...เปิดประวัติ ‘สุเทพ‘ เรื่องที่คุณอาจจะยังไม่รู้ ?...

กระทู้คำถาม
นำเสนอข่าวโดยทีมงาน Sanook.com

เฟซบุ๊ก Suthep Thaugsuban (สุเทพ เทือกสุบรรณ)โพสต์ข้อความ วานนี้ (28 พ.ย.) เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติส่วนหนึ่งของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เผยต้นตระกูลเป็นทหารเอกในกรมพระราชวังบวร จบการศึกษาจาก มช. เริ่มเล่นการเมืองเมื่อปี 2522 โดยมีรายละเอียดดังนี้

เรื่องที่คุณอาจจะยังไม่รู้ของ กำนันสุเทพ เทือกสุบรรณ ชายผู้ไม่ยอมแพ้ แม้ถูกหยัน

ต้นตระกูลของกำนันสุเทพ สมัยสงครามเก้าทัพ พ.ศ. 2328 เป็นทหารเอกในกรมพระราชวังบวร(วังหน้า) ยกทัพมาตีเมืองท่าทอง(ปัจจุบันคือสุราษฏร์ฯ)คืนจากพม่า ชื่อนายสม พอวังหน้าตีเมืองคืนได้ ก็มอบหมายนายสมเป็นเจ้าเมือง ต่อมาได้รับตำแหน่ง พระวิสูตรสงครามรามภักดี เมื่อเสียชีวิตลง ลูกชายคนที่4 ชื่อเดชก็เป็นเจ้าเมืองสืบต่อมา ได้รับตำแหน่ง หลวงเทพพิทักษ์สุนทร(เดช)เจ้าเมืองท่าทอง ลูกชายหลวงเทพพิทักษ์(เดช)คนโต ชื่อนายครุฑ เป็นต้นตระกูลเทือกสุบรรณ สืบต่อมาอีก 3 รุ่น ก็มาเป็นลุงกำนันสุเทพของพวกเรา

ลุงกำนันเดินแขนงอๆ เหมือนกร่างๆ เพราะตอนเด็กประสบอุบัติเหตุ ตกเกวียน แขนหัก แล้วไปรักษากับหมอพื้นบ้าน รักษาผิดวิธี แขนขวาเลยยืดได้ไม่เกิน 90 องศา เป็นเหตุให้แกไม่เชื่อหมอพื้นบ้านอีกเลย ตอนขึ้นเวทีประชาชนราชดำเนิน เขาบอกให้ยกมือขวาแบบไมโครหน่อย แกบอกว่ายกได้แค่นี้ครับ

กำนันสุเทพ สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิต (รัฐศาสตร์) จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยในขณะที่ศึกษาอยู่ได้รับการเลือกให้เป็นประธานนักศึกษาของมหาวิทยาลัย และ ได้พบกับ คุณจุฑาภรณ์ ครองบุญ ภรรยาคนแรกที่นั่นเอง

กำนันสุเทพไปศึกษาต่อที่อเมริกาโดยบอกพ่อ(กำนันจรัส)ว่าได้ทุนไปเรียน แต่จริงๆมีเพียงค่าเครื่องบิน เมื่อลงเครื่องก็ไปล้างจานเพื่อหาค่าเทอมเลย แล้วทำงานสองกะต่อวัน(16 ชั่วโมง) เช่น โรงงานชำแหละเนื้อ โรงงานทำกระเป๋า ฯลฯ โดยไม่มีวันหยุดจน สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโท M.A. Political Sciences จาก Middle Tennesse State University ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2518

หลังจากสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโทกลับมา กำนันสุเทพได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น กำนันตำบลท่าสะท้อน ต่อจากกำนันจรัส ผู้เป็นบิดา และชนะเลือกตั้ง ทำให้ได้เป็นกำนัน ขณะมีอายุเพียงประมาณ 26 ปี โดยมีวุฒิการศึกษาระดับ ปริญญาโทจากเมืองนอก ขณะที่ประเทศไทยในช่วงนั้น รัฐมนตรีบางกระทรวง ยังจบการศึกษา แค่ประถมศึกษาปีที่ 4 นับเป็นกำนันปริญญาโท คนแรกของประเทศไทย

ต่อมากำนันสุเทพตัดสินใจลงเล่นการเมืองระดับประเทศ โดยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ ได้เป็น ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี สมัยแรกเมื่อปี พ.ศ. 2522 และหลังจากนั้นสามารถชนะเลือกตั้ง ได้เป็น ส.ส. อย่างต่อเนื่องถึง 10 สมัย และดำรงตำแหน่งสำคัญระดับรัฐมนตรี คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2 สมัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ รองนายกรัฐมนตรี

ภรรยาคนแรกของกำนันเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งด้วยอายุเพียง 39 ปีทิ้งให้กำนันเป็นทั้งพ่อและแม่ ดูแลลูกๆ 3 คน มาโดยตลอด หลังจากภรรยาเสียชีวิต ได้ไปบวชเรียนที่สวนโมกขพลาราม 40 วัน โดยมีท่านพุทธทาส ภิกขุ เป็นอาจารย์ และ ยังคงปฎิบัติเป็น "ศิษย์สวนโมกข์" อย่างสม่ำเสมอ

สมัยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำนันสุเทพถูกพรรคฝ่ายค้านคือพรรคชาติไทย ที่มีนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นหัวหน้าพรรค เปิดอภิปรายเรื่องการแจกที่ดินทำกินแก่เกษตรกร หรือที่เรียกกันว่า สปก.4-01 กำนันสุเทพลาออกจากรัฐมนตรีเพื่อพิสูจน์ข้อกล่าวหากับ ป.ป.ช โดย ป.ป.ช ในยุคนั้นได้ตัดสินเป็นเอกฉันท์ 9-0 ว่ากำนันไม่มีความผิด และไม่เคยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในชั้นศาลเกี่ยวกับกรณี สปก.4-01 แต่อย่างใด แต่ยังคงมีการนำกรณีดังกล่าว มาอ้างอิงเพื่อโจมตีทางการเมืองต่อสุเทพและพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด

กำนันสุเทพเป็นคนชอบการอ่านหนังสือเป็นอย่างยิ่ง และมีความสามารถในการอ่านหนังสือได้ทุกที่ และรวดเร็วมาก (2-3 เล่มต่อหนึ่งสัปดาห์เป็นอย่างน้อย) หนังสือที่อ่านมีทุกประเภท ตั้งแต่หนังสือวิชาการ นักสือการเมืองไปจนถึงหนังสือนิยายเด็กอย่างแฮร์รี่ พ๊อตเตอร์ เป็นที่มาของการใช้ภาษาบนเวทีปราศรัยได้อย่างถูกต้อง ส่วนหนังสือที่ชอบมากที่สุดได้แก่หนังสือนิยายกำลังภายในจีน คาดว่าจะเป็นที่มาของคำว่า "ผมขอคารวะ" ก่อนการปราศรัยบนเวทีประชาชน

http://news.sanook.com/1334398/

ประวัติสุเทพ เทือกสุบรรณ ศรีสกุล พร้อมพันธุ์ และครอบครัว
http://hilight.kapook.com/view/19078
..................................................................

เห็นมีคนถามๆประวัติ "ลุงกำนัน"มาเหมือนกัน
กลัวจะน้อยหน้า ดร.ทักษิณ..เลยเอามาให้อ่านกัน
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
เขียนได้งดงามราวกับคำไว้อาลัยก่อนปลงศพ
ความคิดเห็นที่ 12
เรื่องสุเทพ  เทือกสุบรรณ

คนไทยจำได้แค่เรื่อง สปก.4-01
มีอีกเรื่องครับ  ที่คนไทยลืม ไม่รู้


ปี 2538   ก็ปีเดียวกับเกิดเหตุ สปก.4-01 นั่นแหละครับ
สุเทพดำรงตำแหน่ง รมช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ได้อนุมัตโครงการสร้างโรงบ่มยางพาราในภาคใต้
ด้วยการอ้างว่าเป็นการพัฒนาคุณภาพยาง
สร้างในทุกตำบล ตำบลละสองโรง
ด้วยงบประมาณแผ่นดิน 900 ล้านบาท

ด้วยการจ้างผู้รับเหมารายเดียว !!!

ผลก็คือ โรงบ่มยางสร้างไม่เสร็จ
กลายเป็นโรงบ่มยางร้าง ผู้รับเหมาทิ้งงาน


ปี 2553
สุเทพเป็นรองนายกฯ

ได้อนุม้ติให้มีการสร้างสถานีตำรวจใหม่แทนของเก่า
ซึ่งเรียกกันว่าโครงการสร้างโรงพักทดแทน
จำนวน 361 โรงพักทั่วประเทศ
ด้วยงบประมาณหกพันล้านบาท

ด้วยการจ้างผู้รับเหมารายเดียว !!!

ผลก็คือ
การก่อสร้างโรงพักทดแทนได้สร้างความเดือดร้อนให้ตำรวจทั่วประเทศ
เพราะผู้รับเหมาทุบโรงพักเก่าเพื่อสร้างโรงพักใหม่
แต่การสร้างโรงพักใหม่กลับไม่คืบหน้า มีแค่เสาโรงพักโด่เด่
ตำรวจไม่มีโรงพักทำงาน
ต้องไปอาศัยวัดบ้าง โรงรถบ้าง โรงเรียนบ้าง ฯลฯ เป็นโรงพักจำเป็น
และสุดท้าย ผู้รับเหมาก็ทิ้งงาน


จากปี 2538   ถึงปี 2553    15 ปีผ่านไป
แต่วิธีการไม่เปลี่ยน   ผู้รับเหมาเจ้าเดียวเหมือนกันเด๊ะ



นี่คือเรื่องที่คุณอาจยังไม่รู้เกี่ยวกับสุเทพ   เทือกสุบรรณ
อมยิ้ม01
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่