เกริ่นก่อนว่า ตามรักคืนใจ เป็นเรื่องหนึ่งที่เราประทับใจมากตั้งแต่อ่านในรูปนวนิยาย
สมัยเวอร์ชั่น "อู๋-ปูเป้" ตอนนั้นเราอยู่ ม.6 ติดมาก ประทับใจมาก
จำได้ว่ามีช่วงที่ต้องไปธุระเรื่องสอบเข้ามหา'ลัย ต้องให้ที่บ้านอัดวิดีโอไว้ให้ 555 (ถ้าเป็นสมัยนี้เข้ายูทูปสบายแฮ)
ตอนนั้นรู้สึกประทับใจพระเอกแบบนายสิงห์
รู้สึกว่าอู๋และปูเป้นี่เดินออกมาจากนวนิยายเลย
มาถึงเวอร์ชั่นล่าสุด ไม่น่าเชื่อว่าจะประทับใจและฟินกับนายสิงห์ไม่แพ้กัน
ดีงามกันคนละแบบ จับใจคนละแบบ
ความรักระหว่างหนูนากับน้าราม ก็ยังประทับใจ
และดูเหมือนบทโทรทัศน์จะมีรายละเอียดเพิ่มเข้ามาให้ปมดราม่ามากขึ้น
และไม่รู้ว่าเป็นเพราะเราโตขึ้น(แก่) หรือว่าบทโทรทัศน์เวอร์ชั่นนี้มีรายละเอียดปรับเปลี่ยนไปมากขึ้น
จึงทำให้เรารู้สึกว่า เวอร์ชั่นนี้เสนอปมและแง่คิดเกี่ยวกับครอบครัว โดยเฉพาะเรื่อง "พ่อ-ลูก" ได้ละเอียดมากขึ้น
แง่คิดและปมเกี่ยวกับ "พ่อลูก" ในเรื่องนี้ที่เราเห็น
ไม่ใช่แค่คู่ "น้าราม-หนูนา"
แต่มีคู่ "นายวรรณ-รัศมี" "พ่อเลี้ยงศักดา-อดิศร"
"ก้อน-พวง" หรือแม้แต่ "พ่อ-นายสิงห์"
เราอาจจะมโนเพ้อไปเองก็ได้
แต่เราคิดว่าเราเห็นตัวอย่างของการเลี้ยงดู และผลที่เกิดจากการเลี้ยงดูชัดมากจาก "พ่อลูก" แต่ละคู่ที่ว่ามานี้ในละครเรื่องนี้
แม้เรื่องจะไม่ได้มุมนี้เน้นเด่นมาก (เพราะจุดเน้นอยู่ที่ความรักพระนาง คู่น้ารามกับลูก และเรื่องป่าไม้บู๊ๆ)
แต่รู้สึกได้ว่าสอดแทรกอยู่แบบเนียนๆ
-คู่น้าราม-หนูนา
ถึงจะจากกันและไม่อยู่ด้วยกันสิบกว่าปี แต่ความรักในวัยเด็กที่หนูนาได้จากพ่อ
หล่อหลอมให้หนูนาโตขึ้นอย่างมีที่ยึดเหนี่ยว แม้จะอ้างว้างแต่ก็อบอุ่นอยู่ลึกๆ เมื่อนึกถึงความรักของพ่อ อ้อมกอดพ่อ คำพูดของพ่อ
มันทำให้เห็นว่าจะอยู่ด้วยกันตลอดหรือไม่ไม่สำคัญ
แต่ช่วงเวลาที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ด้วยกัน มันเป็นช่วงที่จะอยู่ในความทรงจำ โดยเฉพาะกับเด็ก มันจะเป็นรอยฝังจำไปตลอด
ถ้าเด็กๆ น้ารามเฆี่ยนตีหนูนา ทิ้งขว้าง พูดหยาบๆ ใส่
เราว่า หนูนาคงไม่เป็นอย่างนี้ แผลในใจอาจผลักหนูนาไปไหนก็ไม่รู้
-คู่นายวรรณ-รัศมี
เรามองว่าคู่นี้เหมือนเล่นล้อกับคู่น้าราม-หนูนาเลย
คู่น้าราม-หนูนา อยู่ห่างไกล แต่ความรักที่ชัดเจนในวัยเด็ก ยึดเหนี่ยวคนทั้งคู่ไว้ให้ใกล้กัน(ในใจ)
