--- เป็นบทความของคุณครู สุนันทา สุวะเสน แห่งโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ชม เมื่อสามปีก่อน ( ธ.ค. ๒๕๕๕ )
--- ผมเห็นว่าแนวคิดนี้ยังทันสมัยอยู่ และน่าจะปฏิบัติได้จริงโดยเฉพาะกับผู้ที่ขอให้ช่วยทำการบ้านให้ ลองอ่านแนวคิดของเค้าดูนะครับ...
บทความเรื่อง
** แนวคิดใหม่ในการแต่งคำประพันธ์ **
นางสาวสุนันทา สุวะเสน
จากประสบการณ์การเป็นครูสอนวิชาภาษาไทยมานั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในเรื่องของการเขียนคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองนั้น ผู้เขียนเข้าใจมาโดยตลอดว่าต้องเริ่มต้นจากการให้นักเรียนทำความรู้จักกับ รูปแบบฉันทลักษณ์เชื่อมโยงให้เข้าใจในความหมาย อธิบายแผนผัง ยกตัวอย่างบทประพันธ์ และชี้ให้เห็นถึงข้อกำหนด นิยามของร้อยกรองแต่ละประเภทที่สำคัญ จากนั้นจึงให้นักเรียนฝึกเขียนตามขั้นตอนต่อไป ซึ่งการสอนในลักษณะดังกล่าว เหมือนเป็นรูปแบบการสอนที่ดี แต่แล้วผู้เขียนก็พบว่าเป็นการสอนที่ไม่ประสบความสำเร็จในเรื่องของการเขียนกาพย์กลอน การสอนด้วยวิธีดังกล่าวเป็นการสอนที่สร้างกรอบให้เกิดขึ้นกับถ้อยคำ และจินตนาการที่งดงามของเด็ก ซึ่งทำให้เกิดความยากลำบาก ความอึดอัด และความรู้สึกเบื่อหน่ายในการเรียนวิชาภาษาไทยกับนักเรียนทีละน้อย จนกระทั่งพวกเขาเริ่มไม่ชอบวิชาภาษาไทย และทำให้ไม่ชอบที่จะเขียนและอ่านงานประพันธ์ประเภทร้อยกรองอีกด้วย
แนวคิดใหม่ที่ผู้เขียนค้นพบในวันนี้ คือ “ทางสายเก่าในรากเหง้าวิถีชีวิตของชาวบ้าน” ซึ่งเป็นเพลงพื้นบ้าน ที่พ่อเพลง แม่เพลง ฝึกร้องมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การฝึกร้องตามครูซึ่งอาจจะเป็น ปู่ ย่า ตา ยาย ฝึกปรบมือเข้าจังหวะ ฝึกเล่นดนตรีประกอบจังหวะเพลงชนิดต่างๆ ก็จะทำให้เริ่ม “เป็นเพลง” ขึ้นมา เมื่อได้สะสมมาทีละเล็กทีละน้อยก็จะทำให้จดจำ และเข้าใจในท่วงทำนองของเพลง สัมผัสคล้องจองของเพลง และสามารถนำสัมผัสคล้องจองนี้มาดัดแปลงเป็นเพลงของตัวเองได้ ซึ่งวิธีการหัดร้องเพลงของชาวบ้านนั้น ไม่เคยมีใครหัดร้อง หัดแต่งเพลงจากฉันทลักษณ์ ทุกคนล้วนแต่เริ่มหัดมาจากการจดจำและการสังเกตซึ่งแม้แต่คนที่ไม่รู้หนังสือยังสามารถร้องเพลงและแต่งเพลงได้
ในปัจจุบันก็ได้มีผู้นำวิธีการดังกล่าวของชาวบ้านมาใช้ในการฝึกร้องเพลง คือการร้องตามเพลงต้นแบบที่มีผู้ร้องอยู่แล้ว โดยไม่ต้องสนใจบังคับสัมผัสคล้องจอง หรือแม้แต่โน้ตเพลง เมื่อฝึกร้องงตามบ่อยๆ ก็จะทำให้จดจำท่วงทำนอง สัมผัสคล้องจองและสามารถมาดัดแปลงเป็นเพลงของตนเอง และบางคนที่มีความสนใจในทางด้านนี้ก็สามารถแต่งเพลงขึ้นมาใหม่ได้จากการฝึกร้องตามเพลงต้นแบบ และประสบความสำเร็จเป็นศิลปิน นักร้อง หรือนักแต่งเพลงผู้มีชื่อเสียง ซึ่งมันเป็นการฝึกหัดจากการลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งเป็นการเรียนรู้ทฤษฎีในการปฏิบัติ ไม่ใช่เรียนปฏิบัติจากการเรียนรู้ทฤษฎี
