การกลับไปเยือนบ้านโปง อำเภอสันทราย ของเชียงใหม่ ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สองหลังจากไปท่องเที่ยวหมู่บ้านแห่งนี้เมื่อปี 2553 หรือ 5 ปีที่ผ่านมา (สัมผัส “บ้านโปง” Home Stay ใกล้เมืองเชียงใหม่ :ป่าเบญจพรรณ -ฟาร์มโคบาลคาวบอย)
http://www.oknation.net/blog/akom/2010/02/14/entry-1
บ้านโปงในอดีตที่ผมเคยรีวิวจุดขายชุมชนแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) ป่าเบญจพรรณที่ยังอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำ และ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agro Tourism) ที่อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองนัก ห่างเพียง 12 กิโลเมตร ลัดเลาะไปด้านหลังมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การเดินตามรอยเดิมอีกครั้งก็รู้สึกแปลกตาออกไปพอสมควร เพราะอาจจะมาช่วงหน้าหนาว ต่างกับครั้งก่อน แต่ก็เห็นภาพของการอนุรักษ์ป่าแห่งนี้ไว้อย่างดีจะเห็นภาพการบวชต้นไม้ที่นำผ้าเหลืองมาผูกต้นไม้เต็มไปหมด ซึ่งถือว่าชุมชนบ้านโปงแห่งนี้ได้รักษาป่าบริเวณลุ่มน้ำห้วยโจ้ไว้อย่างต่อเนื่องหลังจากที่ปี 2521 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมีพระราชกระแสรับสั่งให้มหาวิทยาลัยฯ หาลู่ทางเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาต้นน้ำห้วยแม่โจ้ และพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกในฤดูแล้งแก่ราษฎรในบริเวณใกล้เคียง และได้มีการติดตามโครงการมาอย่างต่อเนื่อง
กระทั่งปี 2535 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ขอเข้าทำประโยชน์ในเขตพื้นที่ป่าไม้ เพื่อการศึกษาและพัฒนาป่าไม้บ้านโปง ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ผืนป่าแห่งนี้อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าสันทรายท้องที่ตำบลหนองหาร และตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ 3,686 ไร่
ชาวบ้านบ้านโปงจึงเรียกกันติดปากว่าป่าอนุรักษ์บ้านโปง ความสำคัญของป่ามีสภาพเป็นป่าเต็งรัง มีความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแมกไม้นานาพรรณ มีสัตว์ปีก นก แมลง และผีเสื้อ ที่สวยงาม โดยใช้ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นสถานที่วิจัยป่าในด้านต่างๆส่วนชาวบ้านบ้านโปงใช้ป่าแห่งนี้เป็นแหล่งอาหารจากป่า เช่น เห็ด พืชป่าที่กินได้ การอนุรักษ์ป่าร่วมกันโดยใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ศึกษาหาความรู้จากธรรมชาติที่มีอยู่ อันจะเป็นประโยชน์แก่บุคคลทั่วไปอย่างยั่งยืน
ภาพที่เห็นปัจจุบันบ้านโปงยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญหลายแห่งที่ยังคงเสน่ห์ความสวยงามไว้ บรรยากาศแบบคาวบอยยังไม่จางหาย
หากขับรถเข้าไปยังบ้านโปงด้านหลังของม.แม่โจ้ ทางซ้ายมือก็จะมีฟาร์มแกะขนาดใหญ่แทะเล็มหญ้าอยู่ แต่สิ่งที่น่าสังเกตคือมีร้านกาแฟ ร้านอาหารเพิ่มมากขึ้นก็ได้บรรยากาศจิบกาแฟแบบคาวบอย
หลังจากนั้นก็จะเห็นป้ายเลี้ยวเข้าไปยังบ้านโปง ตำบลป่าไผ่อีกประมาณ 4 กิโลเมตร ซึ่งด้านในหมู่บ้านโปงจะมีจุดท่องเที่ยวที่สำคัญเช่นเดิมคือค่ายลูกเสือแทนคุณ เพื่อรองรับการเข้าค่ายลูกเสือของโรงเรียนต่าง ๆ การไปชมอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ที่เป็นสถานที่นิยมของนักตกปลา ขับเลยไปอีกก็จะเป็นวัดดอยแท่นพระผาหลวง ที่ในโบสถ์จะมีพระพุทธรูปองค์พระประธานนั่งหันหลัง ในวิหารวัดดอยแท่นพระผาหลวง และหันหน้าไปยังแท่นหินสูง และกลางปีนี้ก็มีศรัทธามากราบอย่างล้นหลาม
