โดยที่คิดไม่ถึงว่าด้านในสุดจะมีธรรมชาติสวยๆได้ (แอบคิดในใจ)
และแล้วเราก็เดินทางมาถึงที่อ่างเก็บน้ำก่อนพระอาทิตย์จะตก
โดยมีพี่เดินออกมาต้อนรับชื่อพี่ก๊ก (พี่ก๊กเป็นชาวบ้านในหมู่บ้านละแวกนั้นและเป็นประธานของกลุ่มที่ช่วยกันปลุกปั้นสถานที่ท่องเที่ยวนี้ขึ้นมา) พี่ก๊ก พาเดินดูสถานที่ พร้อมทั้งให้เลือกว่าจะนอนแพหรือนอนเต๊นท์ แต่สุดท้ายพี่ก๊กแนะนำให้นอนแพเพราะวันนี้แขกไม่เยอะ
อันนี้คือแพที่เราเลือก เพราะบริเวณแพนี้อยู่ใกล้ 7-11 (เป็นซุ้มขายเครื่องดื่มและขนมมาม่าของสหกรณ์ชาวบ้าน) และ ก็พี่ๆที่เฝ้าเวรยามจะนอนกันอยู่บริเวณนี้
หลังจากวางกระเป๋า ก็ออกมาจุดชมวิวและรอพระอาทิตย์ตก
เรือไว้สำหรับเดินทางไปมาระหว่างโรงครัวและแพที่พัก
แพโรงครัวจะอยู่กลางอ่างเก็บน้ำ
ระหว่างรอพ่อครัวทำอาหารเราก็ถ่ายรูปรอไปเรื่อยๆ
และก็ไปอาบน้ำ เพราะว่าถ้าอาบดึกจะหนาว ที่นี่อากาศจะเย็น และหนาวในช่วงดึกถึงเช้ามืด (อากาศดีมากๆ) ลืมบอกไปว่าไม่มีไฟฟ้าใช้ แต่ละแพ จะจุดตะเกียงไว้ให้ และมีเครื่องปั่นไฟไว้สำหรับบริเวณห้องน้ำเท่านั้น
ห้องน้ำและห้องอาบน้ำเพิ่งทำเสร็จใหม่ๆ
ไม่มีรูปอาหารมื้อค่ำ เพราะ หิวกันมาก เมื่ออาหารวางปุ๊บก็ลงมือกันเลย เมื่อทานมื้อค่ำเสร็จก็มานั่งดูดาว และกางเต๊นท์ เพราะพี่ก๊กบอกว่าวันนี้แขกไม่เยอะ ลองเอาเต๊นท์มาสะบัดดูว่าอยากนอนแบบไหน
แล้วก็รีบเข้านอนเพราะนัดพี่ก๊กเตรียมอาหารเช้าตอน 7:00น. พร้อมทั้งชาทำเองโดยฝีมือพี่ก๊ก ซึ่งรับประกันว่าดื่มแล้วท้องไม่ผูก และกาแฟในถ้วยไม้ไผ่
อากาศและบรรยากาศพาทำให้ ชาและกาแฟรสชาดดีมาก
คอนเฟิร์มคะ
ระหว่างรออาหารเช้าก็ถ่ายรูปกันต่อไป
น้ำในอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ค่อนข้างใส และนิ่งมากจนทำให้เกิดเงาสะท้อนชัดเจน
แพอาหารที่อยู่กลางอ่างเก็บน้ำ เวลาจะไปทานอาหารก็สามารถไปได้ 2 ทาง คือพายเรือหรือใช้โป๊ะและดึงเชือกเอา
โป๊ะที่ใช้พาไปทานอาหาร
ห้องครัวและพ่อครัว
ที่นี่เป็นการรวมกลุ่มชาวบ้านซึ่งเป็นผู้ชายทั้งหมด จำนวน 18 คน จาก 4 หมู่บ้าน เพื่อมาช่วยกันพัฒนาอ่างเก็บน้ำนี้ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และ เพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้เลี้ยงชีพ พี่ๆชาวบ้านทุกคนเป็นกันเองและใจดีมากๆ
อาชีพเสริมอีกอย่างสำหรับพี่ๆที่เฝ้าเวรยามและให้ความสะดวกแก่ผู้ที่มาพัก คือรายได้จากการขายของและเลี้ยงปลานิล
หน้าตาอาหารเช้าดูธรรมดาแต่มันอร่อยมาก เพราะรู้สึกได้ถึงความตั้งใจของคนทำ
หลังจากทานอาหารเช้าเสร็จก็ได้เวลาร่ำลาพี่ๆที่อยู่ที่นี่
พี่ก๊กสุดหล่อที่ให้การดูและเป็นอย่างดี คอยถามคอยดูแลความเป็นอยู่ตลอดเวลาๆ ทุกคนที่นี่เรียกพี่ก๊กว่าประธานๆ เพราะพี่ก๊กเป็นประธานของที่นี่
โดยที่มีผู้ใหญ่ชุมและพี่สนธยาเป็นผู้ที่ดูแลในเรื่อการรับจองที่พักและข้อมูลต่างๆ อาจจะติดต่อยากหน่อย เพราะไม่ค่อยมีสัญญาณโทรศัพท์และจำนวนผู้ที่ให้ความสนใจและโทรไปเยอะมากจริงๆ
ออกเดินทางกลับ ซื้อชาพี่ก๊กซองละ 20 บาท 2 ซองแต่พี่ก๊กและพี่สนธยา กลับให้ กะหลี่พัฟ 1 กล่องและ เป๊บซี่อีก 2 ขวดไว้ทานระหว่างทางกลับกรุงเทพ และเรายังแซวพี่ๆว่า มันแพงกว่าค่าชาอีกนะ แต่พี่ๆทั้ง 2 กลับยิ้มและ พูดว่ารับไปเถอะ อยากให้ แล้วหวังว่าเราจะได้พบกันอีกนะ
เมื่อกลับมาถึงก็รับลงรูปและทำรีวิว เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจ ที่อ่างเก็บน้ำเขาวงนี้เพิ่งเปิดให้บริการวันแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2558
ที่นี่ต้องเอาอาหารไปทำเองมีเตาปิ้งย่างให้บริการ หรือเหมาอาหารพร้อมแพที่พักก็ได้
ส่วนการเดินทางคือขับรถเข้าไปถึงแพเลย หรือ นั่งรถตู้ กรุงเทพ-ด่านช้างและต่อสองแถวจากท่ารถไปลงหหน้า รร พุน้ำร้อน และ ผู่ใหญ่จะออกมารับที่หน้าปากทางเข้า
ต้องขอขอบคุณ เพจ Chillpainai ที่ได้แนะนำและให้ข้อมูลไว้
http://www.chillpainai.com/scoop/6293/
*หมายเหตุ: ขอเพิ่มเติมในส่วนของผู้ที่เป็นห่วงในเรื่องสภาพแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงของอ่างเก็บน้ำแห่งนี้นะคะ
เนื่องจากการรีวิวในครั้งนี้ของ จขกท ไม่ได้มีเจตนาจะทำลายธรรมชาติและไปเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ของที่นี่ แต่ด้วย จขกท ได้มีโอกาสพูดคุยกับชาวบ้านที่ร่วมกันสร้างที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ขึ้นมา ทำให้ทราบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ต้องการทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และกระจายรายได้สู่ชุมชน ทั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนก็คงได้มีการประชุมหารือเกี่ยวกับปัญหาที่ตามมา พร้อมทั้งเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาอยู่บ้างแล้วนะคะ ไม่เช่นนั้นก็คงจะไม่มีแหล่งทำกิน และที่สำคัญชาวบ้านทุกคนรวมถึง จขกท ก็อยากให้อ่างเก็บน้ำแห่งนี้คงความเป็นธรรมชาติและความเงียบสงบไว้คะ
