การลดหย่อนภาษี คุ้มจริงหรือ?

อยากทราบความเห็นของเพื่อนๆครับว่า
การเสียภาษีเต็มจำนวน กับ การลดหย่อนภาษีโดยวิธีต่างๆ
ถ้าคิดระยะยาวซัก20ปี แบบไหนจะคุ้มกว่ากัน?
ผมขอลองคำนวนแบบคร่าว ผิดถูกยังไงขออภัยนะครับ ไม่มีความรู้เรื่องกองทุนเลยครับ
แค่อยากเห็นมุมมองหลายๆแบบ
ขออนุญาตคำนวนภาษีจากเวปนี้ https://www.tmbbank.com/calculator/investment

ยกตัวอย่าง ถ้าเงินเดือนเดือนละ150,000บาท (ปีละ1,800,000บาท)

กรณี 1
ลดหย่อนภาษีทั่วไป
ผลการคำนวณค่าลดหย่อน
ค่าใช้จ่ายส่วนตัว    60,000    บาท
เงินสะสมประกันสังคม    7,200    บาท
ค่าลดหย่อนส่วนตัวและคู่สมรส    30,000    บาท
รวมค่าลดหย่อนเงินได้ทั้งหมด    97,200    บาท


รวมเงินได้สุทธิ    1,702,800    บาท
ภาษีที่คุณต้องจ่ายปีนี้    290,700    บาท
ปีนี้จ่ายภาษี    290,700    บาท

เงินสดเหลือ 1,800,000 - 290,700 = 1,509,300 บาท

กรณี 2 ซื้อLTF15%(270,000บาท)

ลดหย่อนภาษีทั่วไป
ผลการคำนวณค่าลดหย่อน
ค่าใช้จ่ายส่วนตัว    60,000    บาท
เงินสะสมประกันสังคม    7,200    บาท
ค่าลดหย่อนส่วนตัวและคู่สมรส    30,000    บาท
รวมค่าลดหย่อนเงินได้ทั้งหมด    97,200    บาท

LTF ลดหย่อนได้    270,000    บาท
ตกอยู่ช่วงภาษี25% ทำให้เสียภาษีน้อยลง67,500บาท
ปีนี้จ่ายภาษี 223,200บาท

แต่การที่เราซื้อLTF ทำให้เงินสดเหลือ 1,800,000 - 270,000 - 223,200 = 1,306,800 บาท

......................................................................................
จะเห็นได้ว่า กรณีที่1 มีเงินที่เหลือในกระเป๋า มากกว่า กรณีที่2
1,509,300 - 1,306,800 = 202,500 บาท

สมมุติว่าเราไม่ได้ซื้อLTF แล้วนำเงินจำนวนนี้ไป ลงทุนเองได้ผลตอบแทนปีละ5%
ปีที่1    ส่วนต่างต่อปี    เงินเก็บสะสม
1    ฿202,500.00    ฿212,625.00
2    ฿202,500.00    ฿435,881.25
3    ฿202,500.00    ฿670,300.31
4    ฿202,500.00    ฿916,440.33
5    ฿202,500.00    ฿1,174,887.34
6    ฿202,500.00    ฿1,446,256.71
7    ฿202,500.00    ฿1,731,194.55
8    ฿202,500.00    ฿2,030,379.27
9    ฿202,500.00    ฿2,344,523.24
10    ฿202,500.00    ฿2,674,374.40
11    ฿202,500.00    ฿3,020,718.12
12    ฿202,500.00    ฿3,384,379.03
13    ฿202,500.00    ฿3,766,222.98
14    ฿202,500.00    ฿4,167,159.13
15    ฿202,500.00    ฿4,588,142.08
16    ฿202,500.00    ฿5,030,174.19
17    ฿202,500.00    ฿5,494,307.90
18    ฿202,500.00    ฿5,981,648.29
19    ฿202,500.00    ฿6,493,355.71
20    ฿202,500.00    ฿7,030,648.49