แต่คู่นี้ ด้วยวิธีเลี้ยงลูกแบบนายวรรณ ทำให้รัศมีแม้จะอยู่ใกล้กับพ่อ แต่กลับมองไม่เห็นความรักจากพ่อเลย (ปมนี้อ่านจากบทโทรทัศน์แล้ว ตอนหลังหนูนาจะเป็นคนพูดเตือนสติให้แม่ฉุกคิดได้)
การเลี้ยงลูกแบบรักนะแต่ไม่แสดงออก (แสดงออกโดยการประชดประชันเสียดสี หรือให้แต่เงิน) ทำให้รัศมีไม่สามารถสัมผัสความรักจากพ่อได้
และเราว่านี่เป็นปมให้นางโหยหาความรัก(จากผู้ชาย) ผลักให้นางต้องหนีไปกับราม มีชู้ มีสามีเป็นสิบ
รัศมีเป็นคนที่น่าสงสารนะจริงๆแล้ว
นางไม่รู้และมองไม่เห็นเลยว่าความรักที่แท้จริงเป็นยังไง ทั้งที่มีรักแท้อยู่ใกล้ตัว
(นางมีพ่อที่รักนางมาก มีสามีที่(ครั้งนึง)รักนางมาก มีลูกสาวที่รักนางมาก แต่นางไม่เห็นไม่รู้เลยและหันหลังให้หมด)
นายวรรณเองก็เหมือนจะรู้ตัวว่าเลี้ยงผิด แต่อาจคิดว่าสายเกินไปที่จะกลับตัวกับรัศมี
เลยเปลี่ยนมากลับตัวในการเลี้ยงหลานแทน
บทเรียนจากการเลี้ยงรัศมี(อันนี้นายวรรณเองจะพูดตอนหลัง) ทำให้เขาเลี้ยงหนูนามาอีกแบบ ให้ความรักความอบอุ่นเต็มที่
และเลี้ยงด้วยเหตุผล (อันนี้เรามโนเอาจากวิธีการที่หนูนาดิวกับตา จะคุยกันด้วยเหตุผลตลอด ไม่มีงอแงกระทืบเท้าเอาแต่ใจเลย
เลยเดาว่าตาเลี้ยงแบบใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ ผิดกับตอนเลี้ยงรัศมี)
หนูนานี่โชคดีจริงๆ ได้ความรักจากตาและพ่อ(ในวัยเด็ก) ทำให้พื้นฐานจิตใจ strong ไม่โหวง ไม่อ้างว้าง ไม่โหยหาแบบผิดๆ อย่างรัศมี
(นางเลย strong ไม่หวั่นไหวแม้แรงอ่อยระดับนายสิงห์ 555)
-คู่พ่อเลี้ยง-อดิศร
มุมของคู่นี้ พูดแบบสั้นๆ ก็คือ พ่อเลวก็เลี้ยงลูกออกมาเลว
แต่การที่อดิศรซึ่งเลว ห่าม หยาบสุดขีด มาหลงรักคุณน้องนี่
เราก็ตีความ(มโน)ไปว่า ลึกๆ แล้วอดิศรโหยหาความอ่อนหวาน อ่อนโยน ความดีงามบริสุทธิ์ (ที่พ่อไม่เคยมีไม่เคยให้)
และคิดว่าแท้จริงอดิศรสามารถเปลี่ยนเป็นคนดีได้นะ ถ้าได้ผู้หญิงแบบคุณน้องเข้ามา
-คู่นายก้อน-กับพวง
คู่นี้อาจเป็นคู่เล็กๆ แต่เราว่าบทโทรทัศน์แอบใส่รายละเอียดไว้นิดๆ นะ
ตอนที่หนูนาช่วยงานครัว จำได้ว่ามีแม่ครัวคนนึงพูดกับหนูนาว่า
น้าก้อนเมียตายตั้งแต่พวงยังเด็ก ก็เลยเลี้ยงลูกมาแบบตามใจ พวงเลยเป็นคนแบบนี้ คือเอาแต่ใจ เห็นแก่ตัวหรือนิสัยไม่ค่อยดีเท่าไหร่
เป็นมุมเล็กๆ ที่เราคิดว่าละครเรื่องนี้ใส่ใจ และช่วยทำให้แง่คิดเรื่องพ่อลูกในเรื่องนี้มันมีเอกภาพนะ
-คู่พ่อ-นายสิงห์
