เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ออกมาเปิดเผยถึงผลการคาดการณ์ 10 ธุรกิจเด่นและ 10 ธุรกิจที่น่าเป็นห่วงในปีหน้า (2559) น่าสนใจมากครับ พอดีผมจดบันทึกเอาไว้ด้วย ขออนุญาตนำมาบอกกล่าวซ้ำอีกสักครั้งก็แล้วกัน
ในประเภทโดดเด่นหรือรุ่งโรจน์นั้น มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจัดเอาไว้ 10 อันดับ ไล่เรียงกันดังต่อไปนี้
1.ธุรกิจการแพทย์และความงาม
2.ธุรกิจเทคโนโลยีสื่อสาร
3.ธุรกิจเครื่องสำอางและครีมบำรุงผิว
4.ธุรกิจการท่องเที่ยว
5.ธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต
6.ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
7.ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์
8.มี 2 ธุรกิจได้แก่ ธุรกิจการตลาด (ตลาดนัด ตลาดสด และตลาดนัดกลางคืน) และธุรกิจก่อสร้าง
9.มี 3 ธุรกิจได้แก่ ธุรกิจการศึกษา (สถาบันภาษา, โรงเรียนติว, สถาบันไอที), ธุรกิจจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ และสมุนไพรธรรมชาติ
10.มี 2 ธุรกิจได้แก่ ธุรกิจสถานออกกำลังกาย (เช่น ฟิตเนส สนามกีฬา) และธุรกิจพลังงานทดแทน
ผมอ่านหัวข้อและดูรายละเอียดที่เขาวิเคราะห์แล้วก็เห็นด้วยเป็นส่วนใหญ่ว่าธุรกิจทั้ง 10 อันดับ 14 ประเภทข้างต้นนี้ น่าจะมีอนาคตต่อไปในปี 2559 เพราะส่วนใหญ่ก็ค่อนข้างดีมาตลอดปี 2558
แต่จะต้องระวังไว้ด้วยว่าอย่าขยายตัวเร็วเกินไป หรืออย่าเข้ามาลงทุนแข่งขันมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดภาวะผลผลิตล้นเกินต้องการขึ้นมาได้
ยกตัวอย่างเรื่องธุรกิจตลาดนัดกลางคืน ซึ่งเป็นที่นิยมมากในปี 2558 เมื่อตลาดบางแห่งประสบความสำเร็จแทนตลาดรถไฟ ก็มีการจัดสร้างขึ้นอีกหลายแห่ง ผลปรากฏว่าที่สร้างใหม่ดูจะแผ่วๆ ผู้คนไปเที่ยวไม่เยอะอย่างแห่งแรกๆ
หรือธุรกิจด้านสถานออกกำลังกายที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วก็เช่นกัน ถ้าเป็นประเภทไฮโซลงทุนสูง คิดค่าบริการแพงไม่น่าจะรุ่ง เพราะปีที่ผ่านมามีบางแฟรนไชส์ที่ไม่ประสบความสำเร็จ กลายเป็นข่าวคราวว่าต้องยุบบางสถานที่ลงเพื่อไปรวมกับที่อื่นๆ
ส่วนสนามกีฬาอย่างเช่น ฟุตบอลโต๊ะเล็ก ก็มีเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ ที่เหลือก็อยู่กันไปแบบแกนๆ
รวมความแล้ว แม้ผมจะเห็นด้วยกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยว่าธุรกิจข้างต้นจะมีอนาคตในปี 2559 แต่ก็ต้องระมัดระวัง อย่าแข่งกันลงทุนมากเกินไป ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นเสมอๆในช่วงเวลาที่ผ่านมา
สำหรับธุรกิจที่อนาคตไม่สวยหรือที่หนังสือพิมพ์ใช้คำว่า “ดาวร่วง” อีก 10 อันดับ ที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจัดไว้ ได้แก่
1.ธุรกิจหัตถกรรม
2.ธุรกิจฟอกย้อม
3.ธุรกิจสิ่งทอผ้าผืน
4.ธุรกิจจำหน่ายผักและผลไม้อบแห้ง และธุรกิจร้านค้าดั้งเดิม (โชห่วย) ที่ไม่ปรับตัว
5.ธุรกิจรับซื้อยาง
6.โรงสีขนาดเล็ก
7.ธุรกิจสิ่งพิมพ์และหนังสือ
8.ธุรกิจรับซื้อคอมพิวเตอร์มือสอง
9.ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องจักรการเกษตร และ
