พระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
...
สำรวมจิตใจให้ดี
ต่างคนต่างเกิดมาในโลกนี้แล้ว
ต่างคนต่างสร้างบุญกุศลมา มากบ้าง น้อยบ้าง
มันจึงไม่เหมือนกันนะมนุษย์เรา
เพราะฉะนั้นทุกคนต้องให้นึกถึง
"บุญวาสนาของตน"
อันบุญวาสนาหนหลังถ้าตนไม่นึกถึงมันก็ไม่เกิดขึ้น
ดังนั้นจึงต้องนึกถึงบุญวาสนาหนหลังที่ตนทำมา
ไม่ใช่ไม่ทำความดีมาแต่ก่อน
คนไม่ได้ทำความดีมาแต่ก่อนมันไม่ได้เกิดมาเป็นคน
ผู้ใดเคยทำความดีอย่างไรมา
เกิดมาชาตินี้มันก็ชอบทำความดีอย่างนั้น
เช่น เคยเป็นนักบวชมาแต่ชาติก่อน
เกิดมาชาตินี้มันก็พอใจในความเป็นนักบวช
นิสัยเดิมน่ะแหละมันติดมา คนที่เคยครองเรือนมา
มีใจผูกพันอยู่กับการครองเรือน
เกิดมาชาตินี้มันก็ชอบใจในการที่จะครองเรือน
แม้นจะยากลำบากอย่างไรก็สู้ เนื่องจากว่ามันชอบใจ
นี่แหละความดีต่างๆนี่ต่างคนต่างทำเอามา
คนละอย่างคนละเรื่องกัน ไม่ใช่อย่างเดียวกัน
เพราะฉะนั้นบุญกรรมเหล่านั้นมันจึงมาตกแต่งให้
ผิดแผกแตกต่างกันไป ตลอดถึงร่างกายก็ไม่เหมือนกัน
ดวงจิตก็ไม่เหมือนกัน จริตนิสัยไม่เหมือนกัน
บางคนก็นิสัยไม่หนักแน่น
เรียกว่าเป็นคนมีนิสัยใจคอเหลาะแหละ อ่อนแอ
ทำอะไรให้เข้มแข็งไม่ได้ เพราะกำลังใจน่ะมันอ่อนแอ
บางคนก็มีใจคอหนักแน่นเข้มแข็ง
ลงได้ทำอะไรลงไปแล้วทำจริง เอาใจใส่จริงๆ
อันเรื่องหมู่นี้นะมันเกิดขึ้นจาก
"นิสสัยปัจจัย"
ที่แต่ละบุคคลกระทำมาแต่ชาติหนหลังนู่น มันติดตามมา
ที่ท่านกล่าวว่า
”อุปนิสัย” นั่นน่ะ
นั่นแหละ
"อุปนิสัย คือ จริตนิสัยที่เคยฝึกตนมาอย่างไร
ในชาติก่อนนู่น มาชาตินี้มันก็ติดตามมา"
แต่ว่าจริตนิสัยที่อันใดมันเป็นไปในทางไม่ดี
เรารู้ เมื่อผู้มาภาวนาสมาธินี่ก็รู้เรื่องตัวเอง
เมื่อรู้ว่านิสัยอันใดมันไม่ดีก็เพียรละมันออกไป
เมื่อรู้ว่านิสัยอันใดมันดีก็รักษาไว้ จึงเรียกว่าเป็น “ผู้ปฏิบัติธรรม”
หรือว่า “ผู้ภาวนา” เป็นผู้เลือกเฟ้นสิ่งที่มาแฝงอยู่ในจิตใจของตนนี่น่ะ
มันมีทั้งดีทั้งชั่ว เพราะเหตุนั้นน่ะพระพุทธเจ้าจึงสอน
ให้ภาวนาคัดเลือกออกไป คัดเลือกอันชั่วอันไม่ดีออกไป
เอาแต่อันดีๆไว้ เอาแต่อันดีๆไว้อันชั่วไม่เอา
แล้วเมื่อเอาอันดีๆไว้ อันดีมันก็ต้องแต่งบุคคลผู้นั้น
ให้เป็นคนดี นั่นแหละ ทำให้เป็นคนใจดี ใจมีเมตตาอารี
ทำให้ใจสงบ เยือกเย็น มีปัญญาเห็นทุกข์เห็นภัยในสงสาร
เห็นว่าความเกิดแก่เจ็บตายนี้เป็นทุกข์
เห็นไปว่าตัณหาความทะยานอยากโดยประการต่างๆนี้
เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ มันมีความเห็นอย่างนี้ขึ้นในใจ
คนผู้มีอุปนิสัยวาสนาบารมีแก่กล้า
คนบุญน้อยวาสนาน้อยมันมองไม่เห็นทุกข์ภัยในสงสาร
มองไม่เห็นว่า ตัณหานี้มันจะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์อย่างไร
มองไม่เห็น ไม่คิดจะละมันเลย
นี้แหละ..ในระหว่าง "คนมีบุญมากกับคนมีบุญน้อย"
มันย่อมแตกต่างกัน ไม่เหมือนกัน
ผู้ใดรู้ว่าตนมีบุญน้อยก็รีบเร่งพยายามสั่งสมบุญเข้าไป
ถ้าเห็นว่าตนมีบุญน้อยแล้วก็เลยไม่ทำต่อเลย
เลยตามเลยไปอย่างนี้มันก็น้อยอยู่อย่างนั้นเรื่อยไป
...
ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาหัวข้อ
"รักษาสัจจะความจริงใจ"
อุปนิสัยวาสนาแต่หนหลัง : หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
พระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
...
