สมัยเด็กผมเคยซื้อนิตยสาร”ดาราจอแก้ว” ไว้หลายเล่ม เก็บไว้มานาน 33 ปีแล้ว ดีนะรอดจากหนูจากปลวก จากน้ำท่วมมาได้ แล้วถ้าจะไม่เอามาตั้งกระทู้เล่าเรื่องให้คนรุ่นหลังได้รู้ก็กระไรอยู่ เพราะไ่ม่อยากให้ถูกหลงลืมไป
ผมอยากบอกว่าในประวัติศาสตร์ไทยมีนิตยสารเกี่ยวกับทีวีไทยที่ดัง ๆ แค่ไม่กี่ปกหรอก เช่น “ทีวีพูล” “บันเทิงทีวี” และก็มี “ดาราจอแก้ว” นี่ล่ะที่ดังจริง ๆ
แม้ดาราจอแก้วจะวางแผงแค่ปีเศษ แต่ก็มีอะไรหลายอย่างที่น่าจดจำ เพราะมี backup ใหญ่คือนิตยสาร” ภาพยนตร์บันเทิง”
เรียกว่ายุคปัจจุบันมีนิตยสาร”ทีวีพูล “ ของพี่ติ๋มที่โด่งดัง
ปี 2524-2525 ก็มีนิตยสาร”ดาราจอแก้ว” นั่นล่ะที่โด่งดัง
ผมว่ามาอ่านประวัติศาสตร์ตรงนี้กันดีกว่าครับ
กำเนิดนิตยสาร “ดาราจอแก้ว”
ปี 2518 เกิดความบูมด้านหนังญี่ปุ่นและหนังจีนชุดทางทีวีทำให้มี นิตยสารเกี่ยวกับดาราจีน ญี่ปุ่นออกมามากมาย เช่น “คาราเต้ทีวี” “ทีวีรีวิว” “ รีวิวทีวี” และมีนิตยสารเกี่ยวกับดาราทีวีไทยบ้างประปราย เช่น “ดาราโทรทัศน์” แต่ออกมาไม่กี่ฉบับก็ร้างหายไป
กระทั่งปี 2524 ในขณะที่นิตยสาร“ทีวีรีวิว” “ รีวิวทีวี” ซึ่งเกี่ยวกับดาราจีนญี่ปุ่นกำลังขายดีเป็นเทน้ำเทท่า แต่แผงหนังสือกลับร้างนิตยสารเกี่ยวกับละครและหนังทีวีไทย ทำให้คุณอุดม จงกมานนท์เจ้าของนิตยสาร ”ภาพยนตร์บันเทิง” ได้เล็งเห็นว่าการทำนิตยสารเกี่ยวกับดาราทีวีไทยออกมาขายบ้างน่าจะเป็นผลดี เพราะช่วงนั้น“ดาวพระศุกร์” นำแสดงโดยพล พลพร,มนฤดี ยมาภัย กำลังดังมาก
ดาราจอแก้วฉบับแรกปกมนฤดี มาภัยจากดาวพระศุกร์
คุณอุดม จงกมานนท์จึงได้เปิดตัวนิตยสาร”ดาราจอแก้ว” ฉบับปฐมฤกษ์ขึ้นในวันที่ 15 มีนาคม 2524 เป็นภาพปกของมนฤดี ยมาภัย นางเอกสาวยอดฮิตจากหนังทีวีเรื่อง “ดาวพระศุกร์”
ฉบับนี้ล่ะคือปฐมฤกษ์ของนิตยสารดาราจอแก้ว
นิตยสารดาราจอแก้ววางแผงทุกสัปดาห์ ราคาเล่มละ 7 บาท (เทียบค่าของเงินทุกวันนี้ก็น่าจะประมาณ 40 บาท)
ต่อมาดาราจอแก้วขยับราคาขึ้นเป็น 8 บาท (เทียบค่าของเงินทุกวันนี้ก็น่าจะประมาณ 45 บาท)
ทำไมต้องชื่อนิตยสาร “ดาราจอแก้ว”
ก็เพราะสมัยนั้นจอทีวียังทำเป็นแก้ว ไม่ได้เป็นจอ LCD และ ฯลฯ แบบทุกวันนี้ จอแก้วพอเอานิ้วไปเคาะจะดังก๊อง ๆ ๆ ๆ สมัยนี้บางบ้านอาจจะยังมีใช้อยู่
ในเล่มของดาราจอแก้วมีอะไรบ้างมาดูกันครับ
