เมื่อเอกชนไทยเริ่มถูกทางรัฐบาลในระดับนานาชาติทั้งจากประเทศใน EU และ USA ตอบโต้ทางเศรษฐกิจกับอุตสาหกรรมประมงไทย
- EU : ความมั่นคง และยั่งยืนทางทะเล
- USA : แรงงานทาสในอุตสาหกรรม
ซึ่งทั้ง 2 รัฐบาลต่างสลับกันโจมตีประเทศไทยทั้งทางตรง และทางอ้อม โดยการกดดันตั้งแต่รัฐบาลไทย ไล่ลงมาจนถึงเอกชนทั้งตัวใหญ่ ตัวเล็ก ต่างก็ได้รับผลกระทบในครั้งนี้อย่างถ้วนหน้า จนทำให้เอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมประมงที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทันต้องเลิกกิจการกันไปหลายร้อย หลายพันราย ตั้งแต่เจ้าของเรือประมง โรงงานน้ำแข็ง ธุรกิจแพปลา ห้องเย็น และโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปต่างๆ เริ่มมีผลกระทบกันทั้งวงจรเพิ่มมากขึ้น
"ไทยยูเนี่ยน" นำทีมจัดระเบียบแรงงาน เลิกจ้าง "ล้ง" แกะกุ้งกว่า 100 รายทยอยปิดกิจการ
ธุรกิจล้งกุ้งมหาชัยใกล้สูญพันธุ์ เหลือเพียง 28 ราย จาก 300 รายในปี 2557 หลังตำรวจไล่บี้ตรวจจับแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายทุกวัน แถมล่าสุดยักษ์ไทยยูเนี่ยนฯ นำธงอุตสาหกรรมห้องเย็น ยกเลิกการว่าจ้าง "ล้ง" หาวัตถุดิบ-แกะกุ้ง ด้านผู้ประกอบการล้งดิ้น รวมตัวตั้งบริษัทส่งออกกุ้งเอง
นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือทียู กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ทางทียูจะยกเลิกการว่าจ้างสถานประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำเบื้องต้น (ล้ง) จากภายนอกทั้งหมด และนำกระบวนการผลิตทั้งหมดเข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุมและดูแลของไทยยูเนี่ยนฯ เพื่อบริษัทจะสามารถควบคุมมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านแรงงานได้อย่างเข้มงวด และถูกต้องตามกฎหมาย โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 กระบวนการผลิตทั้งหมดจะได้รับการควบคุมอย่างใกล้ชิดเพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานทุกคนในสายการผลิต ทั้งแรงงานไทยหรือต่างด้าว จะปฏิบัติงานในสภาวะแวดล้อมที่ปลอดภัยและเป็นธรรม
การที่บริษัทได้ตัดสินใจดำเนินการเช่นนี้ สืบเนื่องจากการทบทวนตรวจสอบคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานของทียู และการริเริ่มใช้จรรยาบรรณธุรกิจและแนวปฏิบัติด้านแรงงานฉบับใหม่ (Business Ethics and Labour Code of Conduct) ของทียูที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา จากการตรวจสอบพบว่า เป็นการยากที่จะทำให้มั่นใจว่า ล้งอิสระเบื้องต้นจะปฏิบัติตามแนวปฏิบัติด้านแรงงานฉบับใหม่ได้อย่างครบถ้วนและเคร่งครัด ทั้งนี้ บริษัทยินดีจะให้โอกาสรับพนักงานกว่า 1,000 อัตรามาทำงานกับทียู
"การย้ายสถานประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำมาอยู่ภายใต้การบริหารของไทยยูเนี่ยนฯ เพื่อให้มั่นใจว่าแรงงานนับพันจะได้รับการว่าจ้างอย่างถูกต้องตามกฎหมายและทำงานในสถานที่ที่ปลอดภัย ถือเป็นการขจัดแรงงานผิดกฎหมายไปจากอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทยให้หมดไป และขอฝากไปยังผู้ประกอบการทุกรายให้ช่วยกันส่งเสริมการปฏิบัติต่อแรงงานที่ดีและไม่ยินยอมที่จะให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเด็ดขาด"
