ที่สุดของการลงทุนปี 2015 | หุ้นไทย หุ้นนอก กองทุนรวม ภาวะเศรษฐกิจ
ปี 2015 ผ่านไป ปี 2016 ผ่านเข้ามา มาดูกันว่า การลงทุนในหลักทรัพย์ต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ตลอดปี 2015 เป็นอย่างไรบ้าง
① ดัชนีหุ้นไทย (ข้อมูลจากบริการเอสเพน)
เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลตอบแทนรวมหรือ Total Return Index (TRI) ของหุ้นกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งสะท้อนทั้งผลจากราคาหุ้น การจ่ายปันผล และการได้รับสิทธิต่าง ๆ เช่น หุ้นปันผล ใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrants) ไว้หมดแล้ว พบว่าปีนี้เป็นที่ไม่สดใสเอาซะเลยของหุ้นไทย ดัชนีหุ้นทุกตัวติดลบทั่วหน้า มากบ้าง น้อยบ้าง ดังนี้
1.กลุ่มหุ้นเล็กหรือ mai … ลบเยิน ดิ่งไป 24.63% (ปี 2557 บวก 98.95%)
2.กลุ่มหุ้นใหญ่ หรือ SET50 TRI ลบไป 16.03% (ปี 2557 บวก 16.98%)
3.กลุ่มหุ้นปันผล หรือ SET 30 High Dividend TRI ลบ 15.36% (ปี 2557 บวก 9.31%)
4.หุ้นโดยรวม หรือ SET TRI ลบน้อยสุดคือ 11.23% (ปี 2557บวก 19.11%)
เท่ากับว่า หุ้นเล็ก ที่ขึ้นมาแรงมากในปีก่อน ปีนี้กลับนำหน้าดิ่งลงไปแรงสุด ตามมาด้วยหุ้นใหญ่ SET50 ที่ลงไปตามแรงขายของต่างชาติที่กระหน่ำมาตลอดปี 2558 ส่วนหุ้นปันผล SETHD ก็ไม่ได้ช่วยอะไร ลบไปไม่น้อย (ปีก่อนที่เขาบวกกันแรง ๆ หุ้นปันผลก็ตามหลังเช่นกัน) ในขณะที่หุ้นโดยรวม ๆ ก็ลบ แต่ในอัตราที่น้อยสุด
② หุ้นไทยรายตัว (ข้อมูลจาก setsmart.com และ บริการเอสเพน)
ในปีที่แย่ของตลาดโดยรวม ก็ยังมีหุ้นที่บวกได้เป็นเท่าตัวอยู่เช่นกัน โดย 3 อันดับแรกที่บวกร้อนแรงที่สุด คือ
1.บริษัท ทาพาโก้ จำกัด (มหาชน) หรือ TAPAC บวกขึ้นมาจาก 3.04 บาท เมื่อปลายปี 2557 มาอยู่ที่ 22.30 บาท เมื่อสิ้นปี 2558 หรือบวก 666.5% (เกือบ 7 เด้ง)
2.บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) หรือ GL บวกขึ้นมาจาก 5.75 บาท มาอยู่ที่ 18.20 บาท หรือบวก 216.5% (2 เด้งเศษ)
3.บริษัท ทิปโก้ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TIPCO บวกขึ้นมาจาก 6.40 บาท มาอยู่ที่ 14.50 บาท หรือบวก 173.4% (เกือบ 2 เด้ง)
3 อันดับแรกที่ร่วงเยินที่สุด คือ
1.บริษัท แอสเซท ไบร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ ABC ร่วงจาก 1.61 บาท เมื่อปลายปี 2557 มาเหลือเพียง 0.46 บาท เมื่อสิ้นปี 2558 เท่ากับร่วงลงไป 71.4% (เหลือเพียง 1 ใน 4 ) และที่ดราม่าที่สุดด้วยเช่นกันคือ หุ้นนี้เป็นหุ้นที่พุ่งแรงที่สุดในปี 2557 (บวกไป 27 เด้ง) ใครออกไม่ทันก็ตัวใครตัวมันครัช
