ประการแรก นี่เป็นการ์ตูนที่ภาพ animated landscape สวยมากๆ และทีมผู้สร้างคงตั้งใจนำมาเป็นจุดขายของหนัง เพราะเห็นเน้นตั้งแต่ใน trailer แล้ว แต่คือสวยมากจริงๆนะ ทุกฉากในหนังต้องมีการอวดภาพทิวทัศน์สวยๆ ทั้งภูเขา แม่น้ำ ทุ่งหญ้า ป่าไม้ แล้วลงรายละเอียดได้เหมือนจริงๆมาก แค่ได้เห็นภาพพวกนี้ก็เรียกได้ว่าคุ้มแล้ว ซึ่ง The Lion King ก็ทำได้สวยมากและประณีตไม่แพ้กัน และมีฉากวิวทิวทัศน์เป็นจุดเด่นจุดขายเหมือนกัน เพียงแต่อันนั้นเป็นการ์ตูนวาดมือ เลยเทียบกันไม่ได้ว่าของใครสวยกว่า
ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องนี้ เรียกได้ว่า เป็นแนว coming-of-age กะ road movie ก็ได้นะ ตอนไปดู ส่วนมากเป็นฝรั่งผู้ใหญ่ ทั้งโรงเหมือนมีที่เป็นน้องเด็กผู้ชายฝรั่งคนเดียว(มากะแม่)
หลังจากดูการ์ตูนสั้นของ pixar ที่ฉายปะหน้าการ์ตูนเรื่องนี้จบลง หนังก็เริ่มต้นเรื่องจากการที่อุกกาบาตพุ่งพลาดเป้า ผ่านโลกไป ฟิ้ววววว ทำให้เหล่าไดโนเสาร์จึงไม่ได้สูญพันธ์ แต่มีชีวิตอยู่ยืนยาวต่อมาจนมีพัฒนาการการใช้ชีวิตที่ก้าวหน้ามากขึ้น โดยอย่างครอบครัวของไดโนเสาร์คอยาวตัวเอกของเรื่อง ก็มีการสร้างบ้าน สร้างรั้ว หว่านไถทำไร่ข้าวโพด รดน้ำดูแล เก็บเกี่ยวผลผลิต ทำยุ้งฉางเก็บอาหาร พูดง่ายๆ พัฒนาการเหมือนมนุษย์ยุคแรกๆกันเลยทีเดียว!!
ครอบครัวไดโนเสาร์ตัวเขียวคอยาว ประกอบไปด้วยพ่อแม่ และเจ้าสามพี่น้อง โดยพระเอกของเราชื่อ อาโล เป็นตัวน้องสุดท้องที่มีปัญหาใหญ่คือ กลัวทุกอย่าง ตั้งแต่แมลงตัวเล็กๆ ไปจนถึงไก่ที่พ่อแม่เลี้ยงไว้
นอกเหนือจาก theme หลักเรื่อง การเอาชนะความกลัว ที่หนังใช้เป็นจุดขายตั้งแต่ใน trailer ตัวแรกที่ปล่อยมาแล้ว บทภาพยนตร์ยังสอดแทรกเรื่อง make one’s own mark (แต่ในหนังจะใช้ว่า earn one’s own mark นะ) เอาไว้อย่างตรงตัว คือ เมื่อสมาชิกในครอบครัวตัวใดได้ทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่จะได้ประทับรอยเท้าไว้ที่ยุ้งฉางของครอบครัว เป็นเหมือนโล่ประกาศเกียรติคุณ (ใน The Lion King ก็มีเรื่องการเอาชนะความกลัว แต่จะเป็นการกลัวอดีต แล้วก็มีเรื่อง make one's own mark เหมือนกันนะ เพราะคือเคยอ่านเจอว่า การเดินทางของ Simba เป็นการเดินทางที่มีองค์ประกอบแบบ Hero's journey ซึ่งอย่าลืมนะว่า การเดินทางแบบ Hero's journey นั้น ผลลัพธ์จัดว่าก็เป็นการ make one's own mark ได้เช่นกัน)
เจ้าอาโลเป็นตัวเดียวที่วันๆเอาแต่กลัวโน่นกลัวนี้จนไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันสักที จึงเหลือเพียงอาโลที่ยังไม่มีรอยประทับเป็นของตัวเองสักที พ่ออยากให้อาโลกล้าหาญและมี mark เป็นของตัวเองวันหนึ่งพ่อจึงมอบหมายภารกิจให้อาโลฆ่าเจ้าตัวอะไรสักอย่างที่ชอบมาแอบขโมยอาหารที่สะสมไว้กิน แต่เจ้าอาโลก็ดันทำพลาดเพราะความกลัวและสงสาร “เจ้าลูกมนุษย์ตัวเล็กๆ” ที่มาขโมยข้าวโพด อาโลจึงตัดสินใจปล่อยลูกมนุษย์ไป แล้วหลอกพ่อว่า เจ้าตัวนั้นหนีไปได้เอง แล้วอาโลเองก็กลัวมาก จึงปล่อยมันหนีไปได้
ตรงนี้หนังก็เล่นกับประเด็นความคาดหวังจากครอบครัว สะท้อนสังคมสมัยใหม่ สังเกตจากที่พ่อของอาโลโมโหมากที่อาโลไม่ได้เรื่อง ไม่ได้ดังใจ ไม่มีผลงานโดดเด่นเหมือนพี่น้องตัวอื่น พ่อจึงบังคับอาโลไปล่าเจ้าตัวเล็กด้วยกันขณะมีพายุ จนอาโลบาดเจ็บ พ่ออาโลจึงได้สติและรู้สึกผิดที่โมโหรุนแรง แล้วจึงจะพาอาโลกลับบ้าน แต่แล้วดันมีคลื่นน้ำยักษ์พัดมาเสียก่อน พ่อช่วยให้อาโลหนีไปได้ แต่กลับทำให้ตัวเองหนีไม่ทัน โดนคลื่นยักษ์พัดไป.....