เป็นรูปเล่มภายในของนิตยสารดาราจอแก้ว ฉบับที่ 16 ปกพี่ตุ๋ย มนฤดี ยมาภัยจากเรื่องดอกโศก 2524
สัมภาษณ์ดาราทีวี
คุยกับนางเอกทีวี
เรื่องย่อละครทีวี
ชีวิตดาราดัง
นำดาราโทรทัศน์มาถ่ายแฟชั่นในหน้ากลาง
นิยายประจำฉบับเรื่องปิ่นมุก เคยเอามาสร้างเป็นละครมีอั้ม พัชราภาแสดง
ตอบจดหมายผู้อ่านจากทางบ้าน ตอนนั้นได้นางเอกดังคือพี่ไก่ ปริศนา วงศ์ศิริมาช่วยตอบ
ดาราจอแก้ว ประสบความสำเร็จทางการขายแค่ไหน
ขอบอกว่า นิตยสาร”ดาราจอแก้ว” ช่วงแรกขายดีขายดีเป็นเทน้ำเทท่าเลยครับ ผมอยู่ไกลปืนเที่ยงถึงอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ แต่ก็ยังมีนิตยสารนี้วางขาย
มีเรื่องขำ ๆ จะเล่าให้ฟัง ตอนนั้นผมเป็นเด็กเรียนเก่งมาก อาจารย์บอกว่าผมเรียนเก่งแบบนี้อนาคตต้องได้เป็นหมอหรือนักวิทยาศาสตร์ อาจารย์ต่างแอบกระซิบว่า “เด็กคนนี้คงชอบอ่านนนังสือวิทยาศาสตร์ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” แต่เปล่าเลยครับ ผมปั่นจักรยานไปที่แผงหนังสือที่ตลาด ซื้อนิตยสาร”ดาราจอแก้ว” มาอ่านต่างหาก นิตยสาร “ดาราจอแก้ว” ที่นำมาโพสให้ท่านได้ชมก็คือหนังสือที่ผมเก็บไว้มาตั้งแต่ชั้นประถมทั้งนั้น 33 ปีแล้วครับ ผมชอบเขียนบทละคร ชอบจัดผังรายการทีวีเล่นตั้งแต่เรียนป. 1 น่าเสียดายนะ ผมชอบด้านนี้แต่ตอนโตกลับพลิกล๊อคไปทำงานด้านอื่นเสียนี่
คู่แข่งดาราจอแก้ว
พอดาราจอแก้วขายดี ก็มีนายทุนคนอื่นเริ่มทำนิตยสารเกี่ยวกับดาราทีวีไทยขึ้นมาบ้าง เช่น นิตยสาร "จอแก้ว" และ "ดารา TV และภาพยนตร์" แต่ก็อยู่ไม่นานก็ล้มไป ยังมี"ดาราจอแก้ว" เท่านั้นที่ยังยืนหยัดต่อได้
เกิดเรื่องแปลก ๆ ขึ้นกับนิตยสารดาราจอแก้ว
แต่ไม่รู้ขายดีอีท่าไหน นิตยสารดาราจอแก้วออกมาได้ประมาณ 30 ฉบับก็เริ่มเปลี่ยนนโยบาย จากลงเรื่องราวของดาราทีวีไทย กลับเริ่มหันไปลงเรื่องราวของวงการหนังใหญ่แทนทั้งเรื่องของดาราหนังใหญ่ แวดวงหนังใหญ่ รวมทั้งเรื่องย่อหนังใหญ่แทน ส่วนเรื่องในวงการทีวีหายไปเกือบหมด งงไหนครับ ชื่อดาราจอแก้ว แต่ปกกลับเป็นดาราหนังใหญ่ฉายโรง เช่น สรพงศ์ จารุณี เนาวรัตน์ นี่ล่ะที่ทำให้น่าจดจำจริง ๆ เลย ผ่านมากี่ปีแฟน ๆ นิตยสารดาราจอแก้วก็ยังแค้นฝังหุ่น
นี่ไงครับนิตยสารจอแก้วที่เอาดาราหนังใหญ่มาขึ้นปกแทน สมัยนั้นสรพงศ์ ชาตรี จารุณี สุขสวัสดิ์เป็นดาราหนังใหญ่ฉายโรงที่โด่งดังมาก
