การกำหนดหมายเลขเรือรบไทย ในปัจจุบัน.... แล้วถ้าไทยเราต้องประจำการด้วยยานขนาดเรือจักรี แต่มันบินได้จะใช้ เลขอะไร
หมายเลขเรือ ( Hull Number )
หมายเลขตัวเรือ (Hull number) จะถูกเขียนไว้ที่หัวเรือ (ในเรือดำน้ำ หมายเลขตัวเรือจะเขียนไว้บริเวณหอกล้องตาเรือ) หมายเลขตัวเรือจะช่วยยืนยันรูปพรรณของเรือ คำนี้ใช้อีกอย่างหนึ่งได้ว่า "bow number"
หมายเลขหลักที่ 1 แสดงประเภทของเรือ
มี 9 ประเภท เรียงตามหมายเลข ได้แก่
เรือบัญชาการและสนับสนุนการยกพลขึ้นบก (amphibious command and support ship)
เรือดำน้ำ ( submarine )
เรือเร็วโจมตี ( fast attack craft)
เรือพิฆาต เรือฟริเกต และเรือคอร์เวต ( destroyer, frigate and corvette )
เรือตรวจการณ์ (patrol vessel)
เรือสงครามทุ่นระเบิด (mine ship)
เรือยกพลขึ้นบก (landing ship)
เรืออุทกศาสตร์ เรือช่วยรบ และเรือประเภทอื่นๆ
เรือบรรทุก เครื่องบิน/เฮลิคอปเตอร์ (aircraft/helicopter carrier)
หมายเลขหลักที่ 2 แสดงชั้นของเรือ
โดยนับจากลำดับเรือที่ต่อเสร็จและปล่อยลงน้ำก่อนของแต่ละชั้น เช่น เรือประจัญบานไอโอวา ซึ่งเป็นเรือลำแรกของชั้น ไอโอวา เป็นต้น ส่วนเรือที่มีชั้นใกล้เคียงกัน จะได้พิจารณารวมไว้ในชั้นเดียวกัน
หมายเลขหลักที่ 3 และ 4 แสดงลำดับที่ของเรือ
โดยนับจากเรือที่ต่อเสร็จและปล่อยลงน้ำก่อน เริ่มจากลำดับที่ 1 เรียงต่อไปตามลำดับ ในกรณีที่มีเรือในชั้นเดียวกัน มีมากกว่า 9 ลำ หมายเลขเรือจะเพิ่มเป็น 4 ตัว
การตั้งชื่อเรือรบไทย
แบ่งเป็น 8 ชนิด ดังนี้
เรือพิฆาต ตั้งตามชื่อตัว ชื่อบรรดาศักดิ์ หรือชื่อสกุลของบุคคลที่เป็นวีรบุรุษของชาติ
เช่น เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย เรือหลวงนเรศวร เป็นต้น
เรือฟริเกต และเรือคอร์เนต ตั้งตามชื่อแม่น้ำ และลำน้ำสายสำคัญ เช่น เรือหลวงเจ้าพระยา เรือหลวงบางปะกง เรือหลวงท่าจีน เป็นต้น
เรือเร็วโจมตี แบ่งเป็น 2 ชนิดย่อยได้แก่
3.1 เรือเร็วโจมตี (อาวุธนำวิถี) ตั้งตามชื่อเรือรบในทะเลในสมัยโบราณ ที่มีความหมาย เหมาะสมแก่หน้าที่ ของเรือนั้นๆ เช่น เรือหลวงราชฤทธิ์ เรือหลวงวิทยาคม เรือหลวงอุดมเดช เป็นต้น
3.2 เรือเร็วโจมตี (ปืน) และเรือเร็วโจมตี (ตอร์ปิโดร์) ตั้งตามชื่อจังหวัดชายทะเล เช่น เรือหลวงภูเก็ต เรือหลวงสงขลา เรือหลวงชลบุรี เป็นต้น