[SR] บ้านโปง-แม่โจ้ที่เปลี่ยนผ่านสู่ท่องเที่ยว Farm-ganic เชิงเกษตรอินทรีย์เต็มตัว
การกลับไปเยือนบ้านโปง อำเภอสันทราย ของเชียงใหม่ ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สองหลังจากไปท่องเที่ยวหมู่บ้านแห่งนี้เมื่อปี 2553 หรือ 5 ปีที่ผ่านมา (สัมผัส “บ้านโปง” Home Stay ใกล้เมืองเชียงใหม่ :ป่าเบญจพรรณ -ฟาร์มโคบาลคาวบอย) http://www.oknation.net/blog/akom/2010/02/14/entry-1
บ้านโปงในอดีตที่ผมเคยรีวิวจุดขายชุมชนแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) ป่าเบญจพรรณที่ยังอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำ และ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agro Tourism) ที่อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองนัก ห่างเพียง 12 กิโลเมตร ลัดเลาะไปด้านหลังมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การเดินตามรอยเดิมอีกครั้งก็รู้สึกแปลกตาออกไปพอสมควร เพราะอาจจะมาช่วงหน้าหนาว ต่างกับครั้งก่อน แต่ก็เห็นภาพของการอนุรักษ์ป่าแห่งนี้ไว้อย่างดีจะเห็นภาพการบวชต้นไม้ที่นำผ้าเหลืองมาผูกต้นไม้เต็มไปหมด ซึ่งถือว่าชุมชนบ้านโปงแห่งนี้ได้รักษาป่าบริเวณลุ่มน้ำห้วยโจ้ไว้อย่างต่อเนื่องหลังจากที่ปี 2521 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมีพระราชกระแสรับสั่งให้มหาวิทยาลัยฯ หาลู่ทางเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาต้นน้ำห้วยแม่โจ้ และพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกในฤดูแล้งแก่ราษฎรในบริเวณใกล้เคียง และได้มีการติดตามโครงการมาอย่างต่อเนื่อง
กระทั่งปี 2535 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ขอเข้าทำประโยชน์ในเขตพื้นที่ป่าไม้ เพื่อการศึกษาและพัฒนาป่าไม้บ้านโปง ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ผืนป่าแห่งนี้อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าสันทรายท้องที่ตำบลหนองหาร และตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ 3,686 ไร่
ชาวบ้านบ้านโปงจึงเรียกกันติดปากว่าป่าอนุรักษ์บ้านโปง ความสำคัญของป่ามีสภาพเป็นป่าเต็งรัง มีความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแมกไม้นานาพรรณ มีสัตว์ปีก นก แมลง และผีเสื้อ ที่สวยงาม โดยใช้ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นสถานที่วิจัยป่าในด้านต่างๆส่วนชาวบ้านบ้านโปงใช้ป่าแห่งนี้เป็นแหล่งอาหารจากป่า เช่น เห็ด พืชป่าที่กินได้ การอนุรักษ์ป่าร่วมกันโดยใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ศึกษาหาความรู้จากธรรมชาติที่มีอยู่ อันจะเป็นประโยชน์แก่บุคคลทั่วไปอย่างยั่งยืน
ภาพที่เห็นปัจจุบันบ้านโปงยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญหลายแห่งที่ยังคงเสน่ห์ความสวยงามไว้ บรรยากาศแบบคาวบอยยังไม่จางหาย
หากขับรถเข้าไปยังบ้านโปงด้านหลังของม.แม่โจ้ ทางซ้ายมือก็จะมีฟาร์มแกะขนาดใหญ่แทะเล็มหญ้าอยู่ แต่สิ่งที่น่าสังเกตคือมีร้านกาแฟ ร้านอาหารเพิ่มมากขึ้นก็ได้บรรยากาศจิบกาแฟแบบคาวบอย