2.บริษัท ดีเอ็นเอ 2002 จำกัด (มหาชน) หรือ DNA ร่วงจาก 3.00 บาท เหลือเพียง 1.71 บาท เท่ากับร่วงลงไป 43% (เหลือเพียงครึ่งเดียว)
3.บริษัท ซีเคพาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKP ร่วงจาก 3.40 บาท เหลือเพียง 1.98 บาท เท่ากับร่วงลงไป 41.8% (หายไปเกือบครึ่ง)
③ กองทุนรวมที่ซื้อได้ในประเทศไทยซึ่งรวมกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ (ข้อมูลจาก treasurist.com)
1.กองทุนหุ้นและหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม ◾เด่นสุด: กองทุนเปิด บัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ หรือ BCARE (บลจ.บัวหลวง) บวก 19.94% ตามมาด้วย กองทุนเปิดเกรธเธอร์ไชน่า หรือ GC (บลจ.ยูโอบี) บวก 11.89%
◾ดับสุด: กองทุนเปิด เคแทม เวิร์ด เมทัล แอนด์ ไมน์นิ่ง ฟันด์ หรือ KT-MINING (บลจ.กรุงไทย) ลบ 36.26% ตามมาด้วย กองทุนเปิด ทิสโก้ ละติน อเมริกา หรือ TISCOLAF (บลจ.ทิสโก้) ลบ 31.61%
2.กองทุนตราสารหนี้ ◾เด่นสุด: กองทุนเปิด เอ็มเอฟซี โกลบอล ออพพอร์ทูนิตี้ บอนด์ฟ ฟันด์ หรือ MGB (บลจ.เอ็มเอฟซี) บวก 8.03% ตามมาด้วย กองทุนเปิด วรรณเอเอ็ม โกลบอล บอนด์ หรือ 1AMGBF (บลจ.วรรณ) บวก 5.75%
◾ดับสุด: กองทุนเปิด วรรณ โกลบอล ออพพอร์ทูนิตี้ บอนด์ ฟันด์ หรือ 1GLOBALBOND (บลจ.วรรณ) ลบ 3.63% ตามมาด้วย กองทุนเปิด ทหารไทย Global Bond Fund หรือ TMBGF (บลจ.ทหารไทย) ลบ 2.37%
3.กองทุนผสม ◾เด่นสุด: กองทุนเปิด วรรณ ยูเอส รีคอฟเวอรี่ ออพพอร์ทูนิตี้ ฟันด์ หรือ 1US-OPP (บลจ.วรรณ) บวก 9.35% ตามมาด้วย กองทุนเปิด เอ็มเอฟซี ควอนท์ – อินเทลลิเจนซ์ พอร์ตฟอลิโอ ฟันด์ หรือ Q-PORT (บลจ.เอ็มเอฟซี) บวก 7.77%
◾ดับสุด: กองทุนเปิด วรรณ เฟล็กซิเบิล คืนกำไร หรือ FLEXAR (บลจ.วรรณ) ลบ 17.58% ตามมาด้วย กองทุนเปิด ทีซีเอ็ม พลทรัพย์ หรือ TCMCSF (บลจ.ทิสโก้) ลบ 13.99%
4.กองทุนตลาดเงิน ◾เด่นสุด: กองทุนเปิด ไทย แคช แมเนจเม้นท์ เอ็นจอย หรือ TCMFENJOY (บลจ.ยูโอบี) บวก 1.88%
◾ดับสุด: กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารรัฐตลาดเงิน หรือ SCBTMF (บลจ.ไทยพาณิชย์) บวก 0.97% (บวกน้อยที่สุดในบรรดากองทุนตลาดเงิน ติดต่อกันหลายปี)
5.กองทุนหุ้นระยะยาว (LTF) ◾เด่นสุด: กองทุนเปิด เอ็มเอฟซี โกลบอล หุ้นระยะยาว หรือ MG-LTF (บลจ.เอ็มเอฟซี) บวก 4.61% ตามมาด้วย กองทุน เค 20 ซีเล็คท์ หุ้นระยะยาวปันผล หรือ K20SLTF (บลจ.กสิกรไทย) บวก 3.10% … ซึ่งน่าสังเกตว่า แม้ดัชนีหุ้นโดยรวมจะร่วงถึง 10% กว่า แต่ก็ยังมีกอง LTF ที่มีกำไรในปีนี้ ขอชื่นชม !!
