ไทยเป็นพันธมิตรนอกนาโต ปี2546 ไทยได้ประโยชน์อะไรบ้าง

ไทยได้ประโยชน์อะไรบ้างจากการร่วมกลุ่ม
1 ไทยได้รับความร่วมมือทางการทหารกับประเทศที่ร่วมกลุ่มนาโต
2 ไทยได้รับสิทธิคุ้มครองช่วยเหลือทางการทหาร ถ้าถูกก่อสงครามหรือเหตุการรุนแรงในประเทศ
3 ถ้ามีสงครามระหว่างประเทศที่คู่ขัดแย่งไทย ทางกลุ่มประเทศนาโต จะให้การช่วยเหลือ ด้านการทหารและการรบ
4 ว่าง่ายๆ กลุ่มนี้สร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือและถ่วงดุลอำนาจในโลก
ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ

สถานะพันธมิตรนอกนาโต้

ในส่วนนี้จะวิเคราะห์ว่า สถานะพันธมิตรนอกนาโต้หรือ “major non NATO ally” มีความหมายอย่างไร ถ้าได้สถานะนี้แล้วไทยจะได้อะไร ในแง่ของไทย ประเด็นที่ 1 ผลดีคือ จะเป็นสัญลักษณ์ของการเป็นพันธมิตรชั้น 1 ระหว่างสหรัฐฯกับไทย ไทยเป็นพันธมิตรชั้น 1 มาตลอด เป็น 5 พันธมิตรหลักในเอเชีย ก่อนหน้านี้พันธมิตร 4 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ได้สถานะพันธมิตรนอกนาโต้ไปหมดแล้ว แต่ไทยยังไม่ได้ ไทยจึงล่อแหลมหลายครั้งที่อาจจะตกชั้นจากพันธมิตรชั้น 1 ดังนั้นไทยจึงต้องรีบทำคะแนนขึ้นมา

ผลประโยชน์อื่น ๆ ที่ตามมาคือ ความสัมพันธ์ทางด้านการทหารไทย-สหรัฐฯ จะนำไปสู่ความสัมพันธ์ในด้านอื่น ๆ คือ ความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ทางด้านการเมือง ที่ไทยจะให้สหรัฐฯช่วยในเรื่องนั้นเรื่องนี้ เช่นไทยอยากจะเข้าเป็นสมาชิกของ OECD ถ้าอเมริกาช่วยไทยก็น่าจะเข้าไปเป็นสมาชิกได้ หรือแม้กระทั่งกลุ่ม G 20 ก็ตาม นอกจากนั้นแล้ว การที่ไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ ยังเป็นการสร้างดุลยภาพแห่งอำนาจในภูมิภาค โดยถ่วงดุลกับจีน ญี่ปุ่น และอินเดีย

จากเอกสาร “Fact Sheet: Major Non-NATO Ally” ของรัฐบาลสหรัฐฯ ระบุว่า สถานะพันธมิตรนอกนาโต้ จะเป็นการกำหนดทิศทางความสัมพันธ์ไทยกับอเมริกาในศตวรรษที่ 21 ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสนธิสัญญากับอเมริกามายาวนานถึง 50 ปี ตั้งแต่ปี 1954 ที่มีการลงนามใน Manila Pact จัดตั้ง SEATO ขึ้นมา และบอกว่า พันธมิตรไทย-สหรัฐฯ มีมาอย่างต่อเนื่อง และขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ ปัจจุบัน ไทยช่วยในเรื่องการต่อต้านการก่อการร้าย ส่งทหารเข้าไปในอัฟกานิสถานและอิรัก

ส่วนที่ไทยจะได้ที่เป็นรูปธรรมจริง ๆ คงเป็นประเด็นเหล่านี้:

ประการที่ 1 จะทำให้บริษัทของไทยสามารถเข้าไปประมูลในเรื่องของ สัญญา กับรัฐบาลสหรัฐฯ โดยเฉพาะเรื่องการซ่อม อุปกรณ์ต่าง ๆ ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ
ประการที่ 2 ประเทศไทยมีสิทธิ์ที่จะเข้าร่วมในโครงการเกี่ยวกับความร่วมมือในเรื่อง R & D การวิจัยและพัฒนา ในเรื่องของการต่อต้านการก่อการร้าย
ประการที่ 3 จะทำให้ กระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ เข้าร่วมในโครงการ R&D ของไทยเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการป้องกันประเทศ
ประการที่ 4 ประเทศไทยมีสิทธิ์ที่จะได้รับมอบอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหลือใช้ของอเมริกา
ประการที่ 5 จะทำให้ไทยมีสิทธิ์เป็นสถานที่ที่จะได้รับการสะสมอาวุธยุทโธปกรณ์ (War Reserve Stockpile)
ประการที่ 6 ไทยสามารถเจรจากับรัฐบาลสหรัฐฯได้ในเรื่องที่เกี่ยวกับการฝึกอบรมทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี
ประการที่ 7 ทำให้ไทยสามารถที่จะใช้สิทธิ์การกู้เงินมาใช้ในการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ได้
รายชื่อประเทศพันธมิตรนอกนาโต[แก้]
ประเทศออสเตรเลีย (พ.ศ. 2532)
ประเทศอียิปต์ (พ.ศ. 2532)
ประเทศอิสราเอล (พ.ศ. 2532)
ประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. 2532)
ประเทศเกาหลีใต้ (พ.ศ. 2532)
ประเทศจอร์แดน (พ.ศ. 2539)
ประเทศนิวซีแลนด์ (พ.ศ. 2539)
ประเทศอาร์เจนตินา (พ.ศ. 2541)
ประเทศบาห์เรน (พ.ศ. 2545)
ประเทศฟิลิปปินส์ (พ.ศ. 2546)
ประเทศไทย (พ.ศ. 2546)
ประเทศคูเวต (พ.ศ. 2547)
ประเทศโมร็อกโก (พ.ศ. 2547)
ประเทศปากีสถาน (พ.ศ. 2547)
ประเทศอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2555)
องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (อังกฤษ: North Atlantic Treaty Organization) มีชื่อย่อว่า นาโต (NATO) เป็นพันธมิตรทางทหารระหว่างรัฐบาล ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ปัจจุบันมีสมาชิก 28 ประเทศ
สมาชิกก่อตั้งประกอบด้วยประเทศเบลเยียม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) กรีซและตุรกีได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก ในขณะที่ประเทศเยอรมนีเข้าร่วมเป็นสมาชิกในปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่