แล้วหนังก็ตัดมาเป็นภาพหลุมศพของพ่ออาโลเลย อย่างไรก็ตาม “ฉากดราม่าพ่อตาย” นี้ยังห่างไกลห่างชั้นจากที่ The Lion King ทำไว้ อันนั้นดูกี่รอบก็ยังร้องไห้หรือไม่ก็น้ำตาซึมตลอด แปลกนะ เท่าที่สังเกต การ์ตูนดีสนีย์/พิกซ่าร์จะอยู่กับประเด็นพ่อลูก มากกว่า แม่ลูก นะ ไม่ว่าจะ The Lion King, Finding Nemo, The good dinosaur
อยู่มาวันหนึ่ง อาโลเจอเจ้าตัวเล็กมาขโมยอาหารอีก จึงโมโหมากแล้วโวยวายใส่เจ้าตัวเล็กว่า เป็นต้นเหตุให้พ่อตาย แล้วไล่จับกันจนอาโลพลัดตกน้ำและโดนน้ำพัดไปไกลจากบ้าน อาโลผู้เป็นไดโนเสาร์ขี้กลัวมาทั้งชีวิตถึงคราวต้องเผชิญโลกกว้างเพียงตัวเดียว คงจะลำบากไม่น้อย แต่ยังโชคดีที่อาโลได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าตัวเล็กอยู่เป็นระยะๆ อาจเป็นเพราะเจ้าตัวเล็กอยากตอบแทนที่อาโลเคยไว้ชีวิต ปล่อยไปไม่ฆ่าทิ้ง ประกอบกับอยากมีเพื่อน (เพราะต่อมา หนังเฉลยว่า เจ้าตัวเล็กก็สูญเสียครอบครัวไปเหมือนกันกับอาโล แต่หนักกว่า คือเสียไปหมดทั้งพ่อแม่เลย จึงต้องอยู่คนเดียว เรียกได้ว่า ประเด็นความสูญเสียเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่หนังเน้นตลอด) จนในที่สุดทั้งสองก็จับพลัดจับผลูเป็นเพื่อนรักกัน อาโลตั้งชื่อให้เจ้าตัวเล็กว่า “Spot” แล้วทั้งคู่ก็ออกผจญภัยต่างๆนานาเพื่อเดินทางกลับบ้านด้วยกัน ทั้งสองเจอไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติธรรมชาติ หรือภัยร้ายจากไดโนเสาร์หรือสัตว์โลกชนิดอื่นๆ
ภาพยนตร์ยังสอดแทรกอะไรสอนเด็กๆอีกเยอะเหมือนกัน อย่างตัวร้ายของเรื่องที่เป็นพวกแก๊งไดโนเสาร์มีปีก ตอนแรกที่โผล่เข้ามาในเรื่องหลังเกิดพายุ อารมณ์ประมาณไดโนเสาร์ใจงาม ทำตัวเป็นเหมือนหน่วยกู้ภัย ทำทีเหมือนจะมาช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากพายุ แต่ที่ไหนได้ ตอนเฉลยว่าพวกนี้โผล่มาเพื่อออกล่าเหยื่อที่เป็นเหล่าเพื่อนสัตว์ที่เพิ่งเดือดร้อนจากภัยพิบัติ อย่างตอนจิ้งจอกน้อยโดนจับกิน จำได้ว่า คนทั้งโรงตกใจไม่แพ้อาโลพระเอกของเราที่ตอนแรกนึกว่าพวกนี้เป็นพวกมาดี
(บุคลิกของเจ้าไดโนเสาร์บินได้พวกนี้ดูเหมือนฝูงไฮยีนาตัวร้ายใน The Lion King เฉพาะบุคลิกนะ)
ดังนั้น อาโลก็เป็นเหมือนเด็กน้อยใสซื่อที่โดนพวกไดโนเสาร์บินได้หลอกใช้ โดยตอนแรกก็ใช้วิธีสัญญาว่าจะพากลับบ้าน (เพื่อหลอกให้ตายใจและหลอกเอาไว้ใช้งาน) ก่อนจะเนียนขอให้อาโลจอมซื่อช่วยจิ้งจอกน้อยที่ติดอยู่ในซอกหินออกมาให้ได้ เพียงเพื่อจะเฉลยธาตุแท้โดยการจับจิ้งจอกน้อยกินต่อหน้าต่อตา จนอาโลของเราเงิบหงายไปเลย
แต่สำหรับฝ่ายพวกที่ดูหน้าตาน่ากลัวอย่างทีเร็กซ์สามตัวในเรื่อง ที่หนังนำเสนอเจ้าสามตัวในรูปแบบเหมือนเป็นคาวบอยตะวันตก มีการเป็นเจ้าของฝูงสัตว์ ไล่ต้อนฝูงสัตว์ ต่อสู้กับพวกโจรขโมยฝูงสัตว์ ทีเร็กซ์สามตัวนี้มีบุคลิกและหน้าตาโหดร้าย อีกทั้งยังมีพฤติกรรมแบบเถื่อนๆ แต่จริงๆกลับเป็นฝ่ายดี ตรงไปตรงมา ไม่หลอกใช้อาโล แต่กลับช่วยเหลืออาโลด้วยซ้ำ
