(DIY) การติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) ที่บ้านด้วยตัวเอง ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ตอนที่ 1 (มี 2 ตอน)

กระทู้สนทนา
พอดีได้อ่านกระทู้ใน Facebook มีเรื่องที่น่าสนใจมากเกี่ยวกับการติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) ที่บ้านด้วยตัวเอง ในบทความไม่ได้ให้เราติดตั้งเองซะทีเดียว แต่ให้เรารู้บ้างจะดีกว่า เพราะถ้าคิดจะติดตั้งกล้องแบบทำเอง หรือให้ช่างทำ เราจะได้พอรู้บ้างและคุยกับช่างได้รู้เรื่อง เลยอยากนำมาฝากทุกท่านค่ะ หวังว่าคงจะมีประโยชน์นะค่ะ

สามารถดูได้ตาม Link ข้างล่างนี้ค่ะ (กดได้เลย) หรืออ่านตามข้างล่างนี้ก็ได้ค่ะ


การติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) ที่บ้านด้วยตัวเองไม่ใช้เรื่องยากอีกต่อไป โดยเลือกเทคนิคแบบที่ 1 ที่ใช้สาย LAN กับ Passive บาลัน (Balun) และเดินไฟแบบ 12 Volt ตอนที่ 1





  บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อให้ทุกท่านที่สนใจในเรื่องกล้องวงจรปิด (CCTV) แบบเบื้องต้น ได้เข้าใจในเรื่องกล้องวงจรปิดมากขึ้น ในเรื่องของส่วนประกอบกล้องวงจรปิด และการติดตั้งกล้องวงจรปิด ก่อนที่ท่านจะคิดติดตั้งกล้องวงจรปิดด้วยตัวเองที่บ้านเอง หรือจะให้ช่างเป็นผู้ติดตั้งก็ตาม หากแม้ท่านจะให้ช่างเป็นผู้ติดตั้งก็ตาม ท่านจะได้พอทราบขั้นตอนและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการติดตั้ง จะได้คุยกับช่างได้เข้าใจยิ่งขึ้น หรือแม้แต่ควบคุมให้ช่างติดตั้งกล้องวงจรปิดให้เรียบร้อยตามที่ท่านต้องการ ซึ่งในเนื้อหานี้จะไม่ได้กล่าวลงลึกทางเทคนิคเท่าใดนัก จะเป็นบทความที่เขียนเพื่อให้ท่านที่ไม่มีพื้นฐานทางช่าง ได้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
          การติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) โดยใช้เทคนิคแบบที่ 1 ที่ใช้สาย LAN กับ Passive บาลัน (Balun) และเดินไฟแบบ 12 Volt นั้น เป็นวิธีการติดตั้งด้วยสาย ที่ง่าย สะดวกรวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด แต่คุณภาพก็อยู่ในระดับที่พอรับได้ โดยที่อุปกรณ์หลักที่ใช้คือ

1. สาย LAN (Local Area Network)
2. ชุดกล้องวงจรปิด (CCTV) ซึ่งประกอบไปด้วย
          * ตัวกล้องวงจรปิด (CCTV Camera)
          * เครื่องบันทึก หรือเรียกว่า DVR (Digital Video Recorder)

3. Passive บาลัน (Passive Balun:  balanced-unbalanced)
4. ชุดไฟเลี้ยง 12 Volt สำหรับกล้องวงจรปิด (CCTV Power) ซึ่งประกอบไปด้วย
         * หัว Power 12 Volt DC ตัวผู้ (Male 12 Volt DC Plug)
         * หัว Power 12 Volt DC ตัวเมีย (Female 12 Volt DC Jack)
         * Adapter ไฟเลี้ยงกล้อง 12 Volt DC สำหรับกล้องวงจรปิดแบบ Switching


1. สาย  LAN  (Local Area Network)