4. เรือดำน้ำ ตั้งตามชื่อผู้มีอิทธิฤกธิ์ ในนิยายหรือวรรณคดี เช่น เรือหลวงมัจฉานุ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร เรือหลวงชายชุมพล เป็นต้น
5. เรือทุ่นระเบิด ตั้งตามชื่อสมรภูมิที่สำคัญ เช่น เรือหลวงโพสามต้น เรือหลวงดอนเจดีย์ เรือหลวงลาดหญ้า เรือหลวงท่าดินแดง
เรือหลวงบางแก้ว เป็นต้น
6. เรือยกพลขึ้นบก เรือลำเลียง และเรือลากจูง ตั้งตามชื่อเกาะ เรือหลวงสีชัง เรือหลวงสุรินทร์
เรือหลวงพระทอง เรือหลวงพงัน เรือหลวงลันดา เป็นต้น
7. เรือตรวจการณ์ (ปืน) ตั้งตามชื่อหัวเมืองชายทะเล เช่น เรือหลวงหัวหิน เรือหลวงแกลง เรือหลวงศรีราชา เรือหลวงตากใบ เป็นต้น
8. เรือตรวจการณ์ (ปราบเรือดำน้ำ) ตั้งตามชื่อเรือรบในลำน้ำ สมัยโบราณ ที่มีความหมาย เหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้นๆ เช่น เรือหลวงคำรณสินธ์ เรือหลวงทยานชล เรือหลวงล่องลน เป็นต้น
9. เรือสำรวจ ตั้งตามชื่อดาวที่สำคัญ เช่น เรือหลวงสุริยะ เรือหลวงจันทร เรือหลวงศุกร์ เป็นต้น
10. เรือหน้าที่พิเศษ ตั้งชื่อด้วยถ้อยคำที่มีความหมาย เหมาะสมแก่หน้าที่ ของเรือนั้นๆ
บางลำไม่คุณชื่อ รู้แต่ว่าชื่อฟังแล้วเพราะดี ใช่มั้ยครับ
ส่วนเรื่อง การมีเรือรบชั้นใหม่ เข้าประจำการ เรือบรรทุกเครื่องบินจริงๆ
หรือแม้กระทั้งการสร้างยานอวกาศ ที่ใช้เป็นยานรบ เมื่อประเทศไทยต้องปกป้องผลประโยชน์ทางทะเล
ทางน่านฟ้า น่านอวกาศ ก็อย่าคิดว่าเป็นไปไม่ได้ เทคโนโลยีวันนี้ก้าวหน้าไปมาก การไล่ตามเกาะทิศทิศทางเทตโนโลโลยีของโลก
และบริหารจัดการเงินไหลเข้าออกประเทศ รวมถึงตลาดทุน ตลาดเงิน ประเทศไทยเคยพร้อมรับมือ เตรียมแผนรับมือหรือไม่
หรือคนไทยมัวแต่คิดว่า มันเป็นไปไม่ได้หรอก จะคิดทำไมให้ปวดสมอง คิดแค่วันนี้นิละ
จะไปวางแผนอะไรมากมาย ประเทศไทยขายข้าว ขายยาง รับจ้างประกอบรถยนต์มา 40 ปีละ และสั่งน้ำมันเข้ามาใช้
คิดแค่นี้พอละ. จะไปคิดวางแผนอะไรให้วุ่นวาย ทำแบบเดิมๆๆๆๆ ไปเรื่อยๆอีก 10 20 30 ปีหรือ
ถ้าคนไทยส่วนใหญ่ยังคิดว่าประเทศไทยทำไม่ได้ ประเทศเราไม่มีวันจะหลุดพ้นจากการเป็นประเทศด้วยพัฒนาได้เลย
แต่คนไทยส่วนมากชอบคิดว่าเราเจริญแล้ว เพราะดูว่าเรามีเงินซื้อไอโฟนใหม่รุ่นล่าสุด ไปต่อคิวกันซื้อบางคนจ้างคนหิ้วมาจากต่างประเทศ
เพื่อจะเอามาโชว์ว่ามีไอโฟนใช้คนแรกของประเทศไทย
แต่พอพูดถึงเรื่องรถยนตแห่งชาติ ผลิตรถถังเอง เครื่องบินเอง. คนจะบอกว่าทำทำไม ซื้อเอาละดีแล้ว ทำไปจะคุ้มหรือทำแล้วสู้เค้าได้มั้ยย