หลังจากผ่านอะไรด้วยกันมามาก ก็ถึงเวลาที่อาโลต้องเป็นฝ่ายช่วย Spot บ้าง (หลังจากเป็นถูกช่วยมาเกือบทั้งเรื่อง 555) เมื่อ Spot โดนกลุ่มไดโนเสาร์บินได้ลักพาตัวเพื่อจะเอาไปกิน ในตอนนั้นอาโลเลือกที่จะเอาชนะความกลัวแล้วเดินทางไปช่วยเพื่อน ทั้งๆที่กำลังจะถึงบ้านอยู่แล้ว โดยนอกจากจะต่อสู้ความกลัวในใจ(กลัวพายุเพราะเป็นพายุแบบเดียวกับที่พรากพ่อไป แต่อาโลก็ฝ่าพายุไปช่วยเพื่อน) ความกลัวที่อยู่ตรงหน้า(ต่อสู้กับพวกไดโนเสาร์บินได้) แล้วภาพยนตร์ยังเล่นกับประเด็นการแก้ไขสิ่งที่ติดค้างอยู่ในใจ เพราะอาโลตัดสินใจกระโดดฝ่าคลื่นยักษ์แบบที่เคยพัดพ่อไปเพื่อไปช่วย Spot ไม่ให้ต้องพบจุดจบเดียวกับพ่อของอาโลอีก
แล้วหนังก็มีประเด็นเกี่ยวกับการต้องจากลากันของมิตรสหายสองเผ่าพันธุ์ เหมือนใน Ice Age ภาคแรก ที่สุดท้าย ต่างฝ่ายต่างก็ต้องกลับไปอยู่กับครอบครัวและเผ่าพันธุ์ของตัวเองโดยอาโลที่ตอนแรกที่มองเห็นมนุษย์คนอื่น อาโลยังทำใจไม่ได้และไม่ต้องการให้ Spot ไปอยู่กับมนุษย์ด้วยกัน แต่พอตอนหลังที่อาโลเห็นมนุษย์เดินมาเป็นครอบครัว ต่างจากตอนแรกที่อาโลเห็นมนุษย์คนอื่นแค่คนเดียว พอมากันเป็นครอบครัว อาโลจึงเป็นฝ่ายเสียสละและเป็นฝ่ายยืนยันผลักดันให้ Spot ได้มีโอกาสได้กลับไปมีครอบครัวเป็นของตัวเองอีกครั้ง ทั้งๆที่อาโลจะเก็บ Spot ไว้อยู่ด้วยกันก็ได้ เพราะเห็นได้ชัดว่า Spot อยากอยู่กับอาโลมากๆ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ามิตรสหายต้องถึงการจากลา แต่ก็ไม่ได้แปลว่ามิตรภาพต้องจากไปด้วย
ฉากที่อาโลกลับถึงบ้าน แล้วตอนแรกแม่อาโลเข้าใจผิดปนตกใจนึกว่า อาโลเป็นพ่อของอาโลที่ตายไปแล้ว ฉากนี้ก็อารมณ์เดียวกับ The Lion King ตอนที่ Simba กลับบ้านที่หน้าผาทระนง แล้ว Sarabi แม่ของ Simba คิดว่า Simba คือ Mufasa พ่อของ Simba ที่ตายไปแล้ว แต่ต่างกันที่ว่า ใน The Lion King แม่เข้าใจผิดเพราะ Simba กลับมาตอนเป็นสิงโตหนุ่มแล้ว ไม่ใช่ลูกสิงโตตัวเล็กๆ Simba เลยไปดูคล้ายพ่อของตัวเอง แม่เลยเข้าใจผิด
แต่ใน The Good Dinosaur อาโลกลับบ้านโดยที่ยังเป็นเด็กเหมือนเดิม เพราะหายไปไม่นานแบบเจ้าสิงโต Simba แต่แม่ก็ยังเข้าใจผิด ตรงนี้สะท้อนว่า อาโลยังเป็นเด็กแหละถูกแล้ว แต่ไม่ใช่ไดโนเสาร์เด็กตัวเดิมที่โดนน้ำพัดไป แต่เป็นไดโนเสาร์ตัวใหม่ที่ผ่านการผจญภัยมากมาย สามารถเอาชนะความกลัวได้สำเร็จ และไม่ขี้ขลาดอีกต่อไปแล้ว เหมือนเติบโตขึ้น(แต่เป็นการเติบโตภายในนะ) แม่เลยเห็นอาโลแล้วเข้าใจผิดว่าเป็นไดโนเสาร์ที่โตแล้ว เลยเหมือนเห็นพ่ออาโลนั่นเอง ทั้งหมดนี้สะท้อนความเป็นหนัง Coming-of-age ได้ดีทีเดียว (The Lion King ก็มีความเป็นหนัง coming-of-age อยู่สูงพอกัน) แล้วในตอนจบ อาโลจึงได้มี (Earn) รอยประทับเป็นของตัวเอง.....