สาย LAN (Local Area Network) ก็คือสายคอมพิวเตอร์ดีๆ นี่เอง เราจะใช้สาย LAN ในแบบ CAT5e ธรรมดา หรือจะให้ดีหน่อยก็แบบ CAT6 ก็ได้ แต่ใช้แบบ CAT5e ก็เพียงพอแล้ว ซึ่งภายในสายทั้ง 2 ประเภท มีสายเล็กๆ พันกันแบบตีเกลียวเป็นคู่ๆ อยู่จำนวน 4 คู่ คือ
a. คู่สีส้ม (สายสีส้ม, สายสีขาวส้ม)          
b. คู่สีน้ำเงิน (สายสีน้ำเงิน, สายสีขาวน้ำเงิน)
c. คู่สีเขียว (สายสีเขียว, สายสีขาวเขียว)
d. คู่สีน้ำตาล (สายสีน้ำตาล, สายสีขาวน้ำตาล) รวมทั้งสิ้นมี 8 เส้นใน 1 สาย  


คู่สีในสาย LAN ตามมาตรฐานทั่วไป


ท่านสามารถไปถามที่ร้านไอที หรือถามช่างก็ได้ ที่ร้านไอทีและช่างจะเข้าใจดีว่าสายแบบ CAT5e และ สายแบบ CAT6 แตกต่างกันอย่างไร: ผมจะอธิบายสั้นๆ ว่า สาย CAT6 จะมีขนาดของสายทองแดงที่ใหญ่กว่าสาย CAT5e ทำให้การนำสัญญาณหรือนำไฟฟ้าดีกว่าสาย CAT5e และสายแบบ CAT6 ก็มีการป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีกว่าและมีฉนวนตรงแกนกลาง แต่ค่าใช้จ่ายก็แพงกว่าเช่นกัน

ความแตกต่างระหว่างสาย LAN แบบ CAT5e และ CAT6


ท่านยังสามารถหาซื้อสาย LAN ได้ตามร้านไอทีทั่วๆ ไป ได้ เช่นกัน ซึ่งโดยปกติ ทางร้านสามารถแบ่งขายให้ท่านเป็นเมตร ขายเป็นขด ขดละ 100 เมตร หรือขายเป็นกล่อง กล่องละ 305 เมตร (1000 ฟุต) ตามที่ท่านต้องการซึ่งมีราคาที่หลากหลายตามงบประมาณของท่าน

สาย LAN ขายเป็นแบบยกกล่อง


นอกจากนี้ท่านสามารถเลือกใช้สาย LAN ในแบบสาย LAN ชนิดภายใน (indoor) หรือสาย LAN ชนิดภายนอก (Outdoor) ก็ได้ ถ้าท่านใช้สาย LAN ชนิดภายใน (Indoor) เพื่อเดินไปนอกอาคาร ท่านอาจจะต้องใส่ท่อ PVC ป้องกันสายที่ต้องตากแดดตากฝนก็จะทำให้สายทนทานดียิ่งขึ้น ส่วนสาย LAN ชนิดภายนอก (Outdoor) ไม่จำเป็นต้องใส่ท่อ PVC ป้องกันสาย เพราะถูกออกแบบมาให้ทนแดดทนฝนอยู่แล้ว

สาย LAN ยังแบ่งออกเป็นแบบ ภายในและภายนอก


ในบางกรณีก็อาจจะใส่ท่อ PVC ไปเลยไม่ว่าจะเลือกสาย LAN ชนิดภายใน (indoor) หรือ ชนิดภายนอก (Outdoor) เพื่อความสวยงาม เรียบร้อยและความทดทานยิ่งขึ้น ในการติดตั้งได้เช่นกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณและความต้องการของแต่ละท่าน ซึ่งทุกประเภทของสาย LAN สามารถใช้ได้เหมือนกันต่างกันแค่เรื่องการลดสัญญาณรบกวนเท่านั้น

ติดตั้งท่อ PVC เพื่อความสวยงามและคงทนยิ่งขึ้น


2. ชุดกล้องวงจรปิด (CCTV: Closed-Circuit TV)

