เป็นที่ทราบกันดีว่า เชื้อไวรัส HIV ทำให้เกิดโรคเอดส์ ซึ่งยังไม่มีทางรักษา ผู้ป่วยโรคเอดส์ภูมิคุ้มกันจะถูกทำลาย เมื่อร่างกายอ่อนแอก็จะติดเชื้อฉวยโอกาสจนเสียชีวิต
ไวรัส HIV จึงเป็นเชื้อโรคที่ใครๆ ก็กลัว และพยายามหาวิธีกำจัดเรื่อยมา แต่นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแพนซิลวาเนียกลับมองมุมกลับ คือ พยายามใช้ประโยชน์จากเชิ้อ HIV โดยนำมาช่วยในการรักษาโรคลูคีเมีย นับเป็นแนวคิดที่แหวกแนวเป็นอย่างยิ่ง
โรคลูคีเมีย (Leukemia) หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นความผิดปกติทางโลหิตวิทยา เกิดจากความผิดปกติในการแบ่งเซลล์เม็ดเลือดในไขกระดูก โรคลูคีเมียแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ ชนิดเฉียบพลัน (acute leukemia) และชนิดเรื้อรัง (chronic leukemia) ซึ่ง 2 ประเภทนี้ต่างกันตรงที่
ลูคีเมียชนิดเฉียบพลัน เป็นความผิดปกติที่เกิดในระยะที่เซลล์เม็ดเลือดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ มักเกิดกับ เซลล์ Lymphoblast หรือ Myeloblast เซลล์เหล่านี้จึงไม่สามารถพัฒนาต่อไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่สมบูรณ์ได้ ร่างกายจึงขาด T-cell B-Cell และ Natural Killer รวมทั้ง Granulocyte ชนิดต่างๆ ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแออย่างมาก
นอกจากนี้ เซลล์เม็ดเลือดที่เป็นมะเร็งยังไปเบียดบังการเจริญของเซลล์เม็ดเลือดแดง และเกร็ดเลือด ทำให้มีอาการซีด อ่อนเพลีย มีเลือดออกผิดปกติ ติดเชื้อได้ง่านและเสียชีวิตในเวลาอันสั้น
ลูคีเมียชนิดเรื้อรัง เป็นความผิดปกติที่เกิดในระยะที่เซลล์เม็ดเลือดขาวที่พัฒนาสมบูรณ์แล้ว พบมากในเซลล์ Granulocyte และ B lymphocyte ซึ่งมีหน้าที่เฉพาะอย่าง แต่เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดอื่นๆ ยังทำงานได้อยู่ โรคจึงไม่แสดงอาการรุนแรงมากนัก ผู้ป่วยลูคีเมียส่วนใหญ่มักเป็นโรคลูคีเมียชนิดเรื้อรังที่เกิดกับเซลล์ B lymphocyte หรือ ที่เรียกว่า B-cell chronic lymphocytic leukemia (CLL)
โดยปกติแล้วเม็ดเลือดขาวมีหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค รวมทั้งคอยตรวจสอบเซลล์ที่ผิดปกติ และทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกาย เมื่อเม็ดเลือดขาวผิดปกติเสียเอง ย้อนกลับมาทำร้ายร่างกายเสียเอง การรักษาเยียวยาจึงเป็นเรื่องยาก
แต่ล่าสุด ดร.ไมเคิล คาลอส นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแพนซิลวาเนียได้ทดลองใช้แนวทางใหม่ในการรักษาลูคีเมีย โดยอาศัยเชื้อไวรัส HIV ที่ดัดแปลงพันธุกรรมแล้ว ช่วยในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell เพื่อดัดแปลงพันธุกรรมของเซลล์เม็ดเลือดขาวต่ออีกที
ที่ใช้เชื้อไวรัส HIV เพราะโดยธรรมชาติ เชื้อ HIV มีความสามารถในการจู่โจมเม็ดเลือดขาวชนิด T-cell อยู่แล้ว เมื่อ HIV เข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดขาวได้สำเร็จสามารถแทรกสารพันธุกรรมของไวรัสเข้าไปยังโครโมโซมของของ T-cell ได้ด้วย นักวิทยาศาสตร์จึงอาศัยความสามารถนี้ของไวรัสในการส่งถ่ายยีนที่ต้องการเข้าสู่เม็ดเลือดขาว T-cell อย่างเจาะจง