ซึ่งถ้าถามตอบ มาแบบนี้ ผมก็อยากจะถามเหมือนกันว่า
จีน จีน ที่ราชวงศ์แมนจูล่มไป และเป็นประเทศที่โดนรุกราน และสู้ใครแทบจะไม่ได้เลยในสงครามโลกครั้งที่ 2
ทำไมเค้าถึงทำได้ รับจ้างไอโฟน สมาร์ทโฟนต่างๆ และทำมาขายได้ในแบรนด์ตัวเอง
รถยนต์ รถถัง เครื่องบินรบ เรือรบ จีนทำได้เอง... ทำไมเค้าถึงคิดที่จะเริ่มทำ ทั้งที่เค้าพึ่งมาเริ่มพัฒนาประเทศหลังไทยเกือบ 50 ปี
อย่าคิดว่า เรือจักรีนฤเบศร จะเป็นเรื่อบรรทุก เฮเริคอปเตอร์ ( เครื่องบิน ) ลำแรกและลำเดียวของกองทัพเรือไทย
อาจจะมี ลำที่ 3 4 มาอีกก็ได้ ถ้าโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยเปลี่ยนไป และเราต้องปกป้องผลประโยชน์ของชาติมากขึ้น
แต่ถ้าคิดว่า อยู่แบบนี้ไปวันๆ คนรวยก็รวยขึ้น รวยการการโกงประเทศ ทำธุรกิจผูกขาด และขัดขากันเองไม่ให้ประเทศไทยเดินหน้า
ไม่ยอมให้ชาติเจริญ ไม่ยอมให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้วยตัวเอง แต่คิดจะซื้อมาใช้อย่างเดียว... เราก็คงอยู่กับที่ และประัเทศรอบๆเรา
แซงหน้าประเทศไป
_________________________________________
อ้างอิง
http://www.rtna.ac.th/article/article05.pdf
___________________________________
การกำหนดหมายเลขเรือรบไทย ในปัจจุบัน.... แล้วถ้าไทยเราต้องประจำการด้วยยานขนาดเรือจักรี แต่มันบินได้จะใช้ เลขอะไร
หมายเลขเรือ ( Hull Number )
หมายเลขตัวเรือ (Hull number) จะถูกเขียนไว้ที่หัวเรือ (ในเรือดำน้ำ หมายเลขตัวเรือจะเขียนไว้บริเวณหอกล้องตาเรือ) หมายเลขตัวเรือจะช่วยยืนยันรูปพรรณของเรือ คำนี้ใช้อีกอย่างหนึ่งได้ว่า "bow number"
หมายเลขหลักที่ 1 แสดงประเภทของเรือ
มี 9 ประเภท เรียงตามหมายเลข ได้แก่
เรือบัญชาการและสนับสนุนการยกพลขึ้นบก (amphibious command and support ship)
เรือดำน้ำ ( submarine )
เรือเร็วโจมตี ( fast attack craft)
เรือพิฆาต เรือฟริเกต และเรือคอร์เวต ( destroyer, frigate and corvette )
เรือตรวจการณ์ (patrol vessel)
เรือสงครามทุ่นระเบิด (mine ship)
เรือยกพลขึ้นบก (landing ship)
เรืออุทกศาสตร์ เรือช่วยรบ และเรือประเภทอื่นๆ
เรือบรรทุก เครื่องบิน/เฮลิคอปเตอร์ (aircraft/helicopter carrier)
หมายเลขหลักที่ 2 แสดงชั้นของเรือ
โดยนับจากลำดับเรือที่ต่อเสร็จและปล่อยลงน้ำก่อนของแต่ละชั้น เช่น เรือประจัญบานไอโอวา ซึ่งเป็นเรือลำแรกของชั้น ไอโอวา เป็นต้น ส่วนเรือที่มีชั้นใกล้เคียงกัน จะได้พิจารณารวมไว้ในชั้นเดียวกัน
