ขออนุญาตเว็บ www.ฉลาดซื้อ.com นะครับ ผมว่าเป็นข้อมูลที่ดี ขอเอามาเผยแพร่
เครดิตหน้านี้นะครับ :
http://goo.gl/A3862f
ทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการหุงข้าวด้วยหม้อหุงข้าวระบบดิจิตอล
ฉลาดซื้อได้สุ่มเก็บตัวอย่างหม้อหุงข้าวดิจิตอลจำนวน 7 ยี่ห้อ เพื่อทดสอบเปรียบเทียบดูประสิทธิภาพในการหุงข้าวของหม้อหุงข้าวดิจิตอล โดยดู 3 เรื่องสำคัญคือ ระยะเวลาในการหุง พลังงานที่ใช้ และคุณภาพของข้าวที่หุงสุก โดยทีมเครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค เป็นผู้ทำหน้าที่ดำเนินการทดสอบในครั้งนี้ สำหรับการทดสอบได้ทำการแบ่งกลุ่มของหม้อหุงข้าวออกเป็น 2 กลุ่ม ตามปริมาณความจุของหม้อ
กลุ่มแรก คือหม้อหุงข้าวดิจิตอลที่มีความจุสูงสุดของหม้อที่ปริมาณ 1 ลิตร ได้แก่
1.Tefal รุ่น RK7021 71 ไม่ระบุกำลังไฟฟ้า
2.Panasonic รุ่น SR-MS103 กำลังไฟฟ้า 750 วัตต์
3.Philips รุ่น HD 3031 ไม่ระบุกำลังไฟฟ้า
4.Electrolux รุ่น ERC6503W ไม่ระบุกำลังไฟฟ้า
5.Toshiba รุ่น RC-10NMF กำลังไฟฟ้า 560 วัตต์
กลุ่มที่สอง คือหม้อหุงข้าวดิจิตอลที่มีความจุสูงสุดของหม้อที่ปริมาณ 1.8 ลิตร ได้แก่
1.Sharp รุ่น KS-COM18 กำลังไฟฟ้า 830 วัตต์
2.Hitachi รุ่น RZ-XMC18 กำลังไฟฟ้า 820 วัตต์
ผลการทดสอบประสิทธิภาพในการหุงข้าวของหม้อหุงข้าวดิจิตอล(กลุ่มความจุ 1 ลิตร)
ผลการทดสอบคุณภาพของข้าวกล้องทุกหม้อในกลุ่มความจุ 1 ลิตร พบว่า หุงได้สุกทั่วทั้งหม้อ
โดย หม้อหุงข้าวที่ได้คะแนนรวมสูงสุด 3 อันดับแรก คือ
1.Toshiba รุ่น RC-10NMF 40 คะแนน
2.Tefal รุ่น RK7021 71 38 คะแนน
3.Philips รุ่น HD 3031 38 คะแนน
• หม้อหุงข้าวที่หุงเสร็จเร็วที่สุด(ได้คะแนนรวมเท่ากัน 10 คะแนนจาก 15 คะแนน) คือ
1.Tefal รุ่น RK7021 71
2.Panasonic รุ่น SR-MS103
3.Philips รุ่น HD 3031
• หม้อหุงข้าวที่ประหยัดพลังงานที่สุดในการทดสอบ คือ
Toshiba รุ่น RC-10NMF
• หม้อหุงข้าวที่ใช้พลังงานมากที่สุดในการทดสอบ คือ
Panasonic รุ่น SR-MS103
เหตุผล เนื่องจากมีกำลังไฟฟ้าสูงกว่าตัวอย่างหม้อหุงข้าวอื่นในกลุ่มหม้อที่มีความจุ 1 ลิตร ซึ่งมีกำลังไฟสูงเกินความจำเป็น การใช้งานเป็นระยะเวลานานทำให้สิ้นเปลืองพลังงานมากกว่า ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงการใช้หม้อหุงข้าวที่มีกำลังไฟฟ้าสูงเกินความจำเป็น
ผลการทดสอบประสิทธิภาพในการหุงข้าวของหม้อหุงข้าวดิจิตอล (กลุ่มความจุ 1.8 ลิตร)
หม้อหุงข้าวที่หุง เสร็จเร็วกว่า ประหยัดพลังงานมากกว่า และคุณภาพข้าวที่หุงสุกดีกว่า คือ หม้อหุงข้าวดิจิตอลยี่ห้อ Hitachi รุ่น RZ-XMC18 กำลังไฟฟ้า 820 วัตต์
การเลือกซื้อหม้อหุงข้าวไฟฟ้า
