----------------------------------
ไม่รู้จะเอาไว้กลุ่มกระทู้ไหนด้วยฮะ แหะๆ
เป็นเรื่องที่เก็บตกจากการเที่ยวผาสองฤดู แล้วมีโอกาสได้สนทนากับลูกหาบที่นั่น จนพบเรื่องราวดีๆ ที่อยากให้ลองอ่านดูครับ
----------------------------------
ผมมีโอกาสได้กลับไปผาสองฤดูอีกครั้ง
ครั้งนี้มีได้คนนำทางเป็นเด็กวัยรุ่น ชาวม้งขาว ชื่อ หยี
ช่วงขาขึ้น ไม่ได้คุยอะไรกันมากนัก และค่อนข้างมีปัญหา
เพราะหยีไม่ค่อยอยากให้เราไปเดินสำรวจในสถานที่บางแห่ง มันไม่ปลอดภัย
กอปรกับไม่ได้แจ้งล่วงหน้า จึงไม่มีอุปกรณ์เตรียมมาด้วย
เลยทำให้หลายคนในทีมดูจะไม่พอใจเท่าไรนัก
แต่วันนั้นไม่มีหมอกสวยๆให้ดู เราจึงไม่ได้ไปสำรวจอีกเส้นทางหนึ่งตามที่แพลนไว้
เรื่องก็จบลงเท่านั้น..
ผมมีโอกาสได้คุยกับหยีตอนเดินลงจากเขา
หยีเล่าถึงความเปลี่ยนแปลงในการจัดการสถานที่ท่องเที่ยวของผาสองฤดู
ผมเพิ่งรู้ว่าที่นี่เป็นแค่การทดลองเปิดให้เที่ยว จึงทำให้ไม่ค่อยมีข้อมูลอะไรมากนัก
ชาวบ้านละแวกนี้ ต้องดูแลความเรียบร้อยและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวเองด้วย
ซึ่งถ้าผลลัพธ์ออกมาดี ก็จะได้ประกาศเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการ
นั่นเอง จึงทำให้หยีต้องเตือนพวกเรา และไม่กล้าเสี่ยงจะพาไปไหนจุดแปลกๆ
(ซึ่งผมเล่าให้เขาฟังว่า จริงๆ พวกเราแทบทุกคน เคยมากันแล้ว เลยรู้ตัวเองดีว่าจะเจอทางยากขนาดไหน ไปได้ไหม)
ผมเล่าต่อถึงกรณีภูทับเบิก
หลังจากที่คนแห่ไปแล้ว ที่นั่นเละเทะแค่ไหน
ซึ่งหยีก็ได้ติดตามข่าวอยู่เช่นกัน
และทางหน่วยงานราชการรวมไปถึงชาวบ้านก็ไม่อยากให้เป็นอย่างนั้น
ซึ่งคนละแวกนี้นอกจากมีกฎของทางราชการช่วยดูแลแล้ว
ยังมีกฎของชุมชนที่คนเฒ่าคนแก่ออกกฎไว้มาเนินนาน
เช่น การห้ามขายที่ดินให้กับคนนอกพื้นที่ เป็นต้น
ดังนั้น ถ้าใครคนหนึ่งในหมู่บ้านต้องการขายพื้นที่
จะต้องเอาเข้าที่ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านทุกครั้ง
ไม่สามารถตัดสินใจคนเดียวได้ แม้จะเป็นที่ดินของเขาก็ตาม
ผมได้ยินอย่างนี้แล้วก็สบายใจขึ้นอีกเปราะหนึ่ง
ชุมชนระแวกนี้น่าจะเข้มแข็งพอตัว..