อันนี้เหมือนจะเป็นมุมเล็กๆ เหมือนกัน แต่ก็ให้แง่คิดนะ
ตอนนายสิงห์เล่าเรื่องตัวเองกับพ่อให้หนูนาฟัง และตอนที่เล่าว่าพ่อแม่รักกันมากยืนดูดาวกัน รักกันจนนาทีสุดท้ายของชีวิต
อันนี้ก็ทำให้เห็นว่านายสิงห์นี่ ก็โตมากับการได้รับความรักเต็มเปี่ยมจากพ่อแม่
แม้พ่อจะไม่ค่อยแสดงออก(ตามที่นายสิงห์เล่า) แต่นายสิงห์สัมผัสความรักนั้นได้
ภาพความรักที่มั่นคงอบอุ่นของพ่อแม่ เป็นพื้นฐานหล่อหลอมให้นายสิงห์เป็นผู้ชายที่อบอุ่นและมั่นคง (ที่สุด อิอิ)
อยากสร้างครอบครัวแบบเดียวกัน อยากมีความรักที่ไม่ทำร้ายใคร
สรุปโดยรวมที่พูดมายืดยาว เราเพียงอยากแชร์ความคิดความรู้สึกที่อัดอยู่ในอกจากการดูเวอร์ชั่นนี้ว่า
สำหรับเรา เรื่องนี้ให้แง่คิดแง่มุมเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวได้ละมุนละไมมาก
เห็นความสำคัญของการเลี้ยงดูและพื้นฐานครอบครัวเลย
เคยอ่านหนังสือเจอคนเขียนว่า
"ลูกคือเงาสะท้อนการเลี้ยงดูของพ่อแม่"
เราว่าเรื่องนี้มันใช่เลย
หนูนา นายสิงห์ รัศมี พวง อดิศร คือเงาสะท้อนการเลี้ยงดูของพ่อแม่จริงๆ
ไม่ได้อวยนะ แต่สำหรับเรา เรื่องนี้เป็นละคร feel good และน้ำดี อีกเรื่องนึง ที่ไม่หวือหวาและอบอุ่นละมุนละไมค่ะ
ตามรักคืนใจ กับแง่คิดละมุนละไมเกี่ยวกับครอบครัว
สมัยเวอร์ชั่น "อู๋-ปูเป้" ตอนนั้นเราอยู่ ม.6 ติดมาก ประทับใจมาก
จำได้ว่ามีช่วงที่ต้องไปธุระเรื่องสอบเข้ามหา'ลัย ต้องให้ที่บ้านอัดวิดีโอไว้ให้ 555 (ถ้าเป็นสมัยนี้เข้ายูทูปสบายแฮ)
ตอนนั้นรู้สึกประทับใจพระเอกแบบนายสิงห์
รู้สึกว่าอู๋และปูเป้นี่เดินออกมาจากนวนิยายเลย
มาถึงเวอร์ชั่นล่าสุด ไม่น่าเชื่อว่าจะประทับใจและฟินกับนายสิงห์ไม่แพ้กัน
ดีงามกันคนละแบบ จับใจคนละแบบ
ความรักระหว่างหนูนากับน้าราม ก็ยังประทับใจ
และดูเหมือนบทโทรทัศน์จะมีรายละเอียดเพิ่มเข้ามาให้ปมดราม่ามากขึ้น
และไม่รู้ว่าเป็นเพราะเราโตขึ้น(แก่) หรือว่าบทโทรทัศน์เวอร์ชั่นนี้มีรายละเอียดปรับเปลี่ยนไปมากขึ้น
จึงทำให้เรารู้สึกว่า เวอร์ชั่นนี้เสนอปมและแง่คิดเกี่ยวกับครอบครัว โดยเฉพาะเรื่อง "พ่อ-ลูก" ได้ละเอียดมากขึ้น
แง่คิดและปมเกี่ยวกับ "พ่อลูก" ในเรื่องนี้ที่เราเห็น
ไม่ใช่แค่คู่ "น้าราม-หนูนา"
แต่มีคู่ "นายวรรณ-รัศมี" "พ่อเลี้ยงศักดา-อดิศร"
"ก้อน-พวง" หรือแม้แต่ "พ่อ-นายสิงห์"
เราอาจจะมโนเพ้อไปเองก็ได้