ขอบคุณทุกคำติชม และยินดีตอบทุกความคิดเห็นคะ
)
[CR] เก็บกระเป๋าไปสุพรรณบุรี...เพราะที่นี่เขาก็มีปางอุ๋ง
หลังจากกระทู้แรกที่กาญจนบุรี >>http://ppantip.com/topic/34181182
"เราก็ขอฝากกระทู้ที่สองกันด้วยนะคะ"
เมื่อได้พักผ่อนหลังกลับจากปางอุ๋งแม่ฮ่องสอนได้เพียงหนึ่งวัน ร่างกายก็เรียกร้องให้ต้องออกเดินทางอีกครั้ง เพราะสายตาอันเฉียบแหลมดันไปเห็นโพสที่เพื่อนได้แชร์ในเฟสบุคเกี่ยวกับอ่างเก็บน้ำแห่งหนึ่ง นั่นคือ "ปางอุ๋งสุพรรณ" ซึ่งดูจากรูปแล้วก็ตัดสินใจเก็บกระเป๋าทันที (เผอิญเป็นคนใจร้อนซะด้วยสิ 555) เพื่อให้เห็นกับตาว่าจะเป็นเหมือน ปางอุ๋งแม่ฮ่องสอนจริงหรือไม่
และเห็นว่าเพิ่งจะมีการแชร์สถานที่นี้เป็นวันแรก ประกอบกับวันที่เดินทางเป็นวันธรรมดา จึงคิดว่ายังงัยก็มีที่นอนแน่ๆ >> ลุยโลดด
- ต้องขออภัยหากข้อมูลไม่ละเอียดและรูปไม่สวย (ลงรูปรัวๆ เพราะการเดินทางไม่มีอะไรซับซ้อน)
บ่าย 3 โมงขับรถออกจากกรุงเทพ ดูจาก GPS แล้วเราจะต้องขับไปเส้นบางบัวทอง - สุพรรณบุรี - ด่านช้าง โดยตั้งพิกัดไว้ที่ หมู่บ้านพุน้ำร้อน ระยะเวลาประมาณ 2.30ชม. ตลอดระยะทางจาก กทม ไป บ้านพุน้ำร้อน ถนนลาดยาง วิ่งได้สบายมาก คาดว่าจะไปให้ทันเห็นพระอาทิตย์ตก
ขับตาม GPS ไปเรื่อยๆ จนถึงหมู่บ้าน ก็ได้ ลองโทรติดต่อผู้ใหญ่ชุม (ผู้ดูแลเรื่องการเข้าพัก) ก่อนหน้านี้พยายามติดต่อแต่ไม่ได้ เนื่องจากว่าที่อ่างเก็บน้ำไม่ค่อยมีสัญญานโทรศัพท์ และ ภายหลังผู้ใหญ่แจ้งว่ามีผู้สนใจและติดต่อเป็นร้อยๆสาย ไม่คิดว่าคนจะให้ความสนใจขนาดนี้
เมื่อติดต่อผู้ใหญ่ได้ ก็ได้สอบเรื่องที่พักว่ายังว่างมั๊ย และก็ให้เตรียมอาหารเย็นไว้ให้ ถึงจะฉุกละหุก แต่ผู้ใหญ่ก็ได้ให้ พี่ๆที่อ่างเก็บน้ำเตรียมไว้ให้อย่างเรียบร้อย พร้อมทั้งถามทางเข้า โดยเลี้ยวเข้าทางประตู โรงเรียนหมู่บ้านพุน้ำร้อน พอพ้นเขตโรงเรียนไป ก็จะเป็นทางลูกรัง ประมาณ 9 กม รถทุกชนิดสามารถเข้าไปได้ โดยที่ 2 ข้างทางเป็น ไร่อ้อยและทุ่งนา
โดยที่คิดไม่ถึงว่าด้านในสุดจะมีธรรมชาติสวยๆได้ (แอบคิดในใจ)
และแล้วเราก็เดินทางมาถึงที่อ่างเก็บน้ำก่อนพระอาทิตย์จะตก