10.ธุรกิจพ่อค้าคนกลางและพืชผลการเกษตร
ทั้ง 10 อันดับ 11 ประเภทที่กล่าวมานี้ ผมก็เห็นด้วยอีกเช่นกันเพราะเกือบทุกประเภทได้เกิดอาการแผ่วมาหลายปีแล้วด้วยซ้ำ โดยเฉพาะใน 5-6 อันดับแรก ตั้งแต่หัตถกรรมไปจนถึงการฟอกย้อม ธุรกิจสิ่งทอ และร้านโชห่วย ฯลฯ
ใครที่ยังไม่ยอมแพ้ และคิดจะสู้ต่อไป จะต้องใช้ความพยายามอย่างมากในปี 2559 ที่จะถึง
อีกธุรกิจหนึ่งที่ผมเห็นด้วยว่าอนาคตไม่ดีเอาเสียเลย ได้แก่ธุรกิจสิ่งพิมพ์และหนังสือ ซึ่งเป็นธุรกิจที่ผมเองโดยส่วนตัวรักและเอาใจช่วยมาตลอด
มีงานสัปดาห์หรือมหกรรมหนังสือเมื่อไร ผมก็จะเขียนให้เต็มที่ บางครั้งเขียนติดๆกันหลายวันเสียด้วยซ้ำ
เมื่อเป็นหนึ่งในธุรกิจ “ดาวร่วง” ที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยหยิบยกมาจัดอันดับเช่นนี้ (ซึ่งผมเห็นด้วย เพราะในข้อเท็จจริงก็เป็นอย่างที่เขาวิเคราะห์) ผมจึงรู้สึกใจหาย
ก็ได้แต่ปลอบใจทุกท่านที่อยู่ในแวดวงหนังสือไม่ว่าสำนักพิมพ์ ผู้จัดพิมพ์ ร้านหนังสือ นักเขียน นักประพันธ์ นักแปล ฯลฯ ทั้งหลายให้กัดฟันสู้ สู้ สู้ตายต่อไป
นักเขียนนักประพันธ์คงไม่เป็นไร...เขียนดีๆลงเว็บไซต์หรือไปทำอีบุ๊กส์อาจรอดตายได้ แต่สำนักพิมพ์คงเหนื่อยหน่อย เพราะคนอ่านรุ่นใหม่เขาจะอ่านแต่ในมือถือกับเครื่องคอมพ์เท่านั้น...อ่านหนังสือเล่มๆลดลงไปเยอะครับ เฮ้อ! ถ้าคนอายุ 50–60 ปีขึ้นไปแก่ตายกันหมดจะพิมพ์หนังสือไปขายใครยังไม่รู้เลย.
http://www.thairath.co.th/content/551985
10 ธุรกิจโดดเด่น
http://www.marketingoops.com/reports/research/trend-thai-econ-2558-by-thai-chamber-of-commerce/
เผยธุรกิจ “รุ่ง” และ “ร่วง” การแพทย์ดี/หนังสือน่าห่วง
ในประเภทโดดเด่นหรือรุ่งโรจน์นั้น มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจัดเอาไว้ 10 อันดับ ไล่เรียงกันดังต่อไปนี้
1.ธุรกิจการแพทย์และความงาม
2.ธุรกิจเทคโนโลยีสื่อสาร
3.ธุรกิจเครื่องสำอางและครีมบำรุงผิว
4.ธุรกิจการท่องเที่ยว
5.ธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต
6.ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
7.ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์
8.มี 2 ธุรกิจได้แก่ ธุรกิจการตลาด (ตลาดนัด ตลาดสด และตลาดนัดกลางคืน) และธุรกิจก่อสร้าง
9.มี 3 ธุรกิจได้แก่ ธุรกิจการศึกษา (สถาบันภาษา, โรงเรียนติว, สถาบันไอที), ธุรกิจจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ และสมุนไพรธรรมชาติ
10.มี 2 ธุรกิจได้แก่ ธุรกิจสถานออกกำลังกาย (เช่น ฟิตเนส สนามกีฬา) และธุรกิจพลังงานทดแทน
ผมอ่านหัวข้อและดูรายละเอียดที่เขาวิเคราะห์แล้วก็เห็นด้วยเป็นส่วนใหญ่ว่าธุรกิจทั้ง 10 อันดับ 14 ประเภทข้างต้นนี้ น่าจะมีอนาคตต่อไปในปี 2559 เพราะส่วนใหญ่ก็ค่อนข้างดีมาตลอดปี 2558
แต่จะต้องระวังไว้ด้วยว่าอย่าขยายตัวเร็วเกินไป หรืออย่าเข้ามาลงทุนแข่งขันมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดภาวะผลผลิตล้นเกินต้องการขึ้นมาได้