◾ดับสุด: กองทุนเปิด Big Cap ปันผล หุ้นระยะยาว หรือ BIG CAP-D LTF (บลจ.ยูโอบี) ลบ 19.53% ตามมาด้วย กองทุนเปิด เอควิตี้โปร หุ้นระยะยาว หรือ EP-LTF (บลจ.โซลารีส) ลบ 17.36% … ซึ่งน่าสังเกตเช่นกัน ว่ากองทุน LTF ที่ให้ผลตอบแทนดีสุดกับแย่สุด ให้ผลตอบแทนต่างกันถึง 24.14% !! คือเยอะมากกนะครัช
6.กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ◾เด่นสุด: กองทุนเปิด ธนชาตตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ T-NFRMF (บลจ.ธนชาต) บวก 3.39% ตามมาด้วย กองทุนเปิด เค ตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ KFIRMF (บลจ.กสิกรไทย) บวก 3.18% … จะเห็นว่ากองทุน RMF ตราสารหนี้เข้าวินในปีนี้
◾ดับสุด: กองทุนเปิด โซลารีส ตราสารทุน เพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ S-EQRMF (บลจ.โซรารีส) ลบ 18.12% ตามมาด้วย กองทุนเปิด JUMBO 25 เพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ JB25RMF (บลจ.ทหารไทย) ลบ 15.52% … ชัดเจนว่ากองทุน RMF หุ้น ปีนี้เยินทั่วหน้า
จะเห็นได้ว่า ในวงการกองทุนรวม แม้จะเป็นหลักทรัพย์ประเภทเดียวกัน (Same asset class) กองทุนที่ดีที่สุด กับ แย่ที่สุด สามารถให้ผลตอบแทนต่างกันมหาศาล นักลงทุนจึงต้องเลือกบลจ.และกองทุนให้ดี
④ ดัชนีหุ้นต่างประเทศ (ข้อมูลจาก tradingeconomics.com)
◾บวกมากที่สุด: เวเนซูเอลา (IBVC) บวกไป 271% ตามมาด้วย จาไมก้า (JMSMX) บวกไป 96%
◾ลบมากที่สุด: ยูเครน (PFTS) ลบไป 39% ตามมาด้วย โคลอมเบีย (COLCAP) ลบไป 22%
(กราฟจาก bloomberg.com)
⑤ สินค้าโภคภัณฑ์สำคัญ (ข้อมูลจากบริการเอสเพน)
◾น้ำมันดิบ (Brent): ร่วงเยินต่อเนื่องไปอีก 36.2% (ปี 2557 ดิ่งลงไปแล้ว 48.5%)
◾ทองคำ: ลบไป 10.2% (จากที่ปีก่อนทรง ๆ) น่าจะมีสาเหตุจากความชัดเจนของมาตรการเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มาถึงยุคท้าย ๆ ของ QE แล้ว
⑥ เงินตราต่างประเทศสกุลสำคัญเทียบกับค่าเงินบาท (ข้อมูลจากบริการเอสเพน)
◾US Dollar: เงินบาทอ่อนค่าลง 9.6% เทียบกับ USD ตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและอัตราดอกเบี้ยที่กำลังจะเพิ่มขึ้นของสหรัฐฯ ผู้ส่งออกด้วยสกุล USD จะมีรายได้เพิ่มขึ้นเกือบ 10% ขณะที่ผู้นำเข้าจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นเกือบ 10% เช่นกัน
◾Japanese Yen: เงินบาทอ่อนค่าลง 9.1% เทียบกับ JPY ทำให้คนที่ไปเที่ยวญีปุ่นปีนี้ ต้องจ่ายแพงกว่าปีก่อนถึง 9%
◾Eurozone Euro: เงินบาทแข็งค่าขึ้นเพียง 1.5% เมื่อเทียบกับ EUR แต่เมื่อดูในรายละเอียดระหว่าง ก็มีความผันผวนอย่างมากเหมือนกัน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรยังฟื้นตัวช้าและไม่ชัดเจน ใครที่ไปเที่ยวยุโรปช่วงต้นปี 2558 ถือว่าโชคดีเพราะได้ซื้อของถูก (เงินยูโรอ่อน) แต่ใครที่ไปช่วงท้าย ๆ ของปีก็จะซื้อของแพงขึ้น (เงินยูโรแข็งขึ้น)
ของแถม 1: ที่สุดของตัวเลขเศรษฐกิจรอบโลก (ข้อมูลจาก tradingeconomics.com)
1.การขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP Growth เทียบกับปีก่อน) ◾สูงสุด: ไนจีเรีย บวก 9.19%