ซึ่งทางคุณอุดม จงกมานนท์เจ้าของนิตยสารดาราจอแก้ว ได้อธิบายว่า คนดูชอบดาราหนังใหญ่มากกว่า เพราะสมัยนั้นหนังไทยฉายโรงจะบูมมากกว่าละครโทรทัศน์และหนังทีวี เพราะหนังใหญ่ฉายโรงเข้าถึงคนดูมากกว่า เรียกว่าทุกอำเภอต้องมีโรงหนังหรือไม่ก็หนังหลางแปลงไปฉาย ไม่มีใครไม่รู้จักสรพงศ์ ชาตรี, จารุณี สุขสัวสดิ์,ทูล หิรัญทรัพย์, เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ แต่ในขณะที่ดาราทีวีพอเอ่ยชื่อ หลายคนกลับไม่ค่อยรู้จัก เอ...ชักยังไง ก็เพราะสมัยนั้นสถานีโทรทัศน์มีเครือข่ายไม่ทั่วประเทศ คนรับชมได้ไม่ทั่วนั่นเอง
มีแค่ข่อง 7 ช่องเดียวที่แพร่ภาพได้ทั่วประเทศ แต่ช่อง 7 ก็มีเครือข่ายแค่ 10 สถานี (ปัจจุบันช่อง 7 อนาล๊อคมีถึง 37 สถานี) ทำให้หลายพื้นที่อับสัญาณช่อง 7
ส่วนช่อง 5 ก็มีเครือข่ายแค่ 3 ที่คือกรุงเทพ ฯ เชียงใหม่ นครราชสีมา
ส่วนช่อง 3 กับช่อง 9 มีแค่สถานีกรุงเทพที่เดียว
ถ้าช่อง 3,9 จะเอาละครและหนังจีนไปฉายให้ทั่วประเทศก็ต้องพึ่งสถานีทีวีท้องถิ่นเช่น ช่อง 5 ขอนแก่น ช่อง 8 ลำปาง ช่อง 10 หาดใหญ่
นอกจากสถานีเครือข่ายจะมีน้อยแล้วบ้านไหนอยากดูทีวีก็ต้องตั้งเสาก้างปลาสูงเทียมเมฆ พอพายุมาก็หักโค่นกัน ช่างน่าเวทนาเหลือเกิน
ฉบับอื่น ๆ ของดาราจอแก้วที่เปลี่ยนไป
ที่สำคัญทีวีสมัยนั้นไม่ได้แพร่ภาพ 24 ชั่วโมงด้วย เพราะต้องการประหยัดไฟฟ้า รัฐบาลจึงได้กำนหดเวลาแพร่ภาพดังนี้
จันทร์-ศุกร์
16.00-18.30 แพร่ภาพ
18.30-20.00 ปิดสถานี ประหยัดการใช้กระแสไฟฟ้า
20.00-24.00 แพร่ภาพ
24.00-16.00 ปิดสถานี
เสาร์-อาทิตย์
08.00-18.30 แพร่ภาพ
18.30-20.00 ปิดสถานี ประหยัดการใช้กระแสไฟฟ้า
20.00-24.00 แพร่ภาพ
24.00 -08.00 ปิดสถานี
ทีวีสีสมัยนั้นก็ราคาแพงมาก เครื่องละ 2.5 หมื่นบาท ก็ถือว่าราคาสูงมาก เพราะข้าวจานละ 5 บาทเอง ส่วนมากคนเลยดูทีวีขาวดำกัน แล้วทีวีขาวดำมันได้อรรถรสที่ไหนกันล่ะ
แต่บ้านไหนได้ดูทีวีสีก็ใช่ว่าจะมีความสุขนะ เพราะจอแก้วสมัยนั้นขอบอกว่าแสงแรงมาก ไม่มีระบบกรองแสงแบบทุกวันนี้ ดูแล้วตาเสีย แสบตามาก จึงต้องเปิดนีออนทุกครั้งเพื่อตัดแสง หรือไม่ก็ต้องใช้แผ่นกรองแสงบังจอ ถ้าปิดไฟนีออนในห้องแล้วดูทีวีละก็ตาพินาศเลย ถึงจะเปิดนีออนตัดแสง แต่ดูไปดูมาก็ตาแห้งเจ็บตาเคืองตาเหมือนกัน ผมเลยต้องเข้าห้องนํ้าเพื่อเอานํ้าชะโลมดวงตาบ่อย ๆ เพื่อให้ชุ่มชื้น บางครั้งขึ้เกียจเข้าห้องนํ้าผมก็จะ
