วันนี้พาชม แสงยานุภาพของเรือลำที่ 3 ในการครอบครองของผม รหัส BB 63 “_ ” เรือประจัญบานมิสซูรี่
เรือรบลำที่สาม ในชีวิตของผม
ลำแรก ยามาโต้
ลำที่ สอง บิสมาร์ส ซึ่งทั้งสองลำถูกจำหน่ายออกเป็นชิ้นส่วยไปแล้ว เพราะผ่านมา 27 ปีละ
ส่วนลำนี้ เป็นเรือรบลำที่สาม ของผม ชื่อของมันคือ มิสซูรี่ BB 63
...และมันก็โยงมาถึงเรืองค่าใช้จ่ายในการดูแลบำรุงรักษาเรือด้วย
อย่าง ทร.ไทย กำลังพล 70000 นาย ค่าจ่ายเงินเดือน ค่าซื้ออาวุธ ค่าต่อเรือลำใหม่ ค่าบำรุงรักษาอีก
อยู่กันมาจะ 27 ปีละ.. แต่ไม่ค่อยได้ไปบ้านหลังนี้ สภาพก็อย่างที่เห็น
เรือบรรทุกเครื่องบิน ยอร์คทาวน์ ก็สภาพพอๆกัน
เรือประจัญบานมิสซูรี (USS Missouri (BB-63))
เรือประจัญบานมิสซูรีเป็นหนึ่งในเรือประจัญบานชั้นไอโอวา เรือประจัญบานเคลื่อนที่เร็วที่ใช้ในภารกิจคุ้มครองเรือบรรทุกเครื่องบิน ของปฏิบัติการณ์รบด้านมหาสมุทรแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง เรือประจัญบานชั้นนี้วางแผนสร้างทั้งหมด 6 ลำประกอบด้วย
USS Iowa (BB-61) , USS New Jersey (BB-62), USS Missouri (BB-63), USS Wisconsin (BB-64), USS Illinois (BB-65) , USS Kentucky (BB-66)
เรือประจัญบานมิสซูรีถูกลำดับสร้างเป็นลำดับที่สามก็จริง แต่การสร้างกลับล่าช้ากว่าเรือประจัญบานวิสคอนซิน
และเรือประจัญบานตั้งแต่รหัส BB-65 ขึ้นไปถูกยกเลิก ทำให้เรือประจัญบานมิสซูรีกลายเป็นลำสุดท้ายที่สร้างเสร็จโดยสหรัฐอเมริกา
เนื่องด้วยสมรภูมิรบอยู่ด้านมหาสมุทรแปซิฟิก เรือชั้นนี้จึงถูกกำหนดให้สามารถผ่านคลองปานามาได้ ซึ่งขณะนั้นคลองปานามายังถือครองสิทธิโดยอเมริกา สามารถผ่านไปมาได้อย่างเสรี ต่างกับเรือทางฝั่งญี่ปุ่นที่ออกแบบโดยไม่ได้คำนึงถึงเรื่องนี้
ขนาดเปรียบเทียบ
เรือประจัญบานมิสซูรี เรือประจัญบานยาโมโตะ Panamax
ความยาว 270.4 m 263 m 289.56 m
ความกว้าง 33.0 m 38.9 m 32.61m
ระดับกินน้ำ 8.8m 11m 12.04m
จะเห็นได้ว่าความเกินมานิดหน่อย แต่ที่จริงตัวประตูกั้นน้ำนั้นมีขนาด 33.53 m ทำให้เรือสามารถผ่านได้ โดยมีช่องว่างระหว่างฝั่งกับเรือ ข้างละไม่ถึง 26 เซนติเมตร
เรือประจัญบานมิสซูรีถูกตั้งชื่อโดย แมรี่ มากาเร็ต ทรูแมน ลูกสาวของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฮร์รี่ ทรูแมน โดยชื่อมาจากพ่อของเธอเคยตำแหน่งวุฒิสมาชิกของรัฐมิสซูรีนั้นเอง