โดยมีพี่เดินออกมาต้อนรับชื่อพี่ก๊ก (พี่ก๊กเป็นชาวบ้านในหมู่บ้านละแวกนั้นและเป็นประธานของกลุ่มที่ช่วยกันปลุกปั้นสถานที่ท่องเที่ยวนี้ขึ้นมา) พี่ก๊ก พาเดินดูสถานที่ พร้อมทั้งให้เลือกว่าจะนอนแพหรือนอนเต๊นท์ แต่สุดท้ายพี่ก๊กแนะนำให้นอนแพเพราะวันนี้แขกไม่เยอะ
อันนี้คือแพที่เราเลือก เพราะบริเวณแพนี้อยู่ใกล้ 7-11 (เป็นซุ้มขายเครื่องดื่มและขนมมาม่าของสหกรณ์ชาวบ้าน) และ ก็พี่ๆที่เฝ้าเวรยามจะนอนกันอยู่บริเวณนี้
หลังจากวางกระเป๋า ก็ออกมาจุดชมวิวและรอพระอาทิตย์ตก
เรือไว้สำหรับเดินทางไปมาระหว่างโรงครัวและแพที่พัก
แพโรงครัวจะอยู่กลางอ่างเก็บน้ำ
ระหว่างรอพ่อครัวทำอาหารเราก็ถ่ายรูปรอไปเรื่อยๆ
และก็ไปอาบน้ำ เพราะว่าถ้าอาบดึกจะหนาว ที่นี่อากาศจะเย็น และหนาวในช่วงดึกถึงเช้ามืด (อากาศดีมากๆ) ลืมบอกไปว่าไม่มีไฟฟ้าใช้ แต่ละแพ จะจุดตะเกียงไว้ให้ และมีเครื่องปั่นไฟไว้สำหรับบริเวณห้องน้ำเท่านั้น
ห้องน้ำและห้องอาบน้ำเพิ่งทำเสร็จใหม่ๆ
ไม่มีรูปอาหารมื้อค่ำ เพราะ หิวกันมาก เมื่ออาหารวางปุ๊บก็ลงมือกันเลย เมื่อทานมื้อค่ำเสร็จก็มานั่งดูดาว และกางเต๊นท์ เพราะพี่ก๊กบอกว่าวันนี้แขกไม่เยอะ ลองเอาเต๊นท์มาสะบัดดูว่าอยากนอนแบบไหน
แล้วก็รีบเข้านอนเพราะนัดพี่ก๊กเตรียมอาหารเช้าตอน 7:00น. พร้อมทั้งชาทำเองโดยฝีมือพี่ก๊ก ซึ่งรับประกันว่าดื่มแล้วท้องไม่ผูก และกาแฟในถ้วยไม้ไผ่
อากาศและบรรยากาศพาทำให้ ชาและกาแฟรสชาดดีมาก
คอนเฟิร์มคะ
ระหว่างรออาหารเช้าก็ถ่ายรูปกันต่อไป
น้ำในอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ค่อนข้างใส และนิ่งมากจนทำให้เกิดเงาสะท้อนชัดเจน
แพอาหารที่อยู่กลางอ่างเก็บน้ำ เวลาจะไปทานอาหารก็สามารถไปได้ 2 ทาง คือพายเรือหรือใช้โป๊ะและดึงเชือกเอา
โป๊ะที่ใช้พาไปทานอาหาร
ห้องครัวและพ่อครัว
ที่นี่เป็นการรวมกลุ่มชาวบ้านซึ่งเป็นผู้ชายทั้งหมด จำนวน 18 คน จาก 4 หมู่บ้าน เพื่อมาช่วยกันพัฒนาอ่างเก็บน้ำนี้ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และ เพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้เลี้ยงชีพ พี่ๆชาวบ้านทุกคนเป็นกันเองและใจดีมากๆ
อาชีพเสริมอีกอย่างสำหรับพี่ๆที่เฝ้าเวรยามและให้ความสะดวกแก่ผู้ที่มาพัก คือรายได้จากการขายของและเลี้ยงปลานิล
หน้าตาอาหารเช้าดูธรรมดาแต่มันอร่อยมาก เพราะรู้สึกได้ถึงความตั้งใจของคนทำ
หลังจากทานอาหารเช้าเสร็จก็ได้เวลาร่ำลาพี่ๆที่อยู่ที่นี่