ไวรัสที่นำมาใช้ได้ถูกดัดแปลงโดยตัดส่วนที่เป็นอันตรายออก แทนที่ด้วยยีนที่ต้องการส่งถ่าย และยังทำให้ไวรัสติดเชื้อที่เซลล์เม็ดเลือดขาวได้เพียงครั้งเดียว T-cell ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมแล้ว นักวิทยาศาสตร์เรียกมันว่า เซลล์ไคมีร่า (Chimaera) ซึ่งมาจากสัตว์ในตำนานกรีก มีส่วนผสมของสัตว์หลายชนิดในตัวเดียว
เซลล์ไคมีร่ามีคุณสมบัติที่เพิ่มเติมจาก T-cell ปกติ คือ สามารถจดจำเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ เนื่องจากยีนที่เชื้อ HIV ส่งถ่ายให้นั้น ทำให้เซลล์ไคมีร่าสามารถสร้างโปรตีนตัวรับบนผิวเซลล์ที่จำเพาะต่อแอนติเจน CD-19 ซึ่งพบมากบนผิวเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เป็นมะเร็ง เซลล์ไคมีร่าจึงสามารถเข้าจับและทำลายเซลล์มะเร็งได้อย่างถูกต้อง
นอกจากนี้ การดัดแปลงพันธุกรรมยังทำให้เซลล์ไคมีร่าสามารถแบ่งเซลล์ได้รวดเร็วกว่าเดิม เพื่อให้ทันกับอัตราในการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งด้วย
เมื่อได้เซลล์ไคมีร่าเพียงพอ นักวิทยาศาสตร์จะฉีดเข้าสู่ร่างกายอาสาสมัครที่เป็นโรคลูคีเมีย หลังจากนั้นสองสัปดาห์ ผู้ป่วยก็เริ่มมีอาการคลื่นไส้และมีไข้ ซึ่งคาดว่ามีสาเหตุมาจากการที่เซลล์มะเร็งเริ่มถูกทำลาย
หลังจากรักษาด้วยวิธีนี้อยู่หลายเดือน ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น เซลล์มะเร็งมีปริมาณลดลง มีการตอบสนองต่อยาต้ารมะเร็งมากขึ้น ซึ่งนับว่าวิธีการนี้ประสบความสำเร็จในการทำลายเซลล์มะเร็ง
ตามแผนของผู้วิจัย เซลล์ไคมีร่าควรจะทำงานอยู่ในเลือดของผู้ป่วย เป็นเวลาหลายเดือน หลังจากนั้นจะกลายเป็น memory T-cell ซึ่งจะจำรูปแบบของเซลล์มะเร็งไว้ และป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งชนิดเดิม เพิ่มจำนวนกลับมาอีก
วิธีการนี้ถือว่าค่อนข้างปลอดภัย แต่ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีก เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่เข้ารับการทดสอบในเฟสแรกนั้นยังจำเป็นต้องรับการยาเสริมภูมิคุ้มกันอยู่ เนื่องโมเลกุลเป้าหมาย CD-19 นั้นก็มีอยู่ในเซลล์ภูมิคุ้มกันแบบปกติเช่นกัน ทำให้เซลล์ไคมีร่ามีโอกาสโจมตีเซลล์เม็ดเลือดขาวปกติด้วย
อย่างไรก็ตาม มีนักวิทยาศาสตร์บางท่านเตือนว่า เซลล์ไคมีร่าและ memory T-cell นี้อาจจะสร้างปัญหาในภายหลังได้ หากไม่สามารถควบคุมได้ก็มีโอกาสกลายเป็นเซลล์มะเร็งเสียเอง นอกจากนี้ผลข้างเคียงในระยะยาวก็ยังไม่ได้รับการศึกษาเช่นกัน
ส่วนทางกลุ่มวิจัยเรื่องนี้กำลังวางแผนจะทดสอบกับผู้ป่วยอีก 4 รายที่เป็นโรคเดียวกัน ก่อนที่จะนำไปทดสอบในเฟสต่อไป
แม้จะยังอยู่ในขั้นทดลองและประเมินความปลอดภัย แต่ก็นับว่าวิธีการนี้ทำให้ผู้ป่วยลูคีเมียมีความหวังขึ้นมา และยังเปิดมุมมองใหม่ๆ ในการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่มะเร็งเม็ดเลือดเท่านั้น เพราะหากศึกษาจนมีองค์ความรู้มากพอ หลักการเดียวกันนี้อาจนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ได้เช่นกัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กลุ่มหลังคาเดียวกัน