ชุดกล้องวงจรปิด (CCTV) โดยทั่วไป


ชุดกล้องวงจรปิด (CCTV) ประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลักๆ อยู่ 2 ส่วนคือ
      * ตัวกล้อง (CCTV Camera)
      * เครื่องบันทึก (DVR: Digital Video Recorder)
       ชุดกล้องวงจรปิด (CCTV) ในตลาดมีให้เลือกมากมายหลายระบบ หลายยี่ห้อ ระบบของกล้องวงจรปิด (CCTV) ที่ใช้การติดตั้งในแบบที่ 1 (ติดตั้งด้วยสาย LAN และ Passive บาลัน balun) ได้ คือ ระบบกล้องในกลุ่ม Analog เช่น Analog TVL (ภาพแบบ Analog), Analog HD-CVI (ภาพแบบ HD), Analog HD-TVI (ภาพแบบ HD),  Analog HD-AHD (ภาพแบบ HD) และอื่นๆ อีกมากมาย ส่วนยี่ห้อ ก็มีหลายยี่ห้อมากมาย ซึ่งกล้องวงจรปิด (CCTV) ที่จะติดตั้งในแบบที่ 1 (ติดตั้งด้วยสาย LAN และบาลัน balun) ต้องเป็นระบบกล้องในกลุ่ม analog เท่านั้น ซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน อันเนื่องมาจากราคาไม่แพง และได้ภาพที่มีคุณภาพสูงพอควร(กล้องระบบ IP ไม่สามารถใช้การติดตั้งในแบบนี้ได้)  ในเรื่องของกล้องวงจรปิด (CCTV) ผมจะไม่กล่าวถึงมากนัก เนื่องด้วยมีบทความในอินเตอร์เน็ตมากมายอยู่แล้ว แต่ผมจะเน้นเรื่องการติดตั้งกล้องวงจรปิดอย่างง่าย ด้วยเทคนิคแบบที่ 1 ด้วยสาย LAN และ บาลัน (balun) เป็นหลัก

หมายเหตุ: เมื่อท่านเลือกระบบกล้องแบบใดแล้ว ทั้งตัวกล้อง (CCTV Camera) และเครื่องบันทึก (DVR) ต้องเป็นระบบเดียวกัน มิฉะนั้นระบบจะไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ หรือทำงานไม่ได้เลย คุณภาพของภาพที่ได้จากกล้องวงจรปิด ขึ้นอยู่กับงบประมาณของท่าน ซึ่งสาย LAN และ Passsive บาลัน (Balun) สามารถรองรับระบบดังกล่าวที่กล่าวมาได้แน่นอน                
          สำหรับเครื่องบันทึก DVR ในกลุ่มนี้ มีให้เลือกหลายรุ่น ทั้งแบบรองรับ 4 กล้อง, 8 กล้อง, 9 กล้อง, 16 กล้อง และอื่นๆ  

คุณภาพของภาพจากกล้องวงจรปิดในระบบต่างๆ (Passive บาลันรองรับได้)


ตัวกล้องวงจรปิด (CCTV Camera)

ส่วนประกอบหลักๆ ของตัวกล้องวงจรปิด (CCTV Camera)



ส่วนประกอบของสายของตัวกล้อง (CCTV Camera) หลักๆ มีอยู่ 2 สายคือ
  - สายสัญญาณ ตัวหัวสัญญาณจะมีลักษณะมี 2 เขี้ยวเพื่อไว้ล็อคกับสายที่มาต่อด้วย เรียกว่าหัวแบบ BNC (Bayonet Neill Concelman) แบบตัวเมีย (Female BNC)
  - สายไฟเลี้ยง ไฟเลี้ยงของกล้องจะใช้ไฟเลี้ยง 12 Volt DC กินกระแสตั้งแต่ 0.5 A – 1A แล้วแต่ประเภทของกล้อง ซึ่งหัวไฟเลี้ยงนี้จะมีลักษณะเป็นหัวต่อแบบตัวเมีย (Female 12 Volt DC)

