การเถลิงศกใหม่หรือประเพณีขึ้นปีใหม่นั้น เป็นประเพณีนิยมของชาวไทยมายาวนานแต่โบราณ
ในสมัยก่อนชาวไทย กำหนดเอาวันสงกรานต์ เป็นวันขึ้นปีใหม่ ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์บทมหาสมัยเป็นพิธีสวดมนต์ใหญ่ประจำปี เนื่องในวาระขึ้นปีใหม่ ถือว่าเป็นพิธีที่สำคัญที่ทางบ้านเมืองจะต้องร่วมกันจัดขึ้นเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล และเกิดความร่มเย็นเป็นสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ สำหรับประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ พอถึงวันสงกรานต์ต่างก็จัดให้มีพิธีสวดมหาสมัยขึ้นในหมู่บ้านหรือชุมชนของตนเช่นกัน แตกต่างกันไปตามความนิยมของท้องที่นั้นๆ
ต่อมา ทางราชการบ้านเมืองกำหนดวันขึ้นปีใหม่ จากวันสงกรานต์ไปใช้ตามความนิยมของสากล เพื่อให้สอดคล้องกับนานาประเทศ พิธีเจริญพระพุทธมนต์บทมหาสมัยก็ลดความสำคัญลง การสวดมนต์ในวันปีใหม่จึงเริ่มเลือนหายไปจากวิถีชีวิตของคนไทย
แต่พระสงฆ์หรือชาวพุทธผู้ใคร่บุญกุศล ยังคงสืบพิธีเจริญพุทธมนต์ในวันปีใหม่ตลอดมาประจำแต่ละวัดทุกปี โดยใช้เวลานี้สงบจิตใจ เพื่อต้อนรับปีใหม่ด้วยจิตใจบริสุทธิ์ ตั้งจิตอธิษฐานเพื่อการดำเนินชีวิตโดยความไม่ประมาท เพื่อจะได้เริ่มต้นปีใหม่กับชีวิตใหม่ด้วยสิ่งดี ๆ โดยการยึดหลักพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แต่คนรุ่นใหม่ เยาวชน ได้ถือเอาค่านิยมใหม่คือการเฉลิมฉลองวันแห่งความสุขในการก้าวเข้าสู่ปีใหม่ของชีวิตด้วยการจัดปาร์ตี้กันอย่างสนุกสนาน
ค่านิยมการสวดมนต์ข้ามปี
การสวดมนต์ข้ามปีที่ปฏิบัติกันอยู่ในทุกวันนี้ มีจุดเริ่มต้นจากเมื่อปี 2547 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร) เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหารในขณะนั้น ได้นำคณะสงฆ์วัดสระเกศประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ข้ามปีขึ้น ณ พระอุโบสถวัดสระเกศ โดยสวดบทพระนพเคราะห์เป็นหลัก ซึ่งมีบทอาฏานาฏิยปริตรรวมอยู่ด้วย ถือได้ว่าเป็นการรื้อฟื้นการสวดมนต์ข้ามปีที่ห่างหายไปนานจากสังคมไทย
จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ นี้ การสวดมนต์ข้ามปีค่อยๆ ได้รับความนิยมจากพุทธศาสนิกชนมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งปี 2549 สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้เข้ามาสนับสนุนให้มีการสวดมนต์ข้ามปีอย่างเป็นทางการที่วัดสระเกศในทุกปี มาถึงในปี 2553 มหาเถรสมาคมก็มีมติให้วัดที่มีความพร้อมได้จัดสวดมนต์ข้ามปีขึ้น โดยมีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และวัดสระเกศ เป็นศูนย์กลาง
สำหรับในคืนส่งท้ายปี 2558 และต้อนรับปี 2559 นี้ มหาเถรสมาคมจึงมีมติจัดสวดมนต์ข้ามปีขึ้น โดยมีศูนย์กลางจัดงานวัดปากน้ำภาษี เจริญ และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พร้อมวัดสำคัญๆ ทั่วประเทศ ที่เปิดให้พุทธศาสนิกชนร่วมสวดมนต์ข้ามปี
ดังนั้น ในคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2558 เข้าสู่วันที่ 1 มกราคม 2559 จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชน ร่วมพิธีสวดมนต์ข้ามปี ไปพร้อมพระสงฆ์ ดำรงรักษาไว้ซึ่งประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม ดำเนินชีวิตโดยความไม่ประมาทตามวิถีของชาวพุทธ เริ่มชีวิตใหม่ด้วยความสุขสวัสดี และเป็นมงคลชีวิต อย่างแท้จริง ตลอดปี 2559
วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