Report by LIV Capsule (APCOcap)
เทคนิคใหม่ ใช้เชื้อ HIV ช่วยในการรักษาโรคลูคีเมีย
ไวรัส HIV จึงเป็นเชื้อโรคที่ใครๆ ก็กลัว และพยายามหาวิธีกำจัดเรื่อยมา แต่นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแพนซิลวาเนียกลับมองมุมกลับ คือ พยายามใช้ประโยชน์จากเชิ้อ HIV โดยนำมาช่วยในการรักษาโรคลูคีเมีย นับเป็นแนวคิดที่แหวกแนวเป็นอย่างยิ่ง
โรคลูคีเมีย (Leukemia) หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นความผิดปกติทางโลหิตวิทยา เกิดจากความผิดปกติในการแบ่งเซลล์เม็ดเลือดในไขกระดูก โรคลูคีเมียแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ ชนิดเฉียบพลัน (acute leukemia) และชนิดเรื้อรัง (chronic leukemia) ซึ่ง 2 ประเภทนี้ต่างกันตรงที่
ลูคีเมียชนิดเฉียบพลัน เป็นความผิดปกติที่เกิดในระยะที่เซลล์เม็ดเลือดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ มักเกิดกับ เซลล์ Lymphoblast หรือ Myeloblast เซลล์เหล่านี้จึงไม่สามารถพัฒนาต่อไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่สมบูรณ์ได้ ร่างกายจึงขาด T-cell B-Cell และ Natural Killer รวมทั้ง Granulocyte ชนิดต่างๆ ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแออย่างมาก
นอกจากนี้ เซลล์เม็ดเลือดที่เป็นมะเร็งยังไปเบียดบังการเจริญของเซลล์เม็ดเลือดแดง และเกร็ดเลือด ทำให้มีอาการซีด อ่อนเพลีย มีเลือดออกผิดปกติ ติดเชื้อได้ง่านและเสียชีวิตในเวลาอันสั้น
ลูคีเมียชนิดเรื้อรัง เป็นความผิดปกติที่เกิดในระยะที่เซลล์เม็ดเลือดขาวที่พัฒนาสมบูรณ์แล้ว พบมากในเซลล์ Granulocyte และ B lymphocyte ซึ่งมีหน้าที่เฉพาะอย่าง แต่เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดอื่นๆ ยังทำงานได้อยู่ โรคจึงไม่แสดงอาการรุนแรงมากนัก ผู้ป่วยลูคีเมียส่วนใหญ่มักเป็นโรคลูคีเมียชนิดเรื้อรังที่เกิดกับเซลล์ B lymphocyte หรือ ที่เรียกว่า B-cell chronic lymphocytic leukemia (CLL)
โดยปกติแล้วเม็ดเลือดขาวมีหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค รวมทั้งคอยตรวจสอบเซลล์ที่ผิดปกติ และทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกาย เมื่อเม็ดเลือดขาวผิดปกติเสียเอง ย้อนกลับมาทำร้ายร่างกายเสียเอง การรักษาเยียวยาจึงเป็นเรื่องยาก
แต่ล่าสุด ดร.ไมเคิล คาลอส นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแพนซิลวาเนียได้ทดลองใช้แนวทางใหม่ในการรักษาลูคีเมีย โดยอาศัยเชื้อไวรัส HIV ที่ดัดแปลงพันธุกรรมแล้ว ช่วยในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell เพื่อดัดแปลงพันธุกรรมของเซลล์เม็ดเลือดขาวต่ออีกที
ที่ใช้เชื้อไวรัส HIV เพราะโดยธรรมชาติ เชื้อ HIV มีความสามารถในการจู่โจมเม็ดเลือดขาวชนิด T-cell อยู่แล้ว เมื่อ HIV เข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดขาวได้สำเร็จสามารถแทรกสารพันธุกรรมของไวรัสเข้าไปยังโครโมโซมของของ T-cell ได้ด้วย นักวิทยาศาสตร์จึงอาศัยความสามารถนี้ของไวรัสในการส่งถ่ายยีนที่ต้องการเข้าสู่เม็ดเลือดขาว T-cell อย่างเจาะจง