หยีเล่าต่อว่า ชาวบ้านแถวนี้ไม่ได้มีความลำบากอะไร ทุกคนต่างปลูกพืชผักผลไม้เมืองหนาวเพื่อส่งขายและสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้ดีมาก เลยทำให้เขายอมทิ้งเงินเดือน ลาออกจากโรงงานประกอบรถยนต์ กลับมาทำไร่ทำสวนที่บ้านเกิดแห่งนี้
“ที่หมู่บ้านผมเจริญแบบนี้เพราะในหลวงครับ ถ้าในหลวงไม่เข้ามาทำอะไร ก็คงไม่เป็นแบบนี้”
หยีบอกผมพร้อมกับชี้ให้ดูท่อน้ำประปา แล้วพูดต่อว่า “ท่อประปาในหลวงก็มาทำให้ครับ” แล้วเขาก็เล่าถึงผังระบบประปาในสวนให้ผมฟัง ว่ามันมีทุกหมู่บ้านและเข้าสวนทั้งหมด
ผมเริ่มสนใจทันที เพราะอยากรู้ว่าชาวม้งเขาคิดอย่างไรกับในหลวง
ยังไม่ทันถาม หยีก็เสริมต่อว่า “ในหลวงมาที่นี่บ่อยครับ กำนันคนเก่าที่เขาเพิ่งตายไป ก็สนิทกัน มีรูปถ่ายคู่กับในหลวงด้วยหลายรูป”
“แล้วท่านมาทำอะไรแถวนี้บ่อยๆ” ผมถามต่อ
“เข้ามาทำหลายอย่างครับ ทำขุนวาง(หมายถึง ศูนย์เกษตรหลวงเชียงใหม่ขุนวาง) ทำประปาให้ ทำบ่อเก็บน้ำให้ เดี๋ยวเดินลงไปล่างสุด ผมจะชี้ให้พี่ดู” หยีพูดเหมือนภูมิใจในเรื่องบ่อเก็บน้ำมาก
“สิบปีก่อนตอนบ่อเก็บน้ำแตก ในหลวงก็เข้ามาดูครับ”
ผมแอบตกใจว่า เรื่องดูเล็กน้อยสำหรับเรามากนะ แต่ในหลวงทรงมาดูเอง ทั้งๆที่สั่งใครมาก็ได้ ผมบ่นกับหยี ซึ่งหยีเองก็งงเช่นกัน
“เวลาในหลวงมา ทหารตำรวจเต็มไปหมดเลยพี่ แต่บางทีก็มากันไม่กี่คน ชาวบ้านบางคนยังไม่รู้เลยว่าเป็นใคร สมัยก่อนก็ไม่มีทีวีดูกันน่ะครับ”
“แล้วนายเคยเจอในหลวงไหม” ผมถามหยี
“เคยครับ ครั้งนึง ตอนเด็กๆ ตอนบ่อเก็บน้ำมันแตกนั่นแหละครับ” พลางก็ชี้นิ้วไปแถวๆ ศูนย์เกษตรขุนวางให้ผมดู และอาจเป็นเหตุผลนี้ก็ได้ ที่หยีพราวทูพรีเซ้นบ่อเก็บน้ำกับผมแต่แรก
“ตอนบ่อแตก ในหลวงเขาเข้ามาดูครับ มาเองเลย และน่าจะเป็นครั้งสุดท้ายที่ในหลวงมาที่นี่ครับ แล้วเขาก็ไม่เคยมาอีกเลย เหมือนเขาเริ่มเข้าโรงพยาบาล” ตอนนั้น ผมเริ่มประติดประต่อเรื่องได้บ้าง
“บร็อคโคลี่ สตรอว์เบอร์รี (มีอะไรอีกไม่รู้ ผมจำชื่อไม่ได้) เขาก็เอามาให้พวกผมปลูก ท่านทำอะไรไว้เยอะครับ”
“อาจารย์ที่ขุนวางเขาก็ดีมากครับ พวกนี้เขาก็สอนปลูกทั้งนั้น โดมก็สอนทำครับ” แล้วหยีก็ชี้ให้ผมดูโดมสีขาวๆ ผมเลยถึงบางอ้อว่า ทำไมโดมแถวนี้หน้าตาเหมือนกันหมด
“อาจารย์เขาให้คำแนะนำตลอดครับ เขาก็ตามพวกผมด้วย เจอกันก็ถามตลอด ดีไหม ขึ้นไหม เขามาดูเรื่อยๆ เขาก็คงเอาไปรายงานด้วยครับ ทำผลงานกัน” หยีเล่าไปหัวเราะไป
“แล้วขายกันยังไง” ผมถามหยีต่อ
“ขายเข้าขุนวางครับ ราคาดีกว่าในท้องตลาดอีกครับ แต่ต้องไม่ใส่ยานะ เป็นออร์แกนิก เพราะเขาเอาเข้าวังด้วย” หยีตอบผมแบบสั้นๆ แต่ได้ใจความ
“บางทีก็มีคนมารับไปขาย หรือชาวบ้านไปขายเอง ก็แล้วแต่เขาจะทำกันน่ะครับ” หยีให้ข้อมูลเพิ่ม เหมือนรู้ใจผมว่าจะถามเรื่องการผูกขาด
พวกเราเดินมาจนถึงบ่อน้ำที่ในหลวงทรงสั่งให้สร้างไว้ หยีเลยชี้ให้ผมดูว่าคือที่นี่
แล้วหยีก็ย้ำด้วยประโยคเดิมจากบทเริ่มต้น..
