อยากได้คำแนะนำ ในการมุ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งไปเลยครับ

ตอนนี้ผมตัดสินใจแล้วว่าจะเม่งมาสาย IT อย่างจริงจัง แต่สายที่ผมเรียนมา คือ คอมธุรกิจ ซึ่งอย่างที่รู้ ๆ กันว่ามันไปสุดซักทาง

ซึ่งผมมองระยะยาวแล้ว (ส่วนตัวเป็นคนชอบ หาความรู้ด้าน IT อยู่แล้ว) ผมคิดจะทำอาชีพที่ใดอาชีพหนึ่งในด้าน IT ไปเลย

แล้วอย่างเก่งเฉพาะทางไปเลย  

สิ่งที่ผมจะปรึกษาก็คือ ผมพอมีทักษะด้านภาษาอังกฤษในเกณฑ์ที่สื่อสารได้ ไม่ถึงขึ้น expert แต่ก้อใช้ทุกวัน

อยากทราบว่างานสายไหนในด้าน IT ที่ได้ภาษาแล้ว จะทำเรามีโอกาสก้าวหน้ามากขึ้น คือผมก็พอเข้าใจว่า อาจจะทุกอาชีพ

แต่ เผื่อมีท่านไหนอาจมองว่า อาจมีด้านใดด้านหนึ่งที่ไปได้ไกลกว่า สายอื่น ๆ

ปล.1 ตอนนี้ผมสนใจด้าน network administrator ผมพอรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสายงานนี้ แต่อยากทราบว่าการทำงานจริงเป็นอย่างไรบ้างครับ

ปล.2 ผมไม่ได้เก่งด้าน coding จ๋า ๆ เท่าไหร่ แต่ที่ถนัดสุดก้อ php กับ sql ซึ่งส่วนมากผมศึกษานอกห้องเอาเอง ลองเขียนเว็ปเอง


ขอบคุณมากนะครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
เครือข่าย Network ก็มี เขียนโปรแกรม http://coffeeiam.com/uploads/books/cover/102.jpg

คอมพิวเตอร์ หนี การเขียนโปรแกรม ไม่พ้น ถ้า จะทำงาน ไอที หนี การเขียนโปรแกรม ไม่พ้น

ทำงาน จริง ไม่มีใคร มา นั่งชี้แนะ ได้ ตลอดเวลา ต้อง ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง ให้ เยอะ

Network Administrator ทำหน้าที่คล้าย ๆ กับ System Administrator แต่จะเน้นทางด้านระบบเครือข่าย

