『 อะไรๆก็โตเกียว...ไปรึเปล่า? 』



เนื้อหาจาก FB: JapanPerspective (http://www.facebook.com/JapanPerspectives )


< แม้อาจจะคนละ สเกล ก็ตาม >

แต่โตเกียวก็เหมือนกรุงเทพ ในฐานะที่เป็นเมืองหลวง ผู้คนจากทั่วประเทศ ต่างแห่แหนกันเข้ามาขุดทอง มาหาโอกาสที่เมืองนี้

ความเจริญ โครงการเมกะโปรเจ็กท์ต่างๆ จึงแทบจะเทหมดหน้าตัก ณ ที่แห่งนี้


นานวันเข้า...จึงเกิดคำถามว่า  

“อะไรๆก็โตเกียว...ไปรึเปล่า?”    
“ญี่ปุ่นไม่ได้มีแค่โตเกียวนะ (เฟ้ย)”!!


โพสนี้อาจจะยาว (ไม่) หน่อยนะครับ แต่อยากให้ลองอ่านดูกัน ^^


////////////////////////

จากเหตุ 311 แผ่นดินไหว-สึนามิ-กัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ

ผู้นำภาคธุรกิจ+การเมือง ในโอซาก้า มีความกังวลถึงการ ”รวมศูนย์อำนาจ” แทบทุกอย่างไว้ที่กรุงโตเกียว

หากโตเกียวเป็นอะไรไป ทั้งประเทศก็กระทบหนัก จึงต้องการให้เกิดการ “กระจายอำนาจ”
ให้ผู้คน+ภาคธุรกิจ+รัฐบาล ย้ายถิ่นฐานไปที่อื่นบ้าง…โดยเฉพาะโอซาก้า ที่เป็นดั่งเมืองรองจากโตเกียว
.
.
.
ซึ่งหวังให้ผู้คนกว่า 13 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในโตเกียว หนึ่งในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุดในโลก เห็นถึงภยันตรายนี้ซะที


โดยเฉพาะฝ่ายบริหาร และ ฝ่าย IT ที่ประชุมผ่าน Skype กันในเหตุ 311 นั้น เป็นตัวบ่งชี้ว่า
ผู้เข้าร่วมประชุมไม่จำเป็นต้องมาเสนอเจอหน้ากันในสถานที่เดียวกันก็ได้ ...การย้ายไปทิ่อื่น โดยเฉพาะโอซาก้า
เป็นการลดความเสี่ยงที่บริษัทอาจพังพินาศทั้งบริษัทเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติธรรมชาติร้ายแรง


ทั้งยังเสริมว่า ค่าครองชีพในโอซาก้าถูกกว่าโตเกียวราว 15-20%
บริษัทก็สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ อย่างเช่น เบี้ยเลี้ยงค่าเช่าบ้านแก่พนักงาน


+++
ทั้งนี้ ก็มีเสียงจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะคนที่เกิดและโตที่โตเกียว ว่า
โตเกียวเป็นเหมือน “บ้าน” ไปแล้ว เค้ามีความคุ้นเคยคุ้นชินเกินกว่าจะให้ย้ายไปที่อื่น
และ ‘เต็มใจ’ ที่จะรับมือกับเหตุภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น


ความเห็นแย้งนี้ ทำเอาคณะผู้แทนโอซาก้า พูดเชิงตัดพ้อว่า

“ความพยายามในการกระจายอำนาจ โน้มน้าวภาคธุรกิจ+ผู้คนจากโตเกียวมายังโอซาก้า
อาจยากกว่า ความพยายามในการรับมือกับภัยพิบัติธรรมชาติ เสียอีก” (TT)


--------------------------------

เมื่อก่อน...

ประชากรกรุงโตเกียวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆนิดๆหน่อยๆในช่วงต้น ศตวรรษที่ 20 แต่พอยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ก็พุ่งทะยานแบบฉุดไม่อยู่ จากราวๆ 3.5 ล้านคนในปี 1945 ไปเป็น 11 ล้านคนใน 1970

นี่เป็นยุคที่คนหนุ่มสาวจากบ้านนอก อพยพมาทำงานในเมืองอย่างจ้าละหวั่น
เพลงที่มีเนื้อหาแนวคิดถึงบ้านเกิดเพราะเหงาในเมืองใหญ่ก็บูมประมาณช่วงนี้
.
.
.
พอถึง 2010 โตเกียวมีประชากรกว่า 13 ล้านคน และหากรวมปริมณฑลรอบๆอย่าง ชิบะ+อิบารากิ+ไซตามะ+คานากาว่า แล้วล่ะก็
จะมีมากกว่า 30 ล้านคน ซึ่งนั่นคิดเป็นประชากรราว 1 ใน 4 ของประเทศเลย!!