• หม้อหุงข้าวไฟฟ้าและดิจิตอล มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ด้านความปลอดภัยควบคุมอยู่
• เลือกซื้อที่มีการรับประกัน เมื่อการปัญหาในการใช้งานต้องมีศูนย์ที่พร้อมให้การดูแลซ่อมแซม
• เลือกขนาดความจุของหม้อและกำลังไฟฟ้าให้เหมาะสมกับความต้องการในการใช้งาน เพื่อเป็นการประหยัดไฟฟ้า
• หม้อหุงข้าวระบบดิจิตอล ควรมีข้อความเป็นภาษาไทยกำกับที่ปุ่มควบคุมการใช้งาน เพื่อง่ายต่อการใช้
• ต้องมีสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายบอกปริมาณในส่วนหม้อหุงข้าวด้านใน ขีดบอกระดับ หรือ สัญลักษณ์อื่นที่แสดงความจุที่กำหนด ซึ่งมองเห็นได้ในขณะเติมน้ำ
วิธีดูแลรักษา
1) ไม่ควรใส่ข้าวและน้ำไม่เกินขนาดของหม้อ
2) การทำความสะอาด ให้เช็ดด้วยผ้าหมาดชุบน้ายาล้างภาชนะ เช็ดด้วยผ้าชุบน้าสะอาด แล้วเช็ดด้วยผ้าให้แห้ง
3) ส่วนที่เป็นหม้อหุงข้าว ต้องเช็ดด้านนอกของหม้อให้แห้ง โดยเฉพาะส่วนที่เป็นก้นหม้อ ก่อนทำการหุง
4) ห้ามเปิดฝาขณะน้ำเดือด
5) ห้ามปิดช่องระบายไอน้ำและฝาหม้อในขณะที่หม้อหุงขาวทำงาน
6) ใช้ทัพพีตักข้าวที่ให้มาเท่านั้น ไม่ควรใช้อุปกรณ์อื่นๆ ที่มีความคม
7) ใส่หม้อในก่อนเสียบปลั๊กไฟเข้ากับเต้ารับ
8) ถอดปลั๊กไฟออกทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
9) ปล่อยให้เย็นลงก่อนทำความสะอาด
เปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้พลังงาน “หม้อหุงข้าวดิจิตอล” 7 ยี่ห้อ
เครดิตหน้านี้นะครับ : http://goo.gl/A3862f
ทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการหุงข้าวด้วยหม้อหุงข้าวระบบดิจิตอล
ฉลาดซื้อได้สุ่มเก็บตัวอย่างหม้อหุงข้าวดิจิตอลจำนวน 7 ยี่ห้อ เพื่อทดสอบเปรียบเทียบดูประสิทธิภาพในการหุงข้าวของหม้อหุงข้าวดิจิตอล โดยดู 3 เรื่องสำคัญคือ ระยะเวลาในการหุง พลังงานที่ใช้ และคุณภาพของข้าวที่หุงสุก โดยทีมเครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค เป็นผู้ทำหน้าที่ดำเนินการทดสอบในครั้งนี้ สำหรับการทดสอบได้ทำการแบ่งกลุ่มของหม้อหุงข้าวออกเป็น 2 กลุ่ม ตามปริมาณความจุของหม้อ
กลุ่มแรก คือหม้อหุงข้าวดิจิตอลที่มีความจุสูงสุดของหม้อที่ปริมาณ 1 ลิตร ได้แก่
1.Tefal รุ่น RK7021 71 ไม่ระบุกำลังไฟฟ้า
2.Panasonic รุ่น SR-MS103 กำลังไฟฟ้า 750 วัตต์
3.Philips รุ่น HD 3031 ไม่ระบุกำลังไฟฟ้า
4.Electrolux รุ่น ERC6503W ไม่ระบุกำลังไฟฟ้า
5.Toshiba รุ่น RC-10NMF กำลังไฟฟ้า 560 วัตต์
กลุ่มที่สอง คือหม้อหุงข้าวดิจิตอลที่มีความจุสูงสุดของหม้อที่ปริมาณ 1.8 ลิตร ได้แก่
1.Sharp รุ่น KS-COM18 กำลังไฟฟ้า 830 วัตต์
2.Hitachi รุ่น RZ-XMC18 กำลังไฟฟ้า 820 วัตต์
