สองเหตุผลหลักที่ตัดสินใจว่าจะไปดูหนังเรื่องนี้ เพราะตอนดู trailer หนังครั้งแรก ประทับใจเจ้าวาฬตัวใหญ่ดี ใหญ่มากกกกก เลยจะไปดูเจ้าวาฬให้ได้ (เป็นเหตุผลที่ค่อนข้างจะไร้สาระ) และเป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากตำนาน Moby Dick ซะด้วย (อันนี้เหตุผลมีสาระ แหะๆ)
สำหรับใครที่ไม่รู้จัก Moby Dick เป็นหนังสือนิยายคลาสสิคแต่งโดย Herman Melville เกี่ยวกับกัปตันเอแฮบกับการออกล่าเพื่อล้างแค้นวาฬตัวหนึ่งที่ชื่อ Moby Dick ที่ทำลายเรือและกัดขาของเขาขาด โดยเป็นเรื่องที่เล่าผ่านสายตาของอิชมาเอล หนึ่งในกะลาสีบนเรือ Pequod
ส่วนภาพยนตร์ไม่ได้สร้างจากหนังสือเรื่อง Moby Dick นะ แต่สร้างจากหนังสือ In the heart of the sea ของ Nathaniel Philbrick ที่เล่าเหตุการณ์จริงเกี่ยวกับเรือล่าวาฬ Essex ที่โดนวาฬหัวทุยโจมตี อันเป็นเหตุการณ์ที่นำมาซึ่งการเขียนนิยาย Moby Dick อีกทีนึง (อย่าเพิ่งงงนะ)
ถ้าสปอยล์เฉพาะแค่ลำดับเหตุการณ์ในเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ ก็ดังต่อไปนี้
สมัยยุค 1800 น้ำมันจากวาฬ (sperm oil) จะนำมาซึ่งแสงสว่างให้แก่มนุษย์ มันจึงเป็นทรัพยากรสำคัญมาก และสามารถสร้างความร่ำรวยได้มหาศาล จึงกลายเป็นอุตสาหกรรมล่าวาฬ
กัปตันจอร์จ พอลลาร์ด (ผู้ขาดประสบการณ์ ทว่าเกิดมาในตระกูลนักล่าวาฬที่มีชื่อเสียง เลยได้มาเป็นกัปตัน) กับต้นหนโอเวน เชส (นักเดินเรือเลือดร้อนผู้มากประสบการณ์ แต่เกิดมาในตระกูลธรรมดา ไม่มีอภิสิทธิ์บรรดาศักดิ์ใดๆ แต่จำยอมเป็นต้นหนให้กัปตันลูกเศรษฐี เพราะพวกนายทุนสัญญาว่า เดินเรือรอบหน้าจะให้เป็นกัปตันแล้วนะ โอเวน รับบทโดย พี่คริสของเรา) ออกเดินทางไปบนเรือ Essex เรือล่าปลาวาฬ(Whaler/Whaleship)เพื่อไปหาน้ำมันวาฬมาให้ได้เต็มลำ สองคนนี้ไม่ลงรอยกันเลยตลอดการเดินทาง
อย่างไรก็ตาม เจอวาฬน้อยมาก เลยได้น้ำมันน้อยเหลือเกิน จึงตัดสินใจเดินเรือเข้าไปในเขตที่มีวาฬเยอะมาก แต่ก็เป็นเขตที่มีคำเตือนว่า มีวาฬตัวนึงที่พิเศษกว่าตัวอื่นเพราะมัน “เอาคืน” ได้ ผลลัพธ์ที่ตามมาก็คงเดาได้ไม่ยาก
หลังจากเรือโดนทำลายเละไปแล้ว เหล่าผู้เหลือรอดก็ต้องใช้ชีวิตอยู่บนเรือลำเล็กๆ(Whaleboat) ไปติดเกาะแล้วรอคอยเผื่อมีเรือผ่านมา แต่เมื่อพบว่า มีกระดูกคนตายอยู่บนเกาะ แสดงว่า จะไม่มีเรือผ่านมาแถวนี้ พวกเขาส่วนใหญ่จึงออกเดินเรืออีกครั้ง (บางส่วนตัดสินใจอยู่บนเกาะต่อไป) จนไปพบเรือใหญ่ แล้วได้รับการช่วยชีวิตในที่สุด (อันที่จริง หลังเรือโดนทำลายและก่อนไปเจอเรือใหญ่ที่มาช่วยชีวิตในท้ายที่สุด เจ้าวาฬก็ยังมีบทบาทอยู่ เพราะมันยังคอยตามเหล่าลูกเรือในเรือเล็กอยู่ตลอดน่ะซิ!!!)