(ผมว่าความกังวลจากโอซาก้าลีดเดอร์ก็ฟังมีเหตุผลนะครับ คิดดูว่าหากเกิดภัยพิบัติธรรมชาติรุนแรงบริเวณโตเกียว
ที่ซึ่งทรัพยากรกว่า 1 ใน 4 ของประเทศอาศัยอยู่ [+ภาคธุรกิจ เงินทุน ความเจริญพัฒนาต่างๆ]
ความพังพินาศ ความเสียหายต่อประเทศคงประเมินค่าไม่ได้จริงๆ ><)
.
.
.
จากข้อมูล…


กว่า 60% ของบริษัทญี่ปุ่น ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โตเกียว +และกว่า 76% ของธุรกิจต่างชาติ ล้วนตั้งอยู่ในโตเกียว

ภายในปี 2040 กว่า 35% ของผู้อยู่อาศัยในโตเกียว จะมีอายุอย่างต่ำ 65 ปี

ยิ่งกว่านั้น สื่อรายการทีวีต่างๆที่ถ่ายทำกัน ล้วนแทบผลิตบริเวณกรุงโตเกียวแทบทั้งสิ้น
โตเกียวจึงเหมือนเอาทั้ง New York + Washinton, D.C. + Hollywood มายำรวมกัน !


--------------------------------------

Mr.Taichi Sakaiya ที่ปรึกษานายกฯชินโซะ อาเบะ ก็ออกมาบิ้วอารมณ์เมื่อตุลาปีที่แล้วว่า

“เป็นเวลาเนิ่นนานมาแล้ว ที่ญี่ปุ่นได้ทำการกระจายอำนาจ เพื่อยุติ ‘อะไรๆก็โตเกียว’ ซึ่งไม่เป็นประโยชน์สำหรับประเทศนักในภาพรวม”

“ทำไมต้องโตเกียวเท่านั้น?

โอซาก้าและโตเกียว ก็สามารถเป็น ‘twin engines’ ให้แก่เศรษฐกิจญี่ปุ่นได้นี่”
.
.
.
อันที่จริง ไม่ใช่แค่โอซาก้าเท่านั้น ที่อยากให้ผู้คนย้ายถิ่นฐานออกจากโตเกียว

แต่ภูมิภาคอื่นๆก็โน้มน้าวเช่นกัน อย่าง ฮอกไกโด (อ่าห์...ซอฟครีมรสนมลอยมาเลย ><)

ที่ชูความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ โฟกัสเน้นที่ผู้เกษียณ ให้มาดื่มด่ำกับธรรมชาติ ใช้ชีวิตบั้นปลายหลังจากที่เหนื่อยพยายามมามากแล้ว


แต่ความกังวลของคนที่ชินกับการใช้ชีวิตในโตเกียว ที่แวดล้อมไปด้วย ‘ความสะดวกสบาย’ ของระบบขนส่งสาธารณะอันยอดเยี่ยม
+สถานพยาบาลที่ครอบคลุม +สภาพภูมิอากาศโดยรวมที่ ‘กำลังดี’


...มักกลัวว่าพอย้ายไปที่อื่นแล้ว จะไม่สะดวกสบายเท่า โรงบาลอยู่ไกล หิมะตกหนัก (ฮอกไกโด) ร้อนเกิ๊น (โอกินาว่า)
รถไฟวิ่งไม่ถี่บ้าง รอรถเมล์นานบ้าง หรือหากบางครั้งอยากแวะกลับมาทักทายโตเกียวที่รัก...ก็ไกล๊ไกลไม่สะดวก
.
.
.
“ความหวัง” ที่จะมาสยบอุปสรรคของระยะทางนี้ คือ >>>

“รถไฟ Maglev” (ตอนนี้ก่อสร้างอยู่) ที่เริ่มต้นจาก Tokyo-Nagoya และจะขยายไปถึง Osaka ตามแพลนภายในปี 2045 (แก่พอดีครัช TT)

นั่นจะทำให้การเดินทางจาก Tokyo-Osaka ลดลงจากประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง (ชินคันเซ็น) เหลือเพียงแค่ 1 ชั่วโมงเท่านั้น (Maglev)

แต่นั่นก็ดูเป็นทางออกในอนาคตอันไกลโพ้นอยู่ดี
.
.
.
ไหนจะเรื่องการแบ่งแยกจิกกัดเล็กๆอีก...

