เราดูไปตอนปิดเทอมที่ผ่านมา ซึ่งก็ทิ้งระยะเวลานานพอสมควรจวบจนถึงตอนนี้ที่กำลังนั่งย้อนนึกไปถึงเวลาที่กำลังนั่งดูหนังเรื่องนี้ แต่สิ่งที่ทำให้เราได้ย้อนกลับมาเขียนถึงหนังเรื่องนี้ก็เพราะวันนี้เราบังเอิญไปเปิดย้อนดูการบรรยากาศการมอบ Governors Awards ปีล่าสุด และก็พบว่า Cate Blanchett ขึ้นไปพูดถึงนักแสดงที่ได้รางวัลในค่ำคืนนั้น ซึ่งเธอก็คือ Gena Rowlands นางเอกในเรื่อง A Woman Under the Influence นี่เอง
เคทเธอก็บอกเองว่าการแสดงของเจน่าเป็นแรงบรรดาลใจในการแสดงของเธอเป็นอย่างมาก และก็เป็นอย่างที่เคทพูดจริงๆ เจน่าในบทบาทของเมเบิล หญิงผมทองแบบอเมริกันดรีมที่ถูกปัญหาถาโถมเข้าใส่ในชนิดที่เธอไม่ทันตั้งตัว เช่นเดียวกับเคทในบทบาทของจัสมินใน Blue Jasmine (2013) ที่คนดูถือเป็นสักขีพยานรู้เห็นสภาพจิตใจของหญิงทั้งสองที่ค่อยๆ ล่มสลาย
ครอบครัวของเมเบิลประกอบด้วยเธอ สามีชื่อนิค และลูกๆสามคน ภายนอกก็ดูเป็นครอบครัวที่อบอุ่นตามแบบฉบับของอเมริกัน ทุกคนล้วนแต่มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น สามีก็รักภรรยาและอยากเจอเธออยู่เรื่อยๆ ขณะทำงาน ในขณะที่เมเบิล ไม่ได้ประกอบอาชีพอะไร เป็นแม่ศรีเรือน เธอมีเวลาในการดูแลลูกๆ อย่างเต็มที่ แต่กลายเป็นเบื้องลึกแล้ว มันไมได้เป็นอย่างที่เราเห็น
เมเบิลป่วยด้วยโรคประสาทชนิดอ่อนๆ ที่เราสัมผัสได้ตั้งแต่เริ่มเรื่อง เรารู้สึกว่าเธอดูร่าเริงเกินกว่าเหตุเมื่อต้องฝากลูกๆของเธอให้แม่เธอดูแล เพราะในคืนนั้นเธอกับสามีจะฉลองค่ำคืนอันแสนพิเศษด้วยกัน และคืนนั้นเองสามีเธอก็ปลีกตัวจากงานไมได้ กลายเป็นว่าเมเบิลต้องผ่านคืนนั้นอย่างเดียวดายที่บาร์ในละแวกบ้าน พร้อมกับชายคนหนึ่งที่ตามเธอมานอนถึงที่บ้านในคืนนั้น
นิคจะโกรธเพื่อนร่วมงานของเขาเสมอ เมื่อพวกเขาล้อเลียนภรรยาของนิคว่าเธอเป็นคนไม่ปกติ ซึ่งจริงๆแล้วเขาเองก็รู้สึกอย่างนั้นเช่นกันกับเพื่อนร่วมงาน หนังทิ้งปริศนาให้เราติดตามว่า เมเบิลเพี้ยนมาตั้งแต่เกิดแล้วเหรอ หรือว่าอะไรที่ไปทำลายสภาพจิตใจของเธอ ถ้าเป็นอย่างหลังก็คงต้องเป็นอะไรที่กระทบเธอค่อนข้างที่จะรุนแรงพอสมควร
เมื่อเราติดตามเหตุการณ์ทั้งหมดก็จะพบว่า ภายใต้ภาพลักษณ์ที่สวยงามของครอบครัวอันอบอุ่นของชาวอเมริกัน เราพบว่าผู้ชายที่มุ่งมั่นทำงานสร้างฐานะให้กับครอบครัว เขาแบกความเครียดไปเต็มบ่า และไม่ใช่ใครที่ไหนที่ต้องการเป็นแหล่งระบายความอัดอั้นเหล่านั้น ก็คือภรรยาของเขานั่นเอง ตอนกลางๆเรื่อง ถึงแม้ว่าเมเบิลจะถูกส่งไปรักษา (แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ) เราก็พบว่าสภาพจิตใจของเธอแทบจะไมได้ดีขึ้นเลยแม้แต่น้อย (ถ้าจะดีมันก็คงเพียงผิวเผินมากๆ) ท้ายที่สุดสติเธอก็คาดผึงได้โดยง่าย เพราะต้นตอปัญหาก็ยังเหมือนเดิม ไม่ได้รับการแก้ไข้