หลังจากผ่านการทดสอบจนถูกขึ้นระวางโดยกองทัพเรือสหรัฐ เรือประจัญบานมิสซูรีก็ถูกส่งไปทำภารกิจทางฝั่งแปซิฟิก (โดยผ่านคลองปานามานั้นแหล่ะ) ไม่ว่าจะเป็นคุ้มครองเรือบรรทุกเครื่องบิน ยิงปูพรมถล่มฝั่ง จมเรือเรือบรรทุกเครื่องบินฝั่งศัตรู ยิงสนับสนุน ฯลฯ
จนวันที่ 11 เมษายน 1945 เรือประจัญบานมิสซูรีเกือบตกเป็นเหยื่อของกองบินคามิกาเซ่ เมื่อมีเครื่องบินลำหนึ่งบินต่ำเลียบหลุดเเนวป้องกันมาทางด้านฝั่งขวาของเรือ จนเกือบจะเข้าถึงตัวเรือได้อยู่แล้วหน่วยปืนกลต่อต้านอากาศยานบริเวณนั้นสามารถยิงสกัดได้ทันควัน เครื่องบินลำนั้นระเบิด สะเก็ตไฟได้จุดระเบิดน้ำมันในปืนใหญ่หมายเลขสาม และส่วนปีซ้ายของเครื่องบินได้ชนเข้ากับขอบดาดฟ้าเรือชั้นล่าง (ระหว่างบีมหมายเลข59-65) แต่ก็ทำให้เรือได้รับความเสียหายได้ไม่มาก เกิดไฟลุกไหม้ที่ไม่นานก็สามารถควบคุมได้ เมื่อกู้ซากเครื่องบินที่อยู่บนดาดฟ้าเรือ ก็พบศพของนักบินหนุ่มชาวญี่ปุ่นติดอยู่ด้วย
ด้วยความเคารพต่อนักบินชาวญี่ปุ่นผู้กล้าหาญ กัปตันเรือ วิลเลียม คัลลาแกน จึงจัดงานศพตามเกียรติของทหารในท้องทะเล โดยคัลลาแกนตระหนักถึงความพยายามที่กล้าหาญแม้จะภารกิจของเขาจะไม่สำเร็จก็ตาม รอยบุบที่ด้านข้างเรือยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้
หลังจากญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงคราม เรือประจัญบานมิสซูรีก็ถูกมอบหมายให้เป็นที่ลงนามเซ็นสัญญายอมแพ้อย่างเป็นทางการ มุ่งสู่อ่าวโตเกียวในเช้าวันที่ 29 สิงหาคม 1945 เพื่อเตรียมพร้อมในพิธีการดังกล่าว จนถึงวันที่ 2 กันยายน เหล่าทหารระดับสูงทั้งหลายของกองกำลังพันธมิตรก็ได้ขึ้นเรือเพื่อร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามครั้งนี้ พิธีการดำเนินไปอย่างเรียบร้อย แต่ที่จริงมีเหตุการณ์ที่น่าสนใจอยู่จุดหนึ่ง คือตัวหนังสือลงนามที่ต้องเขียนสองใบ (ให้ฝ่ายผู้ชนะสงคราม และแพ้สงครามฝั่งละใบ) นั้นมีความไม่เหมือนกัน
ใบเเรกที่เป็นของฝ่ายผู้ชนะสงครามนั้นไม่มีข้อผิดพลาด แต่ใบที่สองผู้เป็นสักขีพยานจากประเทศแคนาดาเกิดผิดพลาดลงชื่อผิดบรรทัด ทำให้ต้องมีการแก้ไขในภายหลังก่อนที่ฝั่งญี่ปุ่นจะนำขึ้นถวายองค์จักรพรรดิ
ชื่อ : USS Missouri
ชั้น: เรือประจัญบานชั้นไอโอวา
สั่งต่อเรือ : 12 มิถุนายน ค.ศ. 1940
ต่อขึ้นที่ : อู่ทหารเรือบรุกลิน นิวยอร์ก