สำรวมจิตใจให้ดี ต่างคนต่างเกิดมาในโลกนี้แล้ว
ต่างคนต่างสร้างบุญกุศลมา มากบ้าง น้อยบ้าง
มันจึงไม่เหมือนกันนะมนุษย์เรา
เพราะฉะนั้นทุกคนต้องให้นึกถึง "บุญวาสนาของตน"
อันบุญวาสนาหนหลังถ้าตนไม่นึกถึงมันก็ไม่เกิดขึ้น
ดังนั้นจึงต้องนึกถึงบุญวาสนาหนหลังที่ตนทำมา
ไม่ใช่ไม่ทำความดีมาแต่ก่อน
คนไม่ได้ทำความดีมาแต่ก่อนมันไม่ได้เกิดมาเป็นคน
ผู้ใดเคยทำความดีอย่างไรมา
เกิดมาชาตินี้มันก็ชอบทำความดีอย่างนั้น
เช่น เคยเป็นนักบวชมาแต่ชาติก่อน
เกิดมาชาตินี้มันก็พอใจในความเป็นนักบวช
นิสัยเดิมน่ะแหละมันติดมา คนที่เคยครองเรือนมา
มีใจผูกพันอยู่กับการครองเรือน
เกิดมาชาตินี้มันก็ชอบใจในการที่จะครองเรือน
แม้นจะยากลำบากอย่างไรก็สู้ เนื่องจากว่ามันชอบใจ
นี่แหละความดีต่างๆนี่ต่างคนต่างทำเอามา
คนละอย่างคนละเรื่องกัน ไม่ใช่อย่างเดียวกัน
เพราะฉะนั้นบุญกรรมเหล่านั้นมันจึงมาตกแต่งให้
ผิดแผกแตกต่างกันไป ตลอดถึงร่างกายก็ไม่เหมือนกัน
ดวงจิตก็ไม่เหมือนกัน จริตนิสัยไม่เหมือนกัน
บางคนก็นิสัยไม่หนักแน่น
เรียกว่าเป็นคนมีนิสัยใจคอเหลาะแหละ อ่อนแอ
ทำอะไรให้เข้มแข็งไม่ได้ เพราะกำลังใจน่ะมันอ่อนแอ
บางคนก็มีใจคอหนักแน่นเข้มแข็ง
ลงได้ทำอะไรลงไปแล้วทำจริง เอาใจใส่จริงๆ
อันเรื่องหมู่นี้นะมันเกิดขึ้นจาก "นิสสัยปัจจัย"
ที่แต่ละบุคคลกระทำมาแต่ชาติหนหลังนู่น มันติดตามมา
ที่ท่านกล่าวว่า”อุปนิสัย” นั่นน่ะ
นั่นแหละ "อุปนิสัย คือ จริตนิสัยที่เคยฝึกตนมาอย่างไร
ในชาติก่อนนู่น มาชาตินี้มันก็ติดตามมา"
แต่ว่าจริตนิสัยที่อันใดมันเป็นไปในทางไม่ดี
เรารู้ เมื่อผู้มาภาวนาสมาธินี่ก็รู้เรื่องตัวเอง
เมื่อรู้ว่านิสัยอันใดมันไม่ดีก็เพียรละมันออกไป
เมื่อรู้ว่านิสัยอันใดมันดีก็รักษาไว้ จึงเรียกว่าเป็น “ผู้ปฏิบัติธรรม”
หรือว่า “ผู้ภาวนา” เป็นผู้เลือกเฟ้นสิ่งที่มาแฝงอยู่ในจิตใจของตนนี่น่ะ
มันมีทั้งดีทั้งชั่ว เพราะเหตุนั้นน่ะพระพุทธเจ้าจึงสอน
ให้ภาวนาคัดเลือกออกไป คัดเลือกอันชั่วอันไม่ดีออกไป
เอาแต่อันดีๆไว้ เอาแต่อันดีๆไว้อันชั่วไม่เอา
แล้วเมื่อเอาอันดีๆไว้ อันดีมันก็ต้องแต่งบุคคลผู้นั้น
ให้เป็นคนดี นั่นแหละ ทำให้เป็นคนใจดี ใจมีเมตตาอารี
ทำให้ใจสงบ เยือกเย็น มีปัญญาเห็นทุกข์เห็นภัยในสงสาร
เห็นว่าความเกิดแก่เจ็บตายนี้เป็นทุกข์
เห็นไปว่าตัณหาความทะยานอยากโดยประการต่างๆนี้
เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ มันมีความเห็นอย่างนี้ขึ้นในใจ
คนผู้มีอุปนิสัยวาสนาบารมีแก่กล้า
คนบุญน้อยวาสนาน้อยมันมองไม่เห็นทุกข์ภัยในสงสาร
มองไม่เห็นว่า ตัณหานี้มันจะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์อย่างไร
มองไม่เห็น ไม่คิดจะละมันเลย
นี้แหละ..ในระหว่าง "คนมีบุญมากกับคนมีบุญน้อย"
มันย่อมแตกต่างกัน ไม่เหมือนกัน
ผู้ใดรู้ว่าตนมีบุญน้อยก็รีบเร่งพยายามสั่งสมบุญเข้าไป
ถ้าเห็นว่าตนมีบุญน้อยแล้วก็เลยไม่ทำต่อเลย
เลยตามเลยไปอย่างนี้มันก็น้อยอยู่อย่างนั้นเรื่อยไป
...
ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาหัวข้อ
"รักษาสัจจะความจริงใจ"