นํ้าลายใส่มือแล้วเอามาใส่ตาแทน (นึกภาพตามแล้วน่าเวทนานะ) คิดดูก็แล้วกันว่าคนสมัยก่อนจะดูทีวีนั้นช่างลำบากลำบนเหลือเกิน ผืดกับทีวีสีสมัยนี้ปืดแสงนีออนนอนดูได้สบาย
สมัยนั้นดูหนังใหญ่เลยมีความสุขกว่าเห็น ๆ เพราะภาพสีสบายตา จอใหญ่ด้วย
นอกจากเหตุผลนี้แล้วคุณอุดมยังชี้แจงอีกว่าเป็นเพราะข่าวบันเทิงจากหนังใหญ่มีมาก กระทั่งนิตยสารภาพยนตร์บันเทิงลงไม่หมด เลยเกิดอาการรักพี่เสียดายน้อง จึงต้องนำมากระจายลงในนิตยสารดาราจอแก้วด้วย
แต่ผมกลับมั่นใจว่าคนอ่านน่าจะชอบเรื่องของดาราทีวีมากกว่านะ เพราะจากที่อ่านในหน้าตอบจดหมายก็ขอแต่รูปดาราทีวีทั้งนั้น แต่ผมก็แค่เด็กประถมคนหนึ่งจะไปรู้อะไรมากมายกับธุรกิจหนังสือ ผู้ใหญ่ท่านคงตัดสินใจถูกแล้ว (มั้ง)
ผมอยากติดตามอ่านเรื่องราวของดาราทีวี แต่กลับไม่มี ก็เลยไม่ค่อยอยากซื้อ แต่ก็มีซื้อบ้าง
ปิดตัว
นิตยสารดาราจอแก้ว ออกมาได้ประมาณ เกือบ 80 ฉบับ ก็ปิดตัวลง เพราะแนวนิตยสารไม่ได้ต่างไปจาก “โลกดารา” “ภาพยนตร์บันเทิง” “ดาราภาพยนตร์” ที่ขายดีตามแผงในขณะนั้น
แต่ผมจำดาราจอแก้ว ฉบับที่ปิดตัวไมได้ แต่ก็ประมาณปลายปี 2525 ล่ะ รวมเวลามาโลดแล่นบนแผงได้ประมาณปีเศษ
บนแผงหนังสือร้างนิตยสารเกี่ยวกับดาราทีวีไทย
ช่วงปี 2526-2527 ก็ร้างนิตยสารเกี่ยวกับดาราทีวีไทยไป 2 ปี ในขณะที่นิตยสารทีวีรีวิว รีวิวทีวี ที่เกียวกับดาราจีนญี่ปุ่นยังขายดีอยู่
กระทั่งปี 2528 ได้เกิดหนังสือพิมพ์ทีวีขึ้นเป็นฉบับแรกคือ “อินไซด์ทีวี” ก็ขายดีมากทีเดียว
ปี 2533 นิตยสาร”ทีวีพูล” ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นบนแผงหนังสือ
ทำไมทีวีพูลขายดีและอยู่รอดมาถึงทุกวันนั้
รบกวนอ่านต่อในความเห็นที่ 10 นะครับ เพราะเนื้อที่เต็ม เนื่องจากกระทู้จำกัดได้แค่ 10,000 ตัวอักษรเท่านั้น
______________________________________________________________
เครติต
นิตยสารดาราจอแก้วฉบับที่ 1-80
ผู้สแกนภาพนิตยสารทีวีพูลในอินเตอร์เนท
________________________________________________________________
ถ้าขอบเรื่องเก่า ๆ แบบนี้ช่วยกด + หรือถูกใจด้วยนะครับ
