กลับมาเดินทางเที่ยวเยอรมนีผ่านรูปถ่ายกันต่อ หายหน้าไปหลายวันติดภารกิจอันแสนวุ่นวาย
ใครเพิ่งมาอ่านตอนนี้อย่าเพิ่งงงค่ะที่ไม่ค่อยมีรายละเอียดการท่องเที่ยว
เป็นเพราะเคยรีวิวแบบละเอียดไว้ที่อีกแห่งหนึ่งแล้ว มาคราวนี้เลยขอรีวิวแบบพาชมบรรยากาศบ้าง
ใครที่กำลังวางแผนเดินทางจะได้เห็นบรรยากาศจริงๆ ในแต่ละแห่ง
แต่ถ้าอยากได้รายละเอียดคลิกที่ spoil ด้านล่างค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อยากได้รายละเอียด พูดคุยสอบถาม แวะชมภาพท่องเที่ยวทริปอื่นๆ เชิญค่ะ https://www.facebook.com/TravelWithPiyaiAndNoolek/
ความเดิมก่อนหน้านี้หนูเล็กพาเดินทางถึง Fussen พักเอาแรงกันหนึ่งคืนเพราะมีนัดสำคัญรออยู่
ย้อนรอยการเดินทางได้ที่นี่ค่ะ
Germany :Love at first drive#1 (Frankfurt - Heidelberg - Rothenburg ob der Tauber)
http://ppantip.com/topic/34435393
Germany : Love at first drive#2 (Around Rothenburg ob der Tauber)
http://ppantip.com/topic/34442966
Germany : Love at first drive#3 (Rothenburg odt-Dinkelsbühl-Nördlingen-Landsberg am Lech)
http://ppantip.com/topic/34459357
Germany : Love at first drive#4 (Landsberg am Lech - Schongau - Peiting - Schwangau - Fussen)
http://ppantip.com/topic/34470191
ได้เวลาไปตามนัดกันแล้วค่ะ เป้าหมายของวันนี้คือ ปราสาทพ่อลูก ก็ปราสาทโฮเฮนชวานเกา และปราสาทนอยชวานสไตน์ นั่นละค่ะ
ไปกันเล้ยยยยย
จุดจำหน่ายตั๋วช่วงฤดูหนาวกับฤดูใบไม้ร่วงปราสาทจะเปิดแตกต่างจากในฤดูร้อนและฤดูใบไม้ผลิ
การเข้าชมจะจัดเป็นรอบๆ มีไกด์นำชม เดินเองไม่ได้ เดี๋ยวเดินสะเปะสะปะ แล้วก็จะไม่ได้สาระอะไร
เวลาซื้อตั๋วต้องแจ้งภาษาที่ต้องการ จะเลือกชมทั้งสองปราสาทหรือเฉพาะปราสาทใดปราสาทหนึ่งก็ได้
ถ้าเข้าทั้งสองแห่งเขาจะจัดเวลาให้สอดรับกัน คือจะเริ่มที่ปราสาทโฮเฮนชวานเกา แล้วเหลื่อมเวลาเผื่อให้เราชมตามรอบนั้นๆ
บวกเวลาเดินทางไปยังปราสาทนอยชวานสไตน์ด้วย
การไปชมปราสาทนอยชวานสไตน์ตั้งอยู่บนเขา ทางเดินลาดชัน ถ้าใช้วิธีเดินขึ้นต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 30 – 40 นาที
บวกเวลาเหนื่อย เวลาเดินเรื่อยเปื่อยชมวิว แต่ถ้าอยากประหยัดเวลา หรือเดินไม่ไหวเขาก็มีตัวช่วยทั้งรถม้า และรถชัตเติ้ลบัส
แต่รถจะมีบริการเฉพาะขึ้นปราสาทนอยชวานสไตน์อย่างเดียว ไม่มีพาขึ้นปราสาทโฮเฮนชวานเกา
มีตั๋วในมือแล้ว ไปกันเลยค่ะ
เริ่มต้นที่ปราสาทพ่อกันก่อน
ปราสาทโฮเฮนชวานเกา (Hohenschwangau Castle) หรือ Schloss Hohenschwangau เดิมเป็นป้อมปราการที่มีชื่อว่า ชวานสไตน์ (Schwanstein) ครอบครองโดยครอบครัวอัศวินตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 หลังจากการยุบเลิกระบบอัศวินในคริสต์ศตวรรษที่ 16
ปราสาทก็เปลี่ยนมืออีกหลายครั้ง และตัวปราสาทก็ถูกทำลายในสมัยสงครามนโปเลียนจนเสื่อมโทรมลงจนเหลือแต่ซาก
แต่พอต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ปี ค.ศ.1832) พระเจ้าแมกซิมิลเลียนที่ 2 พระราชบิดาของพระเจ้าลุดวิกที่ 2
สมัยเป็นมกุฏราชกุมารมาพบเข้าและเกิดหลงไหลในภูมิประเทศแถบนี้ จึงได้ทำการบูรณะขึ้นใหม่บนซากปราสาทชวานสไตน์เดิม
เพื่อใช้เป็นปราสาทฤดูร้อนของครอบครัว ส่วนชื่อโฮเฮนชวานเกา นั้น มีที่มาจากคำ 3 คำ
คือ Hohen ก็คือ High แปลว่า สูง ส่วน Schwan ก็คือ Swan แปลว่า หงส์ และสุดท้าย Gau เทียบได้กับ Country หรือ region ซึ่งแปลว่า ดินแดน
จึงมีความหมายว่า Castle of The High Swan Country หรือปราสาทแห่งดินแดนหงส์ที่ตั้งอยู่ในที่สูง
เมื่อบูรณะแล้วเสร็จที่นี่จึงเป็นที่ประทับของพระองค์ เจ้าหญิงมารีแห่งปรัสเซีย พระชายา และพระโอรสทั้งสองพระองค์
คือ เจ้าชายลุดวิกและเจ้าชายออตโต ที่นี่จึงเป็นที่ประทับในวัยเยาว์ของพระเจ้าลุดวิกที่ 2 เจ้าของปราสาทนอยชวานสไตน์
ตัวปราสาทสร้างด้วยศิลปะนีโอโกธิค ตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบชวาน (Schwansee) และทะเลสาบแอลป์ (Alpsee)
ซึ่งเต็มไปด้วยฝูงหงส์ สัตว์แห่งโชคลาภในสมัยกลาง และทำให้กลายมาเป็นสัตว์ที่พระเจ้าลุดวิกที่ 2 โปรดปรานมาก
ภายนอกเป็นสีเหลืองสดใส มองไกลๆ ดูเหมือนเป็นสีทองเสียด้วยซ้ำ มีสวนปราสาทเล็กๆ แต่พองาม
แลดูสวยสง่าสมแล้วกับที่เป็นที่ประทับของกษัตริย์ผู้ครองแคว้น
พระเจ้าแมกซิมิลเลียนที่ 2 และพระชายาจะประทับที่ตัวปราสาทใหญ่ ส่วนพระโอรสทั้งสองพระองค์จะอยู่ในส่วนที่ต่อเติม
เมื่อพระเจ้าแม็กซิมิลเลียนที่ 2 สิ้นพระชนม์เมื่อปี ค.ศ. 1864 พระราชโอรสหรือเจ้าชายลุดวิกก็ขึ้นครองราชย์ต่อ
เป็นพระเจ้าลุดวิกที่ 2 แห่งบาวาเรีย ทรงย้ายที่ประทับจากส่วนที่ต่อเติมไปอยู่ในห้องบรรทมของพระบิดาและพระมารดา
และในเมื่อพระเจ้าลุดวิกที่ 2 ไม่ทรงมีครอบครัว เจ้าหญิงมารีแห่งปรัสเซียพระมารดาจึงทรงประทับอยู่ที่ปราสาทได้
พระเจ้าลุดวิกที่ 2 ทรงโปรดการพำนักอยู่ที่ปราสาทโฮเฮนชวานเกามาก
โดยเฉพาะเมื่อทรงเริ่มสร้างปราสาทนอยชวานชไตน์บนเนินเหนือโฮเฮนชวานเกาไม่ไกลเท่าใดนัก
เพราะตำแหน่งที่อยู่ตรงข้ามกันนี้ทำให้พระองค์เห็นความคืบหน้าในการก่อสร้างปราสาทนอยชวานสไตน์อย่างต่อเนื่อง
เมื่อพระเจ้าลุดวิกที่ 2 สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ.1886 พระปิตุลาของลุดวิก เจ้าชายลุทโพลด์ (Luitpold) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการ
ได้ประทับอยู่บนชั้นสาม และทรงเป็นผู้รับผิดชอบในการติดตั้งไฟฟ้าและลิฟต์ในปราสาทในปี ค.ศ.1905
ส่วนพระราชินีมารีแห่งปรัสเซียได้ประทับอยู่ในโฮเฮนชวานเกาจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ.1889
และต่อมาเมื่อเจ้าชายลุทโพลด์สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1912 ปราสาทก็กลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์ในปีต่อมา
ด้านในไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพค่ะ จึงไม่มีภาพมาฝาก แต่บอกได้คำเดียวว่าสวย งามสง่าสมเป็นปราสาทของผู้ปกครองแคว้นจริงๆ
ไปต่อกันที่ปราสาทลูกกันดีกว่า
ปราสาทนอยชวานสไตน์เกิดจากแรงบันดาลใจของพระเจ้าลุดวิกที่ 2 ที่ได้ไปเห็นปราสาทในเมืองวาร์ทบวร์ก (Wartburg)
รัฐทือริงเงน (Thüringen) เมื่อครั้งไปทอดพระเนตรการแสดงที่โรงละครโอเปราเรื่อง ทันฮอยเช่อ สร้างขึ้นระหว่างปี ค.ศ.1868 -1886
แต่จนปัจจุบันที่แม้ว่าพระเจ้าลุดวิกที่ 2 จะสิ้นพระชนม์ไปนานมากแล้ว ก็ยังมีอีกหลายห้องที่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ
ตัวปราสาทสร้างในแบบนีโอโรมาเนสก์ตอนปลาย (neo-late Romanesque) ส่วนด้านในตกแต่งเป็นรูปแบบผสมทั้งไบแซนไทน์ (Byzantine)
โรมาเนสก์ (Romanesque) จนถึงแบบโกธิค (Gothic) นักออกแบบโรงละครออกแบบตามจินตนาการของพระเจ้าลุดวิกที่ 2
ที่ได้มาจากละครโอเปร่ารวม 3 เรื่อง ของริชาร์ด วากเนอร์ (Richard Wagner) คีตกวีนักแต่งบทละครโอเปราที่พระองค์คลั่งไคล้
ถึงขั้นให้มาเป็นคีตกวีหลวง ซึ่งประกอบด้วยเรื่อง โลเฮนกริน (Lohengrin) ทันฮอยเช่อ (Tannhauser) และพาร์ซิฟาล (Parsifal)
ภายนอกปราสาทมีรูปทรงดุจปราสาทในเทพนิยาย หากพวกเราจะคุ้นตาก็คงเป็นเพราะวอลท์ดีสนีย์ได้นำไปเป็นต้นแบบของปราสาทซินเดอเรลล่า
ในดิสนีย์แลนด์ ตัวปราสาทใช้สีขาวทั้งหมด ตัดด้วยกระเบื้องหลังคาสีน้ำเงินเข้มขับให้ตัวปราสาทโดดเด่นกลางเนินเขาสูง ทำให้มองเห็นได้แต่ไกล
ภายในวิจิตรบรรจงด้วยภาพวาดฝาผนังและการตกแต่งสารพัดรูปแบบอิงจากเรื่องราวในละครโอเปร่าทั้งสามเรื่อง
พระองค์ตั้งพระทัยที่จะให้ปราสาทแห่งนี้มีความงดงามวิจิตรกว่าปราสาทโฮเฮนชวานเกาที่ประทับในวัยเยาว์
ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าวอาณาจักรปรัสเซียกำลังขยายอำนาจไปทั่วบริเวณ
พระองค์เองก็รู้พระองค์ดีว่าไม่ได้มีความสนพระทัยในเรื่องบ้านเมือง หรือการแสดงพระราชอำนาจ
หากสนพระทัยแต่ในเรื่องการละครและวรรณกรรมเท่านั้น พระองค์จึงพยายามสร้างอาณาจักรของพระองค์เอง
ที่ซึ่งพระองค์จะสามารถแสดงความเป็นกษัตริย์ได้อย่างแท้จริง
ปราสาทนอยชวานสไตน์ ถูกสร้างขึ้นด้วยเงินทุนมหาศาล แต่เพิ่งได้รับขนานนามว่า
"นอยชวานสไตน์" ก็เมื่อหลังจากที่พระเจ้าลุดวิกที่ 2 ได้เสด็จสวรรคตแล้ว ในปี ค.ศ.1886
[CR] Germany : Love at first drive#5 (Hohenschwangau Castle - Neuschwanstein Castle - Wieskirche)
กลับมาเดินทางเที่ยวเยอรมนีผ่านรูปถ่ายกันต่อ หายหน้าไปหลายวันติดภารกิจอันแสนวุ่นวาย
ใครเพิ่งมาอ่านตอนนี้อย่าเพิ่งงงค่ะที่ไม่ค่อยมีรายละเอียดการท่องเที่ยว
เป็นเพราะเคยรีวิวแบบละเอียดไว้ที่อีกแห่งหนึ่งแล้ว มาคราวนี้เลยขอรีวิวแบบพาชมบรรยากาศบ้าง
ใครที่กำลังวางแผนเดินทางจะได้เห็นบรรยากาศจริงๆ ในแต่ละแห่ง
แต่ถ้าอยากได้รายละเอียดคลิกที่ spoil ด้านล่างค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ความเดิมก่อนหน้านี้หนูเล็กพาเดินทางถึง Fussen พักเอาแรงกันหนึ่งคืนเพราะมีนัดสำคัญรออยู่
ย้อนรอยการเดินทางได้ที่นี่ค่ะ
Germany :Love at first drive#1 (Frankfurt - Heidelberg - Rothenburg ob der Tauber)
http://ppantip.com/topic/34435393
Germany : Love at first drive#2 (Around Rothenburg ob der Tauber)
http://ppantip.com/topic/34442966
Germany : Love at first drive#3 (Rothenburg odt-Dinkelsbühl-Nördlingen-Landsberg am Lech)
http://ppantip.com/topic/34459357
Germany : Love at first drive#4 (Landsberg am Lech - Schongau - Peiting - Schwangau - Fussen)
http://ppantip.com/topic/34470191
ได้เวลาไปตามนัดกันแล้วค่ะ เป้าหมายของวันนี้คือ ปราสาทพ่อลูก ก็ปราสาทโฮเฮนชวานเกา และปราสาทนอยชวานสไตน์ นั่นละค่ะ
ไปกันเล้ยยยยย
จุดจำหน่ายตั๋วช่วงฤดูหนาวกับฤดูใบไม้ร่วงปราสาทจะเปิดแตกต่างจากในฤดูร้อนและฤดูใบไม้ผลิ
การเข้าชมจะจัดเป็นรอบๆ มีไกด์นำชม เดินเองไม่ได้ เดี๋ยวเดินสะเปะสะปะ แล้วก็จะไม่ได้สาระอะไร
เวลาซื้อตั๋วต้องแจ้งภาษาที่ต้องการ จะเลือกชมทั้งสองปราสาทหรือเฉพาะปราสาทใดปราสาทหนึ่งก็ได้
ถ้าเข้าทั้งสองแห่งเขาจะจัดเวลาให้สอดรับกัน คือจะเริ่มที่ปราสาทโฮเฮนชวานเกา แล้วเหลื่อมเวลาเผื่อให้เราชมตามรอบนั้นๆ
บวกเวลาเดินทางไปยังปราสาทนอยชวานสไตน์ด้วย
การไปชมปราสาทนอยชวานสไตน์ตั้งอยู่บนเขา ทางเดินลาดชัน ถ้าใช้วิธีเดินขึ้นต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 30 – 40 นาที
บวกเวลาเหนื่อย เวลาเดินเรื่อยเปื่อยชมวิว แต่ถ้าอยากประหยัดเวลา หรือเดินไม่ไหวเขาก็มีตัวช่วยทั้งรถม้า และรถชัตเติ้ลบัส
แต่รถจะมีบริการเฉพาะขึ้นปราสาทนอยชวานสไตน์อย่างเดียว ไม่มีพาขึ้นปราสาทโฮเฮนชวานเกา
มีตั๋วในมือแล้ว ไปกันเลยค่ะ
เริ่มต้นที่ปราสาทพ่อกันก่อน
ปราสาทโฮเฮนชวานเกา (Hohenschwangau Castle) หรือ Schloss Hohenschwangau เดิมเป็นป้อมปราการที่มีชื่อว่า ชวานสไตน์ (Schwanstein) ครอบครองโดยครอบครัวอัศวินตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 หลังจากการยุบเลิกระบบอัศวินในคริสต์ศตวรรษที่ 16
ปราสาทก็เปลี่ยนมืออีกหลายครั้ง และตัวปราสาทก็ถูกทำลายในสมัยสงครามนโปเลียนจนเสื่อมโทรมลงจนเหลือแต่ซาก
แต่พอต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ปี ค.ศ.1832) พระเจ้าแมกซิมิลเลียนที่ 2 พระราชบิดาของพระเจ้าลุดวิกที่ 2
สมัยเป็นมกุฏราชกุมารมาพบเข้าและเกิดหลงไหลในภูมิประเทศแถบนี้ จึงได้ทำการบูรณะขึ้นใหม่บนซากปราสาทชวานสไตน์เดิม
เพื่อใช้เป็นปราสาทฤดูร้อนของครอบครัว ส่วนชื่อโฮเฮนชวานเกา นั้น มีที่มาจากคำ 3 คำ
คือ Hohen ก็คือ High แปลว่า สูง ส่วน Schwan ก็คือ Swan แปลว่า หงส์ และสุดท้าย Gau เทียบได้กับ Country หรือ region ซึ่งแปลว่า ดินแดน
จึงมีความหมายว่า Castle of The High Swan Country หรือปราสาทแห่งดินแดนหงส์ที่ตั้งอยู่ในที่สูง
เมื่อบูรณะแล้วเสร็จที่นี่จึงเป็นที่ประทับของพระองค์ เจ้าหญิงมารีแห่งปรัสเซีย พระชายา และพระโอรสทั้งสองพระองค์
คือ เจ้าชายลุดวิกและเจ้าชายออตโต ที่นี่จึงเป็นที่ประทับในวัยเยาว์ของพระเจ้าลุดวิกที่ 2 เจ้าของปราสาทนอยชวานสไตน์
ตัวปราสาทสร้างด้วยศิลปะนีโอโกธิค ตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบชวาน (Schwansee) และทะเลสาบแอลป์ (Alpsee)
ซึ่งเต็มไปด้วยฝูงหงส์ สัตว์แห่งโชคลาภในสมัยกลาง และทำให้กลายมาเป็นสัตว์ที่พระเจ้าลุดวิกที่ 2 โปรดปรานมาก
ภายนอกเป็นสีเหลืองสดใส มองไกลๆ ดูเหมือนเป็นสีทองเสียด้วยซ้ำ มีสวนปราสาทเล็กๆ แต่พองาม
แลดูสวยสง่าสมแล้วกับที่เป็นที่ประทับของกษัตริย์ผู้ครองแคว้น
พระเจ้าแมกซิมิลเลียนที่ 2 และพระชายาจะประทับที่ตัวปราสาทใหญ่ ส่วนพระโอรสทั้งสองพระองค์จะอยู่ในส่วนที่ต่อเติม
เมื่อพระเจ้าแม็กซิมิลเลียนที่ 2 สิ้นพระชนม์เมื่อปี ค.ศ. 1864 พระราชโอรสหรือเจ้าชายลุดวิกก็ขึ้นครองราชย์ต่อ
เป็นพระเจ้าลุดวิกที่ 2 แห่งบาวาเรีย ทรงย้ายที่ประทับจากส่วนที่ต่อเติมไปอยู่ในห้องบรรทมของพระบิดาและพระมารดา
และในเมื่อพระเจ้าลุดวิกที่ 2 ไม่ทรงมีครอบครัว เจ้าหญิงมารีแห่งปรัสเซียพระมารดาจึงทรงประทับอยู่ที่ปราสาทได้
พระเจ้าลุดวิกที่ 2 ทรงโปรดการพำนักอยู่ที่ปราสาทโฮเฮนชวานเกามาก
โดยเฉพาะเมื่อทรงเริ่มสร้างปราสาทนอยชวานชไตน์บนเนินเหนือโฮเฮนชวานเกาไม่ไกลเท่าใดนัก
เพราะตำแหน่งที่อยู่ตรงข้ามกันนี้ทำให้พระองค์เห็นความคืบหน้าในการก่อสร้างปราสาทนอยชวานสไตน์อย่างต่อเนื่อง
เมื่อพระเจ้าลุดวิกที่ 2 สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ.1886 พระปิตุลาของลุดวิก เจ้าชายลุทโพลด์ (Luitpold) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการ
ได้ประทับอยู่บนชั้นสาม และทรงเป็นผู้รับผิดชอบในการติดตั้งไฟฟ้าและลิฟต์ในปราสาทในปี ค.ศ.1905
ส่วนพระราชินีมารีแห่งปรัสเซียได้ประทับอยู่ในโฮเฮนชวานเกาจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ.1889
และต่อมาเมื่อเจ้าชายลุทโพลด์สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1912 ปราสาทก็กลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์ในปีต่อมา
ด้านในไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพค่ะ จึงไม่มีภาพมาฝาก แต่บอกได้คำเดียวว่าสวย งามสง่าสมเป็นปราสาทของผู้ปกครองแคว้นจริงๆ
ไปต่อกันที่ปราสาทลูกกันดีกว่า
ปราสาทนอยชวานสไตน์เกิดจากแรงบันดาลใจของพระเจ้าลุดวิกที่ 2 ที่ได้ไปเห็นปราสาทในเมืองวาร์ทบวร์ก (Wartburg)
รัฐทือริงเงน (Thüringen) เมื่อครั้งไปทอดพระเนตรการแสดงที่โรงละครโอเปราเรื่อง ทันฮอยเช่อ สร้างขึ้นระหว่างปี ค.ศ.1868 -1886
แต่จนปัจจุบันที่แม้ว่าพระเจ้าลุดวิกที่ 2 จะสิ้นพระชนม์ไปนานมากแล้ว ก็ยังมีอีกหลายห้องที่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ
ตัวปราสาทสร้างในแบบนีโอโรมาเนสก์ตอนปลาย (neo-late Romanesque) ส่วนด้านในตกแต่งเป็นรูปแบบผสมทั้งไบแซนไทน์ (Byzantine)
โรมาเนสก์ (Romanesque) จนถึงแบบโกธิค (Gothic) นักออกแบบโรงละครออกแบบตามจินตนาการของพระเจ้าลุดวิกที่ 2
ที่ได้มาจากละครโอเปร่ารวม 3 เรื่อง ของริชาร์ด วากเนอร์ (Richard Wagner) คีตกวีนักแต่งบทละครโอเปราที่พระองค์คลั่งไคล้
ถึงขั้นให้มาเป็นคีตกวีหลวง ซึ่งประกอบด้วยเรื่อง โลเฮนกริน (Lohengrin) ทันฮอยเช่อ (Tannhauser) และพาร์ซิฟาล (Parsifal)
ภายนอกปราสาทมีรูปทรงดุจปราสาทในเทพนิยาย หากพวกเราจะคุ้นตาก็คงเป็นเพราะวอลท์ดีสนีย์ได้นำไปเป็นต้นแบบของปราสาทซินเดอเรลล่า
ในดิสนีย์แลนด์ ตัวปราสาทใช้สีขาวทั้งหมด ตัดด้วยกระเบื้องหลังคาสีน้ำเงินเข้มขับให้ตัวปราสาทโดดเด่นกลางเนินเขาสูง ทำให้มองเห็นได้แต่ไกล
ภายในวิจิตรบรรจงด้วยภาพวาดฝาผนังและการตกแต่งสารพัดรูปแบบอิงจากเรื่องราวในละครโอเปร่าทั้งสามเรื่อง
พระองค์ตั้งพระทัยที่จะให้ปราสาทแห่งนี้มีความงดงามวิจิตรกว่าปราสาทโฮเฮนชวานเกาที่ประทับในวัยเยาว์
ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าวอาณาจักรปรัสเซียกำลังขยายอำนาจไปทั่วบริเวณ
พระองค์เองก็รู้พระองค์ดีว่าไม่ได้มีความสนพระทัยในเรื่องบ้านเมือง หรือการแสดงพระราชอำนาจ
หากสนพระทัยแต่ในเรื่องการละครและวรรณกรรมเท่านั้น พระองค์จึงพยายามสร้างอาณาจักรของพระองค์เอง
ที่ซึ่งพระองค์จะสามารถแสดงความเป็นกษัตริย์ได้อย่างแท้จริง
ปราสาทนอยชวานสไตน์ ถูกสร้างขึ้นด้วยเงินทุนมหาศาล แต่เพิ่งได้รับขนานนามว่า
"นอยชวานสไตน์" ก็เมื่อหลังจากที่พระเจ้าลุดวิกที่ 2 ได้เสด็จสวรรคตแล้ว ในปี ค.ศ.1886