เรื่องนี้โดยรวมดูสนุก เพลินๆตากับภาพวิวที่สวยมาก ฉากหลังเลอค่าทั้งเรื่องค่ะ โดยมี Spot เป็นตัวขโมยซีนชั้นยอด เรียกได้ว่า คนดูจะจดจำเจ้าลูกมนุษย์ได้ดีกว่าพระเอกอาโลเสียอีก เพราะรูปร่างหน้าตาและพฤติกรรมที่โดดเด่น
คือแม้ว่า Spot จะไม่มีบทพูดเลย แต่เขาก็มีรูปลักษณ์ที่ดูตลก บ๊องๆ และน่ารัก อีกทั้งในเรื่องยังนำเสนอสลับให้ Spot มีสถานะเหมือนสัตว์เลี้ยงของเจ้าไดโนเสาร์อาโล (สลับกับมนุษย์หิน Flintstone ที่มีไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลี้ยง 555) ง่ายๆคือเป็นหมา เพราะท่าทางหลายอย่างเหมือนหมามาก ทั้งท่าเหมือนเกาหมัด ทำลิ้นห้อย ทักษะการดมกลิ่นชั้นยอด การหอน การขู่แบบหมาเวลาจะทำร้ายศัตรู การเคลื่อนไหวแบบสี่ขา ขนาดชื่อยังชื่อ Spot เลย! คิดดูซิ! เรียกได้ว่า เป็นการนำเสนอภาพมนุษย์ที่มีพฤติกรรมแบบสัตว์ แล้วดันไปเป็นสัตว์เลี้ยงของไดโนเสาร์อีกทีนึงด้วยนะ คือถ้าคนจะจำไม่ได้ก็ให้มันรู้ไป 555
จึงเรียกได้ว่า หนังเสนอมุมมองให้ผู้ใหญ่ได้กลับไปคิดต่อเล่นๆว่า ถ้าอุกกาบาตไม่พุ่งชนโลก ไดโนเสาร์ไม่สูญพันธ์ ใครจะวิวัฒนาการไปได้ไกลกว่ากันระหว่างคนกับไดโนเสาร์ แต่ไม่แน่ใจว่า ผู้สร้างได้สื่อถึงเรื่องว่า “คนอาจวิวัฒนาการไปได้แค่ระดับเป็นสัตว์เลี้ยงของไดโนเสาร์เท่านั้น” หรือเปล่า
สาเหตุที่ไม่แน่ใจ เพราะว่าพฤติกรรมของ Spot ที่เหมือนสุนัข ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะผู้สร้างจะสื่อว่า มนุษย์จะวิวัฒนาการไปได้แค่ระดับเป็นสัตว์เลี้ยงของไดโนเสาร์ หรือเพราะ Spot เติบโตมาคนเดียวเพราะสูญเสียครอบครัวไปหมดหรือเปล่า เลยมีพฤติกรรมเหมือนสัตว์เพราะต้องเอาตัวรอดในโลกกว้างให้ได้ตัวเดียว Spot เลยวิวัฒนาการตัวเองไปเหมือนสัตว์อย่างเช่นหมา เพราะว่าอย่างหมาต่อให้พ่อหมาแม่หมาตายไปหมด แต่ถ้าลูกหมาหย่านมแล้ว (และถ้าชีวิตไม่ซวยจนเกินไป) ลูกหมาก็จะยังสามารถเอาตัวรอดและมีชีวิตอยู่ได้นะ เผลอๆอยู่รอดไปได้จนอยู่เป็นหมาแก่ๆเลยก็มี
อีกทั้งเพราะตอนใกล้จะจบที่ Spot เจอมนุษย์ แล้วมนุษย์ก็พา Spot ไปอยู่ด้วย ถ้าสังเกตดีๆ จะพบว่าเป็นครั้งแรกที่ Spot ลุกขึ้นเดินสองขาเป็นครั้งแรก แสดงว่า Spot อาจมีพฤติกรรมเหมือนหมาเพราะสถานการณ์พาไป ไม่อย่างนั้นจะไม่รอดมีชีวิตอยู่บนโลกได้
เพราะพอมีกลุ่มมนุษย์มาพากลับไปอยู่ด้วย พฤติกรรม Spot ก็เหมือนคนขึ้นมาได้บ้างทันที แล้วกลุ่มคนกลุ่มนั้นเองก็ดูเหมือนมนุษย์ยุคแรกๆที่เราเรียนในวิชาประวัติศาสตร์ คือ ดูมีมีวัฒนธรรมในระดับหนึ่ง ใส่เสื้อผ้า อยู่กันเป็นครอบครัว อะไรอย่างงี้
การ์ตูนเรื่องนี้ให้ B+ ค่ะฉากสวยเลิศเลอ ตัวการ์ตูนออกแบบน่ารัก แต่คือจริงๆมันเป็นการ์ตูนที่ดูสนุกแต่ไม่สุดนะ ฉากซึ้ง ไม่ว่าจะซึ้งแบบไหน แบบครอบครัว แบบมิตรภาพ แบบการพลัดพรากสูญเสีย ล้วนแต่ซึ้งดีนะ แต่ก็ซึ่งไม่สุด เช่น.....