“ถ้าไม่มีในหลวง พวกผมก็ไม่รู้จะเป็นยังไงครับ ท่านทำอะไรเยอะจริงๆ”
…
ในสมองผมตอนนั้น มีหลายๆเรื่องของในหลวงผุดขึ้นมาเต็มไปหมด
เป็นเรื่องและภาพของในหลวงทรงงานตามชนบท
แต่ครั้งนี้ผมฟังจากปากคนท้องที่เอง.. รู้สึกอินกว่าเยอะ
เราคุยกันหลายเรื่องแต่มาปิดท้ายด้วยเรื่องของในหลวง
ประหนึ่งว่าหยีตั้งใจเล่าเพราะเพิ่งผ่านวันพ่อไปหมาดๆ
ผมรู้สึกว่า ชาวบ้านแถวนี้โชคดี คนไทยโชคดี และผมก็โชคดี
ที่เกิดมาทันในช่วงของกษัตริย์พระองค์นี้..
ฟังแล้วรักในหลวงมากขึ้นอีกเยอะเลยครับ
….
ข้อมูลเพิ่มเติม
- สมัยก่อนขุนวางบ้านหยี ปลูกฝิ่นกัน ก่อนที่จะเปลี่ยนมาทำไร่ทำสวน
- ในหลวงเสด็จไปที่ขุนวางครั้งแรก แล้วทรงเห็นปลูกฝิ่นกันเยอะ เลยทำโครงการขุนวาง เพื่อสอนให้ชาวบ้านปลูกพืชที่ได้ราคาดีกว่าหรือเท่าเทียมกับฝิ่น (royalprojectthailand.com)
- ไกด์ม้งขาวตอนผมไปกิ่วแม่ปานบอกว่า ม้งขาว ม้งเขียว ต่างกันที่ภาษา และเรียกชุมชนของหยีว่า ม้งขาวขุนวาง
- ชาวม้งโดยส่วนใหญ่ไม่ชอบให้เรียกว่าแม้ว โดยถือว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยาม (wiki)
- ประวัติศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง)
http://www.doa.go.th/agrotour/station_kunwang/kunwang.html
---
ต้นฉบับจากบล็อกของผมที่
http://myifew.com/2729/the-king-and-san-miao/
ถ้าไม่มีในหลวง พวกผมก็ไม่รู้จะเป็นยังไงครับ..
----------------------------------
ไม่รู้จะเอาไว้กลุ่มกระทู้ไหนด้วยฮะ แหะๆ
เป็นเรื่องที่เก็บตกจากการเที่ยวผาสองฤดู แล้วมีโอกาสได้สนทนากับลูกหาบที่นั่น จนพบเรื่องราวดีๆ ที่อยากให้ลองอ่านดูครับ
----------------------------------
ผมมีโอกาสได้กลับไปผาสองฤดูอีกครั้ง
ครั้งนี้มีได้คนนำทางเป็นเด็กวัยรุ่น ชาวม้งขาว ชื่อ หยี
ช่วงขาขึ้น ไม่ได้คุยอะไรกันมากนัก และค่อนข้างมีปัญหา
เพราะหยีไม่ค่อยอยากให้เราไปเดินสำรวจในสถานที่บางแห่ง มันไม่ปลอดภัย
กอปรกับไม่ได้แจ้งล่วงหน้า จึงไม่มีอุปกรณ์เตรียมมาด้วย
เลยทำให้หลายคนในทีมดูจะไม่พอใจเท่าไรนัก
แต่วันนั้นไม่มีหมอกสวยๆให้ดู เราจึงไม่ได้ไปสำรวจอีกเส้นทางหนึ่งตามที่แพลนไว้
เรื่องก็จบลงเท่านั้น..