ที่โอซาก้า >>> คนที่มีสำเนียงแบบโตเกียวก็อาจถูกเยาะเย้ยกวนทีนได้

หรือที่เกียวโต >>> ซึ่งอาจไม่เปิดรับ ‘คนนอก’ เท่าที่ควร สถานที่ที่คุณจะถูกยอมรับว่าเป็น “ชาวเกียวโตแท้ๆ” ก็ต่อเมื่อ
                            ตระกูลของคุณอาศัยอยู่ที่นี่มาอย่างต่ำ 3 ชั่วอายุคนแล้ว


การเปลี่ยนทัศนคติเหล่านี้ ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน


///////////////////////////


สรุป...

ในบทความไม่ได้พยายามไซโคว่า...เมืองไหนดีกว่ากัน?

แค่บอกถึงปัญหาว่า ‘โตเกียว’ เหมือนขโมยประชากร เงินลงทุน อะไรต่างๆมากมาย ไปจากส่วนอื่นของญี่ปุ่น

ด้วยความที่มีระบบสาธารณูปโภคที่เหนือกว่า งานมากกว่า หน่วยงานรัฐบาล ฯลฯ
.
.
.
จุดประสงค์ คือ ต้องการให้หยุด “การรวมศูนย์อำนาจ” นี้เสียที และกระจายมันออกไปซะ เพราะคงเป็นไอเดียที่ไม่เข้าท่าเลย

หากทุ่มแทบหมดหน้าตักให้แก่เมืองๆเดียว และหากเมืองนี้โดนภัยพิบัติธรรมชาติรุนแรงล่ะ? ทั้งประเทศก็ย่อยยับสิ


ก็เป็นความกังวลที่ต้องดูต่อไปครับ ว่าผลจะเป็นอย่างไร...


==========================

ดูญี่ปุ่นแล้ว หันมาดูบ้านเรามั่ง

ผมรู้สึกว่าสถานการณ์บ้านเราก็ไม่ต่างจากญี่ปุ่นเลย (ในประเด็นของการรวมศูนย์อำนาจ) อาจจะหนักกว่าด้วยซ้ำ …
.
.
.
ผม ที่เกิดและโตที่กรุงเทพฯ ก็รู้สึกว่ากรุงเทพมันก็ไม่ได้ดีไปหมดขนาดน้านหรอก (เมื่อเทียบกับเมืองระดับโลกอื่นๆ)

แต่เมื่อครั้งได้ไปจังหวัดอื่น ได้ลองเปรียบเทียบกับกรุงเทพ การพัฒนาในเรื่องของ “ความเป็นเมือง”


ต้องขอสารภาพว่า

มันช่าง “แตกต่างกันเหลือเกิน”

ขนาดเมืองรองๆของบ้านเรา อย่าง เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา หัวหิน ภูเก็ต พัทยา ฯลฯ
เทียบกับกรุงเทพไม่ได้เลย กรุงเทพทิ้งห่างไม่เห็นฝุ่น
.
.
.
ขณะที่ ‘เมืองรอง’ ของญี่ปุ่น เช่น โอซาก้า นาโกย่า ซัปโปโร ฯลฯ ...แน่นอนว่าไม่ได้เทียบเท่าโตเกียว
แต่มันมี “ความเป็นเมือง” ในระดับนึงเลย (ใหญ่เลยแหละ)


มีผังเมืองที่ดี ระบบขนส่งมวลชนครอบคลุม มีงาน โรงพยาบาลชั้นนำ การศึกษา ฯลฯ
.
.
.
ต้องขออภัยด้วยครับ ที่เอ่ยแบบนี้ไม่ได้ตั้งใจจะหักหามน้ำใจกันนะครับ


แค่อยากเตือนให้พวกเรารู้ตัวว่า นี่ (อาจจะ) เป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้นในอนาคตก็ได้
เพราะดูแล้วนับวันๆมันยิ่งทิ้งห่างเรื่อยๆ ความเหลื่อมล้ำขยายกว้างขึ้นๆ


โตเกียว - มีความเสี่ยงเกิดแผ่นดินไหว
กรุงเทพ - มีความเสี่ยงเรื่องน้ำท่วมกรุง


(ดังช่วงปีนึง ที่มีการวิเคราะห์ว่าในอนาคต กรุงเทพอาจถูกน้ำท่วมมิดได้ เลยจะย้ายหน่วยงานรัฐบาลไปยังจังหวัดอื่นๆ)


========================

แล้วคุณมีความเห็นอย่างไรกับบทความนี้ครับ

เม้นท์มาพูดคุยกันได้เลยยยย

ผมรอฟังคุณอยู่นะคร้าบบ

- JapanPerspective –


Source: http://www.japantimes.co.jp/life/2015/11/28/lifestyle/tokyo-killing-rest-japan/#.VlvLg17jF8H


** ขอขอบคุณอีกครั้ง FB: JapanPerspective (http://www.facebook.com/JapanPerspectives )
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่