อย่างฉากพ่อไดโนเสาร์ตายก็ไม่ซึ้งเท่าพ่อสิงโตตายใน The Lion King
อย่างตอนฉากครอบครัวได้กลับมาเจอกันก็ไม่ซึ้งเท่า Finding Nemo (พ่อลูกปลาการ์ตูน)
อย่างตอนมิตรภาพต้องถึงการจากลาก็ไม่ซึ่งเท่า The Fox and the wound (หญิงชรากับหมาจิ้งจอก)
[Spoil] The Good Dinosaur กับบางประเด็นที่ทำให้นึกถึง The Lion King !! แล้วเพื่อนๆล่ะ คิดยังไงกันบ้าง
ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องนี้ เรียกได้ว่า เป็นแนว coming-of-age กะ road movie ก็ได้นะ ตอนไปดู ส่วนมากเป็นฝรั่งผู้ใหญ่ ทั้งโรงเหมือนมีที่เป็นน้องเด็กผู้ชายฝรั่งคนเดียว(มากะแม่)
หลังจากดูการ์ตูนสั้นของ pixar ที่ฉายปะหน้าการ์ตูนเรื่องนี้จบลง หนังก็เริ่มต้นเรื่องจากการที่อุกกาบาตพุ่งพลาดเป้า ผ่านโลกไป ฟิ้ววววว ทำให้เหล่าไดโนเสาร์จึงไม่ได้สูญพันธ์ แต่มีชีวิตอยู่ยืนยาวต่อมาจนมีพัฒนาการการใช้ชีวิตที่ก้าวหน้ามากขึ้น โดยอย่างครอบครัวของไดโนเสาร์คอยาวตัวเอกของเรื่อง ก็มีการสร้างบ้าน สร้างรั้ว หว่านไถทำไร่ข้าวโพด รดน้ำดูแล เก็บเกี่ยวผลผลิต ทำยุ้งฉางเก็บอาหาร พูดง่ายๆ พัฒนาการเหมือนมนุษย์ยุคแรกๆกันเลยทีเดียว!!
ครอบครัวไดโนเสาร์ตัวเขียวคอยาว ประกอบไปด้วยพ่อแม่ และเจ้าสามพี่น้อง โดยพระเอกของเราชื่อ อาโล เป็นตัวน้องสุดท้องที่มีปัญหาใหญ่คือ กลัวทุกอย่าง ตั้งแต่แมลงตัวเล็กๆ ไปจนถึงไก่ที่พ่อแม่เลี้ยงไว้
นอกเหนือจาก theme หลักเรื่อง การเอาชนะความกลัว ที่หนังใช้เป็นจุดขายตั้งแต่ใน trailer ตัวแรกที่ปล่อยมาแล้ว บทภาพยนตร์ยังสอดแทรกเรื่อง make one’s own mark (แต่ในหนังจะใช้ว่า earn one’s own mark นะ) เอาไว้อย่างตรงตัว คือ เมื่อสมาชิกในครอบครัวตัวใดได้ทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่จะได้ประทับรอยเท้าไว้ที่ยุ้งฉางของครอบครัว เป็นเหมือนโล่ประกาศเกียรติคุณ (ใน The Lion King ก็มีเรื่องการเอาชนะความกลัว แต่จะเป็นการกลัวอดีต แล้วก็มีเรื่อง make one's own mark เหมือนกันนะ เพราะคือเคยอ่านเจอว่า การเดินทางของ Simba เป็นการเดินทางที่มีองค์ประกอบแบบ Hero's journey ซึ่งอย่าลืมนะว่า การเดินทางแบบ Hero's journey นั้น ผลลัพธ์จัดว่าก็เป็นการ make one's own mark ได้เช่นกัน)
เจ้าอาโลเป็นตัวเดียวที่วันๆเอาแต่กลัวโน่นกลัวนี้จนไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันสักที จึงเหลือเพียงอาโลที่ยังไม่มีรอยประทับเป็นของตัวเองสักที พ่ออยากให้อาโลกล้าหาญและมี mark เป็นของตัวเองวันหนึ่งพ่อจึงมอบหมายภารกิจให้อาโลฆ่าเจ้าตัวอะไรสักอย่างที่ชอบมาแอบขโมยอาหารที่สะสมไว้กิน แต่เจ้าอาโลก็ดันทำพลาดเพราะความกลัวและสงสาร “เจ้าลูกมนุษย์ตัวเล็กๆ” ที่มาขโมยข้าวโพด อาโลจึงตัดสินใจปล่อยลูกมนุษย์ไป แล้วหลอกพ่อว่า เจ้าตัวนั้นหนีไปได้เอง แล้วอาโลเองก็กลัวมาก จึงปล่อยมันหนีไปได้
ตรงนี้หนังก็เล่นกับประเด็นความคาดหวังจากครอบครัว สะท้อนสังคมสมัยใหม่ สังเกตจากที่พ่อของอาโลโมโหมากที่อาโลไม่ได้เรื่อง ไม่ได้ดังใจ ไม่มีผลงานโดดเด่นเหมือนพี่น้องตัวอื่น พ่อจึงบังคับอาโลไปล่าเจ้าตัวเล็กด้วยกันขณะมีพายุ จนอาโลบาดเจ็บ พ่ออาโลจึงได้สติและรู้สึกผิดที่โมโหรุนแรง แล้วจึงจะพาอาโลกลับบ้าน แต่แล้วดันมีคลื่นน้ำยักษ์พัดมาเสียก่อน พ่อช่วยให้อาโลหนีไปได้ แต่กลับทำให้ตัวเองหนีไม่ทัน โดนคลื่นยักษ์พัดไป.....