หมายเลขหลักที่ 3 และ 4 แสดงลำดับที่ของเรือ
โดยนับจากเรือที่ต่อเสร็จและปล่อยลงน้ำก่อน เริ่มจากลำดับที่ 1 เรียงต่อไปตามลำดับ ในกรณีที่มีเรือในชั้นเดียวกัน มีมากกว่า 9 ลำ หมายเลขเรือจะเพิ่มเป็น 4 ตัว
การตั้งชื่อเรือรบไทย
แบ่งเป็น 8 ชนิด ดังนี้
เรือพิฆาต ตั้งตามชื่อตัว ชื่อบรรดาศักดิ์ หรือชื่อสกุลของบุคคลที่เป็นวีรบุรุษของชาติ
เช่น เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย เรือหลวงนเรศวร เป็นต้น
เรือฟริเกต และเรือคอร์เนต ตั้งตามชื่อแม่น้ำ และลำน้ำสายสำคัญ เช่น เรือหลวงเจ้าพระยา เรือหลวงบางปะกง เรือหลวงท่าจีน เป็นต้น
เรือเร็วโจมตี แบ่งเป็น 2 ชนิดย่อยได้แก่
3.1 เรือเร็วโจมตี (อาวุธนำวิถี) ตั้งตามชื่อเรือรบในทะเลในสมัยโบราณ ที่มีความหมาย เหมาะสมแก่หน้าที่ ของเรือนั้นๆ เช่น เรือหลวงราชฤทธิ์ เรือหลวงวิทยาคม เรือหลวงอุดมเดช เป็นต้น
3.2 เรือเร็วโจมตี (ปืน) และเรือเร็วโจมตี (ตอร์ปิโดร์) ตั้งตามชื่อจังหวัดชายทะเล เช่น เรือหลวงภูเก็ต เรือหลวงสงขลา เรือหลวงชลบุรี เป็นต้น
4. เรือดำน้ำ ตั้งตามชื่อผู้มีอิทธิฤกธิ์ ในนิยายหรือวรรณคดี เช่น เรือหลวงมัจฉานุ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร เรือหลวงชายชุมพล เป็นต้น
5. เรือทุ่นระเบิด ตั้งตามชื่อสมรภูมิที่สำคัญ เช่น เรือหลวงโพสามต้น เรือหลวงดอนเจดีย์ เรือหลวงลาดหญ้า เรือหลวงท่าดินแดง
เรือหลวงบางแก้ว เป็นต้น
6. เรือยกพลขึ้นบก เรือลำเลียง และเรือลากจูง ตั้งตามชื่อเกาะ เรือหลวงสีชัง เรือหลวงสุรินทร์
เรือหลวงพระทอง เรือหลวงพงัน เรือหลวงลันดา เป็นต้น
7. เรือตรวจการณ์ (ปืน) ตั้งตามชื่อหัวเมืองชายทะเล เช่น เรือหลวงหัวหิน เรือหลวงแกลง เรือหลวงศรีราชา เรือหลวงตากใบ เป็นต้น
8. เรือตรวจการณ์ (ปราบเรือดำน้ำ) ตั้งตามชื่อเรือรบในลำน้ำ สมัยโบราณ ที่มีความหมาย เหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้นๆ เช่น เรือหลวงคำรณสินธ์ เรือหลวงทยานชล เรือหลวงล่องลน เป็นต้น
9. เรือสำรวจ ตั้งตามชื่อดาวที่สำคัญ เช่น เรือหลวงสุริยะ เรือหลวงจันทร เรือหลวงศุกร์ เป็นต้น
10. เรือหน้าที่พิเศษ ตั้งชื่อด้วยถ้อยคำที่มีความหมาย เหมาะสมแก่หน้าที่ ของเรือนั้นๆ
บางลำไม่คุณชื่อ รู้แต่ว่าชื่อฟังแล้วเพราะดี ใช่มั้ยครับ
ส่วนเรื่อง การมีเรือรบชั้นใหม่ เข้าประจำการ เรือบรรทุกเครื่องบินจริงๆ