วางกระดูกงู: 6 มกราคม ค.ศ. 1941
ปล่อยลงน้ำ: 29 มกราคม ค.ศ. 1944
ขึ้นระวาง : 11 มิถุนายน ค.ศ. 1944
ปลดระวาง: 31 มีนาคม ค.ศ. 1992
จำหน่ายออก: 12 มกราคม ค.ศ. 1995
ชื่อเล่น: "ไมท์ตีโม" หรือ "บิกโม"
ร่วมสมรภูมิ : สงครามโลกครั้งที่สอง
สงครามเกาหลี
สงครามอ่าวเปอร์เซีย
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 48,500 ตัน
ความยาว: 270.4 เมตร
ความกว้าง: 33 เมตร
กินน้ำลึก: 8.8 เมตร
ความเร็ว: 31 นอต
กำลังพล: 2700 นาย (ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองถึงสงครามเกาหลี)
1851 นาย (ตั้งแต่ปี1984)
ขอบคุณข้อมูล คุณ Feniz
และเรืองที่ว่า สหรัฐทำไมสร้างเรือใหญ่กว่ายามาโต้ไม่ได้ .... จริงๆ ถ้าอยากสร้างก็สร้างได้
แต่มันจะผ่านคลอง ปานามาไม่ได้... กระทู้แนะนำมีเขียนเรื่อง ปานานาเปื้อนเลือดอยู่ก็อ่านประกันก็ได้ครับ
.. แต่ผมชอบ ยามาโต้นะ หุ่นดีน่าฟัดน่ากอดกว่าตั้งเยอะ
____ สรุปว่า เรือชั้น ไอโอว่า จะมีการต่อขึ้นมาแค่ 4 ลำ เท่านั้น
มิสซูรี่ BB ุ63 คือลำสุดท้าย ซึ่ง ฺ BB 64 วิคคอนซิ่น ได้ลงน้ำก่อน ( ผมชอบชื่อ วิคคอนซิ่น นะ )
เรือลำอื่นๆ ในนี้
ผิดๆๆๆ ต้องลำนี้
วันนี้พาชม แสงยานุภาพของเรือลำที่ 3 ในการครอบครองของผม รหัส BB 63 “_ ” เรือประจัญบานมิสซูรี่
เรือรบลำที่สาม ในชีวิตของผม
ลำแรก ยามาโต้
ลำที่ สอง บิสมาร์ส ซึ่งทั้งสองลำถูกจำหน่ายออกเป็นชิ้นส่วยไปแล้ว เพราะผ่านมา 27 ปีละ
ส่วนลำนี้ เป็นเรือรบลำที่สาม ของผม ชื่อของมันคือ มิสซูรี่ BB 63
...และมันก็โยงมาถึงเรืองค่าใช้จ่ายในการดูแลบำรุงรักษาเรือด้วย
อย่าง ทร.ไทย กำลังพล 70000 นาย ค่าจ่ายเงินเดือน ค่าซื้ออาวุธ ค่าต่อเรือลำใหม่ ค่าบำรุงรักษาอีก
อยู่กันมาจะ 27 ปีละ.. แต่ไม่ค่อยได้ไปบ้านหลังนี้ สภาพก็อย่างที่เห็น
เรือบรรทุกเครื่องบิน ยอร์คทาวน์ ก็สภาพพอๆกัน
เรือประจัญบานมิสซูรี (USS Missouri (BB-63))
เรือประจัญบานมิสซูรีเป็นหนึ่งในเรือประจัญบานชั้นไอโอวา เรือประจัญบานเคลื่อนที่เร็วที่ใช้ในภารกิจคุ้มครองเรือบรรทุกเครื่องบิน ของปฏิบัติการณ์รบด้านมหาสมุทรแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง เรือประจัญบานชั้นนี้วางแผนสร้างทั้งหมด 6 ลำประกอบด้วย
USS Iowa (BB-61) , USS New Jersey (BB-62), USS Missouri (BB-63), USS Wisconsin (BB-64), USS Illinois (BB-65) , USS Kentucky (BB-66)