แล้วหนังก็ตัดมาเป็นภาพหลุมศพของพ่ออาโลเลย อย่างไรก็ตาม “ฉากดราม่าพ่อตาย” นี้ยังห่างไกลห่างชั้นจากที่ The Lion King ทำไว้ อันนั้นดูกี่รอบก็ยังร้องไห้หรือไม่ก็น้ำตาซึมตลอด แปลกนะ เท่าที่สังเกต การ์ตูนดีสนีย์/พิกซ่าร์จะอยู่กับประเด็นพ่อลูก มากกว่า แม่ลูก นะ ไม่ว่าจะ The Lion King, Finding Nemo, The good dinosaur
อยู่มาวันหนึ่ง อาโลเจอเจ้าตัวเล็กมาขโมยอาหารอีก จึงโมโหมากแล้วโวยวายใส่เจ้าตัวเล็กว่า เป็นต้นเหตุให้พ่อตาย แล้วไล่จับกันจนอาโลพลัดตกน้ำและโดนน้ำพัดไปไกลจากบ้าน อาโลผู้เป็นไดโนเสาร์ขี้กลัวมาทั้งชีวิตถึงคราวต้องเผชิญโลกกว้างเพียงตัวเดียว คงจะลำบากไม่น้อย แต่ยังโชคดีที่อาโลได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าตัวเล็กอยู่เป็นระยะๆ อาจเป็นเพราะเจ้าตัวเล็กอยากตอบแทนที่อาโลเคยไว้ชีวิต ปล่อยไปไม่ฆ่าทิ้ง ประกอบกับอยากมีเพื่อน (เพราะต่อมา หนังเฉลยว่า เจ้าตัวเล็กก็สูญเสียครอบครัวไปเหมือนกันกับอาโล แต่หนักกว่า คือเสียไปหมดทั้งพ่อแม่เลย จึงต้องอยู่คนเดียว เรียกได้ว่า ประเด็นความสูญเสียเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่หนังเน้นตลอด) จนในที่สุดทั้งสองก็จับพลัดจับผลูเป็นเพื่อนรักกัน อาโลตั้งชื่อให้เจ้าตัวเล็กว่า “Spot” แล้วทั้งคู่ก็ออกผจญภัยต่างๆนานาเพื่อเดินทางกลับบ้านด้วยกัน ทั้งสองเจอไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติธรรมชาติ หรือภัยร้ายจากไดโนเสาร์หรือสัตว์โลกชนิดอื่นๆ
ภาพยนตร์ยังสอดแทรกอะไรสอนเด็กๆอีกเยอะเหมือนกัน อย่างตัวร้ายของเรื่องที่เป็นพวกแก๊งไดโนเสาร์มีปีก ตอนแรกที่โผล่เข้ามาในเรื่องหลังเกิดพายุ อารมณ์ประมาณไดโนเสาร์ใจงาม ทำตัวเป็นเหมือนหน่วยกู้ภัย ทำทีเหมือนจะมาช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากพายุ แต่ที่ไหนได้ ตอนเฉลยว่าพวกนี้โผล่มาเพื่อออกล่าเหยื่อที่เป็นเหล่าเพื่อนสัตว์ที่เพิ่งเดือดร้อนจากภัยพิบัติ อย่างตอนจิ้งจอกน้อยโดนจับกิน จำได้ว่า คนทั้งโรงตกใจไม่แพ้อาโลพระเอกของเราที่ตอนแรกนึกว่าพวกนี้เป็นพวกมาดี (บุคลิกของเจ้าไดโนเสาร์บินได้พวกนี้ดูเหมือนฝูงไฮยีนาตัวร้ายใน The Lion King เฉพาะบุคลิกนะ)
ดังนั้น อาโลก็เป็นเหมือนเด็กน้อยใสซื่อที่โดนพวกไดโนเสาร์บินได้หลอกใช้ โดยตอนแรกก็ใช้วิธีสัญญาว่าจะพากลับบ้าน (เพื่อหลอกให้ตายใจและหลอกเอาไว้ใช้งาน) ก่อนจะเนียนขอให้อาโลจอมซื่อช่วยจิ้งจอกน้อยที่ติดอยู่ในซอกหินออกมาให้ได้ เพียงเพื่อจะเฉลยธาตุแท้โดยการจับจิ้งจอกน้อยกินต่อหน้าต่อตา จนอาโลของเราเงิบหงายไปเลย
แต่สำหรับฝ่ายพวกที่ดูหน้าตาน่ากลัวอย่างทีเร็กซ์สามตัวในเรื่อง ที่หนังนำเสนอเจ้าสามตัวในรูปแบบเหมือนเป็นคาวบอยตะวันตก มีการเป็นเจ้าของฝูงสัตว์ ไล่ต้อนฝูงสัตว์ ต่อสู้กับพวกโจรขโมยฝูงสัตว์ ทีเร็กซ์สามตัวนี้มีบุคลิกและหน้าตาโหดร้าย อีกทั้งยังมีพฤติกรรมแบบเถื่อนๆ แต่จริงๆกลับเป็นฝ่ายดี ตรงไปตรงมา ไม่หลอกใช้อาโล แต่กลับช่วยเหลืออาโลด้วยซ้ำ