ภาพยนตร์เรื่องนี้จัดว่าสนุกและเดินเรื่องเร็ว จังหวะจะโคนดี อย่างพอเริ่มจะน่าเบื่อ ตัวบทก็รีบโยนอะไรมันส์ๆใส่เข้ามาให้คนดูได้สนุกกัน ส่วนตอนที่อืดๆบ้างอย่างตอนลอยเวิ้งว้างกันอยู่ในทะเล ก็พอรับได้เพราะมันเป็นฉากที่จำเป็นต้องใส่เข้ามาจริงๆ
ความตึงเครียดระหว่างกัปตันและต้นหน หนังบรรยายเหมือนตึงเครียดตลอดและมากด้วย แต่คนดูกลับรู้สึกเฉยๆ ฉากแสดงความตึงเครียดมันควรมากกว่านี้นิดนึงนะถ้าจะให้สมกับที่บรรยายไว้ เหมือนใส่มาไม่สุดยังไงไม่รู้
ฉากการผจญภัยในเรือทำได้สนุกฝุดๆ ชอบฉากที่เรือฝ่าเข้าไปในพายุมากๆ เป็นฉากชวนลุ้นที่สำคัญฉากหนึ่งในเรื่อง (พอพูดถึงฉากชวนลุ้น ติดตรงที่ว่า ใจอยากให้ฉากชวนคนดูลุ้นมันเยอะขึ้นกว่านี้หน่อยนะ คือไม่ต้องอลังการทุกรอบก็ได้ แต่ให้มันมีได้ลุ้นบางอย่างมากกว่านี้หน่อยอ่ะ เพราะฉากชวนลุ้นที่มี ถ้าไม่นับตอนฝ่าพายุ ก็มาแบบสั้นเกินไป มาเร็วเคลมเร็วมากๆ แต่คือเข้าใจว่า หนังเค้ามาสายดราม่า ไม่ใช่แนวตลาดจ้า เลยรับได้ที่เค้าใส่ฉากแบบนั้นมาไม่มากเท่าไหร่) ส่วนงานด้านเอฟเฟ็คต์ก็อลังการงานสร้างคุ้มเงินคนดูดีค่ะ โดยรวมให้ B+ ค่ะ
ตั้งแต่ในหนังสือเรื่อง Moby Dick แล้วที่เจ้าวาฬเป็นสัญลักษณ์ใช้แทนหลายสิ่ง ไปจนถึงพระเจ้า แต่ส่วนตัวแล้ว รู้สึกว่า ภาพยนตร์ไม่ได้เล่นกับแง่มุมนั้นนะ หรือถ้าจะให้พยายามมองว่าเล่น ก็ไม่มากนักอยู่ดี
แต่เจ้าวาฬในภาพยนตร์เรื่องนี้เป็น "ตัวแทนของธรรมชาติ" มากกว่า เหมือนเป็นภาพยนตร์ที่แสดงถึงการฟาดฟันกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติมากกว่า โดยมนุษย์ออกไล่ล่าและฆ่าวาฬ(สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก) เพื่อเอา Sperm Oil มาใช้เป็นพลังงาน ทำให้โลกสว่างไสว
แต่พอดูจบ เหมือนหลายคนบนเรือก็มีเหตุผลอื่นแอบแฝงอยู่ด้วย คือออกล่าวาฬเพื่อสนองความต้องการเอาชนะธรรมชาติ ความต้องการเหนือกว่าธรรมชาติ นั่นเอง
ถ้ามองให้ลึกกว่านั้นยังมีเรื่องเหตุผลส่วนตัวของแต่ละคนอีกด้วย เช่น กัปตันพอลลาร์ดออกเดินทางเพื่อเติมเต็มความคาดหวังของครอบครัว และสานต่อชื่อเสียงวงศ์ตระกูลนักล่าวาฬที่โด่งดังของตนให้คงอยู่สืบไป ต้นหนโอเวน เชส ออกเดินทางเพื่อหาเงินเพราะต้องการยกระดับทางสังคมให้ตนเองและครอบครัว ไหนจะมีปมที่พ่อของเขาเป็นนักฝันที่ไปไม่ถึงฝัน ทำให้เชสผู้ลูกต้องการประสบความสำเร็จให้ได้อีก ส่วนเด็กหนุ่มโทมัส ฮิคเคอร์สัน เป็นหนุ่มน้อยที่อยากพิสูจน์ตัวเองว่าเขาไม่ใช่เด็กอีกต่อไปแล้ว และสนองความต้องการอยากผจญภัยของตนเอง