ผมมีโอกาสได้คุยกับหยีตอนเดินลงจากเขา
หยีเล่าถึงความเปลี่ยนแปลงในการจัดการสถานที่ท่องเที่ยวของผาสองฤดู
ผมเพิ่งรู้ว่าที่นี่เป็นแค่การทดลองเปิดให้เที่ยว จึงทำให้ไม่ค่อยมีข้อมูลอะไรมากนัก
ชาวบ้านละแวกนี้ ต้องดูแลความเรียบร้อยและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวเองด้วย
ซึ่งถ้าผลลัพธ์ออกมาดี ก็จะได้ประกาศเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการ
นั่นเอง จึงทำให้หยีต้องเตือนพวกเรา และไม่กล้าเสี่ยงจะพาไปไหนจุดแปลกๆ
(ซึ่งผมเล่าให้เขาฟังว่า จริงๆ พวกเราแทบทุกคน เคยมากันแล้ว เลยรู้ตัวเองดีว่าจะเจอทางยากขนาดไหน ไปได้ไหม)
ผมเล่าต่อถึงกรณีภูทับเบิก
หลังจากที่คนแห่ไปแล้ว ที่นั่นเละเทะแค่ไหน
ซึ่งหยีก็ได้ติดตามข่าวอยู่เช่นกัน
และทางหน่วยงานราชการรวมไปถึงชาวบ้านก็ไม่อยากให้เป็นอย่างนั้น
ซึ่งคนละแวกนี้นอกจากมีกฎของทางราชการช่วยดูแลแล้ว
ยังมีกฎของชุมชนที่คนเฒ่าคนแก่ออกกฎไว้มาเนินนาน
เช่น การห้ามขายที่ดินให้กับคนนอกพื้นที่ เป็นต้น
ดังนั้น ถ้าใครคนหนึ่งในหมู่บ้านต้องการขายพื้นที่
จะต้องเอาเข้าที่ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านทุกครั้ง
ไม่สามารถตัดสินใจคนเดียวได้ แม้จะเป็นที่ดินของเขาก็ตาม
ผมได้ยินอย่างนี้แล้วก็สบายใจขึ้นอีกเปราะหนึ่ง
ชุมชนระแวกนี้น่าจะเข้มแข็งพอตัว..
หยีเล่าต่อว่า ชาวบ้านแถวนี้ไม่ได้มีความลำบากอะไร ทุกคนต่างปลูกพืชผักผลไม้เมืองหนาวเพื่อส่งขายและสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้ดีมาก เลยทำให้เขายอมทิ้งเงินเดือน ลาออกจากโรงงานประกอบรถยนต์ กลับมาทำไร่ทำสวนที่บ้านเกิดแห่งนี้
“ที่หมู่บ้านผมเจริญแบบนี้เพราะในหลวงครับ ถ้าในหลวงไม่เข้ามาทำอะไร ก็คงไม่เป็นแบบนี้”
หยีบอกผมพร้อมกับชี้ให้ดูท่อน้ำประปา แล้วพูดต่อว่า “ท่อประปาในหลวงก็มาทำให้ครับ” แล้วเขาก็เล่าถึงผังระบบประปาในสวนให้ผมฟัง ว่ามันมีทุกหมู่บ้านและเข้าสวนทั้งหมด
ผมเริ่มสนใจทันที เพราะอยากรู้ว่าชาวม้งเขาคิดอย่างไรกับในหลวง
ยังไม่ทันถาม หยีก็เสริมต่อว่า “ในหลวงมาที่นี่บ่อยครับ กำนันคนเก่าที่เขาเพิ่งตายไป ก็สนิทกัน มีรูปถ่ายคู่กับในหลวงด้วยหลายรูป”
“แล้วท่านมาทำอะไรแถวนี้บ่อยๆ” ผมถามต่อ
“เข้ามาทำหลายอย่างครับ ทำขุนวาง(หมายถึง ศูนย์เกษตรหลวงเชียงใหม่ขุนวาง) ทำประปาให้ ทำบ่อเก็บน้ำให้ เดี๋ยวเดินลงไปล่างสุด ผมจะชี้ให้พี่ดู” หยีพูดเหมือนภูมิใจในเรื่องบ่อเก็บน้ำมาก
“สิบปีก่อนตอนบ่อเก็บน้ำแตก ในหลวงก็เข้ามาดูครับ”
ผมแอบตกใจว่า เรื่องดูเล็กน้อยสำหรับเรามากนะ แต่ในหลวงทรงมาดูเอง ทั้งๆที่สั่งใครมาก็ได้ ผมบ่นกับหยี ซึ่งหยีเองก็งงเช่นกัน
“เวลาในหลวงมา ทหารตำรวจเต็มไปหมดเลยพี่ แต่บางทีก็มากันไม่กี่คน ชาวบ้านบางคนยังไม่รู้เลยว่าเป็นใคร สมัยก่อนก็ไม่มีทีวีดูกันน่ะครับ”
