จากมติชนออนไลน์
เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้ นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ไปวิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสีย ของการสอบตกซ้ำชั้น ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาหากเรียนและสอบไม่ผ่านก็ต้องเรียนซ้ำชั้นอีกปี แต่ปัจจุบันไม่มีการซ้ำชั้น เมื่อเด็กไม่ผ่านก็ใช้วิธีการซ่อมในรายวิชานั้น ซึ่งมาตรฐานการซ่อมของครูแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ครูบางคนใช้วิธีการซ่อมที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น ตนเห็นว่าต้องกลับมาดูเรื่องนี้กันใหม่ เพราะคุณภาพของเด็กที่จบออกมา เมื่อเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นก็มีปัญหา เช่น เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4 ยังอ่านไม่ออก เขียนไม่คล่อง เมื่อเลื่อนชั้นขึ้นก็เป็นภาระฉุดรั้งเพื่อน มีปัญหาในการเรียนระดับสูง หรือ เมื่อมาเรียนต่อในสายอาชีพ แทนที่จะสอนทางวิชาชีพได้เลย วิทยาลัยอาชีวศึกษาก็ต้องมาสอนวิชาสามัญเพิ่ม ไม่เช่นนั้นก็เรียนไม่ได้ ซึ่งเสียงสะท้อนเหล่านี้เราก็ต้องฟัง ส่วนจะนำเรื่องดังกล่าวกลับมาดำเนินการหรือไม่นั้น ก็ต้องรอดูข้อมูลของสพฐ. โดยตนขอให้ดำเนินการอย่างเร่งด่วน
ปลุกผี"นร.สอบตก"ต้องซ้ำชั้น! ดาว์พงษ์ ชี้ ปล่อยไปก็เป็นภาระฉุดรั้งเพื่อน
เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้ นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ไปวิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสีย ของการสอบตกซ้ำชั้น ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาหากเรียนและสอบไม่ผ่านก็ต้องเรียนซ้ำชั้นอีกปี แต่ปัจจุบันไม่มีการซ้ำชั้น เมื่อเด็กไม่ผ่านก็ใช้วิธีการซ่อมในรายวิชานั้น ซึ่งมาตรฐานการซ่อมของครูแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ครูบางคนใช้วิธีการซ่อมที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น ตนเห็นว่าต้องกลับมาดูเรื่องนี้กันใหม่ เพราะคุณภาพของเด็กที่จบออกมา เมื่อเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นก็มีปัญหา เช่น เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4 ยังอ่านไม่ออก เขียนไม่คล่อง เมื่อเลื่อนชั้นขึ้นก็เป็นภาระฉุดรั้งเพื่อน มีปัญหาในการเรียนระดับสูง หรือ เมื่อมาเรียนต่อในสายอาชีพ แทนที่จะสอนทางวิชาชีพได้เลย วิทยาลัยอาชีวศึกษาก็ต้องมาสอนวิชาสามัญเพิ่ม ไม่เช่นนั้นก็เรียนไม่ได้ ซึ่งเสียงสะท้อนเหล่านี้เราก็ต้องฟัง ส่วนจะนำเรื่องดังกล่าวกลับมาดำเนินการหรือไม่นั้น ก็ต้องรอดูข้อมูลของสพฐ. โดยตนขอให้ดำเนินการอย่างเร่งด่วน