(เกร็ดประวัติศาสตร์) นิตยสารดาราจอแก้ว นิตยสารทีวีที่ดังก่อน "ทีวีพูล"
สมัยเด็กผมเคยซื้อนิตยสาร”ดาราจอแก้ว” ไว้หลายเล่ม เก็บไว้มานาน 33 ปีแล้ว ดีนะรอดจากหนูจากปลวก จากน้ำท่วมมาได้ แล้วถ้าจะไม่เอามาตั้งกระทู้เล่าเรื่องให้คนรุ่นหลังได้รู้ก็กระไรอยู่ เพราะไ่ม่อยากให้ถูกหลงลืมไป
ผมอยากบอกว่าในประวัติศาสตร์ไทยมีนิตยสารเกี่ยวกับทีวีไทยที่ดัง ๆ แค่ไม่กี่ปกหรอก เช่น “ทีวีพูล” “บันเทิงทีวี” และก็มี “ดาราจอแก้ว” นี่ล่ะที่ดังจริง ๆ
แม้ดาราจอแก้วจะวางแผงแค่ปีเศษ แต่ก็มีอะไรหลายอย่างที่น่าจดจำ เพราะมี backup ใหญ่คือนิตยสาร” ภาพยนตร์บันเทิง”
เรียกว่ายุคปัจจุบันมีนิตยสาร”ทีวีพูล “ ของพี่ติ๋มที่โด่งดัง
ปี 2524-2525 ก็มีนิตยสาร”ดาราจอแก้ว” นั่นล่ะที่โด่งดัง
ผมว่ามาอ่านประวัติศาสตร์ตรงนี้กันดีกว่าครับ
กำเนิดนิตยสาร “ดาราจอแก้ว”
ปี 2518 เกิดความบูมด้านหนังญี่ปุ่นและหนังจีนชุดทางทีวีทำให้มี นิตยสารเกี่ยวกับดาราจีน ญี่ปุ่นออกมามากมาย เช่น “คาราเต้ทีวี” “ทีวีรีวิว” “ รีวิวทีวี” และมีนิตยสารเกี่ยวกับดาราทีวีไทยบ้างประปราย เช่น “ดาราโทรทัศน์” แต่ออกมาไม่กี่ฉบับก็ร้างหายไป
กระทั่งปี 2524 ในขณะที่นิตยสาร“ทีวีรีวิว” “ รีวิวทีวี” ซึ่งเกี่ยวกับดาราจีนญี่ปุ่นกำลังขายดีเป็นเทน้ำเทท่า แต่แผงหนังสือกลับร้างนิตยสารเกี่ยวกับละครและหนังทีวีไทย ทำให้คุณอุดม จงกมานนท์เจ้าของนิตยสาร ”ภาพยนตร์บันเทิง” ได้เล็งเห็นว่าการทำนิตยสารเกี่ยวกับดาราทีวีไทยออกมาขายบ้างน่าจะเป็นผลดี เพราะช่วงนั้น“ดาวพระศุกร์” นำแสดงโดยพล พลพร,มนฤดี ยมาภัย กำลังดังมาก
ดาราจอแก้วฉบับแรกปกมนฤดี มาภัยจากดาวพระศุกร์
คุณอุดม จงกมานนท์จึงได้เปิดตัวนิตยสาร”ดาราจอแก้ว” ฉบับปฐมฤกษ์ขึ้นในวันที่ 15 มีนาคม 2524 เป็นภาพปกของมนฤดี ยมาภัย นางเอกสาวยอดฮิตจากหนังทีวีเรื่อง “ดาวพระศุกร์”
ฉบับนี้ล่ะคือปฐมฤกษ์ของนิตยสารดาราจอแก้ว
นิตยสารดาราจอแก้ววางแผงทุกสัปดาห์ ราคาเล่มละ 7 บาท (เทียบค่าของเงินทุกวันนี้ก็น่าจะประมาณ 40 บาท)
ต่อมาดาราจอแก้วขยับราคาขึ้นเป็น 8 บาท (เทียบค่าของเงินทุกวันนี้ก็น่าจะประมาณ 45 บาท)
ทำไมต้องชื่อนิตยสาร “ดาราจอแก้ว”
ก็เพราะสมัยนั้นจอทีวียังทำเป็นแก้ว ไม่ได้เป็นจอ LCD และ ฯลฯ แบบทุกวันนี้ จอแก้วพอเอานิ้วไปเคาะจะดังก๊อง ๆ ๆ ๆ สมัยนี้บางบ้านอาจจะยังมีใช้อยู่
