ฟูจิ นี่ใช้เซ็นเซอร์รุ่นเก่ากว่ายี่ห้ออื่นอยู่หรือครับ

กระทู้คำถาม
อ่านเจอบ่อยๆว่า ฟูจิใช้เซ็นเซอร์รุ่นเก่า  ปัจจุบัน apsc เค้าไป 24ล้าน กันหมดแล้ว ฟูจิยังใช้เซ็นเซอร์ตัว 16 ล้านอยู่
เซ็นเซอร์ apsc 16 ล้าน นี่มันของเก่าหลายปีเลยนะครับ ผมก็เชื่อครึ่ง ไม่เชื่อครึ่ง แต่ถ้าจริง ทำไมเค้าเอาเทคโนโลยีเก่าขนาดนั้นมาใส่กล้องรุ่นปัจจุบัน
ผมจะซื้อๆ ก็ไม่ค่อยกล้าครับ  m4/3 ก็เซ็นเซอร์เล็ก  a6000 ก็น่าเล่น แต่ raw มันไม่ใช่ uncompress อันนี้มีผลแค่ไหนครับ ถ้าเอา raw ไปดึงใน lr
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 43
เอ่อ ทำไมคนในนี้คิดว่ารู้จริงกันจังครับ ที่บอกว่า X-trans ผลิตเองโดย Fuji เนี่ย ไปว่าเขามั่วอีก โถถ

คนแกะชิปเขาก็รายงานกันบ่อยๆว่าข้างในมันเซ็นเซอร์โซนี่น่ะแหละ (Chipworks มั้ง ถ้าจำไม่ผิด)
X-trans ตัวแรกคือเซ็นเซอร์ 16mp เจน 1 ของ โซนี่มาเปลี่ยน color filter ยังไม่มี PDAF (IMX095 ที่ใส่ใน Sony Nex-F3, Nex-5n ...)
X-trans II คือเซ็นเซอร์ 16mp ตัวอัพเดท ที่เพิ่ม Phase Detection AF บนเซ็นเซอร์ (IMX071 ตัวยอดนิยมที่ใส่ใน Nikon D7000, D5100, Sony Nex-6 ...)
ทั้ง DR, Noise charactoristic, resolution มันถึงตรงกันขนาดนั้น

แต่ใช้ Color filter ที่ไม่ใช่แบบ Bayer (ที่เป็น GBRG) ไปเป็นฟิลเตอร์แบบ X-trans ของเขาเอง เลยไม่ต้องใช้ Low-pass filter แล้วก็ไม่ค่อยเกิด Moire แล้วก็โกง ISO อีกหน่อย ตั้งค่าจริง ISO 125 แล้วบอกบนจอว่าเป็น ISO 200 (โกงไป 2/3 stop) พอคนเทียบ ISO 3200 เท่ากันข้ามค่าย มันก็เหมือนเอา Fuji ISO 2000 ไปเทียบ ISO 3200 ค่ายอื่น มันก็เนียนกว่าเห็นๆ (แต่มืดกว่านะ ถ้าตั้ง F กับสปีดเท่ากัน, ถ้าปล่อย auto ก็เสร็จโจร)

บอร์ดฝรั่งเขาคุยกันเป็น Fact ที่รู้กันทั่วไปจนไม่ค่อยมีคนพูดถึงเท่าไหร่แล้ว ทำไมคนไทยยังชอบคิดว่าฟูจิผลิตเองอยู่อีก
http://theonlinephotographer.typepad.com/the_online_photographer/2015/05/noise-for-headroom-fujis-x-trans-sensor.html
http://www.dpreview.com/forums/thread/3333828?page=2

ตอบจขกท. คืองี้ครับ ตอนแรกฟูจิกะจะข้าม 24mp (IMX210AQL) ไปเลย อาจจะไปตัวต่อไปที่โซนี่เครมว่าเด็ด หรือไม่ก็ออแกนิกเซ็นเซอร์ที่วิจัยร่วมกับพานาโซนิก (ถ้าเสร็จทัน)
ปัญหาอยู่ที่มันดัน Delay ทั้ง 2 ทางครับ
1. Organic Sensor มีปัญหากินไฟมากและร้อน ต้องวิจัยต่อก่อนจะนำมาใช้ได้จริง
2. ทางโซนี่หลังๆเริ่มหยิ่ง มีนโยบายว่าจะออกเซ็นเซอร์ใหม่ในกล้องตัวเองก่อน 6 เดือน แล้วถึงขายเซ็นเซอร์ให้คนอื่นเอาไปใช้ ทีนี้ตัวแทน A6000 มาช้ามากครับ เลื่อนหลายทีเพราะปัญหาความร้อนกับวิดีโอ 4K ดังนั้นเซ็นเซอร์ใหม่ก็ช้าไปด้วย
แต่ครั้นจะมาใช้ IMX210AQL ก็ช้าไปแล้ว รออีกหน่อยดีกว่า เลยกั๊กๆแบบที่เห็นครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 11
จขกท กำลังเดินสู่เล่นทางแห่งโปรอุปกรณ์สายมืดนะ

