ภาพประกอบจาก Youtube : GTHchannel
ซีรีย์ฮอร์โมนทำคนเข้าใจ "เอชไอวี-เอดส์" มากขึ้น สวนทางสังคมไทยยังไม่เข้าใจ จี้ สธ.-ศธ.ร่วมมือยกเครื่องหลักสูตรสุขศึกษา-เพศศึกษา สร้างความเข้าใจมากกว่ากลัว ชี้ "ครู" ขยายความกลัวในโรงเรียน เหตุยังไม่เข้าใจเสียเอง
การนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับตัวละครที่ติดเชื้อเอชไอวีของละครชุด ฮอร์โมน เดอะซีรีย์ ซีซั่น 3 ซึ่งได้มีการสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง จนเกิดกระแสชื่นชมเป็นจำนวนมาก แต่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องเอชไอวีและเอดส์นั้น แท้จริงแล้วสังคมไทยยังมีความไม่เข้าใจอยู่มาก
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า ขณะนี้สังคมไทยยังมีความไม่เข้าใจเกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี และการป่วยเป็นโรคเอดส์อยู่มาก ส่วนหนึ่งพบว่ามีการให้ข้อมูลที่ผิด โดยหลักสูตรการเรียนการสอนนั้นตนไม่ทราบว่ามีการพัฒนาไปอย่างไร แต่จะพบว่าครูมุ่งเน้นสอนให้เด็กกลัวมากกว่าการสอนให้เด็กรู้และเข้าใจ ที่สำคัญคือ "ครู" เป็นตัวขยายความกลัว และความไม่เข้าใจไปสู่เด็ก ผู้ปกครอง เพราะครูเองก็กลัว ไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ ทุกโรงเรียนที่มีปัญหาเรื่องนี้เพราะครูเป็นผู้ขยายให้ใหญ่ขึ้น
"ปัญหาร้องเรียนที่เจอมีจุดเริ่มต้นมาจากครูที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไปบอกกับผู้ปกครองให้เด็กหยุดเรียน ไม่ต้องมาโรงเรียน ให้อ่านหนังสืออยู่ที่บ้าน ถึงเวลาแล้วค่อยมาสอบ เพราะกลัวผู้ปกครองคนอื่นจะรังเกียจ ก็ไม่รู้ว่าผู้ปกครองที่รังเกียจเป็นใคร แต่ที่แน่ๆ เลยคือครูเป็นผู้รังเกียจ ดังนั้น ประสบการณ์เกือบ 100% ปัญหานี้ขยายมาจากครู เรื่องนี้ถ้าทำให้ครูเข้าใจอย่างแท้เจริงปัญหาจะเบาลง” นายนิมิตร์ กล่าว
นายนิมิตร์ กล่าวว่า การเรียนการสอนจะต้องปรับเปลี่ยนใหม่ วิธีคิดของหลักสูตรเรื่องโรค ต้องมุ่งเน้นให้เข้าใจสาเหตุของโรค ภาวะของโรค การดูแลรักษา รวมถึงสิทธิประโยชน์ในการรักษา ถ้ามีความเข้าใจตรงนี้ก็จะสามารถดูแลและจัดการตัวเองได้ โดยการสอนจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1.วิชาสุขศึกษา ต้องยกเครื่องให้ทันสมัย เพราะทุกวันนี้ข้อมูลการรักษามีการพัฒนาเร็วมาก ต้องทำให้เยาวชนมีความเข้าใจว่าเอชไอวีเป็นไวรัสที่ติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ เพราะปริมาณเชื้อที่อยู่ในสารคัดหลั่งมีจำนวนมาก ถ้าเป็นผู้ชายเชื้อจะอยู่ในอสุจิ ส่งผ่านผู้หญิงทางเยื่อบุช่องคลอด นอกจากนี้ ยังติดต่อผ่านเลือดที่มาจากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน และจากแม่สู่ลูกในครรภ์ ซึ่งหากแม่รับประทานยาต้านไวรัสก็สามารถป้องกันได้ ส่วนน้ำลายไม่มีทางติด นอกจากนี้ ยังต้องเปลี่ยนความเข้าใจเรื่องอาการป่วยด้วย ไม่ใช่ว่ามีไวรัสเยอะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเสีย แต่โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์นั้น ถ้าแยกเป็นรายโรคจะเรียกว่าโรคฉวยโอกาส เป็นโรคที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวคนและสามารถรักษาให้หายได้ มีเพียงบางโรคที่เป็นโรคติดต่ออยู่เดิม เช่น วัณโรค เมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำเชื้อวัณโรคจึงออกฤทธิ์ขึ้นมาได้
และ 2.เรื่องเพศศึกษา ต้องสอนควบคู่กัน เรื่องความสัมพันธ์ของผู้คน เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย วิธีการจัดการต้องทำอย่างไร เป็นต้น โดยมองว่ากระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักโรคเอดส์ฯ หากพูดให้ชัดเจน ไม่ทำให้คนสับสน แล้วไปคุยทำความเข้าใจกับกระทรวงศึกษาธิการให้ชัดเจน เพื่อปรับหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่ แต่อาจไม่ใช่เรื่องง่าย สำหรับเรื่องการตีตรานั้น ถือว่าลดลงบ้าง แต่ยังไม่ดีพอ คนทั่วไปรับรู้ว่าคนที่ติดเชื้อฯ สามารถมีชีวิตที่ดี ทำงานได้ตามปกติ แต่ก็ยังมีความระแวงและกลัวว่าตัวเองเลยขีดเส้นแบ่งเอาไว้
ข่าวจาก : ASTVผู้จัดการออนไลน์
http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000132850