นายฤทธิรงค์ บุญมีโชติ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจกุ้ง ทียู กล่าวว่าที่ผ่านมาทียูมีเงื่อนไขให้สถานประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำอิสระปฏิบัติตามอย่างเข้มงวดและมีการส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ (Audit) ยอมรับว่า บางครั้งยังมีการตรวจพบแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองมาไม่ถูกต้อง ถือเป็นความเสี่ยง จึงถึงเวลาต้องเลิกจ้าง ซึ่งหวังว่าลูกค้าจะสนับสนุนการดำเนินนโยบายดังกล่าว อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มที่บริษัทอื่นจะดำเนินการลักษณะเดียวกัน
"ปัจจุบันล้งอิสระจะปรับตัวตามกฎหมายได้ถึง 99.99% แต่อะไรที่เป็นความเสี่ยงแม้แต่ 0.01% บริษัทไม่อยากให้เกิดขึ้น โดยเราพร้อมรับแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย และมีความชำนาญเข้ามาทำงานกับเราในส่วนงานต่าง ๆ ซึ่งยังมีความต้องการแรงงานอยู่มาก"
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช ประธานกิตติคุณของสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่าการปรับนโยบายครั้งนี้ของไทยยูเนี่ยนฯ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของการบริหารจัดการอุตสาหกรรมนี้ ทั้งนี้ กระบวนการแปรรูปสัตว์น้ำเบื้องต้นทั้งหมดของสมาชิกสมาคม รวมทั้งของไทยยูเนี่ยนฯ จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนกับสมาคมทุกรายไป
แหล่งข่าวจากสถานประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำเบื้องต้น (ล้ง) จ.สมุทรสาคร กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการธุรกิจล้งได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากการที่ตำรวจเข้าตรวจจับกวาดล้างแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายอย่างเข้มงวดทุกวัน จากปี 2557 มีผู้ประกอบการล้งอยู่ประมาณ 300 ราย ปัจจุบันเหลือผู้ประกอบการล้งกุ้งเพียง 28 ราย และเมื่อนโยบายของทียูที่จะเลิกจ้างล้งอิสระมีผลปลายปีนี้จะมีล้งหายไปอีกส่วนหนึ่ง โดยล้ง 1 รายจะมีแรงงานประมาณ 300 คนต่อแห่ง
นอกจากนี้ ธุรกิจล้งยังได้รับผลกระทบจากการที่โรงงานส่งออกเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ จากเดิมจะให้ล้งเป็นผู้จัดหากุ้ง แกะกุ้ง และส่งเข้าโรงงาน หรือบางครั้งส่งกุ้งมาให้ล้งแกะ แต่ปัจจุบันโรงงานส่งออกจะไปหาซื้อกุ้งจากฟาร์มโดยตรง และแกะกุ้งเองในโรงงาน ทำให้ล้งขาดรายได้จากค่านายหน้าในการจัดหาวัตถุดิบ ดังนั้น ล้งรายใหญ่ที่เหลืออยู่กำลังหารือที่จะรวมตัวกันทำธุรกิจส่งออกกุ้งเอง
"ช่วงนี้ตำรวจเข้มงวดมาก เข้าตรวจล้งกันทุกวัน ถ้าสิ้นปีคงเหลือกันไม่กี่แห่ง เรียกว่า ธุรกิจล้งใกล้จะสูญพันธุ์กันแล้ว ขณะที่โรงงานส่งออกใหญ่ ๆ กลับไม่เข้าไปตรวจ ไม่ว่าล้ง หรือโรงงานส่งออก ถ้าเข้าไปตรวจต้องพบแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายเหมือนกัน เพราะทุกวันมีแรงงานต่างด้าวหมุนเวียนเข้า-ออก คนเก่าไปคนใหม่มา เมื่อรัฐบาลยังไม่เปิดให้ขึ้นทะเบียน แต่ตำรวจตรวจจับแต่ล้ง แต่ไม่มีการไปตรวจโรงงานส่งออกขนาดใหญ่เมื่อล้งมีแรงงานต่างด้าวถูกจับ 5-6 คน ทำให้ล้งแห่งนั้นได้รับผลกระทบต้องปิดตัวไป ดังนั้น แนวทางออกหากรัฐบาลเปิดให้ขึ้นทะเบียนได้ตลอด ปัญหาตรงนี้จะผ่อนคลายไป
ที่มา : "ประชาชาติธุรกิจ"