20ปีผ่านไปเงินลงทุนสะสม  ฿7,030,648.49

แล้วถ้าเราซื้อLTFทุกปีแล้วได้ ผลตอบแทนเฉลี่ย10% ต่อปี หละ
ปีที่1    ซื้อLTF        ได้คืนเมื่อครบ5ปี
1    ฿270,000.00    
2    ฿270,000.00    
3    ฿270,000.00    
4    ฿270,000.00    
5    ฿270,000.00    
6    ฿270,000.00    ฿434,837.70
7    ฿270,000.00    ฿434,837.70
8    ฿270,000.00    ฿434,837.70
9    ฿270,000.00    ฿434,837.70
10    ฿270,000.00    ฿434,837.70
11    ฿270,000.00    ฿434,837.70
12    ฿270,000.00    ฿434,837.70
13    ฿270,000.00    ฿434,837.70
14    ฿270,000.00    ฿434,837.70
15    ฿270,000.00    ฿434,837.70
16    ฿270,000.00    ฿434,837.70
17    ฿270,000.00    ฿434,837.70
18    ฿270,000.00    ฿434,837.70
19    ฿270,000.00    ฿434,837.70
20    ฿270,000.00    ฿434,837.70
ปีที่20จะได้เงินจากLTFรวม ฿6,522,565.50
ยังไม่รวมเงินที่จะได้คืนในปี 21-25 จำนวน ฿434,837.70 ต่อปี =฿2,174,188.50
________________________________

จะเห็นได้ว่าเมื่อครบ20ปีแล้ว เปรียบเทียบ2กรณี
กรณีที่ลงทุนเองจะมีเงิน ฿7,030,648.49
กรณีที่ซื้อLTFจะมีเงิน    ฿6,522,565.50 ถ้าคิดที่จะได้LTFคืนในปี21-25 จะเท่ากับ ฿8,696,754.00

กรณีลงทุนเองจะได้มากกว่า ฿508,082.99

ถ้าคิดที่จะได้LTFคืนในปี21-25 กรณีลงทุนเองจะได้น้อยกว่า ฿1,666,105.51

ในกรณีนี้จะเห็นว่าซื้อLTFอาจจะได้มากกว่า แต่ต้องแลกกับการเอาเงินไปจมอยู่กับLTFทีละ5ปี
เพื่อนๆคิดว่าแบบไหนคุ้มกว่ากันครับ

กระทิงเริงร่า
________________________________


พอดีผมไปเห็นบทความนี้เลยลองคิดดูว่าซื้อกองทุนเพื่อลดภาษี จะคุ้มไหม

หลุมพรางของ RMF-LTF - ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
15 December 2011 at 19:53

กองทุนรวมเพื่อการเกษียณอายุหรือ RMF และกองทุนรวมหุ้นระยะยาวหรือ LTF นั้น เป็นกองทุนรวมที่ดูเหมือนว่าจะเป็นกองทุนรวมสุดยอดสำหรับคนกินเงินเดือนที่ มีรายได้สูง และต้องเสียภาษีส่วนบุคคลในอัตราก้าวหน้าที่ค่อนข้างสูง เพราะเงินที่ลงทุนซื้อหน่วยลงทุนทั้งสองดังกล่าวนั้น สามารถนำไปเครดิตภาษีคืนได้ พูดง่ายๆ ถ้าคุณต้องเสียภาษีอัตราสุดท้าย 20% ถ้าคุณเอาเงินไปลงทุนในหน่วยลงทุนดังกล่าว 100 บาท คุณก็จะได้เงินคืนมาฟรีๆ 20 บาท ข้อจำกัดที่สำคัญมีเพียงประการเดียวก็คือ ในกรณีของ RMF คุณต้องลงทุนถือไว้จนกว่าคุณจะมีอายุ 55 ปี ซึ่งแปลว่าถ้าคุณมีอายุ 35 ปี คุณจะต้องถือหน่วยลงทุนนี้ไว้ถึง 20 ปี ในกรณีของ LTF นั้น คุณต้องถือหน่วยลงทุนไว้เพียง 3 ปีกับอีกประมาณ 4-5 วันถ้าคุณต้องการ แต่ข้อจำกัดที่สำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือ กองทุน LTF นั้นต้องเป็นการลงทุนในหุ้นเท่านั้น ไม่สามารถที่จะลงทุนในตราสารหนี้ได้