หลังจากผ่านอะไรด้วยกันมามาก ก็ถึงเวลาที่อาโลต้องเป็นฝ่ายช่วย Spot บ้าง (หลังจากเป็นถูกช่วยมาเกือบทั้งเรื่อง 555) เมื่อ Spot โดนกลุ่มไดโนเสาร์บินได้ลักพาตัวเพื่อจะเอาไปกิน ในตอนนั้นอาโลเลือกที่จะเอาชนะความกลัวแล้วเดินทางไปช่วยเพื่อน ทั้งๆที่กำลังจะถึงบ้านอยู่แล้ว โดยนอกจากจะต่อสู้ความกลัวในใจ(กลัวพายุเพราะเป็นพายุแบบเดียวกับที่พรากพ่อไป แต่อาโลก็ฝ่าพายุไปช่วยเพื่อน) ความกลัวที่อยู่ตรงหน้า(ต่อสู้กับพวกไดโนเสาร์บินได้) แล้วภาพยนตร์ยังเล่นกับประเด็นการแก้ไขสิ่งที่ติดค้างอยู่ในใจ เพราะอาโลตัดสินใจกระโดดฝ่าคลื่นยักษ์แบบที่เคยพัดพ่อไปเพื่อไปช่วย Spot ไม่ให้ต้องพบจุดจบเดียวกับพ่อของอาโลอีก
แล้วหนังก็มีประเด็นเกี่ยวกับการต้องจากลากันของมิตรสหายสองเผ่าพันธุ์ เหมือนใน Ice Age ภาคแรก ที่สุดท้าย ต่างฝ่ายต่างก็ต้องกลับไปอยู่กับครอบครัวและเผ่าพันธุ์ของตัวเองโดยอาโลที่ตอนแรกที่มองเห็นมนุษย์คนอื่น อาโลยังทำใจไม่ได้และไม่ต้องการให้ Spot ไปอยู่กับมนุษย์ด้วยกัน แต่พอตอนหลังที่อาโลเห็นมนุษย์เดินมาเป็นครอบครัว ต่างจากตอนแรกที่อาโลเห็นมนุษย์คนอื่นแค่คนเดียว พอมากันเป็นครอบครัว อาโลจึงเป็นฝ่ายเสียสละและเป็นฝ่ายยืนยันผลักดันให้ Spot ได้มีโอกาสได้กลับไปมีครอบครัวเป็นของตัวเองอีกครั้ง ทั้งๆที่อาโลจะเก็บ Spot ไว้อยู่ด้วยกันก็ได้ เพราะเห็นได้ชัดว่า Spot อยากอยู่กับอาโลมากๆ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ามิตรสหายต้องถึงการจากลา แต่ก็ไม่ได้แปลว่ามิตรภาพต้องจากไปด้วย
ฉากที่อาโลกลับถึงบ้าน แล้วตอนแรกแม่อาโลเข้าใจผิดปนตกใจนึกว่า อาโลเป็นพ่อของอาโลที่ตายไปแล้ว ฉากนี้ก็อารมณ์เดียวกับ The Lion King ตอนที่ Simba กลับบ้านที่หน้าผาทระนง แล้ว Sarabi แม่ของ Simba คิดว่า Simba คือ Mufasa พ่อของ Simba ที่ตายไปแล้ว แต่ต่างกันที่ว่า ใน The Lion King แม่เข้าใจผิดเพราะ Simba กลับมาตอนเป็นสิงโตหนุ่มแล้ว ไม่ใช่ลูกสิงโตตัวเล็กๆ Simba เลยไปดูคล้ายพ่อของตัวเอง แม่เลยเข้าใจผิด
แต่ใน The Good Dinosaur อาโลกลับบ้านโดยที่ยังเป็นเด็กเหมือนเดิม เพราะหายไปไม่นานแบบเจ้าสิงโต Simba แต่แม่ก็ยังเข้าใจผิด ตรงนี้สะท้อนว่า อาโลยังเป็นเด็กแหละถูกแล้ว แต่ไม่ใช่ไดโนเสาร์เด็กตัวเดิมที่โดนน้ำพัดไป แต่เป็นไดโนเสาร์ตัวใหม่ที่ผ่านการผจญภัยมากมาย สามารถเอาชนะความกลัวได้สำเร็จ และไม่ขี้ขลาดอีกต่อไปแล้ว เหมือนเติบโตขึ้น(แต่เป็นการเติบโตภายในนะ) แม่เลยเห็นอาโลแล้วเข้าใจผิดว่าเป็นไดโนเสาร์ที่โตแล้ว เลยเหมือนเห็นพ่ออาโลนั่นเอง ทั้งหมดนี้สะท้อนความเป็นหนัง Coming-of-age ได้ดีทีเดียว (The Lion King ก็มีความเป็นหนัง coming-of-age อยู่สูงพอกัน) แล้วในตอนจบ อาโลจึงได้มี (Earn) รอยประทับเป็นของตัวเอง.....