ยกตัวอย่างเรื่องธุรกิจตลาดนัดกลางคืน ซึ่งเป็นที่นิยมมากในปี 2558 เมื่อตลาดบางแห่งประสบความสำเร็จแทนตลาดรถไฟ ก็มีการจัดสร้างขึ้นอีกหลายแห่ง ผลปรากฏว่าที่สร้างใหม่ดูจะแผ่วๆ ผู้คนไปเที่ยวไม่เยอะอย่างแห่งแรกๆ
หรือธุรกิจด้านสถานออกกำลังกายที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วก็เช่นกัน ถ้าเป็นประเภทไฮโซลงทุนสูง คิดค่าบริการแพงไม่น่าจะรุ่ง เพราะปีที่ผ่านมามีบางแฟรนไชส์ที่ไม่ประสบความสำเร็จ กลายเป็นข่าวคราวว่าต้องยุบบางสถานที่ลงเพื่อไปรวมกับที่อื่นๆ
ส่วนสนามกีฬาอย่างเช่น ฟุตบอลโต๊ะเล็ก ก็มีเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ ที่เหลือก็อยู่กันไปแบบแกนๆ
รวมความแล้ว แม้ผมจะเห็นด้วยกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยว่าธุรกิจข้างต้นจะมีอนาคตในปี 2559 แต่ก็ต้องระมัดระวัง อย่าแข่งกันลงทุนมากเกินไป ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นเสมอๆในช่วงเวลาที่ผ่านมา
สำหรับธุรกิจที่อนาคตไม่สวยหรือที่หนังสือพิมพ์ใช้คำว่า “ดาวร่วง” อีก 10 อันดับ ที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจัดไว้ ได้แก่
1.ธุรกิจหัตถกรรม
2.ธุรกิจฟอกย้อม
3.ธุรกิจสิ่งทอผ้าผืน
4.ธุรกิจจำหน่ายผักและผลไม้อบแห้ง และธุรกิจร้านค้าดั้งเดิม (โชห่วย) ที่ไม่ปรับตัว
5.ธุรกิจรับซื้อยาง
6.โรงสีขนาดเล็ก
7.ธุรกิจสิ่งพิมพ์และหนังสือ
8.ธุรกิจรับซื้อคอมพิวเตอร์มือสอง
9.ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องจักรการเกษตร และ
10.ธุรกิจพ่อค้าคนกลางและพืชผลการเกษตร
ทั้ง 10 อันดับ 11 ประเภทที่กล่าวมานี้ ผมก็เห็นด้วยอีกเช่นกันเพราะเกือบทุกประเภทได้เกิดอาการแผ่วมาหลายปีแล้วด้วยซ้ำ โดยเฉพาะใน 5-6 อันดับแรก ตั้งแต่หัตถกรรมไปจนถึงการฟอกย้อม ธุรกิจสิ่งทอ และร้านโชห่วย ฯลฯ
ใครที่ยังไม่ยอมแพ้ และคิดจะสู้ต่อไป จะต้องใช้ความพยายามอย่างมากในปี 2559 ที่จะถึง
อีกธุรกิจหนึ่งที่ผมเห็นด้วยว่าอนาคตไม่ดีเอาเสียเลย ได้แก่ธุรกิจสิ่งพิมพ์และหนังสือ ซึ่งเป็นธุรกิจที่ผมเองโดยส่วนตัวรักและเอาใจช่วยมาตลอด
มีงานสัปดาห์หรือมหกรรมหนังสือเมื่อไร ผมก็จะเขียนให้เต็มที่ บางครั้งเขียนติดๆกันหลายวันเสียด้วยซ้ำ
เมื่อเป็นหนึ่งในธุรกิจ “ดาวร่วง” ที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยหยิบยกมาจัดอันดับเช่นนี้ (ซึ่งผมเห็นด้วย เพราะในข้อเท็จจริงก็เป็นอย่างที่เขาวิเคราะห์) ผมจึงรู้สึกใจหาย
ก็ได้แต่ปลอบใจทุกท่านที่อยู่ในแวดวงหนังสือไม่ว่าสำนักพิมพ์ ผู้จัดพิมพ์ ร้านหนังสือ นักเขียน นักประพันธ์ นักแปล ฯลฯ ทั้งหลายให้กัดฟันสู้ สู้ สู้ตายต่อไป
นักเขียนนักประพันธ์คงไม่เป็นไร...เขียนดีๆลงเว็บไซต์หรือไปทำอีบุ๊กส์อาจรอดตายได้ แต่สำนักพิมพ์คงเหนื่อยหน่อย เพราะคนอ่านรุ่นใหม่เขาจะอ่านแต่ในมือถือกับเครื่องคอมพ์เท่านั้น...อ่านหนังสือเล่มๆลดลงไปเยอะครับ เฮ้อ! ถ้าคนอายุ 50–60 ปีขึ้นไปแก่ตายกันหมดจะพิมพ์หนังสือไปขายใครยังไม่รู้เลย.
http://www.thairath.co.th/content/551985
10 ธุรกิจโดดเด่น
http://www.marketingoops.com/reports/research/trend-thai-econ-2558-by-thai-chamber-of-commerce/