◾ต่ำสุด: โบลีเวีย ลบ 9.72%
◾ไทย: บวก 2.90%
2.อัตราเงินเฟ้อ (ตัวเลขยิ่งสูงยิ่งแสดงถึงการด้อยค่าของเงินสกุลท้องถิ่น) ◾สูงสุด: ซูดานใต้ บวก 73.60%
◾ต่ำสุด: เลบานอน ลบ 3.90%
◾ไทย: ลบ 0.97%
3.สัดส่วนหนี้ภาครัฐต่อ GDP (ตัวเลขยิ่งสูงยิ่งแสดงถึงภาระหนี้ของรัฐบาล) ◾สูงสุด: ญี่ปุ่น 230%
◾ต่ำสุด: Saudi Arabia 1.60% (รัฐบาลแทบจะไม่มีหนี้)
◾ไทย: 45.7%
4.จำนวนประชากร ◾สูงสุด: จีน 1,367 ล้านคน
◾ต่ำสุด: โมนาโก 4 หมื่นคน (แค่นั้นเอง)
◾ไทย: 67 ล้านคน
5.GDP per capita Purchasing Power Parity (PPP)-adjusted (ผลผลิตมวลรวมต่อรายประชากรที่ปรับความแตกต่างของค่าเงินและอำนาจซื้อแล้ว — ใช้สะท้อนถึงระดับความเจริญและคุณภาพชีวิตได้ระดับหนึ่ง) ◾สูงสุด:
(1) มาเก๊า $133,905 (4.82 ล้านบาท) ต่อคนต่อปี
(2) กาต้าร์ $133,563 (4.81 ล้านบาท) ต่อคนต่อปี
(3) หมู่เกาะเคย์แมน $89,400 (3.22 ล้านบาท) ต่อคนต่อปี
◾ต่ำสุด
(1) โซมาเลีย $547 (19,700 บาท) ต่อคนต่อปี
(2) อัฟริกากลาง $578 (20,800 บาท) ต่อคนต่อปี
(3) บูรุนดี $758 (27,300 บาท) ต่อคนต่อปี
◾ไทย: $13,987 (503,500 บาท) ต่อคนต่อปี
◾ตัวเลข GDP per capital PPP-adjusted ของ Macao สูงกว่า Somalia 245 เท่า (ลดลงจากปีก่อนที่ 255 เท่า) และสูงกว่าไทย 9.6 เท่า (ลดลงจากปีก่อนที่ 9.9 เท่า)
ของแถม 2: ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2558 และประมาณการปี 2559 (ข้อมูลจาก bot.or.th ณ 25 ธันวาคม 2558)
1.ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2558 A.มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่แย่ลงกว่าประมาณการณ์ ณ สิ้นปี 2557 … คือล่าสุดคาดว่าตลอดปี 2558 เศรษฐกิจจะเติบโต 2.8% ขณะที่ปลายปีก่อนมองไว้ว่าจะเติบโต 4.0%
B.การส่งออกฟื้นตัวช้าเนื่องจากประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างยุโรป ญี่ปุ่น และจีน เศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่าที่คาด
C.ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อลดลงมาก เนื่องจากราคาน้ำมันที่ลดลงต่อเนื่อง
2.ประมาณการเศรษฐกิจปี 2559 A.GDP ขยายตัวลดลงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 3.7% (ณ กันยายน 2558) เหลือ 3.5% (ณ ธันวาคม 2558)
B.เงินเฟ้อลดต่ำลงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้มาก โดยเงินเฟ้อทั่วไป (คิดจากราคาสินค้าทุกชนิด) อยู่ในระดับต่ำที่ +0.8% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ +1.2% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมราคาพลังงานและอาหารสดที่ผันผวนมากกว่า) จะอยู่ในระดับ +0.9% เช่น ซึ่งใกล้เคียงประมาณการเดิม
ส่วนเหตุการณ์จริงในปี 2016 จะเป็นอย่างไร ต้องติดตามกันต่อไป อย่างใกล้ชิดครับ สวัสดีปีใหม่คร้าบบ
[ติดตาม TIF ทาง LINE ได้ที่
http://line.me/ti/p/%40thinvestforum]
ที่มา
http://thailandinvestmentforum.com/2015/12/31/topinvestment2015/
..... ที่สุดของการลงทุนปี 2015 | หุ้นไทย หุ้นนอก กองทุนรวม ภาวะเศรษฐกิจ .....
