การบรรจุพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติในประเทศไทย

ในสมัยพุทธกาล
        ในพระพุทธศาสนา สัทธา เป็น ความเชื่อ เรื่อง กรรม ที่พิจารณาเห็นว่า เหตุของการกระทำเป็นอย่างไร ผลของการกระทำย่อมเป็นอย่างนั้น พระมหากษัตริย์ในสมัย พุทธกาล มีสถานะ เป็นศูนย์รวมทั้ง หลักนิติรัฐ และหลักนิติธรรม เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ อริยสัจสี่ ประกาศ
พระศาสนา  พระมหากษัตริย์ที่ทรง สัทธา ในพระธรรมคำสอน ก็แสดงตนเป็น ผู้สัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
    
     ...สัทธา เป็นสิ่งที่แสดงถึง ธรรม ที่เป็นความจริงที่ถูกค้นพบ  บน พื้นฐานของ สิทธิ เสรีภาพ เป็นสภาวะปัญญาในการเชื่อ โดยเหตุและผล
สัทธา ไม่สามารถตั้งอยู่บนสภาวะลักษนะของอำนาจ เพราะเมื่ออำนาจล่มสลาย สัทธานั้นจะตั้งอยู่ไม่ได้ แต่สัทธาที่ตั้งอยู่บนสภาวะทางปัญญา ที่เชื่อโดยเหตุและผล  ตามความเป็นจริง ไม่สามารถเสื่อมสลายได้ในบุคคลนั้น เพราะความจริงโดยเหตุและผลตามความเป็นจริงจะอยู่กับบุคคลนั้นตลอดไป

  ในที่ๆใดที่มี สิทธิ เสรีภาพ ซึ่งเป็นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ พระพุทธศาสนา ก็จะเจริญรุ่งเรืองงอกงามในสถานที่แห่งนั้น  ตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึงปัจจุบัน พระพุทธศาสนาสืบทอดมา  700 กว่าปี  โดย มีคำว่า สัทธา  สั่งสมประสบการณ์ส่งต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน  จะเห็นว่า  สัทธา ทรงพลังยิ่งกว่ากฏหมาย  

การบรรจุพระพุทธศาสนา เป็น ศาสนาประจำชาติ เป็น การกระทำที่ สะท้อนสภาวะ สัทธา  ใน บริบท ทาง ปัญญา หรือ อำนาจ ในความหมายของ บุคคล คณะบุคคล   หาก ศรัทธา ที่บรรจุพระพุทธศาสนา สะท้อนสภาวะของอำนาจ  อลัชชี เดียร์ถี ที่มีอำนาจ ก็จะแสวงหาหนทาง ที่เป็นไปเพื่ออำนาจ ในรูปแบบต่างๆ ที่ไม่ยึดถือความเป็นจริง โดย เหตุและผลที่ถูกต้องชอบธรรม
  เช่น เมื่อ บัญญัติพระพุทธศาสนาเป็น ศาสนาประจำชาติแล้ว  เราจะต้านทานกลุ่มบุคคล ที่แสวงหาอำนาจ นำวิทยาศาสตร์เข้ามาเป็นเครื่องมือในการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับ แนวความคิดของพวกเขาเพื่อเป็นหนทาง เข้าสู่อำนาจ อย่างไร
  
                                 "สัทธา"  โดยเหตุและผล ตามความเป็นจริงเท่านั้น ที่วิทยาศาสตร์ ก็ไม่อาจชี้นำได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่