ผลการทดสอบประสิทธิภาพในการหุงข้าวของหม้อหุงข้าวดิจิตอล(กลุ่มความจุ 1 ลิตร)
ผลการทดสอบคุณภาพของข้าวกล้องทุกหม้อในกลุ่มความจุ 1 ลิตร พบว่า หุงได้สุกทั่วทั้งหม้อ
โดย หม้อหุงข้าวที่ได้คะแนนรวมสูงสุด 3 อันดับแรก คือ
1.Toshiba รุ่น RC-10NMF 40 คะแนน
2.Tefal รุ่น RK7021 71 38 คะแนน
3.Philips รุ่น HD 3031 38 คะแนน
• หม้อหุงข้าวที่หุงเสร็จเร็วที่สุด(ได้คะแนนรวมเท่ากัน 10 คะแนนจาก 15 คะแนน) คือ
1.Tefal รุ่น RK7021 71
2.Panasonic รุ่น SR-MS103
3.Philips รุ่น HD 3031
• หม้อหุงข้าวที่ประหยัดพลังงานที่สุดในการทดสอบ คือ
Toshiba รุ่น RC-10NMF
• หม้อหุงข้าวที่ใช้พลังงานมากที่สุดในการทดสอบ คือ
Panasonic รุ่น SR-MS103
เหตุผล เนื่องจากมีกำลังไฟฟ้าสูงกว่าตัวอย่างหม้อหุงข้าวอื่นในกลุ่มหม้อที่มีความจุ 1 ลิตร ซึ่งมีกำลังไฟสูงเกินความจำเป็น การใช้งานเป็นระยะเวลานานทำให้สิ้นเปลืองพลังงานมากกว่า ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงการใช้หม้อหุงข้าวที่มีกำลังไฟฟ้าสูงเกินความจำเป็น
ผลการทดสอบประสิทธิภาพในการหุงข้าวของหม้อหุงข้าวดิจิตอล (กลุ่มความจุ 1.8 ลิตร)
หม้อหุงข้าวที่หุง เสร็จเร็วกว่า ประหยัดพลังงานมากกว่า และคุณภาพข้าวที่หุงสุกดีกว่า คือ หม้อหุงข้าวดิจิตอลยี่ห้อ Hitachi รุ่น RZ-XMC18 กำลังไฟฟ้า 820 วัตต์
การเลือกซื้อหม้อหุงข้าวไฟฟ้า
• หม้อหุงข้าวไฟฟ้าและดิจิตอล มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ด้านความปลอดภัยควบคุมอยู่
• เลือกซื้อที่มีการรับประกัน เมื่อการปัญหาในการใช้งานต้องมีศูนย์ที่พร้อมให้การดูแลซ่อมแซม
• เลือกขนาดความจุของหม้อและกำลังไฟฟ้าให้เหมาะสมกับความต้องการในการใช้งาน เพื่อเป็นการประหยัดไฟฟ้า
• หม้อหุงข้าวระบบดิจิตอล ควรมีข้อความเป็นภาษาไทยกำกับที่ปุ่มควบคุมการใช้งาน เพื่อง่ายต่อการใช้
• ต้องมีสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายบอกปริมาณในส่วนหม้อหุงข้าวด้านใน ขีดบอกระดับ หรือ สัญลักษณ์อื่นที่แสดงความจุที่กำหนด ซึ่งมองเห็นได้ในขณะเติมน้ำ
วิธีดูแลรักษา
1) ไม่ควรใส่ข้าวและน้ำไม่เกินขนาดของหม้อ
2) การทำความสะอาด ให้เช็ดด้วยผ้าหมาดชุบน้ายาล้างภาชนะ เช็ดด้วยผ้าชุบน้าสะอาด แล้วเช็ดด้วยผ้าให้แห้ง
3) ส่วนที่เป็นหม้อหุงข้าว ต้องเช็ดด้านนอกของหม้อให้แห้ง โดยเฉพาะส่วนที่เป็นก้นหม้อ ก่อนทำการหุง
4) ห้ามเปิดฝาขณะน้ำเดือด
5) ห้ามปิดช่องระบายไอน้ำและฝาหม้อในขณะที่หม้อหุงขาวทำงาน
6) ใช้ทัพพีตักข้าวที่ให้มาเท่านั้น ไม่ควรใช้อุปกรณ์อื่นๆ ที่มีความคม
7) ใส่หม้อในก่อนเสียบปลั๊กไฟเข้ากับเต้ารับ
8) ถอดปลั๊กไฟออกทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
9) ปล่อยให้เย็นลงก่อนทำความสะอาด