ปี 2015 ผ่านไป ปี 2016 ผ่านเข้ามา มาดูกันว่า การลงทุนในหลักทรัพย์ต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ตลอดปี 2015 เป็นอย่างไรบ้าง
① ดัชนีหุ้นไทย (ข้อมูลจากบริการเอสเพน)
เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลตอบแทนรวมหรือ Total Return Index (TRI) ของหุ้นกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งสะท้อนทั้งผลจากราคาหุ้น การจ่ายปันผล และการได้รับสิทธิต่าง ๆ เช่น หุ้นปันผล ใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrants) ไว้หมดแล้ว พบว่าปีนี้เป็นที่ไม่สดใสเอาซะเลยของหุ้นไทย ดัชนีหุ้นทุกตัวติดลบทั่วหน้า มากบ้าง น้อยบ้าง ดังนี้
1.กลุ่มหุ้นเล็กหรือ mai … ลบเยิน ดิ่งไป 24.63% (ปี 2557 บวก 98.95%)
2.กลุ่มหุ้นใหญ่ หรือ SET50 TRI ลบไป 16.03% (ปี 2557 บวก 16.98%)
3.กลุ่มหุ้นปันผล หรือ SET 30 High Dividend TRI ลบ 15.36% (ปี 2557 บวก 9.31%)
4.หุ้นโดยรวม หรือ SET TRI ลบน้อยสุดคือ 11.23% (ปี 2557บวก 19.11%)
เท่ากับว่า หุ้นเล็ก ที่ขึ้นมาแรงมากในปีก่อน ปีนี้กลับนำหน้าดิ่งลงไปแรงสุด ตามมาด้วยหุ้นใหญ่ SET50 ที่ลงไปตามแรงขายของต่างชาติที่กระหน่ำมาตลอดปี 2558 ส่วนหุ้นปันผล SETHD ก็ไม่ได้ช่วยอะไร ลบไปไม่น้อย (ปีก่อนที่เขาบวกกันแรง ๆ หุ้นปันผลก็ตามหลังเช่นกัน) ในขณะที่หุ้นโดยรวม ๆ ก็ลบ แต่ในอัตราที่น้อยสุด
② หุ้นไทยรายตัว (ข้อมูลจาก setsmart.com และ บริการเอสเพน)
ในปีที่แย่ของตลาดโดยรวม ก็ยังมีหุ้นที่บวกได้เป็นเท่าตัวอยู่เช่นกัน โดย 3 อันดับแรกที่บวกร้อนแรงที่สุด คือ
1.บริษัท ทาพาโก้ จำกัด (มหาชน) หรือ TAPAC บวกขึ้นมาจาก 3.04 บาท เมื่อปลายปี 2557 มาอยู่ที่ 22.30 บาท เมื่อสิ้นปี 2558 หรือบวก 666.5% (เกือบ 7 เด้ง)
2.บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) หรือ GL บวกขึ้นมาจาก 5.75 บาท มาอยู่ที่ 18.20 บาท หรือบวก 216.5% (2 เด้งเศษ)
3.บริษัท ทิปโก้ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TIPCO บวกขึ้นมาจาก 6.40 บาท มาอยู่ที่ 14.50 บาท หรือบวก 173.4% (เกือบ 2 เด้ง)
3 อันดับแรกที่ร่วงเยินที่สุด คือ
1.บริษัท แอสเซท ไบร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ ABC ร่วงจาก 1.61 บาท เมื่อปลายปี 2557 มาเหลือเพียง 0.46 บาท เมื่อสิ้นปี 2558 เท่ากับร่วงลงไป 71.4% (เหลือเพียง 1 ใน 4 ) และที่ดราม่าที่สุดด้วยเช่นกันคือ หุ้นนี้เป็นหุ้นที่พุ่งแรงที่สุดในปี 2557 (บวกไป 27 เด้ง) ใครออกไม่ทันก็ตัวใครตัวมันครัช
