จบมนุษย์ศาสตร์สาขาภาษาญี่ปุ่นแล้วต้องเรียนอะไรต่อถึงจะได้เป็นล่ามหรือนักแปล

จบมนุษย์ศาสตร์สาขาภาษาญี่ปุ่นแล้วต้องเรียนอะไรต่อถึงจะได้เป็นล่ามหรือนักแปล หรือควรเรียนคณะหรือสาขาอะไรดีกว่า ที่จะได้ทำงานพวกนี้น่ะค่ะ ส่วนตัวอยากเป็นมาก ชอบมาก แต่ไม่รู้ว่าต้องเรียนคณะสาขาอะไร รบกวนผู้รู้ช่วยบอกหน่อยนะคะ ถ้าเป็นคณะสาขาอื่นรบกวนระบุมหาลัยด้วยนะคะ (ขอใกล้ๆนครศรีธรรมราชเท่าไรยิ่งดีค่ะ แต่ถ้าดีกว่าจริงๆ หรือจะเอาให้ตรงประเด็นเสนอที่ไกลๆมาก็ไม่ว่ากันค่ะ)
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ ทุกๆความคิดเห็น (กวนประสาทกันบ้างได้ค่ะไม่ว่ากัน)

แถมอีกนิดนึง ขจคท. หรือ จขคท หรือ อะไรสักอย่างเนี่ยแหละจำไม่ได้แล้วที่เขาชอบใช้กันตามกระทู้สนทนาอะไรเนี่ย มันแปลว่าอะไรคะ
หมายเหตุ : ตอนนี้คนเขียนกำลังเรียนอยู่ ม.4 ค่ะ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
คณะอักษรศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์

ทั้งสามคณะเป็นคณะเดียวกัน สอนศาสตร์ที่ก่อให้เกิดการจรรโลงใจของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น ภาษา วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ดนตรี ปรัชญา วัฒนธรรม อารยธรรม เป็นต้น

ชื่อที่แตกต่างกันตรงที่แต่ละมหาลัยจะเลือกใช้

มหาลัยที่เปิดสอนด้านมนุษยศาสตร์ก่อนเป็นที่แรก ๆจะใช้ชื่อว่า คณะอักษรศาสตร์ อันเป็นชื่อที่ค่อนข้างจะเป็นคำสมัยเก่าหน่อย เช่นเดียวกับ ครุศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ พาณิชยศาสตร์ เป็นต้น

ส่วนมหาวิทยาลัยสมัยหลัง ๆ จะเลือกใช้คำว่า คณะศิลปศาสตร์ ซึ่งแปลตามรากศัพท์ภาษาอังกฤษที่ว่า Arts หรือ Liberal Arts อันหมายถึงการศึกษาศิลปวิทยาการที่ผสมผสานและหลากหลาย บางมหาวิทยาลัยเลือกใช้คำตรง  ๆ ว่า คณะมนุษย์ศาสตร์ ซึ่งแปลตามรากศัพท์ภาษาอังกฤษที่ว่า Humanities ซึ่งจะเป็นคำที่กว้างและครอบคลุมศาสตร์ต่าง ๆ ในแขนงนี้ได้ดีกว่า

ตัวอย่างมหาลัยที่เปิดสอนด้านมนุษยศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.ศิลปากร (มีเพียงสองสถาบันนี้เท่านั้นที่ใช้ชื่อนี้)
คณะศิลปศาสตร์ คือ ม.ธรรมศาสตร์ ม.อัสสัมชัญ ม.มหิดล
คณะมนุษยศาสตร์ คือ ม.เกษตรศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ม.ขอนแก่น ม.เชียงใหม่ ม.บูรพา

บางมหาวิทยาลัยก็มีสองคณะอยู่ในมหาวิทยาลัยเดียว แต่อยู่สองวิทยาเขต เช่น ม.สงขลานครินทร์ มีทั้งคณะศิลปศาสตร์ (หาดใหญ่) กับคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ปัตตานี)

คณะอักษรศาสตร์/มนุษย์ศาสตร์/ศิลปศาสตร์  ใช้เวลาเรียนตามหลักสูตร 4 ปี

ซึ่งเนื้อหาที่เปิดสอนของคณะเหล่านี้จะแบ่งคร่าว ๆ ออกเป็น 2 ด้านคือ
1. ด้านภาษาศาสตร์ เช่น สาขาวิชาภาษาไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อาหรับ เป็นต้น
2. ด้านสังคมศาสตร์ เช่น โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ มนุษยวิทยา สื่อสารมวลชน (บางแห่งแยกเป็นอีกคณะ) รัฐศาสตร์ (บางแห่งแยกเป็นอีกคณะ) นิติศาสตร์ (บางแห่งแยกเป็นอีกคณะ)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่