ผู้เชี่ยวชาญ หรือถ้าจะพูดให้ถูกต้องกว่าก็คือ คนที่ต้องการขายหน่วยลงทุนดังกล่าวมักจะให้ความเห็นว่า RMF และ LTF เป็นกองทุนรวมที่คนมีรายได้ และต้องเสียภาษีตั้งแต่ประมาณ 10% ขึ้นไปควรที่จะต้องซื้ออย่างยิ่งเพราะมันเป็นการลงทุนที่ไม่มีอะไรจะเสียมี แต่ได้ และถ้าคุณเป็นห่วงว่าการลงทุนจะเสียหาย คุณก็อย่าลงทุนใน LTF ซึ่งมีความเสี่ยงเพราะเป็นการลงทุนในหุ้น แต่ให้ลงทุนใน RMF ที่เป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ซึ่งแทบจะไม่มีความเสี่ยงว่าเงินต้นจะหาย และผลตอบแทนค่อนข้างแน่นอน และดีกว่าการฝากเงิน คำแนะนำทั้งหมดนี้เป็นเรื่องจริง แต่เขาไม่ได้พูดเรื่องจริงอื่นๆ อีกมากที่อาจจะทำให้การลงทุนในหน่วยลงทุนทั้งสองแบบนั้น "ไม่ดีอย่างที่คิด" ความจริงที่ "จริงกว่า" ก็คือ จะดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับรายได้ และคุณสมบัติส่วนตัวของแต่ละคน คำแนะนำที่พูดเป็นการทั่วไปนั้น อาจจะทำให้คนเชื่อ และทำตามเกิดความเสียหายได้มหาศาล มันเป็นหลุมพรางขนาดใหญ่ที่คุณอาจไม่ทันคิด

สมมติว่าคุณอายุ 35 ปี มีรายได้สูงซึ่งทำให้อัตราภาษีสุดท้ายของคุณเท่ากับ 20% คุณมีเงินเหลือเก็บตลอด ดังนั้นโดยธรรมชาติคุณเป็นนักลงทุนระยะยาวอยู่แล้ว เงินส่วนหนึ่งจะต้องถูกเก็บสะสม และลงทุนไปจนวันเกษียณ คุณไม่ค่อยรู้เรื่องเกี่ยวกับหุ้น และเป็นคนระมัดระวัง ดังนั้น คุณคิดว่า RMF เป็นทางที่คุณเลือกเพราะคุณสามารถเลือกลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ได้ คุณตัดสินใจซื้อแล้วก็คิดว่าคุณคิดถูกแล้ว แต่ช้าก่อน มาดูการคาดการณ์ทางการเงินดูว่าวันที่คุณเกษียณคุณจะได้อะไรเมื่อเทียบกับ การลงทุนในหุ้นซึ่งในระยะยาวแล้ว ความเสี่ยงไม่ได้มากไปกว่าตราสารหนี้แต่ผลตอบแทนสูงกว่ามาก

สมมติว่าคุณลงทุนเงิน 100 บาท และการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ย ปีละ 5% ขณะที่การลงทุนในหุ้นโดยเฉลี่ยให้ผลตอบแทนปีละ 10% (ถ้าคุณลงทุนไม่เป็นก็สามารถซื้อกองทุนรวมหุ้นตามดัชนีได้) เงิน 100 บาทของคุณด้วยอัตราภาษีส่วนบุคคลที่ 20% คุณจะสามารถนำเครดิตภาษีมาซื้อหน่วยลงทุน RMF ได้เท่ากับ 125 บาท ในขณะที่ลงทุนเองในหุ้นคุณก็ลงได้เพียง 100 บาท ในวันแรกคุณดีใจที่คุณมีเงินลงทุนใน RMF ถึง 125 บาท ขณะที่ลงทุนในหุ้นคุณมีแค่ 100 บาท แต่เนื่องจากหุ้นนั้นโตเร็วหรือให้ผลตอบแทนมากกว่า ดังนั้นพอถึงปีที่ 5 หุ้นของคุณก็จะโตทันคือจะเป็น 161 บาทในขณะที่หน่วยลงทุน RMF ของคุณจะอยู่ที่ 160 บาท และเมื่อถึงเวลา 20 ปีที่คุณจะสามารถถอนเงินออกมาใช้ได้ หน่วยลงทุน RMF ของคุณจะมีค่าเท่ากับ 332 บาท แต่หุ้นของคุณจะมีค่าเท่ากับ 673 บาทหรือมากกว่าเท่าตัว ดังนั้น การลงทุนในกองทุน RMF ที่เป็นตราสารหนี้ที่เป็นคำแนะนำยอดนิยมจึงอาจเป็นการลงทุนที่ผิดพลาดมากก็ ได้