เหตุการณ์การณ์ปะทะอารมณ์ระหว่างชายหญิง (และลูกๆ ของพวกเขา) ในตอนท้าย ก็สงบลง เมเบิลไมได้หายเพี้ยน เธอยังเหมือนเดิม คู่สามีภรรยาจัดแจงห้องอาหารที่เพิ่งเป็นสมรภูมิไม่กี่นาทีที่ผ่านมา ให้กลายเป็นห้องนอน (เอาเซ็กส์สงบปัญหา) เหตุการณ์ก็วนลูปซ้ำกับตอนเริ่มต้น ตรงนี้ทำให้นึกถึง Jeanne Dielman, 23 Commerce Quay, 1080 Brussels (1975) ที่ความทุกข์ทรมานของเพศหญิงก็จะถูกทับถมวันแล้ววันเล่าไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนถนนลาดยางที่สร้างจากงบประมาณถูกโกง เป็นหลุมเป็นบ่อ สักพักมันก็ถูกราดยางทับซ้ำ แล้วมันก็เป็นหลุมอีกรอบ
คลิปที่เคทพูดถึงเจน่า:
https://www.youtube.com/watch?v=E8u4q5kDiEw
ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับภาพยนตร์ทางเฟสได้เลยนะครับ
https://www.facebook.com/survival.king
Tempy Movies Review รีวิวหนัง: A Woman Under the Influence {John Cassavetes}, 1974
เราดูไปตอนปิดเทอมที่ผ่านมา ซึ่งก็ทิ้งระยะเวลานานพอสมควรจวบจนถึงตอนนี้ที่กำลังนั่งย้อนนึกไปถึงเวลาที่กำลังนั่งดูหนังเรื่องนี้ แต่สิ่งที่ทำให้เราได้ย้อนกลับมาเขียนถึงหนังเรื่องนี้ก็เพราะวันนี้เราบังเอิญไปเปิดย้อนดูการบรรยากาศการมอบ Governors Awards ปีล่าสุด และก็พบว่า Cate Blanchett ขึ้นไปพูดถึงนักแสดงที่ได้รางวัลในค่ำคืนนั้น ซึ่งเธอก็คือ Gena Rowlands นางเอกในเรื่อง A Woman Under the Influence นี่เอง
เคทเธอก็บอกเองว่าการแสดงของเจน่าเป็นแรงบรรดาลใจในการแสดงของเธอเป็นอย่างมาก และก็เป็นอย่างที่เคทพูดจริงๆ เจน่าในบทบาทของเมเบิล หญิงผมทองแบบอเมริกันดรีมที่ถูกปัญหาถาโถมเข้าใส่ในชนิดที่เธอไม่ทันตั้งตัว เช่นเดียวกับเคทในบทบาทของจัสมินใน Blue Jasmine (2013) ที่คนดูถือเป็นสักขีพยานรู้เห็นสภาพจิตใจของหญิงทั้งสองที่ค่อยๆ ล่มสลาย
ครอบครัวของเมเบิลประกอบด้วยเธอ สามีชื่อนิค และลูกๆสามคน ภายนอกก็ดูเป็นครอบครัวที่อบอุ่นตามแบบฉบับของอเมริกัน ทุกคนล้วนแต่มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น สามีก็รักภรรยาและอยากเจอเธออยู่เรื่อยๆ ขณะทำงาน ในขณะที่เมเบิล ไม่ได้ประกอบอาชีพอะไร เป็นแม่ศรีเรือน เธอมีเวลาในการดูแลลูกๆ อย่างเต็มที่ แต่กลายเป็นเบื้องลึกแล้ว มันไมได้เป็นอย่างที่เราเห็น