วัดสระเกศ กรุงเทพฯ เตรียมจัดสวดมนต์ข้ามปี 2558 ต้อนรับปีใหม่ 2559 ณ บรมบรรพต ภูเขาทอง
ในสมัยก่อนชาวไทย กำหนดเอาวันสงกรานต์ เป็นวันขึ้นปีใหม่ ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์บทมหาสมัยเป็นพิธีสวดมนต์ใหญ่ประจำปี เนื่องในวาระขึ้นปีใหม่ ถือว่าเป็นพิธีที่สำคัญที่ทางบ้านเมืองจะต้องร่วมกันจัดขึ้นเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล และเกิดความร่มเย็นเป็นสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ สำหรับประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ พอถึงวันสงกรานต์ต่างก็จัดให้มีพิธีสวดมหาสมัยขึ้นในหมู่บ้านหรือชุมชนของตนเช่นกัน แตกต่างกันไปตามความนิยมของท้องที่นั้นๆ
ต่อมา ทางราชการบ้านเมืองกำหนดวันขึ้นปีใหม่ จากวันสงกรานต์ไปใช้ตามความนิยมของสากล เพื่อให้สอดคล้องกับนานาประเทศ พิธีเจริญพระพุทธมนต์บทมหาสมัยก็ลดความสำคัญลง การสวดมนต์ในวันปีใหม่จึงเริ่มเลือนหายไปจากวิถีชีวิตของคนไทย
แต่พระสงฆ์หรือชาวพุทธผู้ใคร่บุญกุศล ยังคงสืบพิธีเจริญพุทธมนต์ในวันปีใหม่ตลอดมาประจำแต่ละวัดทุกปี โดยใช้เวลานี้สงบจิตใจ เพื่อต้อนรับปีใหม่ด้วยจิตใจบริสุทธิ์ ตั้งจิตอธิษฐานเพื่อการดำเนินชีวิตโดยความไม่ประมาท เพื่อจะได้เริ่มต้นปีใหม่กับชีวิตใหม่ด้วยสิ่งดี ๆ โดยการยึดหลักพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แต่คนรุ่นใหม่ เยาวชน ได้ถือเอาค่านิยมใหม่คือการเฉลิมฉลองวันแห่งความสุขในการก้าวเข้าสู่ปีใหม่ของชีวิตด้วยการจัดปาร์ตี้กันอย่างสนุกสนาน
ค่านิยมการสวดมนต์ข้ามปี
การสวดมนต์ข้ามปีที่ปฏิบัติกันอยู่ในทุกวันนี้ มีจุดเริ่มต้นจากเมื่อปี 2547 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร) เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหารในขณะนั้น ได้นำคณะสงฆ์วัดสระเกศประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ข้ามปีขึ้น ณ พระอุโบสถวัดสระเกศ โดยสวดบทพระนพเคราะห์เป็นหลัก ซึ่งมีบทอาฏานาฏิยปริตรรวมอยู่ด้วย ถือได้ว่าเป็นการรื้อฟื้นการสวดมนต์ข้ามปีที่ห่างหายไปนานจากสังคมไทย
จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ นี้ การสวดมนต์ข้ามปีค่อยๆ ได้รับความนิยมจากพุทธศาสนิกชนมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งปี 2549 สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้เข้ามาสนับสนุนให้มีการสวดมนต์ข้ามปีอย่างเป็นทางการที่วัดสระเกศในทุกปี มาถึงในปี 2553 มหาเถรสมาคมก็มีมติให้วัดที่มีความพร้อมได้จัดสวดมนต์ข้ามปีขึ้น โดยมีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และวัดสระเกศ เป็นศูนย์กลาง
สำหรับในคืนส่งท้ายปี 2558 และต้อนรับปี 2559 นี้ มหาเถรสมาคมจึงมีมติจัดสวดมนต์ข้ามปีขึ้น โดยมีศูนย์กลางจัดงานวัดปากน้ำภาษี เจริญ และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พร้อมวัดสำคัญๆ ทั่วประเทศ ที่เปิดให้พุทธศาสนิกชนร่วมสวดมนต์ข้ามปี
ดังนั้น ในคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2558 เข้าสู่วันที่ 1 มกราคม 2559 จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชน ร่วมพิธีสวดมนต์ข้ามปี ไปพร้อมพระสงฆ์ ดำรงรักษาไว้ซึ่งประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม ดำเนินชีวิตโดยความไม่ประมาทตามวิถีของชาวพุทธ เริ่มชีวิตใหม่ด้วยความสุขสวัสดี และเป็นมงคลชีวิต อย่างแท้จริง ตลอดปี 2559
วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร