คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12
โครงการยาง 1 ล้านไร่ โครงการเจ้าปัญหาอีกโครงการ
ห่วงเกษตรกรรับการโฆษณานโยบายยาง 1 ล้านไร่ ทำให้เกิดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า สูญเสียพื้นที่การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น ปัญหาราคายางตกต่ำ การกระจายของพันธุ์ยางที่ไร้คุณภาพ เกษตรกรไม่หายจน ขอรัฐกำหนดพื้นที่ปลูก ให้ความรู้เกษตรกร แก้ปัญหาผู้ลักลอบปลูกยางไร้คุณภาพ
โครงการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ เป็นโครงการที่รัฐบาลต้องการขยายพื้นที่ปลูกยางใน 36 จังหวัด โดยแบ่งเป็น 300,000 ไร่ใน 17 จังหวัดภาคเหนือ และ 700,000 ไร่ใน 19 จังหวัดภาคอีสาน ซึ่งใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,400 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาความยากจน และเพื่อให้มีผลผลิตยางสอดคล้องกับความต้องการยางของโลกที่มีอัตราเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.6 ต่อปี ในขณะที่อัตราการผลิตเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.04 ต่อปี หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไป คาดว่าในปี 2551 โลกจะขาดแคลนยางอย่างน้อย 41,000 ตัน ดังนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ขอเพิ่มพื้นที่ปลูกยางพารา ระยะที่ 1 (ปี 2547ndash;2549) จำนวน 1 ล้านไร่ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการดังกล่าวไปเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2546 โดยมอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรไปศึกษาและกำหนดเขตพื้นที่ปลูกยางพาราที่เหมาะสม ตรวจสอบควบคุม และจัดหาพันธุ์ยาง
นับเป็นความปรารถนาดีของรัฐบาลที่ต้องการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร แต่กระนั้น การประกาศนโยบายของรัฐบาลโดยที่ยังไม่ได้เตรียมมาตรการใด ๆ และจากการที่รัฐบาลทำให้ยางพารามีราคาสูง ทำให้เกษตรกรให้ความสนใจกับพืชเศรษฐกิจชนิดนี้มาก ทำการขยายพื้นที่ปลูกกันอย่างกว้างขวาง จนเกินกว่าที่รัฐบาลกำหนดไว้ที่ 1 ล้านไร่ ส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ อาทิ การบุกรุกป่าเพื่อเข้าไปปลูกยาง การปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม การค้ากล้ายางผิด พ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ. 2545 มาตรา 21 คือผู้ใดจะขยายพันธุ์ยางต้องได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร ฯลฯ
ในอนาคต ปัญหาที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน คือ เกษตรกรจะไม่ได้ปริมาณน้ำยางตามที่ต้องการ ซึ่งเกิดจากกล้ายางที่ขาดคุณภาพ และการปลูกในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม เกษตรกรจะประสบกับปัญหาราคายางตกต่ำจากการเพิ่มพื้นที่ปลูกเกินกว่าที่รัฐบาลกำหนด เกษตรกรยังต้องสูญเสียพื้นที่และรายได้จากการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น สุดท้ายเกษตรกรจะไม่สามารถพ้นจากความยากจนได้ ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่รัฐบาลควรรีบแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน คือ ประกาศจำกัดเขตพื้นที่เพาะปลูก ให้ความรู้กับเกษตรกรเกี่ยวกับพื้นที่การปลูกยางที่เหมาะสม และเร่งจัดการปัญหาผู้ที่ลักลอบขยายพันธุ์ยางและนำยางที่ไร้คุณภาพดังกล่าวมาขายให้เกษตรกร
ที่มา http://www.kriengsak.com/node/724
คุยมาก็เยอะ ไม่พูดเรื่องนี้กันเลย นิดสนใจเรื่องของตัวเองดีกว่านะ เอาให้รอดก่อน ไม่ต้องไปแซะแป๊ะให้เสียเวลาน้าาาาา
ห่วงเกษตรกรรับการโฆษณานโยบายยาง 1 ล้านไร่ ทำให้เกิดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า สูญเสียพื้นที่การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น ปัญหาราคายางตกต่ำ การกระจายของพันธุ์ยางที่ไร้คุณภาพ เกษตรกรไม่หายจน ขอรัฐกำหนดพื้นที่ปลูก ให้ความรู้เกษตรกร แก้ปัญหาผู้ลักลอบปลูกยางไร้คุณภาพ
โครงการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ เป็นโครงการที่รัฐบาลต้องการขยายพื้นที่ปลูกยางใน 36 จังหวัด โดยแบ่งเป็น 300,000 ไร่ใน 17 จังหวัดภาคเหนือ และ 700,000 ไร่ใน 19 จังหวัดภาคอีสาน ซึ่งใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,400 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาความยากจน และเพื่อให้มีผลผลิตยางสอดคล้องกับความต้องการยางของโลกที่มีอัตราเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.6 ต่อปี ในขณะที่อัตราการผลิตเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.04 ต่อปี หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไป คาดว่าในปี 2551 โลกจะขาดแคลนยางอย่างน้อย 41,000 ตัน ดังนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ขอเพิ่มพื้นที่ปลูกยางพารา ระยะที่ 1 (ปี 2547ndash;2549) จำนวน 1 ล้านไร่ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการดังกล่าวไปเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2546 โดยมอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรไปศึกษาและกำหนดเขตพื้นที่ปลูกยางพาราที่เหมาะสม ตรวจสอบควบคุม และจัดหาพันธุ์ยาง
นับเป็นความปรารถนาดีของรัฐบาลที่ต้องการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร แต่กระนั้น การประกาศนโยบายของรัฐบาลโดยที่ยังไม่ได้เตรียมมาตรการใด ๆ และจากการที่รัฐบาลทำให้ยางพารามีราคาสูง ทำให้เกษตรกรให้ความสนใจกับพืชเศรษฐกิจชนิดนี้มาก ทำการขยายพื้นที่ปลูกกันอย่างกว้างขวาง จนเกินกว่าที่รัฐบาลกำหนดไว้ที่ 1 ล้านไร่ ส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ อาทิ การบุกรุกป่าเพื่อเข้าไปปลูกยาง การปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม การค้ากล้ายางผิด พ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ. 2545 มาตรา 21 คือผู้ใดจะขยายพันธุ์ยางต้องได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร ฯลฯ
ในอนาคต ปัญหาที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน คือ เกษตรกรจะไม่ได้ปริมาณน้ำยางตามที่ต้องการ ซึ่งเกิดจากกล้ายางที่ขาดคุณภาพ และการปลูกในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม เกษตรกรจะประสบกับปัญหาราคายางตกต่ำจากการเพิ่มพื้นที่ปลูกเกินกว่าที่รัฐบาลกำหนด เกษตรกรยังต้องสูญเสียพื้นที่และรายได้จากการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น สุดท้ายเกษตรกรจะไม่สามารถพ้นจากความยากจนได้ ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่รัฐบาลควรรีบแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน คือ ประกาศจำกัดเขตพื้นที่เพาะปลูก ให้ความรู้กับเกษตรกรเกี่ยวกับพื้นที่การปลูกยางที่เหมาะสม และเร่งจัดการปัญหาผู้ที่ลักลอบขยายพันธุ์ยางและนำยางที่ไร้คุณภาพดังกล่าวมาขายให้เกษตรกร
ที่มา http://www.kriengsak.com/node/724
คุยมาก็เยอะ ไม่พูดเรื่องนี้กันเลย นิดสนใจเรื่องของตัวเองดีกว่านะ เอาให้รอดก่อน ไม่ต้องไปแซะแป๊ะให้เสียเวลาน้าาาาา
สุดยอดความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
แป๊ะรถเช่า กะ นิด สวนยาง(สกลนคร) ใครเจ้งกว่ากัน
เห็นถามถึงแป๊ะรถเช่า เจ้ง
เลยอยากถามว่า สวนยางของนิด กะ รถเช่าของแป๊ะ ใครเจ้งมากกว่ากัน
เชิญมาวิแคะกัน นะครับ เชิญคู่กรณีทั้งสองเลย กองเชียร์ก็มาด้วยนะครับ