ในเล่มของดาราจอแก้วมีอะไรบ้างมาดูกันครับ
เป็นรูปเล่มภายในของนิตยสารดาราจอแก้ว ฉบับที่ 16 ปกพี่ตุ๋ย มนฤดี ยมาภัยจากเรื่องดอกโศก 2524
สัมภาษณ์ดาราทีวี
คุยกับนางเอกทีวี
เรื่องย่อละครทีวี
ชีวิตดาราดัง
นำดาราโทรทัศน์มาถ่ายแฟชั่นในหน้ากลาง
นิยายประจำฉบับเรื่องปิ่นมุก เคยเอามาสร้างเป็นละครมีอั้ม พัชราภาแสดง
ตอบจดหมายผู้อ่านจากทางบ้าน ตอนนั้นได้นางเอกดังคือพี่ไก่ ปริศนา วงศ์ศิริมาช่วยตอบ
ดาราจอแก้ว ประสบความสำเร็จทางการขายแค่ไหน
ขอบอกว่า นิตยสาร”ดาราจอแก้ว” ช่วงแรกขายดีขายดีเป็นเทน้ำเทท่าเลยครับ ผมอยู่ไกลปืนเที่ยงถึงอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ แต่ก็ยังมีนิตยสารนี้วางขาย
มีเรื่องขำ ๆ จะเล่าให้ฟัง ตอนนั้นผมเป็นเด็กเรียนเก่งมาก อาจารย์บอกว่าผมเรียนเก่งแบบนี้อนาคตต้องได้เป็นหมอหรือนักวิทยาศาสตร์ อาจารย์ต่างแอบกระซิบว่า “เด็กคนนี้คงชอบอ่านนนังสือวิทยาศาสตร์ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” แต่เปล่าเลยครับ ผมปั่นจักรยานไปที่แผงหนังสือที่ตลาด ซื้อนิตยสาร”ดาราจอแก้ว” มาอ่านต่างหาก นิตยสาร “ดาราจอแก้ว” ที่นำมาโพสให้ท่านได้ชมก็คือหนังสือที่ผมเก็บไว้มาตั้งแต่ชั้นประถมทั้งนั้น 33 ปีแล้วครับ ผมชอบเขียนบทละคร ชอบจัดผังรายการทีวีเล่นตั้งแต่เรียนป. 1 น่าเสียดายนะ ผมชอบด้านนี้แต่ตอนโตกลับพลิกล๊อคไปทำงานด้านอื่นเสียนี่
คู่แข่งดาราจอแก้ว
พอดาราจอแก้วขายดี ก็มีนายทุนคนอื่นเริ่มทำนิตยสารเกี่ยวกับดาราทีวีไทยขึ้นมาบ้าง เช่น นิตยสาร "จอแก้ว" และ "ดารา TV และภาพยนตร์" แต่ก็อยู่ไม่นานก็ล้มไป ยังมี"ดาราจอแก้ว" เท่านั้นที่ยังยืนหยัดต่อได้
เกิดเรื่องแปลก ๆ ขึ้นกับนิตยสารดาราจอแก้ว
แต่ไม่รู้ขายดีอีท่าไหน นิตยสารดาราจอแก้วออกมาได้ประมาณ 30 ฉบับก็เริ่มเปลี่ยนนโยบาย จากลงเรื่องราวของดาราทีวีไทย กลับเริ่มหันไปลงเรื่องราวของวงการหนังใหญ่แทนทั้งเรื่องของดาราหนังใหญ่ แวดวงหนังใหญ่ รวมทั้งเรื่องย่อหนังใหญ่แทน ส่วนเรื่องในวงการทีวีหายไปเกือบหมด งงไหนครับ ชื่อดาราจอแก้ว แต่ปกกลับเป็นดาราหนังใหญ่ฉายโรง เช่น สรพงศ์ จารุณี เนาวรัตน์ นี่ล่ะที่ทำให้น่าจดจำจริง ๆ เลย ผ่านมากี่ปีแฟน ๆ นิตยสารดาราจอแก้วก็ยังแค้นฝังหุ่น
