โครงงานสิ่งประดิษฐ์เรื่อง เครื่องตั้งเวลาเปิดปิดไฟอัตโนมัติ

กระทู้สนทนา






โครงงาน    :    เครื่องตั้งเวลาเปิดปิดไฟอัตโนมัติ
โรงเรียน    :    กาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม)
ผู้จัดทำ     :     เด็กชายกันตินันท์      คุณะศักดิ์พาณิชย์    ม.3/1  เลขที่ 1
                       เด็กชายชาติศิริ         ณ ศรีโต                  ม.3/1  เลขที่ 3
                       นายภูมิรพี                แซ่ตั้ง                     ม.3/1  เลขที่ 5
ประเภท     :     สิ่งประดิษฐ์
อาจารย์ที่ปรึกษา     :     นายวินัย  พึ่งคำ

แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดที่มีวงจรตั้งเวลาไว้ให้ในตัว เช่น เตาไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า เมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าดังกล่าวทำงานเสร็จก็จะตัดไฟฟ้าให้โดยอัตโนมัติ  แต่ก็มีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดที่ไม่มีเครื่องตั้งเวลาคอยตัดกระแสไฟฟ้าให้ในยามที่ไม่ต้องการใช้ เช่น พัดลมรุ่นประหยัด หลอดไฟฟ้าที่ให้แสงสว่าง หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าใดๆ ที่ต้องการเปิดใช้เพียงบางช่วงเวลา  ดังนั้นกลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้ประดิษฐ์เครื่องตั้งเวลาเปิดปิดไฟอัตโนมัติ ที่รองรับกับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดขึ้น เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายอีกทั้งยังเป็นการประหยัดไฟได้อีกด้วย

โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1.เพื่อศึกษาวิธีการประดิษฐ์และหลักการการทำงานของเครื่องตั้งเวลาเปิดปิดไฟอัตโนมัติ
2.เพื่อหาประสิทธิภาพและคุณภาพของเครื่องตั้งเวลาเปิดปิดไฟอัตโนมัติ


ภาพแสดงการต่อวงจร Control และวงจร Power

เครื่องตั้งเวลาเปิดปิดไฟอัตโนมัติ จะมีวงจร 2 ส่วน คือ วงจร Control กับวงจร Power โดยในส่วนของวงจร Control กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านตัว Circuit Breaker 16A  F2 แล้วจะไหลต่อมาที่ Selector Switch เมื่อบิด Selector Switch มาในโหมด Manual กระแสไฟฟ้าก็จะไหลไปที่ตัว Relay R1 ทำให้ Accessories Contact ของ Relay R1 ต่อกัน แล้วทำให้กระแสไฟฟ้าไหลต่อไปที่ Magnetic Contactor ในขณะเดียวกัน กระแสไฟฟ้าก็จะไหลไปที่ Pilot Lamp สีเขียว เพื่อแสดงสถานะหน้าเครื่องว่ากำลังอยู่ในโหมด Manual แต่ถ้าบิด Selector Switch มาในโหมด Off กระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่าน Relay R1 และ R2 ซึ่งได้ต่อวงจรแบบ Interlock กัน ทำให้ Accessories Contact ของ Relay R1 และ R2 ไม่ต่อกัน แล้วกระแสไฟฟ้าก็จะไหลไปต่อที่  Pilot Lamp สีแดง เพื่อแสดงสถานะหน้าเครื่องว่ากำลังอยู่ในโหมด Off ถ้าเราบิด Selector Switch มาในโหมด Auto กระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่าน Relay R2 ทำให้ Accessories Contact ของ Relay R2 ต่อกัน แล้วทำในกระแสไฟฟ้าไหลต่อไปที่ Timer เมื่อถึงเวลาที่เราได้ตั้งไว้ ตัว Timer ก็จะปล่อยกระแสไฟฟ้าไหลต่อมาที่ Magnetic Contactor แล้วในขณะเดียวกัน กระแสไฟฟ้าก็จะไหลไปที่ Pilot Lamp สีเหลือง เพื่อแสดงสถานะหน้าเครื่องว่าอยู่ในโหมด Auto ส่วนวงจร Power กระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านตัว Circuit Breaker 16A F1 แล้วกระแสไฟฟ้าก็จะไหลมาต่อที่ตัว Magnetic Contactor เมื่อกระแสไฟฟ้าในวงจร Control ไหลมาถึงตัว Magnetic Contactor ก็จะทำให้ Main Contact ที่อยู่ใน Magnetic Contactor ต่อกัน แล้วทำให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลมาจาก Circuit Breaker F1 ไหลต่อไปที่ Output ของเครื่อง ซึ่งเป็นเต้าเสียบปลั๊กไฟ หรือว่าปลั๊กตัวเมีย



สำหรับคลิปวีดีโอแสดงตัวอย่างการทำงานของตัวเครื่องเพิ่มเติมสามารถเข้าชมได้ที่เว็บไซต์ : https://www.youtube.com/watch?v=jkBdMhofgqM
ซึ่งจากที่กลุ่มของข้าพเจ้าได้ดำเนินการหาประสิทธิภาพของเครื่องตั้งเวลาเปิดปิดไฟอัตโนมัติโดยมีรูปแบบการทดลอง ดังนี้
1.ผลการทดลองการปิดไฟแบบ Manual จำนวน 10 ครั้ง
2.ผลการทดลองการปิดไฟแบบ Auto  10 ครั้ง
3.ผลการเปิดปิดไฟแบบ เปิดและปิดเวลา 18.00 – 20.00 น. เป็นเวลา 1 สัปดาห์
ซึ่งพบว่าเครื่องตั้งเวลาเปิดปิดไฟอัตโนมัติเครื่องนี้สามารถทำตามรูปแบบการทดลองทั้งสามได้ครบถ้วน ดังนั้นเครื่องตั้งเวลาเปิดปิดไฟอัตโนมัติเครื่องนี้มีประสิทธิภาพ 100 %

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.ได้ศึกษาวิธีการประดิษฐ์และหลักการการทำงานของเครื่องตั้งเวลาเปิดปิดไฟอัตโนมัติ
2.ได้ทราบประสิทธิภาพและคุณภาพของเครื่องตั้งเวลาเปิดปิดไฟอัตโนมัติ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่