เรือประจัญบานมิสซูรีถูกลำดับสร้างเป็นลำดับที่สามก็จริง แต่การสร้างกลับล่าช้ากว่าเรือประจัญบานวิสคอนซิน
และเรือประจัญบานตั้งแต่รหัส BB-65 ขึ้นไปถูกยกเลิก ทำให้เรือประจัญบานมิสซูรีกลายเป็นลำสุดท้ายที่สร้างเสร็จโดยสหรัฐอเมริกา
เนื่องด้วยสมรภูมิรบอยู่ด้านมหาสมุทรแปซิฟิก เรือชั้นนี้จึงถูกกำหนดให้สามารถผ่านคลองปานามาได้ ซึ่งขณะนั้นคลองปานามายังถือครองสิทธิโดยอเมริกา สามารถผ่านไปมาได้อย่างเสรี ต่างกับเรือทางฝั่งญี่ปุ่นที่ออกแบบโดยไม่ได้คำนึงถึงเรื่องนี้
ขนาดเปรียบเทียบ
เรือประจัญบานมิสซูรี เรือประจัญบานยาโมโตะ Panamax
ความยาว 270.4 m 263 m 289.56 m
ความกว้าง 33.0 m 38.9 m 32.61m
ระดับกินน้ำ 8.8m 11m 12.04m
จะเห็นได้ว่าความเกินมานิดหน่อย แต่ที่จริงตัวประตูกั้นน้ำนั้นมีขนาด 33.53 m ทำให้เรือสามารถผ่านได้ โดยมีช่องว่างระหว่างฝั่งกับเรือ ข้างละไม่ถึง 26 เซนติเมตร
เรือประจัญบานมิสซูรีถูกตั้งชื่อโดย แมรี่ มากาเร็ต ทรูแมน ลูกสาวของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฮร์รี่ ทรูแมน โดยชื่อมาจากพ่อของเธอเคยตำแหน่งวุฒิสมาชิกของรัฐมิสซูรีนั้นเอง
หลังจากผ่านการทดสอบจนถูกขึ้นระวางโดยกองทัพเรือสหรัฐ เรือประจัญบานมิสซูรีก็ถูกส่งไปทำภารกิจทางฝั่งแปซิฟิก (โดยผ่านคลองปานามานั้นแหล่ะ) ไม่ว่าจะเป็นคุ้มครองเรือบรรทุกเครื่องบิน ยิงปูพรมถล่มฝั่ง จมเรือเรือบรรทุกเครื่องบินฝั่งศัตรู ยิงสนับสนุน ฯลฯ
จนวันที่ 11 เมษายน 1945 เรือประจัญบานมิสซูรีเกือบตกเป็นเหยื่อของกองบินคามิกาเซ่ เมื่อมีเครื่องบินลำหนึ่งบินต่ำเลียบหลุดเเนวป้องกันมาทางด้านฝั่งขวาของเรือ จนเกือบจะเข้าถึงตัวเรือได้อยู่แล้วหน่วยปืนกลต่อต้านอากาศยานบริเวณนั้นสามารถยิงสกัดได้ทันควัน เครื่องบินลำนั้นระเบิด สะเก็ตไฟได้จุดระเบิดน้ำมันในปืนใหญ่หมายเลขสาม และส่วนปีซ้ายของเครื่องบินได้ชนเข้ากับขอบดาดฟ้าเรือชั้นล่าง (ระหว่างบีมหมายเลข59-65) แต่ก็ทำให้เรือได้รับความเสียหายได้ไม่มาก เกิดไฟลุกไหม้ที่ไม่นานก็สามารถควบคุมได้ เมื่อกู้ซากเครื่องบินที่อยู่บนดาดฟ้าเรือ ก็พบศพของนักบินหนุ่มชาวญี่ปุ่นติดอยู่ด้วย
ด้วยความเคารพต่อนักบินชาวญี่ปุ่นผู้กล้าหาญ กัปตันเรือ วิลเลียม คัลลาแกน จึงจัดงานศพตามเกียรติของทหารในท้องทะเล โดยคัลลาแกนตระหนักถึงความพยายามที่กล้าหาญแม้จะภารกิจของเขาจะไม่สำเร็จก็ตาม รอยบุบที่ด้านข้างเรือยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้
หลังจากญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงคราม เรือประจัญบานมิสซูรีก็ถูกมอบหมายให้เป็นที่ลงนามเซ็นสัญญายอมแพ้อย่างเป็นทางการ มุ่งสู่อ่าวโตเกียวในเช้าวันที่ 29 สิงหาคม 1945 เพื่อเตรียมพร้อมในพิธีการดังกล่าว จนถึงวันที่ 2 กันยายน เหล่าทหารระดับสูงทั้งหลายของกองกำลังพันธมิตรก็ได้ขึ้นเรือเพื่อร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามครั้งนี้ พิธีการดำเนินไปอย่างเรียบร้อย แต่ที่จริงมีเหตุการณ์ที่น่าสนใจอยู่จุดหนึ่ง คือตัวหนังสือลงนามที่ต้องเขียนสองใบ (ให้ฝ่ายผู้ชนะสงคราม และแพ้สงครามฝั่งละใบ) นั้นมีความไม่เหมือนกัน
ใบเเรกที่เป็นของฝ่ายผู้ชนะสงครามนั้นไม่มีข้อผิดพลาด แต่ใบที่สองผู้เป็นสักขีพยานจากประเทศแคนาดาเกิดผิดพลาดลงชื่อผิดบรรทัด ทำให้ต้องมีการแก้ไขในภายหลังก่อนที่ฝั่งญี่ปุ่นจะนำขึ้นถวายองค์จักรพรรดิ
ชื่อ : USS Missouri
ชั้น: เรือประจัญบานชั้นไอโอวา
สั่งต่อเรือ : 12 มิถุนายน ค.ศ. 1940
ต่อขึ้นที่ : อู่ทหารเรือบรุกลิน นิวยอร์ก
วางกระดูกงู: 6 มกราคม ค.ศ. 1941
ปล่อยลงน้ำ: 29 มกราคม ค.ศ. 1944
ขึ้นระวาง : 11 มิถุนายน ค.ศ. 1944
ปลดระวาง: 31 มีนาคม ค.ศ. 1992
จำหน่ายออก: 12 มกราคม ค.ศ. 1995
ชื่อเล่น: "ไมท์ตีโม" หรือ "บิกโม"
ร่วมสมรภูมิ : สงครามโลกครั้งที่สอง
สงครามเกาหลี
สงครามอ่าวเปอร์เซีย
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 48,500 ตัน
ความยาว: 270.4 เมตร
ความกว้าง: 33 เมตร
กินน้ำลึก: 8.8 เมตร
ความเร็ว: 31 นอต
กำลังพล: 2700 นาย (ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองถึงสงครามเกาหลี)
1851 นาย (ตั้งแต่ปี1984)
ขอบคุณข้อมูล คุณ Feniz
และเรืองที่ว่า สหรัฐทำไมสร้างเรือใหญ่กว่ายามาโต้ไม่ได้ .... จริงๆ ถ้าอยากสร้างก็สร้างได้
แต่มันจะผ่านคลอง ปานามาไม่ได้... กระทู้แนะนำมีเขียนเรื่อง ปานานาเปื้อนเลือดอยู่ก็อ่านประกันก็ได้ครับ
.. แต่ผมชอบ ยามาโต้นะ หุ่นดีน่าฟัดน่ากอดกว่าตั้งเยอะ
____ สรุปว่า เรือชั้น ไอโอว่า จะมีการต่อขึ้นมาแค่ 4 ลำ เท่านั้น
มิสซูรี่ BB ุ63 คือลำสุดท้าย ซึ่ง ฺ BB 64 วิคคอนซิ่น ได้ลงน้ำก่อน ( ผมชอบชื่อ วิคคอนซิ่น นะ )
เรือลำอื่นๆ ในนี้
ผิดๆๆๆ ต้องลำนี้