นี่ไงครับนิตยสารจอแก้วที่เอาดาราหนังใหญ่มาขึ้นปกแทน สมัยนั้นสรพงศ์ ชาตรี จารุณี สุขสวัสดิ์เป็นดาราหนังใหญ่ฉายโรงที่โด่งดังมาก
ซึ่งทางคุณอุดม จงกมานนท์เจ้าของนิตยสารดาราจอแก้ว ได้อธิบายว่า คนดูชอบดาราหนังใหญ่มากกว่า เพราะสมัยนั้นหนังไทยฉายโรงจะบูมมากกว่าละครโทรทัศน์และหนังทีวี เพราะหนังใหญ่ฉายโรงเข้าถึงคนดูมากกว่า เรียกว่าทุกอำเภอต้องมีโรงหนังหรือไม่ก็หนังหลางแปลงไปฉาย ไม่มีใครไม่รู้จักสรพงศ์ ชาตรี, จารุณี สุขสัวสดิ์,ทูล หิรัญทรัพย์, เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ แต่ในขณะที่ดาราทีวีพอเอ่ยชื่อ หลายคนกลับไม่ค่อยรู้จัก เอ...ชักยังไง ก็เพราะสมัยนั้นสถานีโทรทัศน์มีเครือข่ายไม่ทั่วประเทศ คนรับชมได้ไม่ทั่วนั่นเอง
มีแค่ข่อง 7 ช่องเดียวที่แพร่ภาพได้ทั่วประเทศ แต่ช่อง 7 ก็มีเครือข่ายแค่ 10 สถานี (ปัจจุบันช่อง 7 อนาล๊อคมีถึง 37 สถานี) ทำให้หลายพื้นที่อับสัญาณช่อง 7
ส่วนช่อง 5 ก็มีเครือข่ายแค่ 3 ที่คือกรุงเทพ ฯ เชียงใหม่ นครราชสีมา
ส่วนช่อง 3 กับช่อง 9 มีแค่สถานีกรุงเทพที่เดียว
ถ้าช่อง 3,9 จะเอาละครและหนังจีนไปฉายให้ทั่วประเทศก็ต้องพึ่งสถานีทีวีท้องถิ่นเช่น ช่อง 5 ขอนแก่น ช่อง 8 ลำปาง ช่อง 10 หาดใหญ่
นอกจากสถานีเครือข่ายจะมีน้อยแล้วบ้านไหนอยากดูทีวีก็ต้องตั้งเสาก้างปลาสูงเทียมเมฆ พอพายุมาก็หักโค่นกัน ช่างน่าเวทนาเหลือเกิน
ฉบับอื่น ๆ ของดาราจอแก้วที่เปลี่ยนไป
ที่สำคัญทีวีสมัยนั้นไม่ได้แพร่ภาพ 24 ชั่วโมงด้วย เพราะต้องการประหยัดไฟฟ้า รัฐบาลจึงได้กำนหดเวลาแพร่ภาพดังนี้
จันทร์-ศุกร์
16.00-18.30 แพร่ภาพ
18.30-20.00 ปิดสถานี ประหยัดการใช้กระแสไฟฟ้า
20.00-24.00 แพร่ภาพ
24.00-16.00 ปิดสถานี
เสาร์-อาทิตย์
08.00-18.30 แพร่ภาพ
18.30-20.00 ปิดสถานี ประหยัดการใช้กระแสไฟฟ้า
20.00-24.00 แพร่ภาพ
24.00 -08.00 ปิดสถานี
ทีวีสีสมัยนั้นก็ราคาแพงมาก เครื่องละ 2.5 หมื่นบาท ก็ถือว่าราคาสูงมาก เพราะข้าวจานละ 5 บาทเอง ส่วนมากคนเลยดูทีวีขาวดำกัน แล้วทีวีขาวดำมันได้อรรถรสที่ไหนกันล่ะ