2.บริษัท ดีเอ็นเอ 2002 จำกัด (มหาชน) หรือ DNA ร่วงจาก 3.00 บาท เหลือเพียง 1.71 บาท เท่ากับร่วงลงไป 43% (เหลือเพียงครึ่งเดียว)
3.บริษัท ซีเคพาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKP ร่วงจาก 3.40 บาท เหลือเพียง 1.98 บาท เท่ากับร่วงลงไป 41.8% (หายไปเกือบครึ่ง)
③ กองทุนรวมที่ซื้อได้ในประเทศไทยซึ่งรวมกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ (ข้อมูลจาก treasurist.com)
1.กองทุนหุ้นและหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม ◾เด่นสุด: กองทุนเปิด บัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ หรือ BCARE (บลจ.บัวหลวง) บวก 19.94% ตามมาด้วย กองทุนเปิดเกรธเธอร์ไชน่า หรือ GC (บลจ.ยูโอบี) บวก 11.89%
◾ดับสุด: กองทุนเปิด เคแทม เวิร์ด เมทัล แอนด์ ไมน์นิ่ง ฟันด์ หรือ KT-MINING (บลจ.กรุงไทย) ลบ 36.26% ตามมาด้วย กองทุนเปิด ทิสโก้ ละติน อเมริกา หรือ TISCOLAF (บลจ.ทิสโก้) ลบ 31.61%
2.กองทุนตราสารหนี้ ◾เด่นสุด: กองทุนเปิด เอ็มเอฟซี โกลบอล ออพพอร์ทูนิตี้ บอนด์ฟ ฟันด์ หรือ MGB (บลจ.เอ็มเอฟซี) บวก 8.03% ตามมาด้วย กองทุนเปิด วรรณเอเอ็ม โกลบอล บอนด์ หรือ 1AMGBF (บลจ.วรรณ) บวก 5.75%
◾ดับสุด: กองทุนเปิด วรรณ โกลบอล ออพพอร์ทูนิตี้ บอนด์ ฟันด์ หรือ 1GLOBALBOND (บลจ.วรรณ) ลบ 3.63% ตามมาด้วย กองทุนเปิด ทหารไทย Global Bond Fund หรือ TMBGF (บลจ.ทหารไทย) ลบ 2.37%
3.กองทุนผสม ◾เด่นสุด: กองทุนเปิด วรรณ ยูเอส รีคอฟเวอรี่ ออพพอร์ทูนิตี้ ฟันด์ หรือ 1US-OPP (บลจ.วรรณ) บวก 9.35% ตามมาด้วย กองทุนเปิด เอ็มเอฟซี ควอนท์ – อินเทลลิเจนซ์ พอร์ตฟอลิโอ ฟันด์ หรือ Q-PORT (บลจ.เอ็มเอฟซี) บวก 7.77%
◾ดับสุด: กองทุนเปิด วรรณ เฟล็กซิเบิล คืนกำไร หรือ FLEXAR (บลจ.วรรณ) ลบ 17.58% ตามมาด้วย กองทุนเปิด ทีซีเอ็ม พลทรัพย์ หรือ TCMCSF (บลจ.ทิสโก้) ลบ 13.99%
4.กองทุนตลาดเงิน ◾เด่นสุด: กองทุนเปิด ไทย แคช แมเนจเม้นท์ เอ็นจอย หรือ TCMFENJOY (บลจ.ยูโอบี) บวก 1.88%
◾ดับสุด: กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารรัฐตลาดเงิน หรือ SCBTMF (บลจ.ไทยพาณิชย์) บวก 0.97% (บวกน้อยที่สุดในบรรดากองทุนตลาดเงิน ติดต่อกันหลายปี)
5.กองทุนหุ้นระยะยาว (LTF) ◾เด่นสุด: กองทุนเปิด เอ็มเอฟซี โกลบอล หุ้นระยะยาว หรือ MG-LTF (บลจ.เอ็มเอฟซี) บวก 4.61% ตามมาด้วย กองทุน เค 20 ซีเล็คท์ หุ้นระยะยาวปันผล หรือ K20SLTF (บลจ.กสิกรไทย) บวก 3.10% … ซึ่งน่าสังเกตว่า แม้ดัชนีหุ้นโดยรวมจะร่วงถึง 10% กว่า แต่ก็ยังมีกอง LTF ที่มีกำไรในปีนี้ ขอชื่นชม !!