ไวรัสที่นำมาใช้ได้ถูกดัดแปลงโดยตัดส่วนที่เป็นอันตรายออก แทนที่ด้วยยีนที่ต้องการส่งถ่าย และยังทำให้ไวรัสติดเชื้อที่เซลล์เม็ดเลือดขาวได้เพียงครั้งเดียว T-cell ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมแล้ว นักวิทยาศาสตร์เรียกมันว่า เซลล์ไคมีร่า (Chimaera) ซึ่งมาจากสัตว์ในตำนานกรีก มีส่วนผสมของสัตว์หลายชนิดในตัวเดียว
เซลล์ไคมีร่ามีคุณสมบัติที่เพิ่มเติมจาก T-cell ปกติ คือ สามารถจดจำเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ เนื่องจากยีนที่เชื้อ HIV ส่งถ่ายให้นั้น ทำให้เซลล์ไคมีร่าสามารถสร้างโปรตีนตัวรับบนผิวเซลล์ที่จำเพาะต่อแอนติเจน CD-19 ซึ่งพบมากบนผิวเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เป็นมะเร็ง เซลล์ไคมีร่าจึงสามารถเข้าจับและทำลายเซลล์มะเร็งได้อย่างถูกต้อง
นอกจากนี้ การดัดแปลงพันธุกรรมยังทำให้เซลล์ไคมีร่าสามารถแบ่งเซลล์ได้รวดเร็วกว่าเดิม เพื่อให้ทันกับอัตราในการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งด้วย
เมื่อได้เซลล์ไคมีร่าเพียงพอ นักวิทยาศาสตร์จะฉีดเข้าสู่ร่างกายอาสาสมัครที่เป็นโรคลูคีเมีย หลังจากนั้นสองสัปดาห์ ผู้ป่วยก็เริ่มมีอาการคลื่นไส้และมีไข้ ซึ่งคาดว่ามีสาเหตุมาจากการที่เซลล์มะเร็งเริ่มถูกทำลาย
หลังจากรักษาด้วยวิธีนี้อยู่หลายเดือน ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น เซลล์มะเร็งมีปริมาณลดลง มีการตอบสนองต่อยาต้ารมะเร็งมากขึ้น ซึ่งนับว่าวิธีการนี้ประสบความสำเร็จในการทำลายเซลล์มะเร็ง
ตามแผนของผู้วิจัย เซลล์ไคมีร่าควรจะทำงานอยู่ในเลือดของผู้ป่วย เป็นเวลาหลายเดือน หลังจากนั้นจะกลายเป็น memory T-cell ซึ่งจะจำรูปแบบของเซลล์มะเร็งไว้ และป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งชนิดเดิม เพิ่มจำนวนกลับมาอีก
วิธีการนี้ถือว่าค่อนข้างปลอดภัย แต่ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีก เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่เข้ารับการทดสอบในเฟสแรกนั้นยังจำเป็นต้องรับการยาเสริมภูมิคุ้มกันอยู่ เนื่องโมเลกุลเป้าหมาย CD-19 นั้นก็มีอยู่ในเซลล์ภูมิคุ้มกันแบบปกติเช่นกัน ทำให้เซลล์ไคมีร่ามีโอกาสโจมตีเซลล์เม็ดเลือดขาวปกติด้วย
อย่างไรก็ตาม มีนักวิทยาศาสตร์บางท่านเตือนว่า เซลล์ไคมีร่าและ memory T-cell นี้อาจจะสร้างปัญหาในภายหลังได้ หากไม่สามารถควบคุมได้ก็มีโอกาสกลายเป็นเซลล์มะเร็งเสียเอง นอกจากนี้ผลข้างเคียงในระยะยาวก็ยังไม่ได้รับการศึกษาเช่นกัน
ส่วนทางกลุ่มวิจัยเรื่องนี้กำลังวางแผนจะทดสอบกับผู้ป่วยอีก 4 รายที่เป็นโรคเดียวกัน ก่อนที่จะนำไปทดสอบในเฟสต่อไป
แม้จะยังอยู่ในขั้นทดลองและประเมินความปลอดภัย แต่ก็นับว่าวิธีการนี้ทำให้ผู้ป่วยลูคีเมียมีความหวังขึ้นมา และยังเปิดมุมมองใหม่ๆ ในการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่มะเร็งเม็ดเลือดเท่านั้น เพราะหากศึกษาจนมีองค์ความรู้มากพอ หลักการเดียวกันนี้อาจนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ได้เช่นกัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กลุ่มหลังคาเดียวกัน
Report by LIV Capsule (APCOcap)