D/E ratio กรณีศึกษา True

กระทู้สนทนา
ขอแตกประเด็นเรื่อง D/E ratio ของกลุ่มสื่อสารจาก คห.ที่ 3 ในกระทู้นี้นะครับ http://ppantip.com/topic/34609514

พอดีเห็นว่า D/E ratio ของ True ในปัจจุบันน้อยที่สุดในอุตสาหกรรม เลยคิดอยากแตกประเด็นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ D/E ratio กับการออกกองทุนโครงสร้างพื้นฐานหรือกองทุนลักษณะใกล้เคียง เพื่อที่จะให้เพื่อนๆเข้าใจหลักการและสามารถวิเคราะห์กระแสเงินสดของบริษัทได้อย่างเห็นภาพที่แท้จริงครับ

เริ่มต้นที่หลักการของการออกองทุนโครงสร้างพื้นฐานสั้นๆ ดังนี้ครับ
             มันคือวิธีระดมเงินทุนชนิดหนึ่ง โดยบริษัทนำสินทรัพย์ที่สามารถสร้างกระแสเงินสดในอนาคตได้มาขายไปที่บริษัทจัดตั้งโดยเฉพาะ เพื่อทำกองทุนและนำออกขายให้กับประชาชนที่สนใจต่อไป ยกตัวอย่างเช่น โรงไฟฟ้า รถไฟฟ้า เสา และอื่นๆ

ช่วงที่ผ่านมาหุ้นที่มีข่าวออกกองทุนโครงสร้างพื้นฐานมักจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เนื่องจากคนในตลาดมองว่าจะช่วยให้ลดภาระหนี้สินและค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย รวมไปถึงนำเงินไปลงทุนขยายกิจการต่อ อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกกรณีที่การออกกองทุนเหมือนปลดภาระออกจากตัวทั้งหมดนะครับ หลายคนบอกอ้าวก็ D/E ratio มันดีขึ้นเ ดอกเบี้ยจ่ายก็ลดลง แบบนี้มันดีขึ้นเห็นๆ งั้นเรามาดูกรณีศึกษากันเลยครับ

ทีนี้เรามาดูภาพของ True กัน
ก่อนหน้า True ออกกองทุน DIF : True มีภาระหนี้สินค่อนข้างมาก แต่ในขณะเดียวกันยังเป็นเจ้าของเสาสัญญาณอยู่ ดังนั้นรายจ่ายในงบกำไรขาดทุนของ True คือ ค่าเสื่อมราคาของเสา และดอกเบี้ยจ่าย แต่ถ้าเราวิเคราะห์เงินสดจริงๆ True จะจ่ายส่วนของหนี้และดอกเบี้ยจ่ายเป็นหลัก (เพราะค่าเสื่อมราคาไม่ได้เป็นรายการที่จ่ายเงินสดจริง)

หลังออกกองทุน : True ภาระดอกเบี้ยจ่ายลดลงจามหนี้ที่ลดลง D/E ratio ลดลง ภาพดังกล่าวทำให้เห็นว่าการออกกองทุนดังกล่าว ส่งผลดีกับ True อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามสิ่งที่เราจำเป็นจะต้องมองในอีกมิติหนึ่งคือจากเดิม True มีเสาเป็นของตัวเอง แต่วันนี้จำเป็นจะต้องไปเช่ากับกองทุน เนื่องจากปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการอยู่ในธุรกิจโทรคมนาคมเสาเป็นสิ่งที่สำคัญและจำต้องใช้ต่อไป  กรณีนี้งบการเงินจะแสดงให้เราเห็นว่า หนี้สินน้อยลง ดอกเบี้ยจ่ายน้อยลง และค่าใช้จ่ายจากการเช่าในงบกำไรขาดทุนก็จะไม่ส่งผลกระทบมากเพราะเดิมมีค่าเสื่อมราคาอยู่แล้ว แต่ถ้ามองในเชิงกระแสเงินสดความแตกต่างของก่อนและหลังออกกองทุนไม่ได้แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (แค่เปลี่ยนจากจ่ายหนี้มาเป็นจ่ายค่าเช่าแทน)

ในทางการเงินหากบริษัทมีค่าใช้จ่ายลักษณะที่เป็นค่าเช่าและจำเป็นต้องจ่ายในอนาคตเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไป เราอาจมองค่าใช้จ่ายเหล่านี้เหมือนเป็นหนี้สินเช่นเดียวกัน

สรุปสั้นๆ แม้ว่า True จะมีหนี้สินที่ลดลงจากการออกกองทุน แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการเสียค่าเช่าอยู่ดี  ดังนั้นภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินก็ยังเป็นลักษณะเดิมอยู่ดี แค่เปลี่ยนจากจ่ายหนี้มาเป็นจ่ายค่าเช่า

สุดท้าย ท้ายสุด เวลาเราวิเคราะห์ D/E ratio เราอยากที่จะเห็นภาพของภาระผูกพันของบริษัทว่าเป็นเช่นไร เพราะแสดงถึงความเสี่ยงทางการเงินของบริษัทดังนั้น เราจึงควรวิเคราะห์ให้เห็นถึงภาระผูกพันจริงๆมากกว่า ตัวเลขที่คำนวณจากงบการเงินเฉยๆครับ เพราะนี่เป็นแค่หนึ่งในตัวอย่างของ Financial structure ที่นับวันยิ่งซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆครับ (ไว้ตอนหน้าถ้าว่างจะเล่าถึง financial structure ของ CDOs สมัย Sub-Prime ซึ่งก็มีลักษณะใกล้เคียงกับ Structure นี้เหมือนกันครับ)

ปล. ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่า True เจตนาทำ Off-balance sheet นะครับ เพียงแต่อยากให้เห็นภาพและวิเคราะห์ได้ถูกต้อง
ปล.2 ทั้งหมดนี้เป็นการวิเคราะห์ในมุมของ D/E ratio เพียงอย่างเดียว หากสนใจลงทุนหุ้น True ควรวิเคราะห์ด้านอื่นๆให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจ
ปล.3 ในกระทู้จะไม่คำนวณตัวเลขนในส่วนความแตกต่างก่อนและหลังออกกองทุน เนื่องจาก จขกท ขี้เกียจ 555

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่