การลงทุนใน RMF ที่เป็นกองทุนหุ้นนั้น อาจจะน่าสนใจสำหรับคนที่ลงทุนในหุ้นอยู่แล้วเพราะ RMF ได้เครดิตภาษี อย่างไรก็ตาม การลงทุนในกองทุนรวมหุ้นนั้น เราต้องเสียค่าบริหารซึ่งจะถูกคิดเป็นต้นทุนปีละประมาณ 1.5-2% ในขณะที่ถ้าเราลงทุนเองจะไม่เสีย หรือลงทุนในกองทุนหุ้นตามดัชนีจะเสียค่าบริหารน้อยกว่า ดังนั้น เราต้องมาคิดว่าเครดิตภาษีที่ได้มานั้นคุ้มค่าหรือไม่กับการที่จะต้องผูกค่า บริหารปีละ 1.5-2% ไปทุกปีเป็นเวลา 20 ปี ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่เราสมมติว่าการลงทุนในหุ้นเราได้ผลตอบแทนเฉลี่ย เท่าๆ กับตลาดไม่ว่าจะบริหารเองหรือให้กองทุนบริหาร แต่ถ้าเราลงทุนเป็น มีฝีมือดี การพิจารณาเรื่องผลตอบแทน และทางเลือกของเราก็จะเปลี่ยนไป

ถ้าเราเชื่อมั่นในหุ้น และเป็นนักลงทุนระยะยาว การลงทุนใน LTF โดยทั่วไปน่าจะให้ผลดีเนื่องจากเรามี "แต้มต่อ" จากเครดิตภาษี เช่น ถ้าเราต้องเสียภาษี 20% การลงทุนใน LTF ตั้งแต่วันแรกเราก็เหมือนกับมีกำไรไปแล้ว 20% ดังนั้น ถ้าเราบริหารเอง ถ้าจะให้ได้ผลตอบแทนเท่ากัน เราต้องสามารถเอาชนะกองทุนถึง 20% ในเวลา ประมาณ 3 ปี หรือเฉลี่ยปีละประมาณ 6-7% ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถ้าเราได้เครดิตภาษีเพียง 10% และเรามีฝีมือในการลงทุน รวมทั้งเราไม่ต้องเสียค่าบริหารปีละประมาณ 1.5-2% เป็นเวลา 3 ปี เราก็อาจจะทำได้ดีกว่าโดยไม่ต้องซื้อ LTF

ทั้งหมดที่พูดมานั้น ไม่ได้เป็นการโจมตีหรือเชียร์ให้ซื้อ RMF หรือ LTF โดยส่วนตัวผมเองนั้น แม้ว่าจะเป็นนักลงทุนเต็มตัวด้วยตนเอง แต่ก็ยังซื้อทั้ง RMF ที่เป็นกองทุนหุ้น และ LTF เต็มเพดาน 15% ของรายได้ทุกปี ประเด็นสำคัญของผมก็คือ อัตราภาษีของผมค่อนข้างสูง และเวลาที่ผมจะต้องถือหน่วยลงทุน RMF นั้น เหลือเพียงไม่กี่ปี สำหรับคนอื่นนั้น ผมคิดว่าจะต้องพิจารณาเองแบบ "ตัวใครตัวมัน" ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ที่มีอัตราภาษีระดับประมาณ 15% ขึ้นไป น่าจะใช้ประโยชน์จากกองทุนหักลดหย่อนภาษีคู่นี้ได้ ไม่ตัวใดก็ตัวหนึ่ง



อ้างอิงจาก
https://www.facebook.com/notes/ดรนิเวศน์-เหมวชิรวรากร-fan-page/หลุมพรางของ-rmf-ltf-ดร-นิเวศน์-เหมวชิรวรากร/323423454353505
แก้ไขข้อความเมื่อ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
คิดผิดอย่างมากครับ
ข้อ1. แบบไม่ซื้อคุณคิดผลตอบแทนแบบทบต้นทั้งหมด (เงินที่เป็นดอกผลไม่นำมาใช้เลย แต่นำไปลงทุนต่อทั้งหมด)
       แต่ขณะเดียวกัน แบบซื้อ LTF เงินที่ได้หลังจากครบ5ปี คุณไม่ได้นำไปลงทุนต่อ (ซึ่งถ้าคุณนำไปลงทุนต่อจะเห็นผลแตกต่างมากๆๆๆๆๆๆ)
ข้อ2. สิ้นปีที่ 20 ผลตอบแทนโครงการแบบซื้อคุณคิดจำนวนสินทรัพย์ทั้งหมด
       แต่ขณะเดียวกัน แบบซื้อ LTF คุณไม่ได้รวมสินทรัพย์(ที่เป็นหน่วยลงทุน) คุณคิดแค่จำนวนเงินสดในมือ ซึ่งไม่ถูกต้อง