◾ดับสุด: กองทุนเปิด Big Cap ปันผล หุ้นระยะยาว หรือ BIG CAP-D LTF (บลจ.ยูโอบี) ลบ 19.53% ตามมาด้วย กองทุนเปิด เอควิตี้โปร หุ้นระยะยาว หรือ EP-LTF (บลจ.โซลารีส) ลบ 17.36% … ซึ่งน่าสังเกตเช่นกัน ว่ากองทุน LTF ที่ให้ผลตอบแทนดีสุดกับแย่สุด ให้ผลตอบแทนต่างกันถึง 24.14% !! คือเยอะมากกนะครัช
6.กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ◾เด่นสุด: กองทุนเปิด ธนชาตตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ T-NFRMF (บลจ.ธนชาต) บวก 3.39% ตามมาด้วย กองทุนเปิด เค ตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ KFIRMF (บลจ.กสิกรไทย) บวก 3.18% … จะเห็นว่ากองทุน RMF ตราสารหนี้เข้าวินในปีนี้
◾ดับสุด: กองทุนเปิด โซลารีส ตราสารทุน เพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ S-EQRMF (บลจ.โซรารีส) ลบ 18.12% ตามมาด้วย กองทุนเปิด JUMBO 25 เพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ JB25RMF (บลจ.ทหารไทย) ลบ 15.52% … ชัดเจนว่ากองทุน RMF หุ้น ปีนี้เยินทั่วหน้า
จะเห็นได้ว่า ในวงการกองทุนรวม แม้จะเป็นหลักทรัพย์ประเภทเดียวกัน (Same asset class) กองทุนที่ดีที่สุด กับ แย่ที่สุด สามารถให้ผลตอบแทนต่างกันมหาศาล นักลงทุนจึงต้องเลือกบลจ.และกองทุนให้ดี
④ ดัชนีหุ้นต่างประเทศ (ข้อมูลจาก tradingeconomics.com)
◾บวกมากที่สุด: เวเนซูเอลา (IBVC) บวกไป 271% ตามมาด้วย จาไมก้า (JMSMX) บวกไป 96%
◾ลบมากที่สุด: ยูเครน (PFTS) ลบไป 39% ตามมาด้วย โคลอมเบีย (COLCAP) ลบไป 22%
(กราฟจาก bloomberg.com)
⑤ สินค้าโภคภัณฑ์สำคัญ (ข้อมูลจากบริการเอสเพน)
◾น้ำมันดิบ (Brent): ร่วงเยินต่อเนื่องไปอีก 36.2% (ปี 2557 ดิ่งลงไปแล้ว 48.5%)
◾ทองคำ: ลบไป 10.2% (จากที่ปีก่อนทรง ๆ) น่าจะมีสาเหตุจากความชัดเจนของมาตรการเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มาถึงยุคท้าย ๆ ของ QE แล้ว
⑥ เงินตราต่างประเทศสกุลสำคัญเทียบกับค่าเงินบาท (ข้อมูลจากบริการเอสเพน)
◾US Dollar: เงินบาทอ่อนค่าลง 9.6% เทียบกับ USD ตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและอัตราดอกเบี้ยที่กำลังจะเพิ่มขึ้นของสหรัฐฯ ผู้ส่งออกด้วยสกุล USD จะมีรายได้เพิ่มขึ้นเกือบ 10% ขณะที่ผู้นำเข้าจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นเกือบ 10% เช่นกัน
◾Japanese Yen: เงินบาทอ่อนค่าลง 9.1% เทียบกับ JPY ทำให้คนที่ไปเที่ยวญีปุ่นปีนี้ ต้องจ่ายแพงกว่าปีก่อนถึง 9%
◾Eurozone Euro: เงินบาทแข็งค่าขึ้นเพียง 1.5% เมื่อเทียบกับ EUR แต่เมื่อดูในรายละเอียดระหว่าง ก็มีความผันผวนอย่างมากเหมือนกัน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรยังฟื้นตัวช้าและไม่ชัดเจน ใครที่ไปเที่ยวยุโรปช่วงต้นปี 2558 ถือว่าโชคดีเพราะได้ซื้อของถูก (เงินยูโรอ่อน) แต่ใครที่ไปช่วงท้าย ๆ ของปีก็จะซื้อของแพงขึ้น (เงินยูโรแข็งขึ้น)
ของแถม 1: ที่สุดของตัวเลขเศรษฐกิจรอบโลก (ข้อมูลจาก tradingeconomics.com)