"ครู" ขยายความกลัว "เอชไอวี-เอดส์" จี้ยกเครื่องหลักสูตร "สุขศึกษา-เพศศึกษา" สร้างความเข้าใจแบบ "ซีรีย์ฮอร์โมน"
ภาพประกอบจาก Youtube : GTHchannel
ซีรีย์ฮอร์โมนทำคนเข้าใจ "เอชไอวี-เอดส์" มากขึ้น สวนทางสังคมไทยยังไม่เข้าใจ จี้ สธ.-ศธ.ร่วมมือยกเครื่องหลักสูตรสุขศึกษา-เพศศึกษา สร้างความเข้าใจมากกว่ากลัว ชี้ "ครู" ขยายความกลัวในโรงเรียน เหตุยังไม่เข้าใจเสียเอง
การนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับตัวละครที่ติดเชื้อเอชไอวีของละครชุด ฮอร์โมน เดอะซีรีย์ ซีซั่น 3 ซึ่งได้มีการสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง จนเกิดกระแสชื่นชมเป็นจำนวนมาก แต่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องเอชไอวีและเอดส์นั้น แท้จริงแล้วสังคมไทยยังมีความไม่เข้าใจอยู่มาก
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า ขณะนี้สังคมไทยยังมีความไม่เข้าใจเกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี และการป่วยเป็นโรคเอดส์อยู่มาก ส่วนหนึ่งพบว่ามีการให้ข้อมูลที่ผิด โดยหลักสูตรการเรียนการสอนนั้นตนไม่ทราบว่ามีการพัฒนาไปอย่างไร แต่จะพบว่าครูมุ่งเน้นสอนให้เด็กกลัวมากกว่าการสอนให้เด็กรู้และเข้าใจ ที่สำคัญคือ "ครู" เป็นตัวขยายความกลัว และความไม่เข้าใจไปสู่เด็ก ผู้ปกครอง เพราะครูเองก็กลัว ไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ ทุกโรงเรียนที่มีปัญหาเรื่องนี้เพราะครูเป็นผู้ขยายให้ใหญ่ขึ้น
"ปัญหาร้องเรียนที่เจอมีจุดเริ่มต้นมาจากครูที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไปบอกกับผู้ปกครองให้เด็กหยุดเรียน ไม่ต้องมาโรงเรียน ให้อ่านหนังสืออยู่ที่บ้าน ถึงเวลาแล้วค่อยมาสอบ เพราะกลัวผู้ปกครองคนอื่นจะรังเกียจ ก็ไม่รู้ว่าผู้ปกครองที่รังเกียจเป็นใคร แต่ที่แน่ๆ เลยคือครูเป็นผู้รังเกียจ ดังนั้น ประสบการณ์เกือบ 100% ปัญหานี้ขยายมาจากครู เรื่องนี้ถ้าทำให้ครูเข้าใจอย่างแท้เจริงปัญหาจะเบาลง” นายนิมิตร์ กล่าว
นายนิมิตร์ กล่าวว่า การเรียนการสอนจะต้องปรับเปลี่ยนใหม่ วิธีคิดของหลักสูตรเรื่องโรค ต้องมุ่งเน้นให้เข้าใจสาเหตุของโรค ภาวะของโรค การดูแลรักษา รวมถึงสิทธิประโยชน์ในการรักษา ถ้ามีความเข้าใจตรงนี้ก็จะสามารถดูแลและจัดการตัวเองได้ โดยการสอนจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1.วิชาสุขศึกษา ต้องยกเครื่องให้ทันสมัย เพราะทุกวันนี้ข้อมูลการรักษามีการพัฒนาเร็วมาก ต้องทำให้เยาวชนมีความเข้าใจว่าเอชไอวีเป็นไวรัสที่ติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ เพราะปริมาณเชื้อที่อยู่ในสารคัดหลั่งมีจำนวนมาก ถ้าเป็นผู้ชายเชื้อจะอยู่ในอสุจิ ส่งผ่านผู้หญิงทางเยื่อบุช่องคลอด นอกจากนี้ ยังติดต่อผ่านเลือดที่มาจากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน และจากแม่สู่ลูกในครรภ์ ซึ่งหากแม่รับประทานยาต้านไวรัสก็สามารถป้องกันได้ ส่วนน้ำลายไม่มีทางติด นอกจากนี้ ยังต้องเปลี่ยนความเข้าใจเรื่องอาการป่วยด้วย ไม่ใช่ว่ามีไวรัสเยอะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเสีย แต่โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์นั้น ถ้าแยกเป็นรายโรคจะเรียกว่าโรคฉวยโอกาส เป็นโรคที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวคนและสามารถรักษาให้หายได้ มีเพียงบางโรคที่เป็นโรคติดต่ออยู่เดิม เช่น วัณโรค เมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำเชื้อวัณโรคจึงออกฤทธิ์ขึ้นมาได้
และ 2.เรื่องเพศศึกษา ต้องสอนควบคู่กัน เรื่องความสัมพันธ์ของผู้คน เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย วิธีการจัดการต้องทำอย่างไร เป็นต้น โดยมองว่ากระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักโรคเอดส์ฯ หากพูดให้ชัดเจน ไม่ทำให้คนสับสน แล้วไปคุยทำความเข้าใจกับกระทรวงศึกษาธิการให้ชัดเจน เพื่อปรับหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่ แต่อาจไม่ใช่เรื่องง่าย สำหรับเรื่องการตีตรานั้น ถือว่าลดลงบ้าง แต่ยังไม่ดีพอ คนทั่วไปรับรู้ว่าคนที่ติดเชื้อฯ สามารถมีชีวิตที่ดี ทำงานได้ตามปกติ แต่ก็ยังมีความระแวงและกลัวว่าตัวเองเลยขีดเส้นแบ่งเอาไว้
ข่าวจาก : ASTVผู้จัดการออนไลน์
http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000132850