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1450066688
กระแสการต่อต้านจาก EU และ USA ยังคงต่อเนื่องกับอุตสาหกรรมประมงไทยทั้งระบบ
- EU : ความมั่นคง และยั่งยืนทางทะเล
- USA : แรงงานทาสในอุตสาหกรรม
ซึ่งทั้ง 2 รัฐบาลต่างสลับกันโจมตีประเทศไทยทั้งทางตรง และทางอ้อม โดยการกดดันตั้งแต่รัฐบาลไทย ไล่ลงมาจนถึงเอกชนทั้งตัวใหญ่ ตัวเล็ก ต่างก็ได้รับผลกระทบในครั้งนี้อย่างถ้วนหน้า จนทำให้เอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมประมงที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทันต้องเลิกกิจการกันไปหลายร้อย หลายพันราย ตั้งแต่เจ้าของเรือประมง โรงงานน้ำแข็ง ธุรกิจแพปลา ห้องเย็น และโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปต่างๆ เริ่มมีผลกระทบกันทั้งวงจรเพิ่มมากขึ้น
ธุรกิจล้งกุ้งมหาชัยใกล้สูญพันธุ์ เหลือเพียง 28 ราย จาก 300 รายในปี 2557 หลังตำรวจไล่บี้ตรวจจับแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายทุกวัน แถมล่าสุดยักษ์ไทยยูเนี่ยนฯ นำธงอุตสาหกรรมห้องเย็น ยกเลิกการว่าจ้าง "ล้ง" หาวัตถุดิบ-แกะกุ้ง ด้านผู้ประกอบการล้งดิ้น รวมตัวตั้งบริษัทส่งออกกุ้งเอง
นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือทียู กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ทางทียูจะยกเลิกการว่าจ้างสถานประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำเบื้องต้น (ล้ง) จากภายนอกทั้งหมด และนำกระบวนการผลิตทั้งหมดเข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุมและดูแลของไทยยูเนี่ยนฯ เพื่อบริษัทจะสามารถควบคุมมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านแรงงานได้อย่างเข้มงวด และถูกต้องตามกฎหมาย โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 กระบวนการผลิตทั้งหมดจะได้รับการควบคุมอย่างใกล้ชิดเพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานทุกคนในสายการผลิต ทั้งแรงงานไทยหรือต่างด้าว จะปฏิบัติงานในสภาวะแวดล้อมที่ปลอดภัยและเป็นธรรม
การที่บริษัทได้ตัดสินใจดำเนินการเช่นนี้ สืบเนื่องจากการทบทวนตรวจสอบคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานของทียู และการริเริ่มใช้จรรยาบรรณธุรกิจและแนวปฏิบัติด้านแรงงานฉบับใหม่ (Business Ethics and Labour Code of Conduct) ของทียูที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา จากการตรวจสอบพบว่า เป็นการยากที่จะทำให้มั่นใจว่า ล้งอิสระเบื้องต้นจะปฏิบัติตามแนวปฏิบัติด้านแรงงานฉบับใหม่ได้อย่างครบถ้วนและเคร่งครัด ทั้งนี้ บริษัทยินดีจะให้โอกาสรับพนักงานกว่า 1,000 อัตรามาทำงานกับทียู
"การย้ายสถานประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำมาอยู่ภายใต้การบริหารของไทยยูเนี่ยนฯ เพื่อให้มั่นใจว่าแรงงานนับพันจะได้รับการว่าจ้างอย่างถูกต้องตามกฎหมายและทำงานในสถานที่ที่ปลอดภัย ถือเป็นการขจัดแรงงานผิดกฎหมายไปจากอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทยให้หมดไป และขอฝากไปยังผู้ประกอบการทุกรายให้ช่วยกันส่งเสริมการปฏิบัติต่อแรงงานที่ดีและไม่ยินยอมที่จะให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเด็ดขาด"