1.การขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP Growth เทียบกับปีก่อน) ◾สูงสุด: ไนจีเรีย บวก 9.19%
◾ต่ำสุด: โบลีเวีย ลบ 9.72%
◾ไทย: บวก 2.90%
2.อัตราเงินเฟ้อ (ตัวเลขยิ่งสูงยิ่งแสดงถึงการด้อยค่าของเงินสกุลท้องถิ่น) ◾สูงสุด: ซูดานใต้ บวก 73.60%
◾ต่ำสุด: เลบานอน ลบ 3.90%
◾ไทย: ลบ 0.97%
3.สัดส่วนหนี้ภาครัฐต่อ GDP (ตัวเลขยิ่งสูงยิ่งแสดงถึงภาระหนี้ของรัฐบาล) ◾สูงสุด: ญี่ปุ่น 230%
◾ต่ำสุด: Saudi Arabia 1.60% (รัฐบาลแทบจะไม่มีหนี้)
◾ไทย: 45.7%
4.จำนวนประชากร ◾สูงสุด: จีน 1,367 ล้านคน
◾ต่ำสุด: โมนาโก 4 หมื่นคน (แค่นั้นเอง)
◾ไทย: 67 ล้านคน
5.GDP per capita Purchasing Power Parity (PPP)-adjusted (ผลผลิตมวลรวมต่อรายประชากรที่ปรับความแตกต่างของค่าเงินและอำนาจซื้อแล้ว — ใช้สะท้อนถึงระดับความเจริญและคุณภาพชีวิตได้ระดับหนึ่ง) ◾สูงสุด:
(1) มาเก๊า $133,905 (4.82 ล้านบาท) ต่อคนต่อปี
(2) กาต้าร์ $133,563 (4.81 ล้านบาท) ต่อคนต่อปี
(3) หมู่เกาะเคย์แมน $89,400 (3.22 ล้านบาท) ต่อคนต่อปี
◾ต่ำสุด
(1) โซมาเลีย $547 (19,700 บาท) ต่อคนต่อปี
(2) อัฟริกากลาง $578 (20,800 บาท) ต่อคนต่อปี
(3) บูรุนดี $758 (27,300 บาท) ต่อคนต่อปี
◾ไทย: $13,987 (503,500 บาท) ต่อคนต่อปี
◾ตัวเลข GDP per capital PPP-adjusted ของ Macao สูงกว่า Somalia 245 เท่า (ลดลงจากปีก่อนที่ 255 เท่า) และสูงกว่าไทย 9.6 เท่า (ลดลงจากปีก่อนที่ 9.9 เท่า)
ของแถม 2: ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2558 และประมาณการปี 2559 (ข้อมูลจาก bot.or.th ณ 25 ธันวาคม 2558)
1.ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2558 A.มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่แย่ลงกว่าประมาณการณ์ ณ สิ้นปี 2557 … คือล่าสุดคาดว่าตลอดปี 2558 เศรษฐกิจจะเติบโต 2.8% ขณะที่ปลายปีก่อนมองไว้ว่าจะเติบโต 4.0%
B.การส่งออกฟื้นตัวช้าเนื่องจากประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างยุโรป ญี่ปุ่น และจีน เศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่าที่คาด
C.ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อลดลงมาก เนื่องจากราคาน้ำมันที่ลดลงต่อเนื่อง
2.ประมาณการเศรษฐกิจปี 2559 A.GDP ขยายตัวลดลงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 3.7% (ณ กันยายน 2558) เหลือ 3.5% (ณ ธันวาคม 2558)
B.เงินเฟ้อลดต่ำลงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้มาก โดยเงินเฟ้อทั่วไป (คิดจากราคาสินค้าทุกชนิด) อยู่ในระดับต่ำที่ +0.8% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ +1.2% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมราคาพลังงานและอาหารสดที่ผันผวนมากกว่า) จะอยู่ในระดับ +0.9% เช่น ซึ่งใกล้เคียงประมาณการเดิม
ส่วนเหตุการณ์จริงในปี 2016 จะเป็นอย่างไร ต้องติดตามกันต่อไป อย่างใกล้ชิดครับ สวัสดีปีใหม่คร้าบบ
[ติดตาม TIF ทาง LINE ได้ที่ http://line.me/ti/p/%40thinvestforum]
ที่มา http://thailandinvestmentforum.com/2015/12/31/topinvestment2015/