การฝึกเขียนกลอนหรือร้อยกรองประเภทต่างๆ ที่ผู้เขียนค้นพบในตอนนี้ คือ การให้นักเรียนฝึกอ่านกลอน ท่องกลอน ที่นักเรียนประทับใจ และเลือกกลอนที่คิดว่าเมื่อนักเรียนได้อ่าน หรือได้ท่องแล้วเกิดความรู้สึกประทับใจหรือชอบ เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศในการเรียนให้มีความสนุกสนาน และนักเรียนมีความสุขในการเรียน หลังจากนั้นค่อยให้นักเรียนเริ่มฝึกเขียนคำประพันธ์ โดยสังเกตจากตัวอย่างที่ผู้เขียนนำมาให้อ่าน โดยไม่สนใจถึงเรื่องบังคับฉันทลักษณ์ใดเลย หรือจะใช้วิธีการแต่งแบบล้อเลียนก็ได้
เช่น
ใดใดในโลกล้วน อนิจจัง
คงแต่บาปบุญยัง เที่ยงแท้
เป็นเงาติดตัวตรัง ตรึงแน่น อยู่นา
ตามแต่บาปบุญแล้ ก่อเกื้อ รักษา
(ลิลิตพระลอ)
ใดใดในโลกล้วน อนิจจัง
คนไม่อ่านหนังสือยัง สอบได้
คนดูหัวแทบพัง สอบตก
เพราะเหตุฉะนี้ไซร้ อย่าได้ ดูมัน
(โคลงที่แต่งล้อเลียนขึ้นมา)
โคลงที่ดัดแปลงล้อเลียนขึ้นมานี้บอกความหมายได้หลายอย่าง ซึ่งผู้ที่แต่งโคลงบทนี้นั้นมีการจดจำทำนอง จังหวะจากโคลงต้นแบบมาก่อน และผู้แต่งเองได้มีแรงบันดาลใจเกี่ยวกับการดูหนังสือสอบ ก็ทำให้เกิดแรงผลักดันเขียนโคลงล้อเลียนบทนี้ขึ้นมา และเป็นการเขียนที่โดนใจแก่ผู้ที่ได้อ่านได้ดี ซึ่งนี่ก็เป็นวิธีการฝึกเขียนที่เกิดจากการเขียนตามวิถีธรรมชาติของภาษาที่มีอยู่ในแต่ละบุคคลข้อควรระวังในการฝึกเขียนคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง คือ ครูจะต้องไม่เคร่งครัดในเรื่องบังคับฉันทลักษณ์กับนักเรียนมากนัก โดยครูควรให้นักเรียนฝึกเขียนและลองผิดลองถูกด้วยตัวนักเรียนเอง ถ้านักเรียนมีข้อสงสัย ครูก็อธิบายให้นักเรียนเข้าใจเฉพาะเรื่องที่พวกเขาสงสัย ครูไม่ควรบอกทุกเรื่องทั้งหมด เพราะทฤษฎีของการ “บอกความรู้” นั้นได้ผลน้อยมาก สิ่งที่ครูควรให้ความสำคัญมากที่สุด คือ การให้ความสนใจในเรื่องราวที่นักเรียนเขียนขึ้นมา อาจแลกเปลี่ยนความคิดจากนักเรียนว่ามีแรงบันดาลใจในด้านใดจึงทำให้นักเรียนนั้นเขียนกลอนนี้ หรือต้องการบอกอะไรเกี่ยวกับเรื่องที่เขียน เมื่อครูใช้วิธีนี้จะทำให้นักเรียนมีความสนใจ กระตือรือร้นที่จะเขียนคำประพันธ์ขึ้นมา และเมื่อพวกเขาได้ฝึกบ่อยๆ จากการสังเกตของพวกเขา ก็จะทำให้การพัฒนากระบวนการต่างๆดีขึ้น ทำให้การเขียนในครั้งต่อไปพวกเขาสามารถเขียนได้ถูกต้องตามบังคับสัมผัส โดยที่ไม่ต้องเริ่มต้นจากการเรียนบังคับฉันทลักษณ์เลย
ผู้เขียนคิดว่าการสอนด้วยวิธีนี้เป็นการสอนที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุด จึงอยากให้ครูภาษาไทยได้นำวิธีการเรียนการสอนในลักษณะดังกล่าวนี้ไปใช้กับนักเรียน แล้วจะพบว่าความเครียด ความอึดอัด และความเบื่อหน่ายในวิชาการเขียนคำประพันธ์ของนักเรียนจะลดลง และนักเรียนจะมีความรักในวรรณศิลป์เพิ่มขึ้น และจะทำให้พวกเขาชอบที่จะเรียนวิชาภาษาไทย รักวิชาภาษาไทย และรักครูภาษาไทยมากขึ้น
** แนวคิดใหม่ในการแต่งคำประพันธ์ **
--- ผมเห็นว่าแนวคิดนี้ยังทันสมัยอยู่ และน่าจะปฏิบัติได้จริงโดยเฉพาะกับผู้ที่ขอให้ช่วยทำการบ้านให้ ลองอ่านแนวคิดของเค้าดูนะครับ...