นายฤทธิรงค์ บุญมีโชติ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจกุ้ง ทียู กล่าวว่าที่ผ่านมาทียูมีเงื่อนไขให้สถานประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำอิสระปฏิบัติตามอย่างเข้มงวดและมีการส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ (Audit) ยอมรับว่า บางครั้งยังมีการตรวจพบแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองมาไม่ถูกต้อง ถือเป็นความเสี่ยง จึงถึงเวลาต้องเลิกจ้าง ซึ่งหวังว่าลูกค้าจะสนับสนุนการดำเนินนโยบายดังกล่าว อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มที่บริษัทอื่นจะดำเนินการลักษณะเดียวกัน
"ปัจจุบันล้งอิสระจะปรับตัวตามกฎหมายได้ถึง 99.99% แต่อะไรที่เป็นความเสี่ยงแม้แต่ 0.01% บริษัทไม่อยากให้เกิดขึ้น โดยเราพร้อมรับแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย และมีความชำนาญเข้ามาทำงานกับเราในส่วนงานต่าง ๆ ซึ่งยังมีความต้องการแรงงานอยู่มาก"
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช ประธานกิตติคุณของสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่าการปรับนโยบายครั้งนี้ของไทยยูเนี่ยนฯ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของการบริหารจัดการอุตสาหกรรมนี้ ทั้งนี้ กระบวนการแปรรูปสัตว์น้ำเบื้องต้นทั้งหมดของสมาชิกสมาคม รวมทั้งของไทยยูเนี่ยนฯ จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนกับสมาคมทุกรายไป
แหล่งข่าวจากสถานประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำเบื้องต้น (ล้ง) จ.สมุทรสาคร กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการธุรกิจล้งได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากการที่ตำรวจเข้าตรวจจับกวาดล้างแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายอย่างเข้มงวดทุกวัน จากปี 2557 มีผู้ประกอบการล้งอยู่ประมาณ 300 ราย ปัจจุบันเหลือผู้ประกอบการล้งกุ้งเพียง 28 ราย และเมื่อนโยบายของทียูที่จะเลิกจ้างล้งอิสระมีผลปลายปีนี้จะมีล้งหายไปอีกส่วนหนึ่ง โดยล้ง 1 รายจะมีแรงงานประมาณ 300 คนต่อแห่ง
นอกจากนี้ ธุรกิจล้งยังได้รับผลกระทบจากการที่โรงงานส่งออกเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ จากเดิมจะให้ล้งเป็นผู้จัดหากุ้ง แกะกุ้ง และส่งเข้าโรงงาน หรือบางครั้งส่งกุ้งมาให้ล้งแกะ แต่ปัจจุบันโรงงานส่งออกจะไปหาซื้อกุ้งจากฟาร์มโดยตรง และแกะกุ้งเองในโรงงาน ทำให้ล้งขาดรายได้จากค่านายหน้าในการจัดหาวัตถุดิบ ดังนั้น ล้งรายใหญ่ที่เหลืออยู่กำลังหารือที่จะรวมตัวกันทำธุรกิจส่งออกกุ้งเอง
"ช่วงนี้ตำรวจเข้มงวดมาก เข้าตรวจล้งกันทุกวัน ถ้าสิ้นปีคงเหลือกันไม่กี่แห่ง เรียกว่า ธุรกิจล้งใกล้จะสูญพันธุ์กันแล้ว ขณะที่โรงงานส่งออกใหญ่ ๆ กลับไม่เข้าไปตรวจ ไม่ว่าล้ง หรือโรงงานส่งออก ถ้าเข้าไปตรวจต้องพบแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายเหมือนกัน เพราะทุกวันมีแรงงานต่างด้าวหมุนเวียนเข้า-ออก คนเก่าไปคนใหม่มา เมื่อรัฐบาลยังไม่เปิดให้ขึ้นทะเบียน แต่ตำรวจตรวจจับแต่ล้ง แต่ไม่มีการไปตรวจโรงงานส่งออกขนาดใหญ่เมื่อล้งมีแรงงานต่างด้าวถูกจับ 5-6 คน ทำให้ล้งแห่งนั้นได้รับผลกระทบต้องปิดตัวไป ดังนั้น แนวทางออกหากรัฐบาลเปิดให้ขึ้นทะเบียนได้ตลอด ปัญหาตรงนี้จะผ่อนคลายไป
ที่มา : "ประชาชาติธุรกิจ" [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้