หน้าที่ของ   Network Administrator
    หน้าที่ของ   Network Administrator   โดยรวม   ๆ   ก็คือการติดตั้งควบคุมดูแลระบบเครือข่ายและอุปกรณ์เครือข่ายขององค์กรให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ   ซึ่งหน้าที่มีดังต่อไปนี้
    .   ออกแบบติดตั้งและดูแลระบบเครือข่ายขององค์กรทั้งภายในและภายนอก   ซึ่งได้แก่ระบบ   LAN(ทั้งระบบ   แบบไร้สายและใช้สาย),   การเชื่อมต่อ   Leased Line   ระหว่างสำนักงานใหญ่และสาขา,การเชื่อมต่อผ่าน   VPN,   การเชื่อมต่อแบบ   Remote Access   และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต   เป็นต้น
    .   ออกแบบติดตั้งและดูแลระบบป้องกันการบุกรุกหรือโจมตีทางเครือข่าย   ซึ่งได้แก่ระบบป้องกัน   Firewall(Network Firewall),   Network Intrusion Detection/Prevention System   และการเซ็ตอัพ   Access Control List   ในอุปกรณ์   Router   เป็นต้น
    .   ติดตั้งและดูแลระบบป้องกันไวรัส   ซึ่งรวมถึง   Malware   ประเภทต่าง   ๆ   เช่น   ม้าโทรจันหรือสปายแวร์   โดยทั่วไประบบป้องกันไวรัสจะแบ่งเป็น   2   ประเภท
       .   ประเภทแรกคือ   เป็นโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งลงไปในเครื่องแต่ละเครื่องเลย   เช่น   โปรแกรมTrend Micro PC-Cillin Internet Security,   Norton Internet Security   และ   McAfee Internet Security   เป็นต้น   โปรแกรมประเภทนี้เป็นโปรแกรมเดี่ยว   ๆ   เวลาจะอัพเดทฐานข้อมูลจะใช้วิธีอัพเดทผ่านอินเทอร์เน็ตโดยตรงจากเว็บไซต์ของผู้ผลิตนิยมใช้ในเครื่องตามบ้าน   (Home user)   และโน้ตบุ๊ค
       .   ประเภทที่สองคือ   เป็นโปรแกรมที่ใช้ในองค์กรใหญ่   ๆ   ซึ่งเป็นแบบ   Client-Server   กล่าวคือผู้ดูแลสามารถควบคุมเครื่องทุก   ๆ   เครื่องในองค์กรได้จากจุด   ๆ   เดียวโดยผ่าน   Central Management Server   การอัพเดทฐานข้อมูลสามารถทำได้จากเครื่องเซิร์ฟเวอร์เพียงเครื่องเดียวจากนั้นจึงกระจายต่อให้กับเครื่องอื่น   ๆ   ทั้งหมดในองค์กร   ตัวอย่างเช่น   ผลิตภัณฑ์ของบริษัท   Trend Micro   มีชื่อว่า   NeatSuite   ที่รวมเอาผลิตภัณฑ์หลาย   ๆ   ตัวเข้าไว้ด้วยกันอย่างครบสูตรคือ   InterScan,   ScanMail,   ServerProtect   และ   OfficeScan   เป็นต้น   สำหรับประเภทที่สองนี้มักจะควบคุมดูแลโดย   Network Administrator   ในขณะที่ประเภทแรกนั้นจะดูแลโดย   System Administrator
    .   ติดตั้งและดูแลฮาร์ดแวร์หรืออุปกรณ์เครือข่ายทุกประเภท   เช่น   Hub/Switch,   Router   และอุปกรณ์สำเร็จรูปที่ทำหน้าที่ต่าง   ๆ   เช่น   Network Firewall   หรือ   Network Intrusion Detection/Prevention System   ให้สามารถทำงานได้ตลอดเวลา
    .   ติดตั้งและดูแลเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการประเภทต่าง   ๆ   เช่น   Mail Server   (POP3   และ   SMTP Server),   Exchange Server,   Antivirus Server,   Proxy Server   และ   Web Server   เป็นต้น   สำหรับหน้าที่นี้บางทีอาจจะทำโดย   System Administrator   ก็ได้   เนื่องจาก   System Administrator   จะทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการในเครื่องเซิร์ฟเวอร์เหล่านี้ให้อยู่แล้ว
    .   ติดตั้งและดูแลระบบสาธารณูปโภคทางด้านอินเทอร์เน็ต   เช่น   การเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต(ISP)   ติดตั้งและดูแลระบบการแชร์อินเทอร์เน็ต   กำหนดนโยบายและควบคุมดูแลการใช้งานระบบเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต   เช่น   ห้ามไม่ให้มีการดาวน์โหลดไฟล์ในช่วงเวลางาน   ห้ามเข้าเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมหรือไม่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่   เป็นต้น
    .   ตรวจสอบและเฝ้าติดตามระบบเครือข่าย   (Network Monitoring)   ให้ทำงานปกติตลอดเวลา   ซึ่งอาจต้องใช้เครื่องมือหลาย   ๆ   ตัวช่วย   เช่น   Network Intrusion   Detection/Prevention System,   NMS(Network Management System)   หรือ   Packet Sniffer   ซึ่งหากพบว่าระบบเครือข่ายมีปัญหาก็ต้องแก้ไขให้เร็วที่สุด
    .   ดำเนินการติดตั้งและเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายภายนอก   การเชื่อมต่อระหว่างสาขาและสำนักงานใหญ่และการเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต   โดยทั่วไปจะใช้วิธีการเชื่อมต่อผ่านวงจรเช่าหรือ   Leased Line   ในขั้นตอนการติดตั้งจะต้องคำนวณ   Bandwidth   ที่เหมาะสมหากคำนวณเผื่อไว้มากเกินไปก็จะทำให้เสียค่าบริการรายเดือนในอัตราสูงโดยไม่จำเป็น   หรือคำนวณไว้ต่ำไปก็จะทำให้การรับส่งข้อมูลเกิดความล่าช้า   โดยในบางครั้งข้อมูลที่รับส่งมีความสำคัญและหยุดรอไม่ได้ก็อาจต้องพิจารณาให้มี   Leased Line   หรือวงจรเช่าจากผู้ให้บริการรายอื่นสำรองไว้อีก   1   วงจร
    .   วางแผนการอัพเกรดระบบเครือข่ายภายในหรือระบบ   LAN   ให้เหมาะสมกับการใช้งานและต้องสามารถรองรับปริมาณการใช้งานได้โดยไม่เกิดความล่าช้า   เช่น   อาจพิจารณาให้มีการอัพเกรดระบบ   LAN   ภายในจากความเร็ว   100 Mbps   เป็น   Gigabit Ethernet   เป็นต้น
    .   กำหนดนโยบาย   IP Address   และการจัดสรร   IP Address   ให้กับเครื่องของผู้ใช้ต่าง   ๆ   ในองค์กร   เช่น   การกำหนด   IP Address   แบบค่าคงที่   (Static IP Address)   ให้กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์ต่าง   ๆ   การติดตั้งและควบคุมดูแล   DHCP Server   การเลือกใช้ช่วง   IP Address   ให้เหมาะสมกับขนาดเครือข่าย   เช่น   หากเครือข่ายมีขนาดใหญ่ก็ควรจะเลือกช่วง   IP Address   ใน   Class B   หรือ   Class A   แต่ถ้าเครือข่ายมีขนาดเล็กก็อาจเลือกใช้เพียงแค่   Class C   ก็ได้
    .   จดทะเบียนโดเมนเนมและดูแลเว็บไซต์ขององค์กรให้สามารถเปิดให้บริการได้ตลอดเวลา
    .   ในกรณีที่องค์กรมีการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ก็อาจต้องติดต่อกับ   Certificate Authority   (CA)   เช่น   VeriSign,   Entrust   หรือ   Thawte   เพื่อขอซื้อบริการ   SSL Certificate   ให้กับเว็บเซิร์ฟเวอร์และรับผิดชอบในการติดตั้งด้วย
    .   ประสานงานกับบริษัทผู้ให้บริการในกรณีที่เกิดปัญหาทางด้านเครือข่ายหรืออินเทอร์เน็ต   เช่น   ในกรณีที่มีปัญหาด้านวงจรเช่า   (Leased Line)   ก็ต้องติดต่อกับผู้ให้บริการ   เช่น   TOT,   True   หรือ   DataNet   เป็นต้น   หากมีปัญหาทางด้านอินเทอร์เน็ตก็ต้องติดต่อกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต   (ISP)
    .   ให้บริการแก้ไขปัญหาทางด้านเทคนิคต่าง   ๆ   ให้กับผู้ใช้หรือตอบคำถามทางด้านเทคนิค
    .   จัดเก็บและจัดทำเอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวกับอุปกรณ์เครือข่ายและซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับระบบเครือข่ายพร้อมด้วยแผนภาพระบบเครือข่ายขององค์กร   หรือ   Network Configuration   ขององค์กรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแผนการทำ   Maintenance   ประจำปีพร้อมกับการทำงบประมาณเพื่อนำเสนอต่อผู้บริหาร
    .   ประสานงานกับฝ่ายต่าง   ๆ   เช่น   System Administrator,   System Programmer,   Database Administrator,   Computer Operator,   Application Programmer,   System Analyst,   User   และอื่น   ๆ
    .   งานอื่น   ๆ   ที่กำหนดไว้ใน   Job Description   ของแต่ละองค์กร
    สรุปได้ว่าทั้ง   System Administrator   และ   Network Administrator   อาจจะมีงานที่คาบเกี่ยวหรือที่ต้องประสานงานกันอยู่บ้าง   ซึ่งคงจะยึดเป็นหลักตายตัวไม่ได้แน่ชัดขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กร   บางองค์กรก็อาจจะยุบรวมงานทั้ง   2   ตำแหน่งเข้าไปไว้ในคน   ๆ   เดียว   และในแต่ละองค์กรก็ยังอาจมีหน้าที่พิเศษที่มอบหมายให้เพิ่มเติม   เช่น   งานทางด้านของการเขียนโปรแกรมหรือสคริปต์ต่าง   ๆ   หรือการจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์   เป็นต้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่