บทความเรื่อง
** แนวคิดใหม่ในการแต่งคำประพันธ์ **
นางสาวสุนันทา สุวะเสน
จากประสบการณ์การเป็นครูสอนวิชาภาษาไทยมานั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในเรื่องของการเขียนคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองนั้น ผู้เขียนเข้าใจมาโดยตลอดว่าต้องเริ่มต้นจากการให้นักเรียนทำความรู้จักกับ รูปแบบฉันทลักษณ์เชื่อมโยงให้เข้าใจในความหมาย อธิบายแผนผัง ยกตัวอย่างบทประพันธ์ และชี้ให้เห็นถึงข้อกำหนด นิยามของร้อยกรองแต่ละประเภทที่สำคัญ จากนั้นจึงให้นักเรียนฝึกเขียนตามขั้นตอนต่อไป ซึ่งการสอนในลักษณะดังกล่าว เหมือนเป็นรูปแบบการสอนที่ดี แต่แล้วผู้เขียนก็พบว่าเป็นการสอนที่ไม่ประสบความสำเร็จในเรื่องของการเขียนกาพย์กลอน การสอนด้วยวิธีดังกล่าวเป็นการสอนที่สร้างกรอบให้เกิดขึ้นกับถ้อยคำ และจินตนาการที่งดงามของเด็ก ซึ่งทำให้เกิดความยากลำบาก ความอึดอัด และความรู้สึกเบื่อหน่ายในการเรียนวิชาภาษาไทยกับนักเรียนทีละน้อย จนกระทั่งพวกเขาเริ่มไม่ชอบวิชาภาษาไทย และทำให้ไม่ชอบที่จะเขียนและอ่านงานประพันธ์ประเภทร้อยกรองอีกด้วย
แนวคิดใหม่ที่ผู้เขียนค้นพบในวันนี้ คือ “ทางสายเก่าในรากเหง้าวิถีชีวิตของชาวบ้าน” ซึ่งเป็นเพลงพื้นบ้าน ที่พ่อเพลง แม่เพลง ฝึกร้องมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การฝึกร้องตามครูซึ่งอาจจะเป็น ปู่ ย่า ตา ยาย ฝึกปรบมือเข้าจังหวะ ฝึกเล่นดนตรีประกอบจังหวะเพลงชนิดต่างๆ ก็จะทำให้เริ่ม “เป็นเพลง” ขึ้นมา เมื่อได้สะสมมาทีละเล็กทีละน้อยก็จะทำให้จดจำ และเข้าใจในท่วงทำนองของเพลง สัมผัสคล้องจองของเพลง และสามารถนำสัมผัสคล้องจองนี้มาดัดแปลงเป็นเพลงของตัวเองได้ ซึ่งวิธีการหัดร้องเพลงของชาวบ้านนั้น ไม่เคยมีใครหัดร้อง หัดแต่งเพลงจากฉันทลักษณ์ ทุกคนล้วนแต่เริ่มหัดมาจากการจดจำและการสังเกตซึ่งแม้แต่คนที่ไม่รู้หนังสือยังสามารถร้องเพลงและแต่งเพลงได้
ในปัจจุบันก็ได้มีผู้นำวิธีการดังกล่าวของชาวบ้านมาใช้ในการฝึกร้องเพลง คือการร้องตามเพลงต้นแบบที่มีผู้ร้องอยู่แล้ว โดยไม่ต้องสนใจบังคับสัมผัสคล้องจอง หรือแม้แต่โน้ตเพลง เมื่อฝึกร้องงตามบ่อยๆ ก็จะทำให้จดจำท่วงทำนอง สัมผัสคล้องจองและสามารถมาดัดแปลงเป็นเพลงของตนเอง และบางคนที่มีความสนใจในทางด้านนี้ก็สามารถแต่งเพลงขึ้นมาใหม่ได้จากการฝึกร้องตามเพลงต้นแบบ และประสบความสำเร็จเป็นศิลปิน นักร้อง หรือนักแต่งเพลงผู้มีชื่อเสียง ซึ่งมันเป็นการฝึกหัดจากการลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งเป็นการเรียนรู้ทฤษฎีในการปฏิบัติ ไม่ใช่เรียนปฏิบัติจากการเรียนรู้ทฤษฎี