เมเบิลป่วยด้วยโรคประสาทชนิดอ่อนๆ ที่เราสัมผัสได้ตั้งแต่เริ่มเรื่อง เรารู้สึกว่าเธอดูร่าเริงเกินกว่าเหตุเมื่อต้องฝากลูกๆของเธอให้แม่เธอดูแล เพราะในคืนนั้นเธอกับสามีจะฉลองค่ำคืนอันแสนพิเศษด้วยกัน และคืนนั้นเองสามีเธอก็ปลีกตัวจากงานไมได้ กลายเป็นว่าเมเบิลต้องผ่านคืนนั้นอย่างเดียวดายที่บาร์ในละแวกบ้าน พร้อมกับชายคนหนึ่งที่ตามเธอมานอนถึงที่บ้านในคืนนั้น
นิคจะโกรธเพื่อนร่วมงานของเขาเสมอ เมื่อพวกเขาล้อเลียนภรรยาของนิคว่าเธอเป็นคนไม่ปกติ ซึ่งจริงๆแล้วเขาเองก็รู้สึกอย่างนั้นเช่นกันกับเพื่อนร่วมงาน หนังทิ้งปริศนาให้เราติดตามว่า เมเบิลเพี้ยนมาตั้งแต่เกิดแล้วเหรอ หรือว่าอะไรที่ไปทำลายสภาพจิตใจของเธอ ถ้าเป็นอย่างหลังก็คงต้องเป็นอะไรที่กระทบเธอค่อนข้างที่จะรุนแรงพอสมควร
เมื่อเราติดตามเหตุการณ์ทั้งหมดก็จะพบว่า ภายใต้ภาพลักษณ์ที่สวยงามของครอบครัวอันอบอุ่นของชาวอเมริกัน เราพบว่าผู้ชายที่มุ่งมั่นทำงานสร้างฐานะให้กับครอบครัว เขาแบกความเครียดไปเต็มบ่า และไม่ใช่ใครที่ไหนที่ต้องการเป็นแหล่งระบายความอัดอั้นเหล่านั้น ก็คือภรรยาของเขานั่นเอง ตอนกลางๆเรื่อง ถึงแม้ว่าเมเบิลจะถูกส่งไปรักษา (แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ) เราก็พบว่าสภาพจิตใจของเธอแทบจะไมได้ดีขึ้นเลยแม้แต่น้อย (ถ้าจะดีมันก็คงเพียงผิวเผินมากๆ) ท้ายที่สุดสติเธอก็คาดผึงได้โดยง่าย เพราะต้นตอปัญหาก็ยังเหมือนเดิม ไม่ได้รับการแก้ไข้
เหตุการณ์การณ์ปะทะอารมณ์ระหว่างชายหญิง (และลูกๆ ของพวกเขา) ในตอนท้าย ก็สงบลง เมเบิลไมได้หายเพี้ยน เธอยังเหมือนเดิม คู่สามีภรรยาจัดแจงห้องอาหารที่เพิ่งเป็นสมรภูมิไม่กี่นาทีที่ผ่านมา ให้กลายเป็นห้องนอน (เอาเซ็กส์สงบปัญหา) เหตุการณ์ก็วนลูปซ้ำกับตอนเริ่มต้น ตรงนี้ทำให้นึกถึง Jeanne Dielman, 23 Commerce Quay, 1080 Brussels (1975) ที่ความทุกข์ทรมานของเพศหญิงก็จะถูกทับถมวันแล้ววันเล่าไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนถนนลาดยางที่สร้างจากงบประมาณถูกโกง เป็นหลุมเป็นบ่อ สักพักมันก็ถูกราดยางทับซ้ำ แล้วมันก็เป็นหลุมอีกรอบ
คลิปที่เคทพูดถึงเจน่า: https://www.youtube.com/watch?v=E8u4q5kDiEw
ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับภาพยนตร์ทางเฟสได้เลยนะครับ https://www.facebook.com/survival.king