หนังมีฉากไล่ล่าวาฬให้เห็นอยู่สองฉากด้วยกัน เป็นฉากที่ทำได้สนุกดี และแสดงให้เห็นความโหดร้ายของมนุษย์ผ่าน “ลาวาสีเลือด” และ “ละอองเลือด”(วาฬที่กำลังจะตายเวลาพ่นน้ำจากรูบนหัว น้ำที่ออกมาจะมีเลือดปนอยู่ด้วย กลายเป็นพ่นละอองเลือดออกมาในอากาศนั่นเอง) โดยฉากละอองเลือดที่ลอยมาเปรอะเต็มหน้าเหล่าลูกเรือเหมือนจะสื่อถึงความโหดร้ายของมนุษย์ เหมือนโดนวาฬตะโกนใส่หน้าว่า พวกแกคือฆาตกร เห็นได้จากพอทุกคนโห่ร้องด้วยความดีใจ
แต่พอเจอละอองสีเลือดเข้าไป แล้วกล้องจับที่ใบหน้าของลูกเรือบางคน จะเห็นเลยว่า สำหรับบางคนพอเจอ “การตราหน้า” เข้าไป ก็รู้สึกแย่รู้สึกผิดเหมือนกัน จากนั้น กล้องก็แพนกว้างเจตนาเพื่อจับให้เห็นภาพ “ลาวาสีเลือด” บนน้ำทะเลที่ควรจะเป็นสีฟ้าสดใส แล้วบรรยากาศตอนนั้นก็ดูหม่นหมองลงในทันที ก่อนที่จะตัดไปเป็นฉากกลางคืน ตอนแสดงกรรมวิธีเอาน้ำมันวาฬออกจากตัววาฬต่อเลย
"ศาสนา"
ถ้าจะมีอะไรที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านศาสนาอยู่บ้างในภาพยนตร์เรื่องนี้ก็คือ การอ้างอิงว่าวาฬเป็น Monster ที่ต้องไล่ล่า เพื่อนำมาซึ่งแสงสว่างให้มนุษย์ กำจัดความมืดให้หมดสิ้นไป (อ้างไปนั้น) แล้วยังมีการขอพระเจ้าช่วยให้ล่าอสูรร้ายได้สำเร็จด้วย อาจเรียกการกระทำเหล่านั้นว่า เป็นการอ้างเหตุผลเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการกระทำของตัวเอง(อย่าลืมว่า มนุษย์มีความสามารถในการเสาะหาเหตุผลเพื่อนำมาอธิบายสร้างความชอบธรรมให้กับการกระทำของตัวเองเสมอมาโดยตลอด) โดยในที่นี้ ในกรณีนี้ เครื่องมือที่นำมาใช้ก็คือ “ศาสนา” นั่นเอง โดยอุปโลกกันไปว่า วาฬเป็นอสูรร้าย ครอบครองสิ่งที่ทำให้เกิดไฟได้ มนุษย์ต้องทนอยู่ในความมืดมิด(สัญลักษณ์ของความชั่วร้าย/ด้านมืด/ฝ่ายอธรรม) เว้นเสียแต่ว่า มนุษย์จะออกไปกำจัดปีศาจร้าย แล้วนำมาซึ่งแสงสว่าง(สัญลักษณ์ของความดี/ฝ่ายธรรมะ)ในท้ายที่สุด
มีบางอย่างเกี่ยวกับกรณี Monster ในเรื่องนี้ที่ทำให้นึกถึงประเด็นการต้องการเอาชนะธรรมชาติของมนุษย์ผ่านคำพูดของตัวละคร Henry Wu ใน Jurassic World ที่พูดว่า “Monster is a relative term. To a canary, a cat is a monster. We're just used to being the cat.” ด้วยเหตุผลแบบในประโยคนี้หรือเปล่า มนุษย์จึงออกล่าวาฬ เพราะมนุษย์ไม่อยากเป็น canary ที่ต้องหวาดกลัว cat/monster มนุษย์ยอมไม่ได้ (แรกสุดใครจะไปรู้ว่าในตัวปลาวาฬมีน้ำมันวาฬที่เอาไปใช้เป็นพลังงานได้ แสดงว่า แรกสุดมนุษย์ต้องล่าวาฬด้วยเหตุผลอื่น)
[Spoil] รีวิว วิจารณ์ และวิเคราะห์ In the heart of the sea แล้วเพื่อนๆล่ะ เห็นอะไรกันบ้าง นอกจากไปดูวาฬ ??