“แล้วนายเคยเจอในหลวงไหม” ผมถามหยี
“เคยครับ ครั้งนึง ตอนเด็กๆ ตอนบ่อเก็บน้ำมันแตกนั่นแหละครับ” พลางก็ชี้นิ้วไปแถวๆ ศูนย์เกษตรขุนวางให้ผมดู และอาจเป็นเหตุผลนี้ก็ได้ ที่หยีพราวทูพรีเซ้นบ่อเก็บน้ำกับผมแต่แรก
“ตอนบ่อแตก ในหลวงเขาเข้ามาดูครับ มาเองเลย และน่าจะเป็นครั้งสุดท้ายที่ในหลวงมาที่นี่ครับ แล้วเขาก็ไม่เคยมาอีกเลย เหมือนเขาเริ่มเข้าโรงพยาบาล” ตอนนั้น ผมเริ่มประติดประต่อเรื่องได้บ้าง
“บร็อคโคลี่ สตรอว์เบอร์รี (มีอะไรอีกไม่รู้ ผมจำชื่อไม่ได้) เขาก็เอามาให้พวกผมปลูก ท่านทำอะไรไว้เยอะครับ”
“อาจารย์ที่ขุนวางเขาก็ดีมากครับ พวกนี้เขาก็สอนปลูกทั้งนั้น โดมก็สอนทำครับ” แล้วหยีก็ชี้ให้ผมดูโดมสีขาวๆ ผมเลยถึงบางอ้อว่า ทำไมโดมแถวนี้หน้าตาเหมือนกันหมด
“อาจารย์เขาให้คำแนะนำตลอดครับ เขาก็ตามพวกผมด้วย เจอกันก็ถามตลอด ดีไหม ขึ้นไหม เขามาดูเรื่อยๆ เขาก็คงเอาไปรายงานด้วยครับ ทำผลงานกัน” หยีเล่าไปหัวเราะไป
“แล้วขายกันยังไง” ผมถามหยีต่อ
“ขายเข้าขุนวางครับ ราคาดีกว่าในท้องตลาดอีกครับ แต่ต้องไม่ใส่ยานะ เป็นออร์แกนิก เพราะเขาเอาเข้าวังด้วย” หยีตอบผมแบบสั้นๆ แต่ได้ใจความ
“บางทีก็มีคนมารับไปขาย หรือชาวบ้านไปขายเอง ก็แล้วแต่เขาจะทำกันน่ะครับ” หยีให้ข้อมูลเพิ่ม เหมือนรู้ใจผมว่าจะถามเรื่องการผูกขาด
พวกเราเดินมาจนถึงบ่อน้ำที่ในหลวงทรงสั่งให้สร้างไว้ หยีเลยชี้ให้ผมดูว่าคือที่นี่
แล้วหยีก็ย้ำด้วยประโยคเดิมจากบทเริ่มต้น..
“ถ้าไม่มีในหลวง พวกผมก็ไม่รู้จะเป็นยังไงครับ ท่านทำอะไรเยอะจริงๆ”
…
ในสมองผมตอนนั้น มีหลายๆเรื่องของในหลวงผุดขึ้นมาเต็มไปหมด
เป็นเรื่องและภาพของในหลวงทรงงานตามชนบท
แต่ครั้งนี้ผมฟังจากปากคนท้องที่เอง.. รู้สึกอินกว่าเยอะ
เราคุยกันหลายเรื่องแต่มาปิดท้ายด้วยเรื่องของในหลวง
ประหนึ่งว่าหยีตั้งใจเล่าเพราะเพิ่งผ่านวันพ่อไปหมาดๆ
ผมรู้สึกว่า ชาวบ้านแถวนี้โชคดี คนไทยโชคดี และผมก็โชคดี
ที่เกิดมาทันในช่วงของกษัตริย์พระองค์นี้..
ฟังแล้วรักในหลวงมากขึ้นอีกเยอะเลยครับ
….
ข้อมูลเพิ่มเติม
- สมัยก่อนขุนวางบ้านหยี ปลูกฝิ่นกัน ก่อนที่จะเปลี่ยนมาทำไร่ทำสวน
- ในหลวงเสด็จไปที่ขุนวางครั้งแรก แล้วทรงเห็นปลูกฝิ่นกันเยอะ เลยทำโครงการขุนวาง เพื่อสอนให้ชาวบ้านปลูกพืชที่ได้ราคาดีกว่าหรือเท่าเทียมกับฝิ่น (royalprojectthailand.com)
- ไกด์ม้งขาวตอนผมไปกิ่วแม่ปานบอกว่า ม้งขาว ม้งเขียว ต่างกันที่ภาษา และเรียกชุมชนของหยีว่า ม้งขาวขุนวาง
- ชาวม้งโดยส่วนใหญ่ไม่ชอบให้เรียกว่าแม้ว โดยถือว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยาม (wiki)
- ประวัติศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) http://www.doa.go.th/agrotour/station_kunwang/kunwang.html
---
ต้นฉบับจากบล็อกของผมที่ http://myifew.com/2729/the-king-and-san-miao/