หลังจากนั้นก็จะเห็นป้ายเลี้ยวเข้าไปยังบ้านโปง ตำบลป่าไผ่อีกประมาณ 4 กิโลเมตร ซึ่งด้านในหมู่บ้านโปงจะมีจุดท่องเที่ยวที่สำคัญเช่นเดิมคือค่ายลูกเสือแทนคุณ เพื่อรองรับการเข้าค่ายลูกเสือของโรงเรียนต่าง ๆ การไปชมอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ที่เป็นสถานที่นิยมของนักตกปลา ขับเลยไปอีกก็จะเป็นวัดดอยแท่นพระผาหลวง ที่ในโบสถ์จะมีพระพุทธรูปองค์พระประธานนั่งหันหลัง ในวิหารวัดดอยแท่นพระผาหลวง และหันหน้าไปยังแท่นหินสูง และกลางปีนี้ก็มีศรัทธามากราบอย่างล้นหลาม
จุดขายอีกแห่งที่สำคัญใกล้บ้านโปงคือ สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พื้นที่ 907 ไร่ กว้างขวางมาก เป็นสถานที่ปลูกพืชการเกษตร ดอกไม้ ลำไย ซึ่งผมถือว่าเป็นศูนย์กลางแห่งการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่น่าสนใจของเชียงใหม่ ฟาร์มแห่งนี้ ตั้งอยู่บนเนินเขาเล็กๆสามารถชมวิวทิวทัศน์ ในตัวเมืองเชียงใหม่ ดูดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ในยามเย็น นักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายภาพ และคู่รักก็มักจะมาถ่าย Pre Wedding ในฤดูหนาวทางสำนักฟาร์มก็จะมีการปลูกไม้ดอกมีสีสันสวยงามเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว และที่สำคัญกลายเป็นเส้นทางปั่นจักรยานที่ได้รับความนิยมในเชียงใหม่อีกแห่งหนึ่ง
อาจารย์มิ่งขวัญ แดงสุวรรณ หัวหน้าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เล่าให้ฟังถึงสถานการณ์การท่องเที่ยวของบ้านโปงว่าปัจจุบันได้เน้นกลุ่มจัดกิจกรรมด้านจิตอาสาด้านการบวชป่า แคมปปิ้ง เดินป่า และการปั่นจักรยานท่องเที่ยว ซึ่งในปีที่ผ่านมามีกลุ่มนักท่องเที่ยวและหน่วยงานมาจัดกิจกรรมกว่า 5,000 คน ซึ่งการพักก็สามารถเลือกได้ว่าจะพักแบบไหนทั้งที่พักในฟาร์มมหาวิทยาลัย หรือจะเป็นโฮมสเตย์ที่ขณะนี้มีทั้งหมด 8 หลัง
“การปรับเปลี่ยนการท่องเที่ยวในพื้นที่ก็เริ่มให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรมากขึ้นจากเดิมที่เป็นเชิงนิเวศ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ให้ความสำคัญกับเกษตรแบบอินทรีย์และส่งเสริมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ปลูกพืชแบบอินทรีย์มากขึ้น ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาพักและสัมผัสการเกษตรแบบปลอดสารพิษในพื้นที่ได้ ซึ่งขณะนี้ชาวบ้านก็เริ่มสนใจและเข้าร่วมโครงการมากขึ้นด้วย”
โดยเฉพาะในสำนักฟาร์ม ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ก็ได้นำพื้นที่ 133 ไร่ จัดตั้งเป็น สวนพฤกษศาสตร์กล้วยไม้ร้อยปีสมเด็จย่าและสวนสมุนไพร 37 ไร่ การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ของสาขาพืชผักและแปลงงานวิจัยพืชสมุนไพร 11 ไร่ การผลิตยางพาราในระบบอินทรีย์ 37 ไร่ การผลิตผักในระบบอินทรีย์ของสำนักฟาร์ม 9 ไร่ การผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองในระบบอินทรีย์ 8 ไร่ การผลิตมะม่วงพันธุ์มหาชนกในระบบอินทรีย์ 15 ไร่ การผลิตลำไยในระบบอินทรีย์ 16 ไร่
นอกจากนั้นได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา พื้นที่ 35 ไร่ แหล่งเรียนรู้ต้นแบบเกษตรอินทรีย์ผลิตพืชและสัตว์ พื้นที่ 17 ไร่ และพัฒนา พื้นที่นำร่อง 216 ไร่ พื้นที่โครงการพัฒนาบ้านโปงอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อทำเป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์ด้วย
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น