สำหรับใครที่ไม่รู้จัก Moby Dick เป็นหนังสือนิยายคลาสสิคแต่งโดย Herman Melville เกี่ยวกับกัปตันเอแฮบกับการออกล่าเพื่อล้างแค้นวาฬตัวหนึ่งที่ชื่อ Moby Dick ที่ทำลายเรือและกัดขาของเขาขาด โดยเป็นเรื่องที่เล่าผ่านสายตาของอิชมาเอล หนึ่งในกะลาสีบนเรือ Pequod
ส่วนภาพยนตร์ไม่ได้สร้างจากหนังสือเรื่อง Moby Dick นะ แต่สร้างจากหนังสือ In the heart of the sea ของ Nathaniel Philbrick ที่เล่าเหตุการณ์จริงเกี่ยวกับเรือล่าวาฬ Essex ที่โดนวาฬหัวทุยโจมตี อันเป็นเหตุการณ์ที่นำมาซึ่งการเขียนนิยาย Moby Dick อีกทีนึง (อย่าเพิ่งงงนะ)
ถ้าสปอยล์เฉพาะแค่ลำดับเหตุการณ์ในเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ ก็ดังต่อไปนี้
สมัยยุค 1800 น้ำมันจากวาฬ (sperm oil) จะนำมาซึ่งแสงสว่างให้แก่มนุษย์ มันจึงเป็นทรัพยากรสำคัญมาก และสามารถสร้างความร่ำรวยได้มหาศาล จึงกลายเป็นอุตสาหกรรมล่าวาฬ
กัปตันจอร์จ พอลลาร์ด (ผู้ขาดประสบการณ์ ทว่าเกิดมาในตระกูลนักล่าวาฬที่มีชื่อเสียง เลยได้มาเป็นกัปตัน) กับต้นหนโอเวน เชส (นักเดินเรือเลือดร้อนผู้มากประสบการณ์ แต่เกิดมาในตระกูลธรรมดา ไม่มีอภิสิทธิ์บรรดาศักดิ์ใดๆ แต่จำยอมเป็นต้นหนให้กัปตันลูกเศรษฐี เพราะพวกนายทุนสัญญาว่า เดินเรือรอบหน้าจะให้เป็นกัปตันแล้วนะ โอเวน รับบทโดย พี่คริสของเรา) ออกเดินทางไปบนเรือ Essex เรือล่าปลาวาฬ(Whaler/Whaleship)เพื่อไปหาน้ำมันวาฬมาให้ได้เต็มลำ สองคนนี้ไม่ลงรอยกันเลยตลอดการเดินทาง
อย่างไรก็ตาม เจอวาฬน้อยมาก เลยได้น้ำมันน้อยเหลือเกิน จึงตัดสินใจเดินเรือเข้าไปในเขตที่มีวาฬเยอะมาก แต่ก็เป็นเขตที่มีคำเตือนว่า มีวาฬตัวนึงที่พิเศษกว่าตัวอื่นเพราะมัน “เอาคืน” ได้ ผลลัพธ์ที่ตามมาก็คงเดาได้ไม่ยาก
หลังจากเรือโดนทำลายเละไปแล้ว เหล่าผู้เหลือรอดก็ต้องใช้ชีวิตอยู่บนเรือลำเล็กๆ(Whaleboat) ไปติดเกาะแล้วรอคอยเผื่อมีเรือผ่านมา แต่เมื่อพบว่า มีกระดูกคนตายอยู่บนเกาะ แสดงว่า จะไม่มีเรือผ่านมาแถวนี้ พวกเขาส่วนใหญ่จึงออกเดินเรืออีกครั้ง (บางส่วนตัดสินใจอยู่บนเกาะต่อไป) จนไปพบเรือใหญ่ แล้วได้รับการช่วยชีวิตในที่สุด (อันที่จริง หลังเรือโดนทำลายและก่อนไปเจอเรือใหญ่ที่มาช่วยชีวิตในท้ายที่สุด เจ้าวาฬก็ยังมีบทบาทอยู่ เพราะมันยังคอยตามเหล่าลูกเรือในเรือเล็กอยู่ตลอดน่ะซิ!!!)