แต่เราคิดว่าเราเห็นตัวอย่างของการเลี้ยงดู และผลที่เกิดจากการเลี้ยงดูชัดมากจาก "พ่อลูก" แต่ละคู่ที่ว่ามานี้ในละครเรื่องนี้
แม้เรื่องจะไม่ได้มุมนี้เน้นเด่นมาก (เพราะจุดเน้นอยู่ที่ความรักพระนาง คู่น้ารามกับลูก และเรื่องป่าไม้บู๊ๆ)
แต่รู้สึกได้ว่าสอดแทรกอยู่แบบเนียนๆ
-คู่น้าราม-หนูนา
ถึงจะจากกันและไม่อยู่ด้วยกันสิบกว่าปี แต่ความรักในวัยเด็กที่หนูนาได้จากพ่อ
หล่อหลอมให้หนูนาโตขึ้นอย่างมีที่ยึดเหนี่ยว แม้จะอ้างว้างแต่ก็อบอุ่นอยู่ลึกๆ เมื่อนึกถึงความรักของพ่อ อ้อมกอดพ่อ คำพูดของพ่อ
มันทำให้เห็นว่าจะอยู่ด้วยกันตลอดหรือไม่ไม่สำคัญ
แต่ช่วงเวลาที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ด้วยกัน มันเป็นช่วงที่จะอยู่ในความทรงจำ โดยเฉพาะกับเด็ก มันจะเป็นรอยฝังจำไปตลอด
ถ้าเด็กๆ น้ารามเฆี่ยนตีหนูนา ทิ้งขว้าง พูดหยาบๆ ใส่
เราว่า หนูนาคงไม่เป็นอย่างนี้ แผลในใจอาจผลักหนูนาไปไหนก็ไม่รู้
-คู่นายวรรณ-รัศมี
เรามองว่าคู่นี้เหมือนเล่นล้อกับคู่น้าราม-หนูนาเลย
คู่น้าราม-หนูนา อยู่ห่างไกล แต่ความรักที่ชัดเจนในวัยเด็ก ยึดเหนี่ยวคนทั้งคู่ไว้ให้ใกล้กัน(ในใจ)
แต่คู่นี้ ด้วยวิธีเลี้ยงลูกแบบนายวรรณ ทำให้รัศมีแม้จะอยู่ใกล้กับพ่อ แต่กลับมองไม่เห็นความรักจากพ่อเลย (ปมนี้อ่านจากบทโทรทัศน์แล้ว ตอนหลังหนูนาจะเป็นคนพูดเตือนสติให้แม่ฉุกคิดได้)
การเลี้ยงลูกแบบรักนะแต่ไม่แสดงออก (แสดงออกโดยการประชดประชันเสียดสี หรือให้แต่เงิน) ทำให้รัศมีไม่สามารถสัมผัสความรักจากพ่อได้
และเราว่านี่เป็นปมให้นางโหยหาความรัก(จากผู้ชาย) ผลักให้นางต้องหนีไปกับราม มีชู้ มีสามีเป็นสิบ
รัศมีเป็นคนที่น่าสงสารนะจริงๆแล้ว
นางไม่รู้และมองไม่เห็นเลยว่าความรักที่แท้จริงเป็นยังไง ทั้งที่มีรักแท้อยู่ใกล้ตัว
(นางมีพ่อที่รักนางมาก มีสามีที่(ครั้งนึง)รักนางมาก มีลูกสาวที่รักนางมาก แต่นางไม่เห็นไม่รู้เลยและหันหลังให้หมด)
นายวรรณเองก็เหมือนจะรู้ตัวว่าเลี้ยงผิด แต่อาจคิดว่าสายเกินไปที่จะกลับตัวกับรัศมี
เลยเปลี่ยนมากลับตัวในการเลี้ยงหลานแทน
บทเรียนจากการเลี้ยงรัศมี(อันนี้นายวรรณเองจะพูดตอนหลัง) ทำให้เขาเลี้ยงหนูนามาอีกแบบ ให้ความรักความอบอุ่นเต็มที่
และเลี้ยงด้วยเหตุผล (อันนี้เรามโนเอาจากวิธีการที่หนูนาดิวกับตา จะคุยกันด้วยเหตุผลตลอด ไม่มีงอแงกระทืบเท้าเอาแต่ใจเลย
เลยเดาว่าตาเลี้ยงแบบใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ ผิดกับตอนเลี้ยงรัศมี)