การฝึกเขียนกลอนหรือร้อยกรองประเภทต่างๆ ที่ผู้เขียนค้นพบในตอนนี้ คือ การให้นักเรียนฝึกอ่านกลอน ท่องกลอน ที่นักเรียนประทับใจ และเลือกกลอนที่คิดว่าเมื่อนักเรียนได้อ่าน หรือได้ท่องแล้วเกิดความรู้สึกประทับใจหรือชอบ เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศในการเรียนให้มีความสนุกสนาน และนักเรียนมีความสุขในการเรียน หลังจากนั้นค่อยให้นักเรียนเริ่มฝึกเขียนคำประพันธ์ โดยสังเกตจากตัวอย่างที่ผู้เขียนนำมาให้อ่าน โดยไม่สนใจถึงเรื่องบังคับฉันทลักษณ์ใดเลย หรือจะใช้วิธีการแต่งแบบล้อเลียนก็ได้
เช่น
ใดใดในโลกล้วน อนิจจัง
คงแต่บาปบุญยัง เที่ยงแท้
เป็นเงาติดตัวตรัง ตรึงแน่น อยู่นา
ตามแต่บาปบุญแล้ ก่อเกื้อ รักษา
(ลิลิตพระลอ)
ใดใดในโลกล้วน อนิจจัง
คนไม่อ่านหนังสือยัง สอบได้
คนดูหัวแทบพัง สอบตก
เพราะเหตุฉะนี้ไซร้ อย่าได้ ดูมัน
(โคลงที่แต่งล้อเลียนขึ้นมา)
โคลงที่ดัดแปลงล้อเลียนขึ้นมานี้บอกความหมายได้หลายอย่าง ซึ่งผู้ที่แต่งโคลงบทนี้นั้นมีการจดจำทำนอง จังหวะจากโคลงต้นแบบมาก่อน และผู้แต่งเองได้มีแรงบันดาลใจเกี่ยวกับการดูหนังสือสอบ ก็ทำให้เกิดแรงผลักดันเขียนโคลงล้อเลียนบทนี้ขึ้นมา และเป็นการเขียนที่โดนใจแก่ผู้ที่ได้อ่านได้ดี ซึ่งนี่ก็เป็นวิธีการฝึกเขียนที่เกิดจากการเขียนตามวิถีธรรมชาติของภาษาที่มีอยู่ในแต่ละบุคคลข้อควรระวังในการฝึกเขียนคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง คือ ครูจะต้องไม่เคร่งครัดในเรื่องบังคับฉันทลักษณ์กับนักเรียนมากนัก โดยครูควรให้นักเรียนฝึกเขียนและลองผิดลองถูกด้วยตัวนักเรียนเอง ถ้านักเรียนมีข้อสงสัย ครูก็อธิบายให้นักเรียนเข้าใจเฉพาะเรื่องที่พวกเขาสงสัย ครูไม่ควรบอกทุกเรื่องทั้งหมด เพราะทฤษฎีของการ “บอกความรู้” นั้นได้ผลน้อยมาก สิ่งที่ครูควรให้ความสำคัญมากที่สุด คือ การให้ความสนใจในเรื่องราวที่นักเรียนเขียนขึ้นมา อาจแลกเปลี่ยนความคิดจากนักเรียนว่ามีแรงบันดาลใจในด้านใดจึงทำให้นักเรียนนั้นเขียนกลอนนี้ หรือต้องการบอกอะไรเกี่ยวกับเรื่องที่เขียน เมื่อครูใช้วิธีนี้จะทำให้นักเรียนมีความสนใจ กระตือรือร้นที่จะเขียนคำประพันธ์ขึ้นมา และเมื่อพวกเขาได้ฝึกบ่อยๆ จากการสังเกตของพวกเขา ก็จะทำให้การพัฒนากระบวนการต่างๆดีขึ้น ทำให้การเขียนในครั้งต่อไปพวกเขาสามารถเขียนได้ถูกต้องตามบังคับสัมผัส โดยที่ไม่ต้องเริ่มต้นจากการเรียนบังคับฉันทลักษณ์เลย
ผู้เขียนคิดว่าการสอนด้วยวิธีนี้เป็นการสอนที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุด จึงอยากให้ครูภาษาไทยได้นำวิธีการเรียนการสอนในลักษณะดังกล่าวนี้ไปใช้กับนักเรียน แล้วจะพบว่าความเครียด ความอึดอัด และความเบื่อหน่ายในวิชาการเขียนคำประพันธ์ของนักเรียนจะลดลง และนักเรียนจะมีความรักในวรรณศิลป์เพิ่มขึ้น และจะทำให้พวกเขาชอบที่จะเรียนวิชาภาษาไทย รักวิชาภาษาไทย และรักครูภาษาไทยมากขึ้น