ภาพยนตร์เรื่องนี้จัดว่าสนุกและเดินเรื่องเร็ว จังหวะจะโคนดี อย่างพอเริ่มจะน่าเบื่อ ตัวบทก็รีบโยนอะไรมันส์ๆใส่เข้ามาให้คนดูได้สนุกกัน ส่วนตอนที่อืดๆบ้างอย่างตอนลอยเวิ้งว้างกันอยู่ในทะเล ก็พอรับได้เพราะมันเป็นฉากที่จำเป็นต้องใส่เข้ามาจริงๆ
ความตึงเครียดระหว่างกัปตันและต้นหน หนังบรรยายเหมือนตึงเครียดตลอดและมากด้วย แต่คนดูกลับรู้สึกเฉยๆ ฉากแสดงความตึงเครียดมันควรมากกว่านี้นิดนึงนะถ้าจะให้สมกับที่บรรยายไว้ เหมือนใส่มาไม่สุดยังไงไม่รู้
ฉากการผจญภัยในเรือทำได้สนุกฝุดๆ ชอบฉากที่เรือฝ่าเข้าไปในพายุมากๆ เป็นฉากชวนลุ้นที่สำคัญฉากหนึ่งในเรื่อง (พอพูดถึงฉากชวนลุ้น ติดตรงที่ว่า ใจอยากให้ฉากชวนคนดูลุ้นมันเยอะขึ้นกว่านี้หน่อยนะ คือไม่ต้องอลังการทุกรอบก็ได้ แต่ให้มันมีได้ลุ้นบางอย่างมากกว่านี้หน่อยอ่ะ เพราะฉากชวนลุ้นที่มี ถ้าไม่นับตอนฝ่าพายุ ก็มาแบบสั้นเกินไป มาเร็วเคลมเร็วมากๆ แต่คือเข้าใจว่า หนังเค้ามาสายดราม่า ไม่ใช่แนวตลาดจ้า เลยรับได้ที่เค้าใส่ฉากแบบนั้นมาไม่มากเท่าไหร่) ส่วนงานด้านเอฟเฟ็คต์ก็อลังการงานสร้างคุ้มเงินคนดูดีค่ะ โดยรวมให้ B+ ค่ะ
ตั้งแต่ในหนังสือเรื่อง Moby Dick แล้วที่เจ้าวาฬเป็นสัญลักษณ์ใช้แทนหลายสิ่ง ไปจนถึงพระเจ้า แต่ส่วนตัวแล้ว รู้สึกว่า ภาพยนตร์ไม่ได้เล่นกับแง่มุมนั้นนะ หรือถ้าจะให้พยายามมองว่าเล่น ก็ไม่มากนักอยู่ดี
แต่เจ้าวาฬในภาพยนตร์เรื่องนี้เป็น "ตัวแทนของธรรมชาติ" มากกว่า เหมือนเป็นภาพยนตร์ที่แสดงถึงการฟาดฟันกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติมากกว่า โดยมนุษย์ออกไล่ล่าและฆ่าวาฬ(สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก) เพื่อเอา Sperm Oil มาใช้เป็นพลังงาน ทำให้โลกสว่างไสว
แต่พอดูจบ เหมือนหลายคนบนเรือก็มีเหตุผลอื่นแอบแฝงอยู่ด้วย คือออกล่าวาฬเพื่อสนองความต้องการเอาชนะธรรมชาติ ความต้องการเหนือกว่าธรรมชาติ นั่นเอง
ถ้ามองให้ลึกกว่านั้นยังมีเรื่องเหตุผลส่วนตัวของแต่ละคนอีกด้วย เช่น กัปตันพอลลาร์ดออกเดินทางเพื่อเติมเต็มความคาดหวังของครอบครัว และสานต่อชื่อเสียงวงศ์ตระกูลนักล่าวาฬที่โด่งดังของตนให้คงอยู่สืบไป ต้นหนโอเวน เชส ออกเดินทางเพื่อหาเงินเพราะต้องการยกระดับทางสังคมให้ตนเองและครอบครัว ไหนจะมีปมที่พ่อของเขาเป็นนักฝันที่ไปไม่ถึงฝัน ทำให้เชสผู้ลูกต้องการประสบความสำเร็จให้ได้อีก ส่วนเด็กหนุ่มโทมัส ฮิคเคอร์สัน เป็นหนุ่มน้อยที่อยากพิสูจน์ตัวเองว่าเขาไม่ใช่เด็กอีกต่อไปแล้ว และสนองความต้องการอยากผจญภัยของตนเอง