หนูนานี่โชคดีจริงๆ ได้ความรักจากตาและพ่อ(ในวัยเด็ก) ทำให้พื้นฐานจิตใจ strong ไม่โหวง ไม่อ้างว้าง ไม่โหยหาแบบผิดๆ อย่างรัศมี
(นางเลย strong ไม่หวั่นไหวแม้แรงอ่อยระดับนายสิงห์ 555)
-คู่พ่อเลี้ยง-อดิศร
มุมของคู่นี้ พูดแบบสั้นๆ ก็คือ พ่อเลวก็เลี้ยงลูกออกมาเลว
แต่การที่อดิศรซึ่งเลว ห่าม หยาบสุดขีด มาหลงรักคุณน้องนี่
เราก็ตีความ(มโน)ไปว่า ลึกๆ แล้วอดิศรโหยหาความอ่อนหวาน อ่อนโยน ความดีงามบริสุทธิ์ (ที่พ่อไม่เคยมีไม่เคยให้)
และคิดว่าแท้จริงอดิศรสามารถเปลี่ยนเป็นคนดีได้นะ ถ้าได้ผู้หญิงแบบคุณน้องเข้ามา
-คู่นายก้อน-กับพวง
คู่นี้อาจเป็นคู่เล็กๆ แต่เราว่าบทโทรทัศน์แอบใส่รายละเอียดไว้นิดๆ นะ
ตอนที่หนูนาช่วยงานครัว จำได้ว่ามีแม่ครัวคนนึงพูดกับหนูนาว่า
น้าก้อนเมียตายตั้งแต่พวงยังเด็ก ก็เลยเลี้ยงลูกมาแบบตามใจ พวงเลยเป็นคนแบบนี้ คือเอาแต่ใจ เห็นแก่ตัวหรือนิสัยไม่ค่อยดีเท่าไหร่
เป็นมุมเล็กๆ ที่เราคิดว่าละครเรื่องนี้ใส่ใจ และช่วยทำให้แง่คิดเรื่องพ่อลูกในเรื่องนี้มันมีเอกภาพนะ
-คู่พ่อ-นายสิงห์
อันนี้เหมือนจะเป็นมุมเล็กๆ เหมือนกัน แต่ก็ให้แง่คิดนะ
ตอนนายสิงห์เล่าเรื่องตัวเองกับพ่อให้หนูนาฟัง และตอนที่เล่าว่าพ่อแม่รักกันมากยืนดูดาวกัน รักกันจนนาทีสุดท้ายของชีวิต
อันนี้ก็ทำให้เห็นว่านายสิงห์นี่ ก็โตมากับการได้รับความรักเต็มเปี่ยมจากพ่อแม่
แม้พ่อจะไม่ค่อยแสดงออก(ตามที่นายสิงห์เล่า) แต่นายสิงห์สัมผัสความรักนั้นได้
ภาพความรักที่มั่นคงอบอุ่นของพ่อแม่ เป็นพื้นฐานหล่อหลอมให้นายสิงห์เป็นผู้ชายที่อบอุ่นและมั่นคง (ที่สุด อิอิ)
อยากสร้างครอบครัวแบบเดียวกัน อยากมีความรักที่ไม่ทำร้ายใคร
สรุปโดยรวมที่พูดมายืดยาว เราเพียงอยากแชร์ความคิดความรู้สึกที่อัดอยู่ในอกจากการดูเวอร์ชั่นนี้ว่า
สำหรับเรา เรื่องนี้ให้แง่คิดแง่มุมเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวได้ละมุนละไมมาก
เห็นความสำคัญของการเลี้ยงดูและพื้นฐานครอบครัวเลย
เคยอ่านหนังสือเจอคนเขียนว่า "ลูกคือเงาสะท้อนการเลี้ยงดูของพ่อแม่"
เราว่าเรื่องนี้มันใช่เลย
หนูนา นายสิงห์ รัศมี พวง อดิศร คือเงาสะท้อนการเลี้ยงดูของพ่อแม่จริงๆ
ไม่ได้อวยนะ แต่สำหรับเรา เรื่องนี้เป็นละคร feel good และน้ำดี อีกเรื่องนึง ที่ไม่หวือหวาและอบอุ่นละมุนละไมค่ะ