ถ้าจะให้ถูกต้องผมขอเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัด ๆ โดยสมมติว่าคุณมีสิทธิ์ลงทุน เป็นเงิน 270000 (1800000*0.15)
คุณต้องตัดสินใจเลือกว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ LTF (ยอมจ่ายภาษีแล้วเหลือเงินสด = 270000*0.85 =  202500)
สมมติฐานของคุณคือลงทุนเองได้ 5% ซื้อ LTF ได้ 10% โดยทั้ง 2 แบบ ต้องไม่นำดอกผลมาใช้ทั้งคู่
มาดูกันครับว่าแตกต่างกันแค่ไหน    
                     ซื้อ LTF (เติมปีละ 270000)                            ไม่ซื้อ LTF (เติมปีละ 202500)    
    ต้นปีจะมีเงิน      ผลตอบแทน    รวมสิ้นปี        ต้นปีจะมีเงิน       ผลตอบแทน    รวมสิ้นปี
1    270000      27000            297000        202500       10125            212625
2    567000      56700            623700        415125       20756.25    435881.3
3    893700      89370           983070        638381.3       31919.1            670300.3
4    1253070      125307            1378377        872800.3       43640.0       916440.3
5    1648377      164837.7       1813214.7        1118940.3    55947.0            1174887.3
6    2083214.7      208321.5            2291536.2        1377387.3       68869.4            1446256.7
7    2561536.2      256153.6            2817689.8        1648756.7       82437.8            1731194.5
8    3087689.8       308769.0    3396458.8        1933694.5        96684.7            2030379.3
9    3666458.8       366645.9    4033104.6        2232879.3       111644.0    2344523.2
10    4303104.6       430310.5    4733415.1        2547023.2       127351.2    2674374.4
11    5003415.1       500341.5    5503756.6        2876874.4       143843.7    3020718.1
12    5773756.6       577375.7    6351132.3        3223218.1       161160.9    3384379.0
13    6621132.3       662113.2    7283245.5        3586879.0       179344.0    3766223.0
14    7553245.5       755324.6    8308570.1        3968723.0       198436.1    4167159.1
15    8578570.1       857857.0    9436427.1        4369659.1       218483.0    4588142.1
16    9706427.1       970642.7    10677069.8    4790642.1       239532.1    5030174.2
17    10947069.8  1094707.0    12041776.7    5232674.2       261633.7    5494307.9
18    12311776.7  1231177.7    13542954.4    5696807.9       284840.4    5981648.3
19    13812954.4  1381295.4    15194249.9    6184148.3       309207.4    6493355.7
20    15464249.9  1546425.0    17010674.8    6695855.7       334792.8    7030648.5
21    17280674.8  1728067.5    19008742.3    7233148.5       361657.4    7594805.9
22    19278742.3  1927874.2    21206616.6    7797305.9       389865.3    8187171.2
23    21476616.6  2147661.7    23624278.2    8389671.2       419483.6    8809154.8
24    23894278.2  2389427.8    26283706.0    9011654.8       450582.7    9462237.5
25    26553706.0  2655370.6    29209076.7    9664737.5       483236.9    10147974.4
26    29479076.7  2947907.7    32426984.3    10350474.4  517523.7            10867998.1
27    32696984.3  3269698.4    35966682.7    11070498.1  553524.9            11624023.0
28    36236682.7  3623668.3    39860351.0    11826523.0  591326.2            12417849.2
29    40130351.0  4013035.1    44143386.1    12620349.2  631017.5      13251366.6
30    44413386.1  4441338.6    48854724.7    13453866.6  672693.3      14126560.0
สรุป ซื้อ LTF สิ้นปีที่ 30 มีเงิน 48 ล้าน ไม่ซื้อมี 14 ล้าน
เห็นไหมครับ ว่าแตกต่างกันแค่ไหน... แล้วตัดสินใจได้หรือยังว่าจะซื้อหรือไม่
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่