หนังมีฉากไล่ล่าวาฬให้เห็นอยู่สองฉากด้วยกัน เป็นฉากที่ทำได้สนุกดี และแสดงให้เห็นความโหดร้ายของมนุษย์ผ่าน “ลาวาสีเลือด” และ “ละอองเลือด”(วาฬที่กำลังจะตายเวลาพ่นน้ำจากรูบนหัว น้ำที่ออกมาจะมีเลือดปนอยู่ด้วย กลายเป็นพ่นละอองเลือดออกมาในอากาศนั่นเอง) โดยฉากละอองเลือดที่ลอยมาเปรอะเต็มหน้าเหล่าลูกเรือเหมือนจะสื่อถึงความโหดร้ายของมนุษย์ เหมือนโดนวาฬตะโกนใส่หน้าว่า พวกแกคือฆาตกร เห็นได้จากพอทุกคนโห่ร้องด้วยความดีใจ
แต่พอเจอละอองสีเลือดเข้าไป แล้วกล้องจับที่ใบหน้าของลูกเรือบางคน จะเห็นเลยว่า สำหรับบางคนพอเจอ “การตราหน้า” เข้าไป ก็รู้สึกแย่รู้สึกผิดเหมือนกัน จากนั้น กล้องก็แพนกว้างเจตนาเพื่อจับให้เห็นภาพ “ลาวาสีเลือด” บนน้ำทะเลที่ควรจะเป็นสีฟ้าสดใส แล้วบรรยากาศตอนนั้นก็ดูหม่นหมองลงในทันที ก่อนที่จะตัดไปเป็นฉากกลางคืน ตอนแสดงกรรมวิธีเอาน้ำมันวาฬออกจากตัววาฬต่อเลย
"ศาสนา"
ถ้าจะมีอะไรที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านศาสนาอยู่บ้างในภาพยนตร์เรื่องนี้ก็คือ การอ้างอิงว่าวาฬเป็น Monster ที่ต้องไล่ล่า เพื่อนำมาซึ่งแสงสว่างให้มนุษย์ กำจัดความมืดให้หมดสิ้นไป (อ้างไปนั้น) แล้วยังมีการขอพระเจ้าช่วยให้ล่าอสูรร้ายได้สำเร็จด้วย อาจเรียกการกระทำเหล่านั้นว่า เป็นการอ้างเหตุผลเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการกระทำของตัวเอง(อย่าลืมว่า มนุษย์มีความสามารถในการเสาะหาเหตุผลเพื่อนำมาอธิบายสร้างความชอบธรรมให้กับการกระทำของตัวเองเสมอมาโดยตลอด) โดยในที่นี้ ในกรณีนี้ เครื่องมือที่นำมาใช้ก็คือ “ศาสนา” นั่นเอง โดยอุปโลกกันไปว่า วาฬเป็นอสูรร้าย ครอบครองสิ่งที่ทำให้เกิดไฟได้ มนุษย์ต้องทนอยู่ในความมืดมิด(สัญลักษณ์ของความชั่วร้าย/ด้านมืด/ฝ่ายอธรรม) เว้นเสียแต่ว่า มนุษย์จะออกไปกำจัดปีศาจร้าย แล้วนำมาซึ่งแสงสว่าง(สัญลักษณ์ของความดี/ฝ่ายธรรมะ)ในท้ายที่สุด
มีบางอย่างเกี่ยวกับกรณี Monster ในเรื่องนี้ที่ทำให้นึกถึงประเด็นการต้องการเอาชนะธรรมชาติของมนุษย์ผ่านคำพูดของตัวละคร Henry Wu ใน Jurassic World ที่พูดว่า “Monster is a relative term. To a canary, a cat is a monster. We're just used to being the cat.” ด้วยเหตุผลแบบในประโยคนี้หรือเปล่า มนุษย์จึงออกล่าวาฬ เพราะมนุษย์ไม่อยากเป็น canary ที่ต้องหวาดกลัว cat/monster มนุษย์ยอมไม่ได้ (แรกสุดใครจะไปรู้ว่าในตัวปลาวาฬมีน้ำมันวาฬที่เอาไปใช้เป็นพลังงานได้ แสดงว่า แรกสุดมนุษย์ต้องล่าวาฬด้วยเหตุผลอื่น)