คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
^ ไม่ใช่เลยครับ พระถังซัมจั๋งท่านเดินทางไปชมพูทวีปเพื่อศึกษาภาษาสันสกฤตและคัมภีร์โยคาจารย์ภูมิศาสตร์ จากพระอาจารย์ศีลภัทรแห่งนาลันทา และคัมภีร์มหายานต่างๆ เป็นสำคัญ เมื่อตอนขากลับได้รับเอาคัมภีร์พุทธศาสนาภาษาสันสกฤตกลับมาแปล ไม่มีมหากาพย์อย่างรามายณะกลับมาด้วย และในสมัยที่พระถังซัมจั๋งเดินทางไปอินเดีย ยังไม่มีการวาดภาพจากคัมภีร์ทางศาสนาฮินดูเกิดขึ้นเลย ในหนังสือ "ต้าถังซิยุกี" (การเดินทางสู่ตะวันตกในสมัยราชวงศ์ถัง) ที่ท่านเขียนเป็นรายงานการเดินทางถวายกษัตริย์ถังไท่จง ก็ไม่มีการกล่าวถึงรามายณะเลย แม้แต่คัมภีร์ที่เป็นของทางศาสนาหรือลัทธิพราหมณ์ที่นำกลับมาแปล ก็มีเพียงคัมภีร์ ไวเศษิกปทารถศาสฺตร ซึ่งเป็นคัมภีร์ของพราหมณ์ลัทธิไวเศษิก
นอกจากนั้น เรื่องก็ไซอิ๋วแต่งขึ้นภายหลังสมัยพระถังซัมจั๋งเป็นร้อยปี พระถังซัมจั๋งหรือพระสมณะเสวียนจั้ง อยู่ในสมัยราชวงศ์ถัง แต่เรื่องไซอิ๋ว แต่งสมัยราชวงศ์หมิง
เหตุที่มีการแต่งไซอิ๋วให้มีลิง เป็นตัวเอก ก็มีที่มาจากคำสอนทางศาสนาพุทธที่ว่า "จิตคนเปรียบเหมือนลิง ต้องผูกไว้กับหลักไม่ให้ซุกซน" คือต้องฝึกฝนจิตที่ซุกซน ให้อยู่นิ่ง ให้เข้าถึงความรู้แจ้ง แม้แต่คำว่า "หงอคง" หรือ "อู้คง" ก็แปลว่า "สุญญตา" หมายถึงความว่างเปล่า หรือจิตที่ว่างเปล่าจากกิเลส
ซึ่งในดราก้อนบอล ซุน โกคู ก็มีลักษณะสะท้อนมาแบบนี้ คือเป็นคนเฉยๆ ว่างๆ ไม่คิดอะไร อย่างที่เบจิต้าพูดนั่นแหละ "ก็ไอ้หมอนี่มันไม่คิดอะไรเลยไง"
นอกจากนั้น เรื่องก็ไซอิ๋วแต่งขึ้นภายหลังสมัยพระถังซัมจั๋งเป็นร้อยปี พระถังซัมจั๋งหรือพระสมณะเสวียนจั้ง อยู่ในสมัยราชวงศ์ถัง แต่เรื่องไซอิ๋ว แต่งสมัยราชวงศ์หมิง
เหตุที่มีการแต่งไซอิ๋วให้มีลิง เป็นตัวเอก ก็มีที่มาจากคำสอนทางศาสนาพุทธที่ว่า "จิตคนเปรียบเหมือนลิง ต้องผูกไว้กับหลักไม่ให้ซุกซน" คือต้องฝึกฝนจิตที่ซุกซน ให้อยู่นิ่ง ให้เข้าถึงความรู้แจ้ง แม้แต่คำว่า "หงอคง" หรือ "อู้คง" ก็แปลว่า "สุญญตา" หมายถึงความว่างเปล่า หรือจิตที่ว่างเปล่าจากกิเลส
ซึ่งในดราก้อนบอล ซุน โกคู ก็มีลักษณะสะท้อนมาแบบนี้ คือเป็นคนเฉยๆ ว่างๆ ไม่คิดอะไร อย่างที่เบจิต้าพูดนั่นแหละ "ก็ไอ้หมอนี่มันไม่คิดอะไรเลยไง"
แสดงความคิดเห็น
หนุมาน ไซอิ๋ว และดราก้อนบอล
และในที่สุดคนญี่ปุ่นก็เอาไซอิ๋วมาทำเป็นเรื่องดราก้อนบอล
ใช่ไหมครับ