นอกจากหลงไหลคลั่งไคล้ในสเปกของอุปกรณ์ มากกว่าการถ่ายภาพ
ยังไปรับข้อมูลทางเทคนิคมาจดจำแบบผิดๆ จนแทบไม่รู้จะบอกให้เริ่มต้นใหม่อย่างไรดี

จำนวนพิกเซล ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง
ขนาดเซนเซอร์ ไม่ใช่มิติเหนือทุกสถาบัน
ความคิดเห็นที่ 7
เวลาเขาซื้อ เขาไม่ได้ถามว่า  เซ็นเซอร์ รุ่นไหน  กี่ล้าน  mega pixel ครับ

เวลาซื้อ เค้าถามว่าพิมฐา แป้งโกะ ใช้รุ่นไหน

จบนะ  







ยิ้มดอกไม้
ความคิดเห็นที่ 12
อ่านเจอบ่อยๆว่า ฟูจิใช้เซ็นเซอร์รุ่นเก่า .. บ่อยๆ?? ที่ไหนบ้าง ลองยกมาให้ดูซัก 30 ที่

เซ็นเซอร์ apsc 16 ล้าน นี่มันของเก่าหลายปีเลยนะครับ .. หลายปี นี่ .. กี่สิบปี??

แต่ raw มันไม่ใช่ uncompress .. อะไรคือ uncompress ??
อันนี้มีผลแค่ไหนครับ ถ้าเอา raw ไปดึงใน lr .. ดึงอะไร ??  

อย่าเอาที่ "เขา" บอกว่า
เอาที่เรารู้ชัด เข้าใจดี ไม่หลงทาง
ความคิดเห็นที่ 10
ก็ฟูจิลงสนามทีหลังเพื่อนนี่ครับ อย่างตัวX-pro1ที่เริ่มมากับเซ็นเซอร์X-transก็เพิ่งออกมาได้ราวๆ3ปีกว่าเอง กว่าเค้าจะพัฒนาphase detectionให้โฟกัสได้เร็วก็มาตัวหลังๆอย่างXT1ละ ช่วงที่ผ่านมาก็มาอัดเพิ่มเลนส์เข้าระบบให้มากขึ้นเพื่อรองรับผู้ใช้งาน ทุกอย่างมีการวางแผนไว้อย่างดีแล้วหละผมว่า

อย่าลืมนะครับ เจ้าแรกๆที่ผลิตพวกเซ็นเซอร์ccdก็ฟูจินี่แหละครับ แถมยังเป็นค่ายฟิล์มที่ผ่านความตายมาจากการเปลี่ยนผ่านของยุคดิจิตอลมา ทำอะไรผมว่าเค้าคงมีการวางแผนเป็นอย่างดีแล้ว^^
ความคิดเห็นที่ 35
เตือนตรงๆนะ

จขกท จับแพะผสมแกะ
เรื่องของเทคโนโลยีกล้อง ไม่ใช่เรื่องศิลปะ
แต่เป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ ที่เป๊ะๆๆๆ

x-tran มันเป็นแค่ filter array นี่ครับ
อย่างเช่นตรงนี้ ก็รู้แล้วว่า อ่านผ่านๆ ฟังมาลอยๆ และไม่เข้าใจอะไรเลย

หรืออย่าง "เซนเซอร์เก่า" .. เนี่ย มันเป็นคำที่ฟังดู .. ขำมากๆๆๆๆ
อะไรคือใหม่ อะไรคือเก่า .. ยังแยกไม่ออก
ใช้สำนวนให้ฟังเหมือนดูดีมีความรู้ ทั้งที่ไม่สามารถให้นิยามได้ชัดเจน

อะไรคือ เก่า?
อะไรคือ ใหม่?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่