เรื่องนี้โดยรวมดูสนุก เพลินๆตากับภาพวิวที่สวยมาก ฉากหลังเลอค่าทั้งเรื่องค่ะ โดยมี Spot เป็นตัวขโมยซีนชั้นยอด เรียกได้ว่า คนดูจะจดจำเจ้าลูกมนุษย์ได้ดีกว่าพระเอกอาโลเสียอีก เพราะรูปร่างหน้าตาและพฤติกรรมที่โดดเด่น
คือแม้ว่า Spot จะไม่มีบทพูดเลย แต่เขาก็มีรูปลักษณ์ที่ดูตลก บ๊องๆ และน่ารัก อีกทั้งในเรื่องยังนำเสนอสลับให้ Spot มีสถานะเหมือนสัตว์เลี้ยงของเจ้าไดโนเสาร์อาโล (สลับกับมนุษย์หิน Flintstone ที่มีไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลี้ยง 555) ง่ายๆคือเป็นหมา เพราะท่าทางหลายอย่างเหมือนหมามาก ทั้งท่าเหมือนเกาหมัด ทำลิ้นห้อย ทักษะการดมกลิ่นชั้นยอด การหอน การขู่แบบหมาเวลาจะทำร้ายศัตรู การเคลื่อนไหวแบบสี่ขา ขนาดชื่อยังชื่อ Spot เลย! คิดดูซิ! เรียกได้ว่า เป็นการนำเสนอภาพมนุษย์ที่มีพฤติกรรมแบบสัตว์ แล้วดันไปเป็นสัตว์เลี้ยงของไดโนเสาร์อีกทีนึงด้วยนะ คือถ้าคนจะจำไม่ได้ก็ให้มันรู้ไป 555
จึงเรียกได้ว่า หนังเสนอมุมมองให้ผู้ใหญ่ได้กลับไปคิดต่อเล่นๆว่า ถ้าอุกกาบาตไม่พุ่งชนโลก ไดโนเสาร์ไม่สูญพันธ์ ใครจะวิวัฒนาการไปได้ไกลกว่ากันระหว่างคนกับไดโนเสาร์ แต่ไม่แน่ใจว่า ผู้สร้างได้สื่อถึงเรื่องว่า “คนอาจวิวัฒนาการไปได้แค่ระดับเป็นสัตว์เลี้ยงของไดโนเสาร์เท่านั้น” หรือเปล่า
สาเหตุที่ไม่แน่ใจ เพราะว่าพฤติกรรมของ Spot ที่เหมือนสุนัข ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะผู้สร้างจะสื่อว่า มนุษย์จะวิวัฒนาการไปได้แค่ระดับเป็นสัตว์เลี้ยงของไดโนเสาร์ หรือเพราะ Spot เติบโตมาคนเดียวเพราะสูญเสียครอบครัวไปหมดหรือเปล่า เลยมีพฤติกรรมเหมือนสัตว์เพราะต้องเอาตัวรอดในโลกกว้างให้ได้ตัวเดียว Spot เลยวิวัฒนาการตัวเองไปเหมือนสัตว์อย่างเช่นหมา เพราะว่าอย่างหมาต่อให้พ่อหมาแม่หมาตายไปหมด แต่ถ้าลูกหมาหย่านมแล้ว (และถ้าชีวิตไม่ซวยจนเกินไป) ลูกหมาก็จะยังสามารถเอาตัวรอดและมีชีวิตอยู่ได้นะ เผลอๆอยู่รอดไปได้จนอยู่เป็นหมาแก่ๆเลยก็มี
อีกทั้งเพราะตอนใกล้จะจบที่ Spot เจอมนุษย์ แล้วมนุษย์ก็พา Spot ไปอยู่ด้วย ถ้าสังเกตดีๆ จะพบว่าเป็นครั้งแรกที่ Spot ลุกขึ้นเดินสองขาเป็นครั้งแรก แสดงว่า Spot อาจมีพฤติกรรมเหมือนหมาเพราะสถานการณ์พาไป ไม่อย่างนั้นจะไม่รอดมีชีวิตอยู่บนโลกได้
เพราะพอมีกลุ่มมนุษย์มาพากลับไปอยู่ด้วย พฤติกรรม Spot ก็เหมือนคนขึ้นมาได้บ้างทันที แล้วกลุ่มคนกลุ่มนั้นเองก็ดูเหมือนมนุษย์ยุคแรกๆที่เราเรียนในวิชาประวัติศาสตร์ คือ ดูมีมีวัฒนธรรมในระดับหนึ่ง ใส่เสื้อผ้า อยู่กันเป็นครอบครัว อะไรอย่างงี้
การ์ตูนเรื่องนี้ให้ B+ ค่ะฉากสวยเลิศเลอ ตัวการ์ตูนออกแบบน่ารัก แต่คือจริงๆมันเป็นการ์ตูนที่ดูสนุกแต่ไม่สุดนะ ฉากซึ้ง ไม่ว่าจะซึ้งแบบไหน แบบครอบครัว แบบมิตรภาพ แบบการพลัดพรากสูญเสีย ล้วนแต่ซึ้งดีนะ แต่ก็ซึ่งไม่สุด เช่น.....
อย่างฉากพ่อไดโนเสาร์ตายก็ไม่ซึ้งเท่าพ่อสิงโตตายใน The Lion King
อย่างตอนฉากครอบครัวได้กลับมาเจอกันก็ไม่ซึ้งเท่า Finding Nemo (พ่อลูกปลาการ์ตูน)
อย่างตอนมิตรภาพต้องถึงการจากลาก็ไม่ซึ่งเท่า The Fox and the wound (หญิงชรากับหมาจิ้งจอก)