แต่บ้านไหนได้ดูทีวีสีก็ใช่ว่าจะมีความสุขนะ เพราะจอแก้วสมัยนั้นขอบอกว่าแสงแรงมาก ไม่มีระบบกรองแสงแบบทุกวันนี้ ดูแล้วตาเสีย แสบตามาก จึงต้องเปิดนีออนทุกครั้งเพื่อตัดแสง หรือไม่ก็ต้องใช้แผ่นกรองแสงบังจอ ถ้าปิดไฟนีออนในห้องแล้วดูทีวีละก็ตาพินาศเลย ถึงจะเปิดนีออนตัดแสง แต่ดูไปดูมาก็ตาแห้งเจ็บตาเคืองตาเหมือนกัน ผมเลยต้องเข้าห้องนํ้าเพื่อเอานํ้าชะโลมดวงตาบ่อย ๆ เพื่อให้ชุ่มชื้น บางครั้งขึ้เกียจเข้าห้องนํ้าผมก็จะนํ้าลายใส่มือแล้วเอามาใส่ตาแทน (นึกภาพตามแล้วน่าเวทนานะ) คิดดูก็แล้วกันว่าคนสมัยก่อนจะดูทีวีนั้นช่างลำบากลำบนเหลือเกิน ผืดกับทีวีสีสมัยนี้ปืดแสงนีออนนอนดูได้สบาย
สมัยนั้นดูหนังใหญ่เลยมีความสุขกว่าเห็น ๆ เพราะภาพสีสบายตา จอใหญ่ด้วย
นอกจากเหตุผลนี้แล้วคุณอุดมยังชี้แจงอีกว่าเป็นเพราะข่าวบันเทิงจากหนังใหญ่มีมาก กระทั่งนิตยสารภาพยนตร์บันเทิงลงไม่หมด เลยเกิดอาการรักพี่เสียดายน้อง จึงต้องนำมากระจายลงในนิตยสารดาราจอแก้วด้วย
แต่ผมกลับมั่นใจว่าคนอ่านน่าจะชอบเรื่องของดาราทีวีมากกว่านะ เพราะจากที่อ่านในหน้าตอบจดหมายก็ขอแต่รูปดาราทีวีทั้งนั้น แต่ผมก็แค่เด็กประถมคนหนึ่งจะไปรู้อะไรมากมายกับธุรกิจหนังสือ ผู้ใหญ่ท่านคงตัดสินใจถูกแล้ว (มั้ง)
ผมอยากติดตามอ่านเรื่องราวของดาราทีวี แต่กลับไม่มี ก็เลยไม่ค่อยอยากซื้อ แต่ก็มีซื้อบ้าง
ปิดตัว
นิตยสารดาราจอแก้ว ออกมาได้ประมาณ เกือบ 80 ฉบับ ก็ปิดตัวลง เพราะแนวนิตยสารไม่ได้ต่างไปจาก “โลกดารา” “ภาพยนตร์บันเทิง” “ดาราภาพยนตร์” ที่ขายดีตามแผงในขณะนั้น
แต่ผมจำดาราจอแก้ว ฉบับที่ปิดตัวไมได้ แต่ก็ประมาณปลายปี 2525 ล่ะ รวมเวลามาโลดแล่นบนแผงได้ประมาณปีเศษ
บนแผงหนังสือร้างนิตยสารเกี่ยวกับดาราทีวีไทย
ช่วงปี 2526-2527 ก็ร้างนิตยสารเกี่ยวกับดาราทีวีไทยไป 2 ปี ในขณะที่นิตยสารทีวีรีวิว รีวิวทีวี ที่เกียวกับดาราจีนญี่ปุ่นยังขายดีอยู่
กระทั่งปี 2528 ได้เกิดหนังสือพิมพ์ทีวีขึ้นเป็นฉบับแรกคือ “อินไซด์ทีวี” ก็ขายดีมากทีเดียว
ปี 2533 นิตยสาร”ทีวีพูล” ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นบนแผงหนังสือ
ทำไมทีวีพูลขายดีและอยู่รอดมาถึงทุกวันนั้
รบกวนอ่านต่อในความเห็นที่ 10 นะครับ เพราะเนื้อที่เต็ม เนื่องจากกระทู้จำกัดได้แค่ 10,000 ตัวอักษรเท่านั้น
______________________________________________________________
เครติต
นิตยสารดาราจอแก้วฉบับที่ 1-80
ผู้สแกนภาพนิตยสารทีวีพูลในอินเตอร์เนท
________________________________________________________________
ถ้าขอบเรื่องเก่า ๆ แบบนี้ช่วยกด + หรือถูกใจด้วยนะครับ