หรือแม้กระทั้งการสร้างยานอวกาศ ที่ใช้เป็นยานรบ เมื่อประเทศไทยต้องปกป้องผลประโยชน์ทางทะเล
ทางน่านฟ้า น่านอวกาศ ก็อย่าคิดว่าเป็นไปไม่ได้ เทคโนโลยีวันนี้ก้าวหน้าไปมาก การไล่ตามเกาะทิศทิศทางเทตโนโลโลยีของโลก
และบริหารจัดการเงินไหลเข้าออกประเทศ รวมถึงตลาดทุน ตลาดเงิน ประเทศไทยเคยพร้อมรับมือ เตรียมแผนรับมือหรือไม่
หรือคนไทยมัวแต่คิดว่า มันเป็นไปไม่ได้หรอก จะคิดทำไมให้ปวดสมอง คิดแค่วันนี้นิละ
จะไปวางแผนอะไรมากมาย ประเทศไทยขายข้าว ขายยาง รับจ้างประกอบรถยนต์มา 40 ปีละ และสั่งน้ำมันเข้ามาใช้
คิดแค่นี้พอละ. จะไปคิดวางแผนอะไรให้วุ่นวาย ทำแบบเดิมๆๆๆๆ ไปเรื่อยๆอีก 10 20 30 ปีหรือ
ถ้าคนไทยส่วนใหญ่ยังคิดว่าประเทศไทยทำไม่ได้ ประเทศเราไม่มีวันจะหลุดพ้นจากการเป็นประเทศด้วยพัฒนาได้เลย
แต่คนไทยส่วนมากชอบคิดว่าเราเจริญแล้ว เพราะดูว่าเรามีเงินซื้อไอโฟนใหม่รุ่นล่าสุด ไปต่อคิวกันซื้อบางคนจ้างคนหิ้วมาจากต่างประเทศ
เพื่อจะเอามาโชว์ว่ามีไอโฟนใช้คนแรกของประเทศไทย
แต่พอพูดถึงเรื่องรถยนตแห่งชาติ ผลิตรถถังเอง เครื่องบินเอง. คนจะบอกว่าทำทำไม ซื้อเอาละดีแล้ว ทำไปจะคุ้มหรือทำแล้วสู้เค้าได้มั้ยย
ซึ่งถ้าถามตอบ มาแบบนี้ ผมก็อยากจะถามเหมือนกันว่า
จีน จีน ที่ราชวงศ์แมนจูล่มไป และเป็นประเทศที่โดนรุกราน และสู้ใครแทบจะไม่ได้เลยในสงครามโลกครั้งที่ 2
ทำไมเค้าถึงทำได้ รับจ้างไอโฟน สมาร์ทโฟนต่างๆ และทำมาขายได้ในแบรนด์ตัวเอง
รถยนต์ รถถัง เครื่องบินรบ เรือรบ จีนทำได้เอง... ทำไมเค้าถึงคิดที่จะเริ่มทำ ทั้งที่เค้าพึ่งมาเริ่มพัฒนาประเทศหลังไทยเกือบ 50 ปี
อย่าคิดว่า เรือจักรีนฤเบศร จะเป็นเรื่อบรรทุก เฮเริคอปเตอร์ ( เครื่องบิน ) ลำแรกและลำเดียวของกองทัพเรือไทย
อาจจะมี ลำที่ 3 4 มาอีกก็ได้ ถ้าโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยเปลี่ยนไป และเราต้องปกป้องผลประโยชน์ของชาติมากขึ้น
แต่ถ้าคิดว่า อยู่แบบนี้ไปวันๆ คนรวยก็รวยขึ้น รวยการการโกงประเทศ ทำธุรกิจผูกขาด และขัดขากันเองไม่ให้ประเทศไทยเดินหน้า
ไม่ยอมให้ชาติเจริญ ไม่ยอมให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้วยตัวเอง แต่คิดจะซื้อมาใช้อย่างเดียว... เราก็คงอยู่กับที่ และประัเทศรอบๆเรา
แซงหน้าประเทศไป
_________________________________________
อ้างอิง
http://www.rtna.ac.th/article/article05.pdf
___________________________________