พี่ก๊กสุดหล่อที่ให้การดูและเป็นอย่างดี คอยถามคอยดูแลความเป็นอยู่ตลอดเวลาๆ ทุกคนที่นี่เรียกพี่ก๊กว่าประธานๆ เพราะพี่ก๊กเป็นประธานของที่นี่
โดยที่มีผู้ใหญ่ชุมและพี่สนธยาเป็นผู้ที่ดูแลในเรื่อการรับจองที่พักและข้อมูลต่างๆ อาจจะติดต่อยากหน่อย เพราะไม่ค่อยมีสัญญาณโทรศัพท์และจำนวนผู้ที่ให้ความสนใจและโทรไปเยอะมากจริงๆ
ออกเดินทางกลับ ซื้อชาพี่ก๊กซองละ 20 บาท 2 ซองแต่พี่ก๊กและพี่สนธยา กลับให้ กะหลี่พัฟ 1 กล่องและ เป๊บซี่อีก 2 ขวดไว้ทานระหว่างทางกลับกรุงเทพ และเรายังแซวพี่ๆว่า มันแพงกว่าค่าชาอีกนะ แต่พี่ๆทั้ง 2 กลับยิ้มและ พูดว่ารับไปเถอะ อยากให้ แล้วหวังว่าเราจะได้พบกันอีกนะ
เมื่อกลับมาถึงก็รับลงรูปและทำรีวิว เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจ ที่อ่างเก็บน้ำเขาวงนี้เพิ่งเปิดให้บริการวันแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2558
ที่นี่ต้องเอาอาหารไปทำเองมีเตาปิ้งย่างให้บริการ หรือเหมาอาหารพร้อมแพที่พักก็ได้
ส่วนการเดินทางคือขับรถเข้าไปถึงแพเลย หรือ นั่งรถตู้ กรุงเทพ-ด่านช้างและต่อสองแถวจากท่ารถไปลงหหน้า รร พุน้ำร้อน และ ผู่ใหญ่จะออกมารับที่หน้าปากทางเข้า
ต้องขอขอบคุณ เพจ Chillpainai ที่ได้แนะนำและให้ข้อมูลไว้ http://www.chillpainai.com/scoop/6293/
*หมายเหตุ: ขอเพิ่มเติมในส่วนของผู้ที่เป็นห่วงในเรื่องสภาพแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงของอ่างเก็บน้ำแห่งนี้นะคะ
เนื่องจากการรีวิวในครั้งนี้ของ จขกท ไม่ได้มีเจตนาจะทำลายธรรมชาติและไปเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ของที่นี่ แต่ด้วย จขกท ได้มีโอกาสพูดคุยกับชาวบ้านที่ร่วมกันสร้างที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ขึ้นมา ทำให้ทราบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ต้องการทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และกระจายรายได้สู่ชุมชน ทั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนก็คงได้มีการประชุมหารือเกี่ยวกับปัญหาที่ตามมา พร้อมทั้งเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาอยู่บ้างแล้วนะคะ ไม่เช่นนั้นก็คงจะไม่มีแหล่งทำกิน และที่สำคัญชาวบ้านทุกคนรวมถึง จขกท ก็อยากให้อ่างเก็บน้ำแห่งนี้คงความเป็นธรรมชาติและความเงียบสงบไว้คะ
ขอบคุณทุกคำติชม และยินดีตอบทุกความคิดเห็นคะ )