10 ธันวา วันแห่งประวัติศาสตร์ พระราชทานรัฐธรรมนูญไทย

กระทู้ข่าว
ทุกประเทศล้วนแล้วแต่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญทั้งนั้น ซึ่งขึ้นอยู่ที่ว่าแต่ละประเทศจะมีการกำหนด รัฐธรรมนูญอย่างไรซึ่งแต่ละประเทศจะไม่เหมือนกัน


      อย่างเช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็จะเป็นกรอบการปฏิบัติสำหรับหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา และกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่นของรัฐต่าง ๆ รวมถึงประชาชนทุกคนที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาด้วย หรือถ้าเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศส ก็จะมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี ถือคติการปกครองว่า "รัฐบาลจากประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน" หรืออย่าง กฎหมายรัฐธรรมนูญของอังกฤษนั้นก็มีเช่นกัน แต่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะจะยึดหลักการปกครองที่ไม่ได้อยู่รวมกันเป็นรัฐธรรมนูญเฉพาะ แต่กระจายตามกฎหมายต่างๆ ตามคำพิพากษาต่างๆ รวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันจนกลายเป็นจารีตพระเพณี

รัฐธรรมนูญในไทย
     รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรกอัน เป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ



      วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญ ฉบับถาวรเป็นฉบับแรก ให้แก่ปวงชนชาวไทยเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย ซึ่งได้ถือว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศเป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก

10 ธันวา กับความเป็นไปเป็นมาของวันรัฐธรรมนูญไทย
      เมื่อ 700 ปีก่อน มีการปกครองการปกครองแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง อีกครั้งในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 จึงถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย ซึ่งเปลี่ยนมาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ



ส่วนสาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพราะพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย เพราะรัฐ ธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวรเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 ให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ



เมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้ว สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ จึงเป็นผลให้บังคับใช้ได้ สภาผู้แทนเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมืองในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครองส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป

ในรัฐธรรมนูญที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแก่ราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวรนั้น มีวาระสำคัญหลายอย่าง เช่น ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นการเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา



โดยพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ให้บริหารราชการแผ่นดิน และต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภา ไม่ได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แม้จะมีกฎหมายรัฐธรรมนูญออกมา และหากเห็นว่าการดำเนินการปกครอง บริหารประเทศไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญ แต่คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ ก็มีอำนาจที่จะยุบ สภาผู้แทนได้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรง อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะห้ามผู้ใดละเมิดโดยเด็ดขาด เพราะประเทศไทยถือว่า มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข



กระทั่งถึงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยามฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิ ได้เปลี่ยนระบอบการปกครอง เป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจาก รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง เป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริการราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทนรัฐสภา ซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบ กันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐซึ่งมี ผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้น ได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็น ที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้

แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  การเมือง
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่