เจ้านาย,ขุนนางสมัยก่อน ท่านทรงมี,มีวิธีการจัดการอย่างไร ในการทรงมี,มีชายา/หม่อม หรือภรรยาหลายท่าน

(กระทู้นี้ หากมีการใช้คำผิด หรือมีข้อความใดๆที่ไม่เหมาะสม ก็ขออภัยด้วยครับ และลบได้เลย)
อยากทราบครับว่า ในสมัยก่อน ที่ค่านิยมเรื่องการมีคู่ครองหลายคนนั้นยังมีอยู่ในสังคมไทย โดยเฉพาะในสังคมชั้นสูง

เลยอยากทราบครับว่า เจ้านาย,ขุนนางสมัยก่อน ท่านทรงมี,มีวิธีการจัดการอย่างไร ในการทรงมี,มีชายา/หม่อม หรือภรรยาหลายท่าน ให้บ้าน,วังนั้นสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุข พี่น้องรักกัน แม้จะเกิดจากคนละแม่ก็ตาม
เคยอ่านเจอในพระนิพนธ์ "บันทึกท่านหญิง" ของท่านหญิงฤดีวรวรรณ วรวรรณ ท่านทรงเล่าว่า ทุกๆครั้งเวลาเสวย เสด็จพ่อของท่านคือกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ จะให้พระโอรส-ธิดาเสวยพร้อมๆกับท่าน และจะทรงสอนในเรื่องต่างๆไปพร้อมกัน

ตอนแรก จขกท. นึกว่าค่านิยมนี้เป็นเรื่องเฉพาะของพระมหากษัตริย์ แต่ต่อมาพอได้อ่านหนังสือหลายเล่มมากขึ้น จึงได้ทราบว่าค่านิยมนี้ไปถึงเจ้านายในชั้นรองลงมา และขุนนางในระดับต่างๆด้วย เช่น
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีหม่อม ๑๑ ท่าน มีพระโอรส-ธิดารวม ๓๗ พระองค์
(มีหม่อม ๓ ท่านที่สมเด็จฯท่านไม่ได้ทรงมีพระโอรส-ธิดาด้วย)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ ทรงมีพระชายา ๑ พระองค์ หม่อม ๑๔ ท่าน มีพระโอรส-ธิดารวม
๖๔ พระองค์
เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) บุตรชายคนโตของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) มีบุตรธิดารวม ๖๕ คน
เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) น้องชายของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) มีบุตร-ธิดารวม ๖๒ คน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่