มี คำศัพท์ หรือ เรื่องใด ที่ควรทำความเข้าใจก่อนไปดู ' The Big Short ' บ้างครับ

อยากทราบว่า มีคำศัพท์ หรือ เรื่องใดบ้างครับ ที่ควรรู้และทำความเข้าใจก่อนไปดู The big short

เพื่อจะได้เข้าใจเนื้อเรื่องมากขึ้น แล้วก็ตามหนังทันครับ

ขอบคุณครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
1. Subprime Loans – Subprime คือแปลง่ายๆคือคนที่มีคุณสมบัติไม่พอ Subprime Loans การให้เงินกู้ยืมกับคนที่ไม่ผ่านเกณฑ์

2.Mortgage – จำนอง ซึ่งในเรื่องใช้เยอะมากเพราะเป็นการพูดถึงวิฤติเศรษฐกิจปี 2008 เกี่ยวกับ Housing Market

3.Mortgage Backed Securities – คือ หนึ่งในกระบวนการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นหลักทรัพย์เพื่อขายในตลาดรอง สินทรัพย์ในท่ีน้ีคือ เงินกู้ ระยะยาวเพื่อท่ีอยู่อาศัย และอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวก็จะถูกนํามาใช้เป็นหลักทรัพย์คํ้าประกันใน การออกหลักทรัพย์ดังกล่าว Bank ทำแบบนี้เพื่อที่เอาตัวนี้ออกจาก Balance sheet แล้ว ทำให้มีเงินเหลือเพิ่ม เพื่อที่จะออกเงินกู้อีก แถม Bank เองไม่ใช่เจ้าหนี้อีกแล้ว แต่เป็นตัวกลางที่คอยเก็บเงิน แล้วนำไปจ่ายให้นักลงทุนที่ซื้อตัวนี้ไป โดย Bank จะได้ Fees หรือค่าธรรมเนียมในการทำแบบนี้
http://www.thequities.com/wp-content/uploads/2016/01/frbchi1.gif
4.Collateralized Debt Obligation (CDO) – การรวมกันของหนี้ เช่น Student loans, car loans และหนี้อื่นๆรวมกันแล้วแปลงให้เป็นหลักทรัพย์ หรือเรียกว่า CDP เพื่อขายให้กับนักลงทุนต่อไป จะคล้ายๆ กับ CMO ในข้อ 6 คนที่ทำ CDO มีหน้าที่เป็นตัวแทนให้กับนักลงทุน แต่ตัวลูกค้า ค่าธรรมเนียมและอื่นๆ ล้วนแต่มาจากแบงค์ทั้งนั้น

5.CDO Squared –  CDO of CDO ทำอย่างนี้เพื่อแบงค์จะ  resell the credit risk ที่รับความเสี่ยงอยู่ในตัว CDOs
http://www.thequities.com/wp-content/uploads/2016/01/Housing.CDOsquared.jpg
6.Collateralized Mortgage Obligation (CMO) –

เงินกู้ระยะยาวเพื่อที่อยู่อาศัยมาผูกรวมกันแล้วแปลงให้เป็นหลักทรัพย์ หรือที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า CMO เพ่ือขายต่อให้กับนักลงทุนอีกต่อไป ข้อดีของ CMOs ก็คือ หลักทรัพย์ท่ีสามารถแบ่งออกได้ เป็นหลายหลักทรัพย์ที่มีการจัดลําดับความน่าเชื่อถือ ต่างกัน หรือที่เรียกกันว่า tranches และ นักลงทุนก็สามารถเลือกลงทุนใน tranches ที่เหมาะกับความตเองการทั้งในเรื่องอัตราผลตอบแทนและ ความเสี่ยง แต่ละ CMO tranche สามารถมีเงินต้นต่างกัน ดอกเบี้ยต่างกัน ระยะเวลา และความเสี่ยงในการจ่ายคืนต่างกัน โดยตัวมันนั้นจะค่อนข้างแปรผันไปกับการเปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ย และสถาณะทางเศรษฐกิจ

6.Tranches – คือแค่ slice ส่วนนึงของ CDO/CMO โดยจะแบ่งเป็น Senior Tranches and Junior Tranches ตัว Senior จะมี Credit rating ที่สูงกว่า แต่ก็จ่ายดอกเบี้ยน้อยกว่า ตัว Junior ด้วยความที่เรตติ้งของ Junior นั่นต่ำกว่าจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยเยอะกว่า เพราะความเสี่ยงสูงกว่า แต่ตัว Senior เองนั้นมีประโยชน์ตรงที่ ถ้าเกิดไรขึ้น ตัวนี้จะตัวแรกที่เคลม collateral ได้ก่อน

7.Credit Rating – เรตติ้งของตัวหนี้ ก็มีเช่นเรตติ้งของหุ้นกู้ พัธบัตร ตราสารหนี้ต่างๆ โดยมีบริษัทใหญ่คือ Standard&Poor and Moody’s เป็นคนจัดเรตติ้ง

8.Bailout – คือการเอาเงินภาษีของประชาชนนั้นไปช่วยธนาคารและสถาบันการเงิน ไม่ให้ล้มนั่นเอง

9.Collateral – หลักประกันที่คนใช้ในการกู้ยืม ถ้าในกรณีไม่จ่าย ก็สามารถเอาส่วนนี้ได้
http://www.thequities.com/wp-content/uploads/2016/01/9f-7fac-405a-9c05-83082eb1a6fd.png
10.Asset-backed Securities (ABS) คือ หลักทรัพย์หรือตราสารหน้ีที่ออกโดยมีสินทรัพย์ผูกอยู่อีกทอดหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจาก Mortgage-backed Securities (MBS) กล่าวคือ สินทรัพย์ที่สามารถนํามาผูกกับ ABS นั้นจะต้องเป็น non-mortgage assets เช่น เงินกู้เพื่อ ซื้อรถยนต์ บัญชีลูกหนี้บัตรเครดิต เงินกู้ยืมเพื่อซื้อบ้าน หรือเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยทั่วไป ABS มักจะไม้มีหลักทรัพย์คํ้าประกัน และยังมีความเสี่ยงจากการท่ีผู้ออกตราสารไม่สามารถชําระเงินตเ้และ ดอกเบี้ยได้ตามท่ีกําหนด (credit risk)

11.Credit default swaps – เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นเครื่องมือ
ที่ช่วยประกันว่าผู้ที่ถือหุ้นกู้จะได้รับการชดเชย ความเสียหายหากหุ้นกู้นั้นเกิดปัญหาขึ้นมาจาก
การที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ (ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้) ผู้ถือหุ้นกู้จึงไปซื้อ
CDS มาเพื่อเป็นการประกันความเสี่ยงดังกล่าว การทำสัญญา CDS คือ คู่สัญญา 2 ฝ่าย คือ ผู้ซื้อประกันความเสี่ยงเครดิต (default protection buyer) หรือผู้ซื้อ CDS และผู้ขายประกันความเสี่ยงเครดิต (default protection seller) หรือผู้ขาย CDS มาทำสัญญากันว่าผู้ซื้อ CDS
จะได้รับความคุ้มครองความเสียหายกรณีที่หนี้หรือหุ้นกู้ซึ่งอยู่ภายใต้การประกันกลายเป็นหนี้เสีย โดยผู้ขาย CDS จะเป็น
ผู้จ่ายค่าเสียหายให้

เรียบเรียง TH Equities

Credit : http://www.thequities.com/the-big-short/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่