หมายเหตุ: โดยปกติแล้ว สายสัญญาณที่ใช้ในการติดตั้งจากตัวกล้อง ไปยังเครื่องบันทึก DVR จะใช้สายสัญญาณประเภท RG6 (Radio Guide 6) ซึ่งเป็นสายสีดำ (จะไม่ขอกล่าวถึง) ซึ่งสายRG6 จะใช้สำหรับการติดตั้งกล้องวงจรปิดโดยทั่วไป
          สาย RG6 ดังกล่าวมีขนาดใหญ่กว่า สาย LAN และการติดตั้ง จะติดตั้งในลักษณะ 1 สายต่อ 1 กล้อง ทำให้ต้องใช้สายเป็นจำนวนที่มากกว่า



3. Passive บาลัน (Passive Balun: Balunced-unbalanced)


Passive บาลัน แบบทั่วๆ ไป


Passive บาลัน (Passive Balun:  balanced-unbalanced) คืออุปกรณ์ในการแปลงระหว่างระบบสมดุล และระบบไม่สมดุล โดยไม่ต้องใช้ไฟเลี้ยง ซึ่งถ้าจะอธิบายทางเทคนิคก็คงจะอธิบายได้เป็นหน้า ทั้งนี้ผมจะขออธิบายง่ายๆ สั้นๆ คือตัว Passive บาลัน (Balun) คือตัวแปลงจากสาย RG6 เป็น สาย LAN นั่นเอง หรือใช้สาย LAN ในการติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) ถ้าออกแบบดีๆ สาย LAN แค่ 1 เส้นอาจจะสามารถต่อกล้องได้ถึง 4 ตัวเลยทีเดียว  
            ซึ่งถ้าเราใช้สาย RG6 (Radio Guide 6) ก็ต้องใช้สายถึง 4 เส้น ทำให้การติดตั้งกล้องวงจรปิดด้วยสาย LAN จึงมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าการติดตั้งด้วยสาย RG6 เนื่องด้วยประหยัดกว่านั่นเอง (หมายเหตุ: *แต่การติดตั้งด้วยสาย LAN ถ้าติดตั้งไม่ดี อาจพบสัญญาณรบกวนได้มากกว่าการติดตั้งด้วยสาย RG6 (Radio Guide 6) จึงไม่แนะนำให้ติดตั้งในสถานที่มีสัญญาณรบกวนสูง เช่น ใกล้เสาไฟฟ้า ใกล้รางสายไฟฟ้า เป็นต้น อีกสาเหตุหนึ่งก็คือการเชื่อมต่อกับบาลันกับสาย LAN มีการเชื่อมต่อที่ไม่ดี ทำให้สัญญาณอาจจะมีคลื่นรบกวนได้เช่นกัน

สัญญาณรบกวนเมื่อเชื่อมต่อโดยใช้บาลัน


หมายเหตุ: Passive บาลันรุ่นดีๆ สามารถเชื่อมต่อกับกล้องได้ไกลกว่า 800 เมตรทีเดียว

ตัว Passive บาลัน (Balun) จะมี 2 ด้าน คือ ด้านเชื่อมกับสาย LAN (มีขั่วบวก + และ ขั่วลบ -) กับด้านเชื่อต่อกับตัวกล้องหรือเครื่องบันทึก DVR จะเป็นหัว BNC แบบตัวผู้ (Male BNC) ซึ่งในตลาดมีให้เลือกหลายยี่ห้อหลายราคา แต่องค์ประกอบหลักๆ ก็มีดังที่บอก

ส่วนประกอบหลักๆ ของ Passive บาลัน


วิธีการต่อก็ง่ายแสนง่าย เมื่อต้องการต่อกับตัวกล้อง (CCTV Camera) เข้ากับเครื่องบันทึก DVR เราจะใช้Passive บาลัน (Balun) จำนวน 2 ตัว สำหรับกล้อง 1 ตัว คือ บาลันตัวที่ 1 เอาไว้ต่อกับด้านตัวกล้อง และบาลันตัวที่ 2 เอาไว้ต่อกับด้านเครื่องบันทึก DVR โดยมีขั้นตอนดังนี้

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่